ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 15
ในวรรณกรรมสามก๊กมักให้ภาพแฮหัวตุ้นเป็นขุนศึกเลือดร้อน แต่ในประวัติศาสตร์มีอะไรมากกว่านั้นครับ
จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่า แฮหัวตุ้น (夏侯惇 เซี่ยโหวตุน) เป็นลูกหลานของเซี่ยโหวอิง (夏侯嬰) หนึ่งในขุนนางที่ติดตามหลิวปัง (劉邦) หรือฮั่นเกาจู่ (漢高祖) สถาปนาราชวงศ์ฮั่นมาตั้งแต่แรก เป็นคนเมืองเดียวกับโจโฉ ตระกูลเฉา (โจ) กับเซี่ยโหว (แฮหัว) แต่งงานเกี่ยวดองกันมาหลายรุ่นจึงเป็นเครือญาติใกล้ชิด บุตรสาวของโจโฉก็แต่งงานกับบุตรชายแฮหัวตุ้น
จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าไม่ทราบชาติกำเนิดของบิดาโจโฉชัดเจน แต่จดหมายเหตุเฉาหมานจ้วน《曹瞞傳》ที่แต่งโดนชาวอู๋ (ง่อ) กับจดหมายเหตุซื่ออวี่ 《世語》ของกัวปาน (郭頒) ระบุว่า บิดาโจโฉเกิดในตระกูลแฮหัว เป็นอาของแฮหัวตุ้น โจโฉจึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับแฮหัวตุ้น
อย่างไรก็ตาม การที่เครือญาติใกล้ชิดแซ่เดียวกันเป็นเรืองผิดจารีตในสมัยโบราณ จึงเป็นไปได้ที่เฉาหม่านจ้วนที่แต่งโดยชาวอู๋ซึ่งเป็นศัตรูของโจโฉ อาจต้องการทำให้ภาพลักษณ์โจโฉดูไม่ดีจึงได้กล่าวว่าบิดาของโจโฉมีแซ่แฮหัว
เมื่อแฮหัวตุ้นอายุ 14 ปี มีคนมาดูหมิ่นอาจารย์ จึงถูกแฮหัวตุ้นสังหารทิ้ง นับแต่นั้นแฮหัวตุ้นจึงปรากฏชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีอารมณ์โกรธเกรี้ยวรุนแรง
เมื่อโจโฉตั้งกองทัพต่อต้านตั๋งโต๊ะ แฮหัวตุ้นได้มาเข้าร่วมแล้วติดตามออกศึกอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในช่วงที่โจโฉได้ครองมณฑลกุนจิ๋ว (兖州 เหยี่ยนโจว) ได้รับแต่งตั้งจากราชสำนักให้เป็นขุนศึกยุทธขจร (奮武將軍 เฟิ่นอู่เจียงจวิน) โจโฉจึงตั้งแฮหัวตุ้นเป็น ซือหม่า (司馬) หรือผู้บังคับการทหารในกองพลของโจโฉ ให้วางกำลังทหารประจำอยู่ที่ตำบลแปะแบ๊ (白馬 ไป๋หม่า) ต่อมาได้เลื่อนเป็น นายกองบุกทะลวง (折衝校尉 เจ๋อชงเสี้ยวเว่ย) ควบตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตองกุ๋น (東郡 ตงจวิ้น)
