หลวงพ่อพุทธทาสปฏิบัติตามแนวทางและหลักการทางนิกายเซ็นใช่หรือไม่

กระทู้คำถาม
ผมอยากทราบว่า   วิธีปฏิบัติและแนวคิดของหลวงพ่อพุุทธทาสนั้นมาจาก       แนวทางและหลักการของพุทธศาสนานิกายเซ็นใช่หรือไม่      และผมอยากทราบว่านิกายเซ็นแตกกิ่งก้านออกมาจาก   ภิกษุพวกมากกลุ่มวัชชีบุตรที่เรียกตนเองว่าเป็นมหาสังฆิกะหรือมหานิกายใช่หรือไม่
             กรุณาตอบให้ตรงประเด็นด้วยนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 27
ผมคิดว่าจะตอบปัญหานี้ เมื่อวานนี้ แต่พอดี Internet ขัดข้อง วันนี้เห็นว่ากระทู้นี้ยังอยู่ ก็จะขอแสดงความคิดเห็น เผื่อจะเป็นประโยชน์นิด ๆ ไว้คิดเล่นนะครับ  คือ ครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่ออดีตกาลผ่านไปแล้ว  ผมเคยไปอยู่ที่สวนโมกข์ ไชยา ประมาณ 2 เดือนกว่า ผู้ที่ผมพบองค์แรก คือ อาจารย์ โพ ผมขอพบ ท่านพุทธทาส  ท่านไม่ให้พบ บอกว่าถ้ามีปัญหาอะไรให้ถามท่าน ผมถามท่านว่าผมจะต้องปฏิบัติอย่างไร ท่านตอบว่าให้อยู่กับธรรมชาติ อย่างธรรมชาติ ตามธรรมชาติ  อ่านหนังสือของท่านพุทธทาส และพิจารณาธรรมตามในโรงมหรสพทางวิญญาณ ท่านจะสอบวินัยผม ผมบอกว่าให้ไปเอานวโกวาทมาเปิดก่อน แล้วค่อยสอบ ถ้าตอบไม่ได้ให้ไล่่ได้เลย ท่านอาจารย์โพ ตาพองโต แล้วส่งผมไปอยู่กุฏืชายแดน ไกลจากหมู่เลย อาจารย์โพ ให้ผมไปบิณบาตร กับท่าน  วันแรกผมก็ไปไม่ทันท่านแล้ว เพราะกุฏิอยู่ไกลเกินไป  ผมจึงใช้วิธี ขนเอาบริขารที่จำเป็นมานั่งภาวนารอท่านที่ลานหินโค้งตั้งแต่ประมาณว่าเที่ยงคืนเลย โดยใช้จีวรคุลมหัวคลุมตัวทั้งหมด เพื่อป้องกันยุงหรือแมลงตอม  บางครั้งผมเห็นท่านพุทธทาส ยึนดูผมอยู่ แต่ผมก็ไม่กล้าแสดงตัว เพราะรับคำ ท่านอาจารย์โพ ไว้   จากการที่ได้อยู่ที่นั่น ผมรู้สึกว่าผมไม่ได้อะไรเลย และกล่าวได้ว่า ที่สวนโมกข์แม้การแต่งกายเป็นแบบเถรวาท แต่การปฏิบัติจะออกแนวมหาญาณ คือเซน ซึ่งคำว่าเซน ก็หมายถึงการเพ่ง หรือสมาธิ แต่ไม่ได้เพ่งแบบ สมถะ ไม่ได้เพ่งอย่างวิปัสสนา แต่เป็นการเพ่งด้วยปัญญาคิดแก้ปริศนาธรรมเพื่อการก้าวไปสู่ความว่าง หรือที่เรียกว่า จิตเดิมแท้ นิกายเซนกล่าวปฏิเสธตำรา แต่กลับสร้างตำราเป็นสูตรต่าง ๆ ออกมามากมาย นิกายเซน เกิดมาจากท่านพระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นพระสังฆปรินายกองค์แรก  แต่มีคำกล่าวกันว่า นิกายเซนในประเทศจีน เกิดจากการผสมผสานระหว่างนิกายมหาญาณ กับลัทธิเต๋า พระพุทธศาสนาเกิดมาเพื่อหยุดการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าปฏิเสธการมีอยู่ของโอปปาติกะ ก็นับได้ว่าปฏิเสธการเวียนว่ายตายเกิดไปแล้ว พุทธศาสนาสอนให้มองธรรมชาติ เห็นธรรมชาติ โดยธรรมชาติตามลำดับ จนประจักษ์แจ้งขึ้นมาเอง ว่า ทุกสิ่งเป็น อนัตตา คือไม่มีตัวตนที่แท้จริง  แต่ไม่ได้ให้มองแบบตั้งเป้าไว้ก่อนแล้วเพื่อจะให้เห็น ซึ่งการเห็นเอง กับการกำหนดให้เห็น คิดดูก็เหมือนกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่เหมือนกันเลย ถ้าคนมองแบบกำหนดเลยว่าไม่มีตัวกู ของกู แล้วผู้อื่น ของผู้อื่นล่ะจะมีหรือ เช่นพ่อแม่ ศาสนา รวมถึงเซนเองล่ะ จะมีหรือ ซึ่งถ้าคิดเห็นเป็นอุปาทานไปจริง ๆ มันจะเป็นต้นเหตุของการเป็นคนไม่มีศาสนา ไม่มีคุณค่า และเป็นอันตรายทางสังคมไปเลย...
