ที่ญี่ปุ่นการเตือนภัยแผ่นดินไหวมีความจำเป็นมาก (สึนามิก็นับรวมนะครับ) เพราะประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องแผ่นดินไหวที่บ่อยและรุนแรงมาหลายครั้ง ระบบการเตือนภัยที่ทันสมัยก็ช่วยให้ผู้คนสามารถเตรียมตัวได้ทันและทำให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด เนื่องจากมีการเตือนทำให้เตรียมพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ได้
ระบบการเตือนแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นมีหลักการยังไง?
ระบบนี้เรียกว่า Earthquake Early Warning (EEW) ที่จริงหลักการก็ไม่ได้ต่างอะไรกับของประเทศอื่นหรอกครับ โดยจะมีเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนอยู่ในทะเล รอบชายฝั่งประเทศและเครื่องวัดที่อยู่ในจุดต่างๆทั่งประเทศ โดยถ้ามีแรงสั่นสะเทือนที่แรงหรือคาดว่าอาจก่อให้เกิดเหตุภัยพิบัติได้ ก็จะส่งข้อมูลแผ่นดินไหวแบบRealtimeไปที่กรมอุตุนิยมของญี่ปุ่นในจุดที่ใกล้ที่สุด โดยจะส่งสัญญาณเตือนไปที่สถานีโทรทัศน์ ผู้ให้บริการมือถือ และสถานีวิทยุที่ใกล้เคียงก่อน (จะเตือนเขตที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบก่อนใคร ก่อนที่อื่น) แล้วจะส่งต่อไปยังกรมอุตุนิยมทั้งประเทศ เพื่อนำไปเตือนภัย (ข้อมูลส่งกันไวมาก ใช้เวลา 5-15นาที ก็เตือนได้ทั้งประเทศแล้ว)
การเตือนภัยทำได้ทางไหนบ้าง?
การเตือนภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นจะมีอยู่ 4วิธีสุดฮิต โดยวิธีที่จะบอกในเบื้องต้นนี้ เป็นวิธีการเตือนภัยที่ได้ผลสูง เพราะครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของเขตนั้นๆหรือของประเทศอยู่แล้ว
1.การเตือนภัยผ่านมือถือ
มือถือทุกรุ่น ทุกค่ายตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.2007 ขึ้นไป (au เริ่มใช้ตั้งแต่ค.ศ.2008) จะมีระบบเตือนภัยพิบัติอัตโนมัติ โดยข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาจะส่งมาที่ผู้ให้บริการมือถือ แล้วผู้ให้บริการก็ส่งเป็นข้อความเตือนมาที่มือถือทุกคนที่อยู่ในเขตที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติ (ถ้าเครื่องใช้โหมดปิดเสียงอยู่ เสียงก็จะดังเองโดยอัตโนมัติ) โดยข้อความนี้ไม่ต้องไปสมัครหรือเสียเงินนะครับ เป็นบริการฟรี
2.การเตือนภัยผ่านวิทยุ
การเตือนภัยผ่านวิทยุเป็นการเตือนภัยอีกวิธีที่ได้ผลดี โดยจะส่งเป็นคลื่นFMแบบพิเศษจากสถานีวิทยุใกล้เคียง ที่ถ้าวิทยุนั้นสแตนบายหรือปิดเสียงอยู่ ก็จะเปิดและเสียงก็เตือนขึ้นเอง ถ้ามีการเตือนภัย โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับสถานที่ๆอินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึง (สมัยนี้เน็ตมันถึงกันหมดทั้งประเทศแล้วมั้ง) เสียงจะชัดไม่ชัดก็แล้วแต่ที่ โดยสถานีวิทยุที่มีสัญญาณเตือนภัยแบบพิเศษมี4สถานีวิทยุ คือ NHK Radio 1 และ 2 (ทั่วประเทศ), bayfm78 (นาโกย่า), Tokyo FM (โตเกียว), J-Wave (โตเกียว)