ต่อมาเมื่อโจโฉยกทัพตีชีจิ๋วเพื่อล้างแค้นให้บิดา จึงมอบหมายให้แฮหัวตุ้นรักษาเมืองปักเอี้ยง (濮陽 ผูหยาง) ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของกุนจิ๋ว แต่ต่อมาเกิดเหตุกบฏนำโดยเตียวเมาและตันก๋งที่เปลี่ยนไปเข้าข้างลิโป้ ตอนนั้นกองทัพของเตียวเมาอยู่ใกล้เมืองจ้วนเฉิง (鄄城) ซึ่งครอบครัวของโจโฉอยู่ แฮหัวตุ้นจึงนำทัพออกไปช่วย ทำให้ลิโป้ฉวยโอกาสยึดเมืองปักเอี้ยงไปได้ ต่อมาลิโป้แกล้งส่งคนมาทำทียอมแพ้ ทำให้แฮหัวตุ้นหลงกลและถูกจับเป็นเชลยในค่ายตัวเอง แต่ฮันโฮ (韓浩 หานเฮ่า) นายทหารของแฮหัวตุ้นเข้าไปเจรจาจนพวกกบฏยอมปล่อยแฮหัวตุ้น
เมื่อโจโฉยกทัพกลับมา จึงยกทัพไปรบกับลิโป้ ในครั้งนี้แฮหัวตุ้นถูกยิงที่ตาซ้าย จนทหารตั้งฉายาให้ว่า แฮหัวบอด (盲夏侯) แฮหัวตุ้นเกลียดฉายานี้มาก มีบันทึกว่าแฮหัวตุ้นได้ส่องกระจกแล้วโกรธมาก จึงเขวี้ยงกระจกลงพื้น
ต่อมาแฮหัวตุ้นได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตันลิว (陳留 เฉินหลิว) และจี้อิน (濟陰) พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ขุนพลยุทธบันดาล (建武將軍) มีบรรดาศักดิ์เป็น เกาอันเซียงโหว (高安鄉侯)
ในช่วงนี้เกิดภัยแล้งและมีตั๊กแตนระบาดในดินแดนแถบนี้ แฮหัวตุ้นเลยให้ทำการปรับปรุงระบบชลประทานโดยสร้างเขื่อนเก็บน้ำขึ้นที่แม่น้ำไท่โซ่วสุ่ย (太壽水) ร่วมถึงส่งเสริมให้ชาวบ้านทำนาและลงไปช่วยทำนาด้วยตนเอง เป็นที่พึ่งให้ราษฎรได้มาก นับเป็นอีกด้านหนึ่งของแฮหัวตุ้นที่ไม่ปรากฏในวรรณกรรม หลังจากนั้นแฮหัวตุ้นได้เลื่อนเป็น ข้าหลวงจังหวัดเหอหนาน (河南尹) ซึ่งครอบคลุมราชธานีลกเอี๋ยง
ในช่วงที่โจโฉยกทัพไปรบกับอ้วนเสี้ยว แฮหัวตุ้นไม่ได้ติดตามไปด้วย แต่ถูกส่งให้ยกไปตีเล่าปี่ซึ่งหนีไปอาศัยเล่าเปียวอยู่ที่เกงจิ๋ว แฮหัวตุ้นไม่ฟังคำเตือนลิเตียน จึงถูกทัพเล่าปี่ซุ่มโจมตีจนพ่ายแพ้ที่ทุ่งพกบ๋อง
หลังจากโจโฉรบชนะอ้วนเสี้ยว ยึดเมืองเงียบกุ๋น (鄴城 เย่เฉิง) ที่เป็นเมืองเอกของกิจิ๋วได้ จึงได้เลื่อนแฮหัวตุ้นเป็น ขุนพลสงบคลื่น (伏波將軍 ฝูปัวเจียงจวิน) และยังดูแลเหอหนานเหมือนเดิม แฮหัวตุ้นได้รับอำนาจให้ว่าราชการในมณฑลได้อย่างเต็มที่ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย
รัชศกเจี้ยนอันที่ 12 (ค.ศ. 207) ด้วยความดีความชอบที่ผ่านมา แฮหัวตุ้นได้รับศักดินาเพิ่ม 1,800 ครัวเรือน รวมเป็นทั้งหมด 2,500 ครัวเรือน