อย่าใข้คำว่า เอออวยสวมรอยเลยครับ เพราะจะทำให้เกิดความคิดเห็นว่าท่านไม่มีจุดยืนที่แน่นอนครับ   ทั้ง ๆ ที่ต้นสังกัด คือพระมหากัสสปะ ท่านย่อมไม่ฏิเสธการเวียนว่ายตายเกิด แต่ผมคิดเห็นว่า เซนรุ่นหลัง คิดเห็นอะไรก็มุ่งความว่างเปล่า เป็นความว่างอย่างเดียวมากเกินไป จึงทำให้เกิดการประฏิเสธเหตุปัจจัยปรุงแต่ง   โดยถือว่า อะไร ๆ ที่เป็นธรรมชาติ หรือไม่เป็นธรรมชาติ  ก็เป็นสูญไปหมดเลย ....และเซนไม่มีญาณของสมถะ ไม่มีญาณของวิปัสสนา เข้ามาช่วยเลย มีแต่การใช้ปัญญา ไขปริศนาเพื่อให้รู้โดยฉับพลันทันที  ซึ่งถ้าเป็นนักปฏิบัติมาอย่างเข้มข้นพอ ก็จะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะปัญญาเกิดมีและเป็นไปได้ ก็กับการมีการคิดนึก แม้ปัญญาบางอย่างเป็นภาวนามยปัญญา คือฝึกฝนอบรมขึ้นมา แต่ก็ยังเป็นไปกับการคิดนึก  ความคิดนึก ก็คือจินตนาการ เมื่อเป็นจินตนาการมันก็ไม่ใช่ของจริง หรือท่านเห็นว่าใครทำได้จริงบ้างครับ  พิสูจน์ได้ไหมว่า ทำได้แล้วจริงครับ....คำว่าเซน ของผมในที่นี้ หมายถึงเฉพาะ เซนในปัจจุบันนี้นะครับ ไม่ได้ล่วงเกินไป ถึงเซนในอดีต ที่ผมไม่รู้จักท่านนะครับ
ถ้าถามถึงประเดนที่ 4 ก็ดูผมซิครับ ครั้งนั้นเป็นเพียงพระกระจอก ไม่มีผลประโยชน์อะไรให้ มีแต่จะไปพึ่งใบบุญ ใครจะมาสนใจ เข้าใกล้ก็ยังไม่ได้  ผมเห็นทั้งฆารวาส และพระสงฆ์อื่น ๆ เข้าพบได้ แต่ผมพบไม่ได้ ก็คิดเอาเองว่าหมายความว่าอย่างไร  แต่แมื่อผมไปอยู่กับท่านอาจารย์ ฝั่น ที่ถ่าขาม 1 พรรษา เป็นพระมหานิกายอยู่ในหมู่ ธรรมยุติ ผมจะเข้าหาท่านอาจารย์ฝั่น เมื่อไหร่ก็ได้ ได้ฟังคำสอนของท่านทุกวัน อบอุ่นกายใจด้วยธรรมวินัย  มันต่างกันราวเหวกับฟ้าเลยครับ.....คำตอบอาจจะไม่ถูกใจ แต่อ่านไปก็คงเข้าใจเองนะครับ......
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่