พอดีช่วงนี้เป็นหน้าปิดงบ แล้วเราเองมีเรื่องอยากระบายมานานแล้ว หลังจากได้มีโอกาสร่วมงานกับสำนักงานบัญชีระดับ local เล็กๆ มากมาย
เราพบว่า ส่วนใหญ่ เกินครึ่ง ไม่เข้าใจหลักการบัญชีพื้นฐาน แถมยังสอนลูกค้า (ทั้งที่มีพื้นบัญชีและไม่มีพื้นบัญชี) ผิดๆ จนลูกค้าฝังใจเชื่อในสิ่งที่ผิดๆ นั้น
เราเองพยายามสอนในสิ่งที่ถูก แต่บางทีก็เป็นการยากที่จะทัดทาน มันเหมือนกับเค้าฝังใจเชื่อสำนักงานบัญชีพวกนั้น จนไม่ยอมรับฟังความถูกต้องไปแล้ว เราจะลองยกประเด็นง่ายๆ หลักบัญชีพื้นๆ ที่เราเจอแล้วปวดหัวกับ สนง.บัญชีระดับล่าง มาให้ลองพิจารณากันนะ ไม่ได้มีเจตนาดูถูกพวกเค้า แต่อัดอั้นมานาน อยากแชร์
1. สอนย้ำลูกค้าเลยว่า "ถ้าบริษัทให้กรรมการกู้เงิน ยังไงต้องคิดดอกเบี้ย" จนลูกค้าหลายรายเข้าใจผิด คิดว่านี่เป็นหลักบัญชีไปแล้ว
มาตรฐานฉบับไหนกล่าวไว้ไม่ทราบ เป็นกฎของใครหรือเปล่า เข้าใจผิดกันเต็มๆ สำหรับคนที่ยังหลงผิด เราจะชี้แจงให้ฟัง แต่เราเชื่อว่า
พวกที่แม่นมาตรฐานการบัญชี โดยเฉพาะพวก CPA จะเข้าใจ
การที่บริษัทจะให้ใครยืมเงิน มีใครมาบังคับได้ด้วยหรือ ว่าต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่านั้นเท่านี้
การที่ สนง.บัญชีสอนแบบนี้ ก็เพราะไป ยึดเอาประกาศของสรรพากร เรื่อง การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย
หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด มาตีกับเรื่องบัญชี จนทำให้ลูกค้าสับสนไปหมด และเข้าใจผิด
ความเป็นจริงก็คือ สรรรพากรไม่มีอำนาจมาบังคับให้บริษัทคิดดอกเบี้ย แต่มีอำนาจประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น
โดยยึดหลักการที่ว่า ถ้าบริษัท เอาเงินก้อนนี้ไปฝากธนาคาร จะทำให้ได้รับดอกเบี้ย แล้วสรรพากรรจะมีรายได้จากกำไรของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยรับก้อนนั้น ดังนั้น ถ้าหากบริษัทไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรจะขอประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม แล้วบวกเข้าไปจากกำไรสุทธิทางบัญชี ก่อนจะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ประเมินดอกเบี้ยรับเพิ่มเข้าไปในแบบ ภงด50 ถ้าใครไม่ทราบ ขอแนะนำให้เปิดไปในแบบหน้า 3 รายการที่ 3 ข้อที่ 10 ที่บอกว่า "บวก รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร"
ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยรับเข้าไปในงบการเงิน โดยบันทึก Dr.ดอกเบี้ยค้างรับ และ Cr.ดอกเบี้ยรับ เข้าไปทุกๆ ปี
กรุณาเถอะ สนง.บ้ญชีทั้งหลาย ช่วยทำให้มันถูกต้องได้มั้ย แบบ ภงด.50 เค้ามีให้ประเมินเพิ่มอยู่แล้ว ใส่เข้าไปตรงนั้น
อย่าคิดดอกเบี้ยเข้าไปในงบกำไรขาดทุนเด็ดขาด เว้นแต่เป็นเงินกู้ที่กรรมการมีเจตนาจะชำระดอกเบี้ยจริงๆ มิเช่นนั้นแล้ว มันจะผิดมาตรฐานการบัญชีอย่างแน่นอน เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยที่บันทึกเข้าไป ไม่ใช่รายได้ที่แท้จริง และไม่มีวันได้รับชำระ เวลาผ่านไปหลายปี สินทรัพย์ที่ชื่อว่า "ดอกเบี้ยค้างรับ" ก็จะพอกพูนเข้าไปเป็นยอดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่ใช่สินทรัพย์ที่แท้จริง