รัชศกเจี้ยนอันที่ 21 (ค.ศ. 216) หลังจากติดตามโจโฉไปรบกับซุนกวน แฮหัวตุ้นได้รับมอบหมายให้เป็นตูตู (都督) ผู้บัญชาการทหาร 26 ทัพ (จวิน 軍 ปกติหนึ่งจวินมีทหาร 12,500 นาย) ประจำการที่จวีเฉา (居巢) นอกจากนี้ยังได้รับนักดนตรีและนักเต้นระบำเป็นการปูนบำเหน็จด้วย ปรากฏในราชโองการว่า "เว่ยเจี้ยง (魏絳) ปราบชาวหรงได้รับทองรับบำเหน็จ ท่านขุนพลควรได้มากกว่านั้น"
รัชศกเจี้ยนอันที่ 24 (ค.ศ. 219) เมื่อโจโฉซึ่งเป็นวุยอ๋อง (魏王 เว่ยหวัง) ยกทัพไปมั๋วเปย (摩陂) ให้แฮหัวตุ้นเดินทางร่วมกัน อนุญาตให้แฮหัวตุ้นเข้านอกออกในที่พักโจโฉได้เสมอ ได้รับความไว้วางใจยิ่งกว่าขุนทหารทั้งปวง หลังจากนั้นโจโฉได้เลื่อนแฮหัวตุ้นเป็นขุนพลฝ่ายหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจวิน) ในวุยก๊กที่เป็นรัฐศักดินาของตน ให้ยกทหารไปประจำการที่ฉิวฉุน (壽春 โซ่วชุน) ต่อมาย้ายไปที่เซ่าหลิง (召陵)
เว่ยซู (魏書) หรือพงศาวดารวุยก๊กระบุว่า เนื่องจากโจโฉเป็นวุยอ๋องจึงมีอำนาจแต่งตั้งขุนนางในรัฐศักดินาของตนเองเป็นอิสระจากราชสำนักฮั่น ลูกน้องโจโฉส่วนใหญ่ล้วนมีตำแหน่งอยู่ในรัฐศักดินาของโจโฉ เว้นแต่แฮหัวตุ้นยังมีตำแหน่งแต่ในราชสำนักฮั่น แฮหัวตุ้นอยากมีตำแหน่งอยู่กับโจโฉเพื่อแสดงความภักดี แต่โจโฉกล่าวว่า "ข้าได้ยินว่าผู้ปกครองที่ดีที่สุดนับถือข้ารับใช้เสมือนอาจารย์ รองมานับถือว่าข้ารับใช้เสมือนสหาย ข้าราชสำนักถือเป็นผู้ทรงคุณธรรม รัฐเล็กอย่างวุย ไม่อาจเอาท่านมาเป็นข้ารับใช้ได้" แต่แฮหัวตุ้นยืนยัน โจโฉจึงตั้งให้เป็นขุนพลฝ่ายหน้า
เว่ยซื่อชุนชิว (魏氏春秋) ระบุว่า แฮหัวตุ้น ตันกุ๋น (陳群 เฉินฉวิน) และหวนเจีย (桓階) ได้เสนอให้โจโฉสถาปนาตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยกล่าวว่า "ราษฎรใต้ฟ้าล้วนรู้ว่าแผ่นดินฮั่นใกล้สิ้น หลายคนต้องการแทนที่ ตั้งแต่โบราณผู้ขจัดทุกข์ภัยชนะใจคนราษฎรย่อมได้ขึ้นเป็นเจ้า ตอนนี้ต้าหวังกรำศึกสามสิบปี บารมีและคุณธรรมเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชน เห็นแก่ผู้อาศัยใต้ฟ้า ขอให้ทำตามอาณัติสวรรค์และราษฎร ใยต้องลังเลอีก" แต่โจโฉปฏิเสธ
หลังจากโจโฉตาย โจผีได้สืบทอดตำแหน่งวุยอ๋องแทน และได้เลื่อนแฮหัวตุ้นเป็น มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจวิน) หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุด มสถานะสูงกว่าซานกงหรือสามมหาเสนาบดี แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็เสียชีวิต