3.การเตือนภัยทางโทรทัศน์
การเตือนภัยพิบัติทางโทรทัศน์เป็นวิธียอดฮิต รวดเร็วที่สุด และยังครอบคลุมประชากรได้มากด้วย เพราะสัญญาณเตือนภัยได้ไวมาก (เกิดเหตุได้ไม่เกิน10นาที ก็ขึ้นทีวีแล้ว) โดยสัญญาณเตือนจะมาจากกรมอุตุนิยมวิทยาแล้วส่งไปที่สถานีโทรทัศน์ใกล้เคียง (สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นมีของแต่ละเขต ช่องเดียวมีย่อยเป็น10ช่องทั้งประเทศ) แล้วนำไปแสดงผล โดยอัตโนมัติ ถ้าแผ่นดินไหวหรือสึนามิเบาๆ ก็จะแค่ขึ้นคำเตือนด้านบนของจอ แป๊บเดียวแล้วหายไป แต่ถ้าเป็นแบบแรงขึ้นมาอีกหน่อย (ซัก5ริกเตอร์) ก็จะแสดงจุดที่เกิดด้วย พร้อมเสียงเตือน แต่ถ้าไม่ได้แรงจนตึกสั่นอย่างเห็นได้ชัด ไหวแป๊บเดียวก็หยุด อันนี้คำเตือนก็จะหายไปเอง
แต่ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ก็จะตัดภาพเข้าไปยังสถานีโทรทัศน์ โดยมีขึ้นเกริ่นกันนิดนึงแล้วค่อยตัดภาพเข้าไป ข้อมูลการรายงานทั้งหมดจะไปที่ NHK แล้วข้อมูลก็จะส่งไปที่ช่องอื่นต่อไป โดยมีเกริ่นกันนิดนึงแล้วค่อยตัดภาพเข้าไปที่สถานีของแต่ละช่อง (บางทีมีโชว์ถ่ายในสถานีด้วยว่าสั่นแรงขนาดไหน) ถ้าอยู่ในรายการข่าว ทางช่องจะไม่สนว่าตอนนั้นเป็นข่าวอะไร เค้าจะรายงานแผ่นดินไหวพร้อมข้อมูลและภาพจากจุดต่างๆมานำเสนอทันที (ประเทศอื่นที่ใช้ทีวีดิจิตอล ISDB จะใช้รูปแบบการเตือนเหมือนกับญี่ปุ่นทุกอย่าง)
4.การเตือนภัยทางอินเตอร์เน็ต
การเตือนภัยทางอินเตอร์เน็ตนั้นไม่ค่อยแพร่หลายครับ ระบบนี้เรียกว่า The Last 10-Second เพราะค่าทำระบบมีราคาสูงจึงต้องเสียเงินเพิ่มในส่วนการเตือนภัย(เดือนละ315เยน) โดยการเตือนภัยนี้จะเป็นการรับข้อมูลแผ่นดินไหวของแต่ละจุด ส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต แล้วคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์จะประมวลผลว่าที่ไหน เกิดแรงสั่นเท่าไร โดยข้อมูลจากเซิฟเวอร์ที่ประมวลผลแล้วจะส่งไปที่เซิฟเวอร์ในเขตที่เตือนภัยพิบัติ เพื่อนำข้อมูลส่งไปตามบ้าน และก็ต้องประมวลผลอีกว่าแถวแต่ละบ้านนั้นสั่นเท่าไร เพราะแต่ละที่สั่นไม่เท่ากัน โดยขึ้นเป็นแผนที่เล็กๆ ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
จะรู้ได้ยังไงว่าอุปกรณ์ไหนรองรับระบบการเตือนภัยพิบัติ (EEW)?
ถ้าเราจะซื้อวิทยุหรืออุปกรณ์ต่างๆ ถ้าอุปกรณ์ไหนรองรับการเตือนภัยพิบัติหรือแผ่นดินไหวระบบ EEW ที่ใช้ในญี่ปุ่นก็จะมีโลโก้ที่เรียกว่า Namazu ซึ่งแปลว่า ปลาดุก ตามโบราณคนญี่ปุ่นเชื่อว่าภัยพิบัติต่างๆเกิดขึ้นจาก ปลาดุกยักษ์ และจะเห็นปลาดุกยักษ์ในที่ๆเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (ความเชื่อนะครับ) ก็เลยเลือกใช้โลโก้นี้ เป็นเครื่องหมายที่บอกว่าอุปกรณ์ไหนรองรับการเตือนภัยระบบ EEW ของญี่ปุ่น
ระบบการแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น มีอะไรเจ๋ง มาดูกัน
ระบบการเตือนแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นมีหลักการยังไง?
