แตงโมฉีดสารเร่งแดง ชัวร์หรือมั่วนิ่มครับ



แชร์ต่อกันมาใน fb พร้อมเนื้อหาว่า

"แจ้งข่าว...ช่วงนี้มีแตงโมวางจำหน่ายตามท้องตลาดเยอะมากคับ ถ้าท่านซื้อแตงโม ถ้าผ่าออกมาแล้วเห็นแตงโมมีลักษณะเหมือนในภาพนี้ ห้ามรับประทานนะคับ เพราะแตงโมผลนั้นผ่านการฉีดสารเร่งสีแดงคับ...แชร์ต่อๆกันไปด้วยนะคับ..."

เลยเอามาถามกันว่า ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
มั่วนิ่มค่ะ อ่านข่าวได้จากในนี้เลยค่ะ พอดีเราเอามาโพสในเว็บเหมือนกัน จากเว็บวิชาการค่ะ


เมื่อเร็วๆ นี้มีการแชร์ภาพบน facebook เป็นภาพคุณลุงคนหนึ่งกำลังฉีดสารบางอย่างใส่แตงโม ซึ่งเขียนคำบรรยายว่า

"ความคิดสร้างสรรค์จากทางประเทศจีน แก้ไขปัญหาแตงโมสีไม่แดง กรูเลยเอาสีแดงฉีดใส่แม่รงเลย.... ส่งมาขายเมืองไทยเพราะคนไทยชอบกินแตงโมสีแดงๆ"

|https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4706980111166&set=a.1588900841133.2076386.1194183944

ซึ่งสร้างความตกใจแก่คนไทยเป็นอย่างยิ่ง ต่างกดแชร์เพื่อเตือนเพื่อนผอง ญาติพี่น้องให้ระวังอันตรายคุกคามจากประเทศจีน ที่จะเอาแตงโมมาหลอกขายคนไทยที่กำลังอยากกินแตงโมคลายร้อนกันอยู่ บ้างก็ประณามสินค้า Made in China ด่าทอคนจีนว่าเก่งแต่ทำของปลอมมาหลอกขายเป็นการใหญ่

ที่จริงแล้ว ภาพข้างต้นไม่เกี่ยวอะไรกับการฉีดสีเลยแม้แต่น้อย แต่เป็นภาพนักวิชาการกำลังชี้แจงเรื่องการฉีดเพื่อปรุงแต่งเนื้อแตงโม "ไม่สามารถทำได้" และเป็นภาพที่ถ่ายตั้งแต่ปี 2554 แล้ว

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงกลางปี 2554 ตอนนั้นมีข่าวครึกโครมว่า "แตงโมระเบิดปริศนา" คือ แตงโมที่เกษตรกรปลูกไว้ในไร่กว่า 115 เอเคอร์ ที่มณฑลเจียงสู เกิดปริแตกโดยไม่ทราบสาเหตุ เกษตรกรผู้ปลูกกว่า 20 ราย สูญเสียรายได้มหาศาล
มีการคาดเดาสาเหตุไปต่างๆ นานา บ้างก็ว่าเป็นเพราะเกษตรกรใช้สารเร่งโต (forchlorfenuron) เกินขนาด ผลแตกโมจึงโตจนรับไม่ไหวและระเบิดออกมา

www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1305691248

ข่าวนี้ทำให้คนตื่นตระหนกและเกิดข้อสรุปผิดๆ ในหมู่ชาวจีนว่าถ้า แตงโมแตก = ใช้สารเร่งโต = เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังมีข่าวลืออื่นๆ มาผสมโรง เช่น วิธีดูแตงโมที่ฉีดสารให้ดูที่เมล็ดว่าเป็นสีขาวหรือไม่ แตงโมที่เกษตรกรส่งขายมีการฉีดน้ำหวาน (sweetemer) เข้าไปในเนื้อแตงโม ฯลฯ ข่าวลือบานปลายจนผู้คนหวาดผวาไม่กล้ากินแตงโม สร้างความเสียหายย่อยยับกับเกษตรกรผู้ปลูกแตงโมรายอื่นๆ จนนักวิชาการต้องออกมาชี้แจงและตอบคำถาม