โจผีได้มอบบรรดาศักดิ์ย้อนหลังให้แฮหัวตุ้นว่า จงโหว (忠侯) หรือ โหวผู้ภักดี สวมชุดไว้ทุกข์ไปไว้ทุกข์ที่ประตูเมืองเย่เฉิงด้วยตนเอง ซุนเซิ่งนักประวัติศาสตร์สมัยจิ้นวิจารณ์ว่า ตามจารีตโอรสสวรรค์จะร้องไห้คร่ำครวญให้ญาติแซ่เดียวกันที่ประตูศาลบรรพชน ร้องไห้ที่ประตูเมืองไม่ใช่สิ่งเหมาะสม
เซี่ยโหวชง (夏侯充) บุตรชายคนโตได้สืบทอดบรรดาศักดิ์เกาอันเซียงโหวต่อไปยังลูกหลาน โจผีมีราชโองการให้ตั้งลูกหลานแฮหัวตุ้นทุกคนเป็นโหว แบ่งศักดินาของแฮหัวตุ้น 1,000 ครัวเรือนให้บุตรชายของแฮหัวตุ้น 7 คน และหลานชาย 2 คน และให้ทุกคนเป็นกวนเน่ยโหว (關內侯 โหวไม่มีศักดินา) ส่วนเซี่ยโหวเหลียน (夏侯廉) น้องชายแฮหัวตุ้น กับลูกชายคนที่สองคือแฮหัวหลิม (夏侯楙 เซี่ยโหวเม่า) เป็นโหวกินศักดินาอยู่แล้ว (ฉบับนิยายเปลี่ยนแฮหัวหลิมเป็นลูกแฮหัวเอี๋ยน และให้เป็นลูกบุญธรรมแฮหัวตุ้น)
แฮหัวหลิมสนิทสนมกับโจผีมาตั้งแต่เด็ก โจโฉยกธิดาซึ่งภายหลังรู้จักในชื่อองค์หญิงชิงเหอ (清河公主) ให้เป็นภรรยา เมื่อโจผีครองราชย์จึงตั้งให้เป็นขุนพลสงบประจิม (安西將軍 อันซีเจียงจวิน) ถือคฑาอาญาสิทธิ์ เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกวนจงต่อจากแฮหัวเอี๋ยน ทั้งที่ไม่ได้มีความสามารถทางการทหาร
เฉินโซ่วยกย่องแฮหัวตุ้นไว้ว่า "ตุ้นแม้ว่าจะเดินทางกับกองทัพเสมอ แต่เชิญอาจารย์มาสอนสั่งความรู้ อยู่อย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อมักแบ่งปันทรัพย์สินให้ผู้อื่นเสมอ หากตนเองมีเงินไม่พอก็ขอเบิกจ่ายจากคลังหลวง จึงไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวมากนัก"
โดยสรุปแล้ว แฮหัวตุ้นอาจจะไม่ได้มีผลงานการบัญชาการศึกที่โดดเด่นมากเท่ากับขุนพลของโจโฉคนอื่นๆ เช่น แฮหัวเอี๋ยน เตียวเลี้ยว เตียวคับ ซิหลง หรือไม่ได้มีฝีมือการรบตัวต่อตัวเหมือนเคาทู เตียนอุย แล้วก็รบแพ้บ่อย แต่เป็นญาติสนิทที่โจโฉไว้วางใจมาก และน่าจะอาวุโสที่สุดในหมู่เครือญาติ จึงได้รับมอบหมายให้รักษาความเรียบร้อยในเขตปกครองของโจโฉมากกว่าออกไปรบแนวหน้า ซึ่งแฮหัวตุ้นก็ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีครับ
จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่า แฮหัวตุ้น (夏侯惇 เซี่ยโหวตุน) เป็นลูกหลานของเซี่ยโหวอิง (夏侯嬰) หนึ่งในขุนนางที่ติดตามหลิวปัง (劉邦) หรือฮั่นเกาจู่ (漢高祖) สถาปนาราชวงศ์ฮั่นมาตั้งแต่แรก เป็นคนเมืองเดียวกับโจโฉ ตระกูลเฉา (โจ) กับเซี่ยโหว (แฮหัว) แต่งงานเกี่ยวดองกันมาหลายรุ่นจึงเป็นเครือญาติใกล้ชิด บุตรสาวของโจโฉก็แต่งงานกับบุตรชายแฮหัวตุ้น
จดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าไม่ทราบชาติกำเนิดของบิดาโจโฉชัดเจน แต่จดหมายเหตุเฉาหมานจ้วน《曹瞞傳》ที่แต่งโดนชาวอู๋ (ง่อ) กับจดหมายเหตุซื่ออวี่ 《世語》ของกัวปาน (郭頒) ระบุว่า บิดาโจโฉเกิดในตระกูลแฮหัว เป็นอาของแฮหัวตุ้น โจโฉจึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับแฮหัวตุ้น
อย่างไรก็ตาม การที่เครือญาติใกล้ชิดแซ่เดียวกันเป็นเรืองผิดจารีตในสมัยโบราณ จึงเป็นไปได้ที่เฉาหม่านจ้วนที่แต่งโดยชาวอู๋ซึ่งเป็นศัตรูของโจโฉ อาจต้องการทำให้ภาพลักษณ์โจโฉดูไม่ดีจึงได้กล่าวว่าบิดาของโจโฉมีแซ่แฮหัว
เมื่อแฮหัวตุ้นอายุ 14 ปี มีคนมาดูหมิ่นอาจารย์ จึงถูกแฮหัวตุ้นสังหารทิ้ง นับแต่นั้นแฮหัวตุ้นจึงปรากฏชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีอารมณ์โกรธเกรี้ยวรุนแรง
เมื่อโจโฉตั้งกองทัพต่อต้านตั๋งโต๊ะ แฮหัวตุ้นได้มาเข้าร่วมแล้วติดตามออกศึกอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในช่วงที่โจโฉได้ครองมณฑลกุนจิ๋ว (兖州 เหยี่ยนโจว) ได้รับแต่งตั้งจากราชสำนักให้เป็นขุนศึกยุทธขจร (奮武將軍 เฟิ่นอู่เจียงจวิน) โจโฉจึงตั้งแฮหัวตุ้นเป็น ซือหม่า (司馬) หรือผู้บังคับการทหารในกองพลของโจโฉ ให้วางกำลังทหารประจำอยู่ที่ตำบลแปะแบ๊ (白馬 ไป๋หม่า) ต่อมาได้เลื่อนเป็น นายกองบุกทะลวง (折衝校尉 เจ๋อชงเสี้ยวเว่ย) ควบตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตองกุ๋น (東郡 ตงจวิ้น)
ต่อมาเมื่อโจโฉยกทัพตีชีจิ๋วเพื่อล้างแค้นให้บิดา จึงมอบหมายให้แฮหัวตุ้นรักษาเมืองปักเอี้ยง (濮陽 ผูหยาง) ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของกุนจิ๋ว แต่ต่อมาเกิดเหตุกบฏนำโดยเตียวเมาและตันก๋งที่เปลี่ยนไปเข้าข้างลิโป้ ตอนนั้นกองทัพของเตียวเมาอยู่ใกล้เมืองจ้วนเฉิง (鄄城) ซึ่งครอบครัวของโจโฉอยู่ แฮหัวตุ้นจึงนำทัพออกไปช่วย ทำให้ลิโป้ฉวยโอกาสยึดเมืองปักเอี้ยงไปได้ ต่อมาลิโป้แกล้งส่งคนมาทำทียอมแพ้ ทำให้แฮหัวตุ้นหลงกลและถูกจับเป็นเชลยในค่ายตัวเอง แต่ฮันโฮ (韓浩 หานเฮ่า) นายทหารของแฮหัวตุ้นเข้าไปเจรจาจนพวกกบฏยอมปล่อยแฮหัวตุ้น
