คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เติมเบสให้ฟีนอลแตกตัวเป็นฟีนอเลทแอนไอออน
ไอออนนี้จะถูกออกซิเดชันได้ง่ายกว่าฟีนอลในรูปกรด และสามารถละลายในน้ำได้ดีกว่าในรูปกรดมาก
ตัวรีเอเจนท์พอไปออกซิไดซ์ฟีนอลแล้ว จะเปลี่ยนสภาพจากฟอสโฟทังสติกแอซิดและฟอสโฟโมลิปดิกแอซิด
ไปเป็นตะกอนแขวนลอยสีน้ำเงินเข้มที่เป็นของผสมระหว่าง W8O23 และ Mo8O23 ซึ่งดูดกลืนแสงสูงสุดที่ความยาวคลื่นราว 750nm
ทำให้ได้สีน้ำเงินเข้ม และมีปริมาณเป็นสัดส่วนสัมพันธ์กับฟีนอลที่เกิดรีดอกซ์กับตัวรีเอเจนท์ไป จึงใ้ช้หาปริมาณได้
ที่ต้องระวังคือสารที่เป็นตัวรีดิวซ์อื่นเช่น หมู่อัลดีไฮด์ในน้ำตาลอัลโดส (และอื่นๆ เช่นหมู่ซัลไฟต์อนินทรีย์)
ก็เกิดปฏิกิริยาแบบเดียวกันได้ อาจทำให้หาปริมาณฟีนอลได้มากกว่าจริง
ไอออนนี้จะถูกออกซิเดชันได้ง่ายกว่าฟีนอลในรูปกรด และสามารถละลายในน้ำได้ดีกว่าในรูปกรดมาก
ตัวรีเอเจนท์พอไปออกซิไดซ์ฟีนอลแล้ว จะเปลี่ยนสภาพจากฟอสโฟทังสติกแอซิดและฟอสโฟโมลิปดิกแอซิด
ไปเป็นตะกอนแขวนลอยสีน้ำเงินเข้มที่เป็นของผสมระหว่าง W8O23 และ Mo8O23 ซึ่งดูดกลืนแสงสูงสุดที่ความยาวคลื่นราว 750nm
ทำให้ได้สีน้ำเงินเข้ม และมีปริมาณเป็นสัดส่วนสัมพันธ์กับฟีนอลที่เกิดรีดอกซ์กับตัวรีเอเจนท์ไป จึงใ้ช้หาปริมาณได้
ที่ต้องระวังคือสารที่เป็นตัวรีดิวซ์อื่นเช่น หมู่อัลดีไฮด์ในน้ำตาลอัลโดส (และอื่นๆ เช่นหมู่ซัลไฟต์อนินทรีย์)
ก็เกิดปฏิกิริยาแบบเดียวกันได้ อาจทำให้หาปริมาณฟีนอลได้มากกว่าจริง
แสดงความคิดเห็น
ใครพอจะทราบการเกิดปฏิกิริยาของ Total phenolic content assay บ้างคะ
เรารู้แค่ว่า ต้องผสมมันกับ sodium carbonate แล้วพอเติมสารสกัดลงไป ถ้ามันมีสารฟีนอลิก ก็จะทำให้เกิดสารละลายสีน้ำเงินขึ้น
แต่เราไม่รูว่า มันไปเกิดปฏิกิริยายังไง เกิดเป็น product อะไรขึ้นมาถึงเกิดสีน้ำเงิน แล้วทำไมต้องเติมเบส
ตอนนี้หนักใจมาก ต้องทำรายงานส่ง ข้อมูลที่ชัดเจนหาไม่เจอเลย (มันไม่มีหรือหาไม่เก่งเองก็ไม่รู้ T^T)
ใครพอจะทราบ ช่วยอธิบายให้หน่อยได้มั้ยคะ หรือพอจะมี paper ที่เป็นข้อมูล กรุณาบอกเราด้วยเถอะค่ะ -/\- นะ นะ