นักวิชาการได้ตอบข้อสงสัยตั้งแต่เรื่องสาเหตุที่แตงโมแตกว่า ไม่ได้เกิดจากสารเร่งโตหรือถึงสารเร่งโตมีผลก็น้อยมาก การที่แตงโมแตกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ถ้าอุณหภูมิช่วงกลางวันกับกลางคืนต่างกันมาก็ทำให้ผิดแตงโมปริแตกได้ หรือหากแตงโมขาดน้ำเป็นเวลานาแล้วฝนตกหนักกะทันหันแตงโมจะดูดน้ำจำนวนมากอย่างรวดเร็วทำให้ผลแตงโมแตกได้เช่นกัน นอกจากนี้พันธุ์แตงโมก็มีผล แตงโมบางสายพันธุ์เปลือกหนา และแข็งมากจนขึ้นยืนได้ ส่วนพันธุ์ที่ระเบิดนั้นเป็นพันธุ์ที่เปลือกบางจากการปรับปรุงพันธุ์

การที่แตงโมแตกในเหตุการณ์อาจเกิดจากการใช้สารเร่งโตในช่วงที่เข้าหน้าฝนแล้ว และปีนั้นฝนมามาก จึงทำให้แตงโมแตก นอกจากนี้ยังตอบข้อสงสัยเรื่องอื่นที่เป็นข่าวลือ เช่น เรื่องการฉีดน้ำหวานเพื่อแต่งรสแตงโม
www.jfdaily.com/a/2158828.htm

ในภาพ นักวิชาการทดลองฉีดน้ำหวานผ่านเปลือกแตงโม และชี้ให้เห็นว่าน้ำหวานที่ฉีดไปกระจุกอยู่เฉพาะบริเวณที่โดนฉีดเท่านั้น ไม่ได้กระจายไปทั้งผล และยังทำให้เนื้อแตงโมบริเวณที่ฉีดน้ำหวานมีรอยช้ำ เนื้อเสียหาย ในระยะเวลาเพียงครี่งชั่วโมงหลังจากฉีด และหากทิ้งไว้ข้ามวันเนื้อบริเวณที่ฉีดก็จะเริ่มเน่าเสีย เกิดก๊าซเหม็นๆ จากการหมักอัดอยู่ในผล


สรุปคือนักวิชาการออกมาแก้ข่าวลือเรื่องการฉีดน้ำหวานให้เนื้อแตงโมหวานนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะฉีดไปมันก็ไม่ได้หวานทั้งลูก แถมฉีดไปไม่กี่ชั่วโมงก็ช้ำ ทิ้งไว้วันเดียวก็เน่า ไม่มีเกษตรกรที่ไหนจะทำแบบนั้น


แต่อนิจจา ภาพนักวิชาการที่กำลังแก้ข่าวลือ กลับถูกนำไปใช้สร้างข่าวลือเรื่องใหม่เพื่อให้คนไทยด่ากันสนุกปาก ไม่ทราบเหมือนกันว่า คนที่ปล่อยข่าวจีนฉีดสีแตงโมให้แดง ไปเอาข้อมูลมาจากไหน เพราะภาพนี้ในอินเตอร์เน็ตล้วนแต่ให้ข้อมูลตรงกันว่าเป็นเหตุการณ์ที่นักวิชาการออกมาชี้แจงเรื่องแตงโมระเบิด หรือเป็นการแต่งเรื่องจากภาพ

ส่วนคนที่รังเกียจของปลอมจากจีน ด่าที่คนจีนชอบทำของปลอมออกมาหลอกขายเพื่อหากำไร
ไม่ทราบว่าคิดอย่างไรกับ คนไทยที่ทำ "ข่าวปลอม" ออกมาเผยแพร่ให้เกิดกระแสตื่นตระหนกครับ
http://www.jingjobin.com/forum/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/86-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A1-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่