เมื่อโจโฉยกทัพกลับมา จึงยกทัพไปรบกับลิโป้ ในครั้งนี้แฮหัวตุ้นถูกยิงที่ตาซ้าย จนทหารตั้งฉายาให้ว่า แฮหัวบอด (盲夏侯) แฮหัวตุ้นเกลียดฉายานี้มาก มีบันทึกว่าแฮหัวตุ้นได้ส่องกระจกแล้วโกรธมาก จึงเขวี้ยงกระจกลงพื้น
ต่อมาแฮหัวตุ้นได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตันลิว (陳留 เฉินหลิว) และจี้อิน (濟陰) พร้อมกับได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ขุนพลยุทธบันดาล (建武將軍) มีบรรดาศักดิ์เป็น เกาอันเซียงโหว (高安鄉侯)
ในช่วงนี้เกิดภัยแล้งและมีตั๊กแตนระบาดในดินแดนแถบนี้ แฮหัวตุ้นเลยให้ทำการปรับปรุงระบบชลประทานโดยสร้างเขื่อนเก็บน้ำขึ้นที่แม่น้ำไท่โซ่วสุ่ย (太壽水) ร่วมถึงส่งเสริมให้ชาวบ้านทำนาและลงไปช่วยทำนาด้วยตนเอง เป็นที่พึ่งให้ราษฎรได้มาก นับเป็นอีกด้านหนึ่งของแฮหัวตุ้นที่ไม่ปรากฏในวรรณกรรม หลังจากนั้นแฮหัวตุ้นได้เลื่อนเป็น ข้าหลวงจังหวัดเหอหนาน (河南尹) ซึ่งครอบคลุมราชธานีลกเอี๋ยง
ในช่วงที่โจโฉยกทัพไปรบกับอ้วนเสี้ยว แฮหัวตุ้นไม่ได้ติดตามไปด้วย แต่ถูกส่งให้ยกไปตีเล่าปี่ซึ่งหนีไปอาศัยเล่าเปียวอยู่ที่เกงจิ๋ว แฮหัวตุ้นไม่ฟังคำเตือนลิเตียน จึงถูกทัพเล่าปี่ซุ่มโจมตีจนพ่ายแพ้ที่ทุ่งพกบ๋อง
หลังจากโจโฉรบชนะอ้วนเสี้ยว ยึดเมืองเงียบกุ๋น (鄴城 เย่เฉิง) ที่เป็นเมืองเอกของกิจิ๋วได้ จึงได้เลื่อนแฮหัวตุ้นเป็น ขุนพลสงบคลื่น (伏波將軍 ฝูปัวเจียงจวิน) และยังดูแลเหอหนานเหมือนเดิม แฮหัวตุ้นได้รับอำนาจให้ว่าราชการในมณฑลได้อย่างเต็มที่ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดต่อกฎหมาย
รัชศกเจี้ยนอันที่ 12 (ค.ศ. 207) ด้วยความดีความชอบที่ผ่านมา แฮหัวตุ้นได้รับศักดินาเพิ่ม 1,800 ครัวเรือน รวมเป็นทั้งหมด 2,500 ครัวเรือน
รัชศกเจี้ยนอันที่ 21 (ค.ศ. 216) หลังจากติดตามโจโฉไปรบกับซุนกวน แฮหัวตุ้นได้รับมอบหมายให้เป็นตูตู (都督) ผู้บัญชาการทหาร 26 ทัพ (จวิน 軍 ปกติหนึ่งจวินมีทหาร 12,500 นาย) ประจำการที่จวีเฉา (居巢) นอกจากนี้ยังได้รับนักดนตรีและนักเต้นระบำเป็นการปูนบำเหน็จด้วย ปรากฏในราชโองการว่า "เว่ยเจี้ยง (魏絳) ปราบชาวหรงได้รับทองรับบำเหน็จ ท่านขุนพลควรได้มากกว่านั้น"