ระบบนี้เรียกว่า Earthquake Early Warning (EEW) ที่จริงหลักการก็ไม่ได้ต่างอะไรกับของประเทศอื่นหรอกครับ โดยจะมีเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนอยู่ในทะเล รอบชายฝั่งประเทศและเครื่องวัดที่อยู่ในจุดต่างๆทั่งประเทศ โดยถ้ามีแรงสั่นสะเทือนที่แรงหรือคาดว่าอาจก่อให้เกิดเหตุภัยพิบัติได้ ก็จะส่งข้อมูลแผ่นดินไหวแบบRealtimeไปที่กรมอุตุนิยมของญี่ปุ่นในจุดที่ใกล้ที่สุด โดยจะส่งสัญญาณเตือนไปที่สถานีโทรทัศน์ ผู้ให้บริการมือถือ และสถานีวิทยุที่ใกล้เคียงก่อน (จะเตือนเขตที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบก่อนใคร ก่อนที่อื่น) แล้วจะส่งต่อไปยังกรมอุตุนิยมทั้งประเทศ เพื่อนำไปเตือนภัย (ข้อมูลส่งกันไวมาก ใช้เวลา 5-15นาที ก็เตือนได้ทั้งประเทศแล้ว)
การเตือนภัยทำได้ทางไหนบ้าง?
การเตือนภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นจะมีอยู่ 4วิธีสุดฮิต โดยวิธีที่จะบอกในเบื้องต้นนี้ เป็นวิธีการเตือนภัยที่ได้ผลสูง เพราะครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของเขตนั้นๆหรือของประเทศอยู่แล้ว
1.การเตือนภัยผ่านมือถือ
มือถือทุกรุ่น ทุกค่ายตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.2007 ขึ้นไป (au เริ่มใช้ตั้งแต่ค.ศ.2008) จะมีระบบเตือนภัยพิบัติอัตโนมัติ โดยข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาจะส่งมาที่ผู้ให้บริการมือถือ แล้วผู้ให้บริการก็ส่งเป็นข้อความเตือนมาที่มือถือทุกคนที่อยู่ในเขตที่คาดว่าจะเกิดภัยพิบัติ (ถ้าเครื่องใช้โหมดปิดเสียงอยู่ เสียงก็จะดังเองโดยอัตโนมัติ) โดยข้อความนี้ไม่ต้องไปสมัครหรือเสียเงินนะครับ เป็นบริการฟรี
2.การเตือนภัยผ่านวิทยุ
การเตือนภัยผ่านวิทยุเป็นการเตือนภัยอีกวิธีที่ได้ผลดี โดยจะส่งเป็นคลื่นFMแบบพิเศษจากสถานีวิทยุใกล้เคียง ที่ถ้าวิทยุนั้นสแตนบายหรือปิดเสียงอยู่ ก็จะเปิดและเสียงก็เตือนขึ้นเอง ถ้ามีการเตือนภัย โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับสถานที่ๆอินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึง (สมัยนี้เน็ตมันถึงกันหมดทั้งประเทศแล้วมั้ง) เสียงจะชัดไม่ชัดก็แล้วแต่ที่ โดยสถานีวิทยุที่มีสัญญาณเตือนภัยแบบพิเศษมี4สถานีวิทยุ คือ NHK Radio 1 และ 2 (ทั่วประเทศ), bayfm78 (นาโกย่า), Tokyo FM (โตเกียว), J-Wave (โตเกียว)
3.การเตือนภัยทางโทรทัศน์