รัชศกเจี้ยนอันที่ 24 (ค.ศ. 219) เมื่อโจโฉซึ่งเป็นวุยอ๋อง (魏王 เว่ยหวัง) ยกทัพไปมั๋วเปย (摩陂) ให้แฮหัวตุ้นเดินทางร่วมกัน อนุญาตให้แฮหัวตุ้นเข้านอกออกในที่พักโจโฉได้เสมอ ได้รับความไว้วางใจยิ่งกว่าขุนทหารทั้งปวง หลังจากนั้นโจโฉได้เลื่อนแฮหัวตุ้นเป็นขุนพลฝ่ายหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจวิน) ในวุยก๊กที่เป็นรัฐศักดินาของตน ให้ยกทหารไปประจำการที่ฉิวฉุน (壽春 โซ่วชุน) ต่อมาย้ายไปที่เซ่าหลิง (召陵)
เว่ยซู (魏書) หรือพงศาวดารวุยก๊กระบุว่า เนื่องจากโจโฉเป็นวุยอ๋องจึงมีอำนาจแต่งตั้งขุนนางในรัฐศักดินาของตนเองเป็นอิสระจากราชสำนักฮั่น ลูกน้องโจโฉส่วนใหญ่ล้วนมีตำแหน่งอยู่ในรัฐศักดินาของโจโฉ เว้นแต่แฮหัวตุ้นยังมีตำแหน่งแต่ในราชสำนักฮั่น แฮหัวตุ้นอยากมีตำแหน่งอยู่กับโจโฉเพื่อแสดงความภักดี แต่โจโฉกล่าวว่า "ข้าได้ยินว่าผู้ปกครองที่ดีที่สุดนับถือข้ารับใช้เสมือนอาจารย์ รองมานับถือว่าข้ารับใช้เสมือนสหาย ข้าราชสำนักถือเป็นผู้ทรงคุณธรรม รัฐเล็กอย่างวุย ไม่อาจเอาท่านมาเป็นข้ารับใช้ได้" แต่แฮหัวตุ้นยืนยัน โจโฉจึงตั้งให้เป็นขุนพลฝ่ายหน้า
เว่ยซื่อชุนชิว (魏氏春秋) ระบุว่า แฮหัวตุ้น ตันกุ๋น (陳群 เฉินฉวิน) และหวนเจีย (桓階) ได้เสนอให้โจโฉสถาปนาตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยกล่าวว่า "ราษฎรใต้ฟ้าล้วนรู้ว่าแผ่นดินฮั่นใกล้สิ้น หลายคนต้องการแทนที่ ตั้งแต่โบราณผู้ขจัดทุกข์ภัยชนะใจคนราษฎรย่อมได้ขึ้นเป็นเจ้า ตอนนี้ต้าหวังกรำศึกสามสิบปี บารมีและคุณธรรมเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชน เห็นแก่ผู้อาศัยใต้ฟ้า ขอให้ทำตามอาณัติสวรรค์และราษฎร ใยต้องลังเลอีก" แต่โจโฉปฏิเสธ
หลังจากโจโฉตาย โจผีได้สืบทอดตำแหน่งวุยอ๋องแทน และได้เลื่อนแฮหัวตุ้นเป็น มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจวิน) หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุด มสถานะสูงกว่าซานกงหรือสามมหาเสนาบดี แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็เสียชีวิต
โจผีได้มอบบรรดาศักดิ์ย้อนหลังให้แฮหัวตุ้นว่า จงโหว (忠侯) หรือ โหวผู้ภักดี สวมชุดไว้ทุกข์ไปไว้ทุกข์ที่ประตูเมืองเย่เฉิงด้วยตนเอง ซุนเซิ่งนักประวัติศาสตร์สมัยจิ้นวิจารณ์ว่า ตามจารีตโอรสสวรรค์จะร้องไห้คร่ำครวญให้ญาติแซ่เดียวกันที่ประตูศาลบรรพชน ร้องไห้ที่ประตูเมืองไม่ใช่สิ่งเหมาะสม
เซี่ยโหวชง (夏侯充) บุตรชายคนโตได้สืบทอดบรรดาศักดิ์เกาอันเซียงโหวต่อไปยังลูกหลาน โจผีมีราชโองการให้ตั้งลูกหลานแฮหัวตุ้นทุกคนเป็นโหว แบ่งศักดินาของแฮหัวตุ้น 1,000 ครัวเรือนให้บุตรชายของแฮหัวตุ้น 7 คน และหลานชาย 2 คน และให้ทุกคนเป็นกวนเน่ยโหว (關內侯 โหวไม่มีศักดินา) ส่วนเซี่ยโหวเหลียน (夏侯廉) น้องชายแฮหัวตุ้น กับลูกชายคนที่สองคือแฮหัวหลิม (夏侯楙 เซี่ยโหวเม่า) เป็นโหวกินศักดินาอยู่แล้ว (ฉบับนิยายเปลี่ยนแฮหัวหลิมเป็นลูกแฮหัวเอี๋ยน และให้เป็นลูกบุญธรรมแฮหัวตุ้น)
แฮหัวหลิมสนิทสนมกับโจผีมาตั้งแต่เด็ก โจโฉยกธิดาซึ่งภายหลังรู้จักในชื่อองค์หญิงชิงเหอ (清河公主) ให้เป็นภรรยา เมื่อโจผีครองราชย์จึงตั้งให้เป็นขุนพลสงบประจิม (安西將軍 อันซีเจียงจวิน) ถือคฑาอาญาสิทธิ์ เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกวนจงต่อจากแฮหัวเอี๋ยน ทั้งที่ไม่ได้มีความสามารถทางการทหาร
เฉินโซ่วยกย่องแฮหัวตุ้นไว้ว่า "ตุ้นแม้ว่าจะเดินทางกับกองทัพเสมอ แต่เชิญอาจารย์มาสอนสั่งความรู้ อยู่อย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อมักแบ่งปันทรัพย์สินให้ผู้อื่นเสมอ หากตนเองมีเงินไม่พอก็ขอเบิกจ่ายจากคลังหลวง จึงไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวมากนัก"
โดยสรุปแล้ว แฮหัวตุ้นอาจจะไม่ได้มีผลงานการบัญชาการศึกที่โดดเด่นมากเท่ากับขุนพลของโจโฉคนอื่นๆ เช่น แฮหัวเอี๋ยน เตียวเลี้ยว เตียวคับ ซิหลง หรือไม่ได้มีฝีมือการรบตัวต่อตัวเหมือนเคาทู เตียนอุย แล้วก็รบแพ้บ่อย แต่เป็นญาติสนิทที่โจโฉไว้วางใจมาก และน่าจะอาวุโสที่สุดในหมู่เครือญาติ จึงได้รับมอบหมายให้รักษาความเรียบร้อยในเขตปกครองของโจโฉมากกว่าออกไปรบแนวหน้า ซึ่งแฮหัวตุ้นก็ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีครับ
แสดงความคิดเห็น
สามก๊ก.....พี่ตุ้นเเห่งวุยก๊กนี่ จริงๆเเกเป็นเเม่ทัพที่เก่งกาจขนาดไหนในประวัติศาสตร์จริงน่ะครับ
คือ การ์ตูนเกี่ยวกับสามก๊กเรื่องไหนๆก็มักจะเอาพี่เเกเป็นตัวละครสำคัญทุกครั้ง คงเพราะบุคลิกที่โดดเด่นเเถมใกล้ชิดอาม่านโจโฉอีก
เเต่เท่าที่ดูฝีมือในการนำทัพนี่ รู้สึกจะไม่ค่อยเห็นวีรกรรมเท่าไหร่เลยเเฮะ อย่างพวกเตียวเลี้ยว เตียวคับ เคาทู หรือซิหลงจะมีวีรกรรมเด่นๆเป็นที่จดจำได้ ส่วนที่ตุ้นนี่นอกจากตอนเเดรกลูกตาตัวเองนั่นจำวีรกรรมเด่นๆเเกไม่ได้เลยเเฮะ