การเตือนภัยพิบัติทางโทรทัศน์เป็นวิธียอดฮิต รวดเร็วที่สุด และยังครอบคลุมประชากรได้มากด้วย เพราะสัญญาณเตือนภัยได้ไวมาก (เกิดเหตุได้ไม่เกิน10นาที ก็ขึ้นทีวีแล้ว) โดยสัญญาณเตือนจะมาจากกรมอุตุนิยมวิทยาแล้วส่งไปที่สถานีโทรทัศน์ใกล้เคียง (สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่นมีของแต่ละเขต ช่องเดียวมีย่อยเป็น10ช่องทั้งประเทศ) แล้วนำไปแสดงผล โดยอัตโนมัติ ถ้าแผ่นดินไหวหรือสึนามิเบาๆ ก็จะแค่ขึ้นคำเตือนด้านบนของจอ แป๊บเดียวแล้วหายไป แต่ถ้าเป็นแบบแรงขึ้นมาอีกหน่อย (ซัก5ริกเตอร์) ก็จะแสดงจุดที่เกิดด้วย พร้อมเสียงเตือน แต่ถ้าไม่ได้แรงจนตึกสั่นอย่างเห็นได้ชัด ไหวแป๊บเดียวก็หยุด อันนี้คำเตือนก็จะหายไปเอง
แต่ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ก็จะตัดภาพเข้าไปยังสถานีโทรทัศน์ โดยมีขึ้นเกริ่นกันนิดนึงแล้วค่อยตัดภาพเข้าไป ข้อมูลการรายงานทั้งหมดจะไปที่ NHK แล้วข้อมูลก็จะส่งไปที่ช่องอื่นต่อไป โดยมีเกริ่นกันนิดนึงแล้วค่อยตัดภาพเข้าไปที่สถานีของแต่ละช่อง (บางทีมีโชว์ถ่ายในสถานีด้วยว่าสั่นแรงขนาดไหน) ถ้าอยู่ในรายการข่าว ทางช่องจะไม่สนว่าตอนนั้นเป็นข่าวอะไร เค้าจะรายงานแผ่นดินไหวพร้อมข้อมูลและภาพจากจุดต่างๆมานำเสนอทันที (ประเทศอื่นที่ใช้ทีวีดิจิตอล ISDB จะใช้รูปแบบการเตือนเหมือนกับญี่ปุ่นทุกอย่าง)
4.การเตือนภัยทางอินเตอร์เน็ต
การเตือนภัยทางอินเตอร์เน็ตนั้นไม่ค่อยแพร่หลายครับ ระบบนี้เรียกว่า The Last 10-Second เพราะค่าทำระบบมีราคาสูงจึงต้องเสียเงินเพิ่มในส่วนการเตือนภัย(เดือนละ315เยน) โดยการเตือนภัยนี้จะเป็นการรับข้อมูลแผ่นดินไหวของแต่ละจุด ส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต แล้วคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์จะประมวลผลว่าที่ไหน เกิดแรงสั่นเท่าไร โดยข้อมูลจากเซิฟเวอร์ที่ประมวลผลแล้วจะส่งไปที่เซิฟเวอร์ในเขตที่เตือนภัยพิบัติ เพื่อนำข้อมูลส่งไปตามบ้าน และก็ต้องประมวลผลอีกว่าแถวแต่ละบ้านนั้นสั่นเท่าไร เพราะแต่ละที่สั่นไม่เท่ากัน โดยขึ้นเป็นแผนที่เล็กๆ ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
จะรู้ได้ยังไงว่าอุปกรณ์ไหนรองรับระบบการเตือนภัยพิบัติ (EEW)?
ถ้าเราจะซื้อวิทยุหรืออุปกรณ์ต่างๆ ถ้าอุปกรณ์ไหนรองรับการเตือนภัยพิบัติหรือแผ่นดินไหวระบบ EEW ที่ใช้ในญี่ปุ่นก็จะมีโลโก้ที่เรียกว่า Namazu ซึ่งแปลว่า ปลาดุก ตามโบราณคนญี่ปุ่นเชื่อว่าภัยพิบัติต่างๆเกิดขึ้นจาก ปลาดุกยักษ์ และจะเห็นปลาดุกยักษ์ในที่ๆเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (ความเชื่อนะครับ) ก็เลยเลือกใช้โลโก้นี้ เป็นเครื่องหมายที่บอกว่าอุปกรณ์ไหนรองรับการเตือนภัยระบบ EEW ของญี่ปุ่น