2. เรื่องค่าเสื่อมราคา โดยคิด 40% ณ วันที่ซื้อมา แล้วที่เหลือทยอยตัด 3 ปี สนง.บัญชี มักจะสอนให้ลูกค้า sme ทั้งหลายใช้ประโยชน์จากค่าเสื่อมราคาวิธีพิเศษที่สรรพากกรอนุญาต โดยไม่เคยบอกลูกค้าเลยว่า วิธีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับทางบัญชีอย่างเด็ดขาด ยกตัวอย่าง ถ้าบริษัทซื้อคอมพิวเตอร์มา 10,000 บาท วันที่ 1 มกราคม ดังนั้น ค่าเสื่อมราคาทางภาษีตามวิธีนี้จะเท่ากับ 6,000 บาท และเท่ากับ 2,000 บาทในอีก 2 ปีถัดมา
เราพยายามสอนลูกค้าเราใหม่ให้เข้าใจให้ถูกว่า ทางบัญชีคุณจะบันทึกค่าเสื่อมราคาเท่านี้ไม่ได้ เพราะคุณไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่า ปีแรกคอมพิวเตอร์คุณเสื่อมลงไป 60% ส่วนปีที่ 2 และ 3 เสื่อมปีละ 20% ตามที่สรรพากรอนุญาต
ถามว่าที่ถูกต้องทำยังไง ทางบัญชี ต้องตัดค่าเสื่อมปีละ 3,333 บาทนะ แล้วปีแรก ถ้าจะใช้ประโยชน์ทางภาษี ให้เอาส่วนต่างอีก 2,667 บาทไปหักออกจากกำไรสุทธิ เพื่อทำให้เสียภาษีน้อยลงจากผลประโยชน์ดังกล่าว ไม่ใช่บันทึกค่าเสื่อมเข้าไป 6,000 บาทเลย
แล้วอย่าลืมหล่ะ ปีแรกคุณได้ประโยชน์ แต่อีก 2 ปีถัดมา คุณเสียประโยชน์นะ เพราะค่าเสื่อมทางบัญชีคือ 3,333 บาท แต่ภาษีเหลือ 2,000 บาท อย่าลืมบวกกลับกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเพิ่มด้วย จะเห็นเลยว่า 3 ปี ถ้ามองโดยรวม คุณก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก นอกจากตัดค่าเสื่อมปีแรกได้มากขึ้นเท่านั้นเอง
แต่ขอย้ำ ทางบัญชี ยอมรับไม่ได้เด็ดขาดกับการบันทึกค่าเสื่อมราคาด้วยจำนวนตามที่สรรพากรอนุญาต กรุณาช่วยสอนลูกค้าให้ถุกด้วยเถิด
จริงๆ เราอยากจะสอนเข้าต่อนะ ว่ารายการนี้มันจะเกิดหนี้สินตัวหนึ่งชื่อว่า "หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี" แต่คงคุยกันยาก จากที่เราสัมผัสมา สนง.บัญชี ส่วนใหญ่ ไม่รู้จักคำว่า "ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี" ..... คุณไม่มีความเป็นมืออาชีพเอาซะเลย ....
3. เรื่องทุนจดทะเบียน ตอนจะจัดตั้งบริษัท เรื่องนี้เราว่าสำคัญมาก ตอนนี้เกือบทุกคนเข้าใจผิดกันหมด เพราะ สนง.บัญชีระดับล่างพวกนี้แหละ คือเดิมที ลูกค้าเวลาจะจัดตั้งบริษัท ก็จะเข้าใจถูกอยู่แล้ว ว่า จดทะเบียนเท่าไหร่ ก็ควรมีสินทรัพย์เท่านั้น ถ้ามีสินทรัพย์ 100,000 ก็จดทะเบียน 100,000 นี่คือความเข้าใจที่ถูก
แต่คงเป็นเวรเป็นกรรมของลูกค้าที่ใช้ สนง.บัญชีที่ไม่รู้บัญชีพื้นฐาน พวกนี้จะสอนลูกค้าว่าไม่จำเป็น พร้อมนำเสนอจำนวนทุนจดทะเบียนยอดฮิต 1 ล้านบาท โดยบอกว่าไม่มีเงินและไม่มีสินทรัพย์อื่น (หรือมีแค่นิดเดียว) ก็จดได้แล้ว ซึ่งผิดถนัด เราจะชี้แจงให้ดู
ตามสมการบัญชีอย่างง่ายเลยนะ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
ถ้าคุณจะตั้งบริษัท โดยไม่มีหนี้สิน สมการก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ คือ "สินทรัพย์ = ทุน" พอเห็นภาพหรือยัง
ทีนี้ เมื่อไม่มีสินทรัพย์ แล้วจะมีทุนได้ยังไง ในเมื่อลูกค้าไม่มีสินทรัพย์ แต่ สนง.บัญชีนี้ พยายามอุปโลกทุนให้ลูกค้าด้วยจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ถามว่าอะไรเกิดขึ้นต่อไป ก็ต้องอุปโลกจำนวน "สินทรัพย์" ขึ้นมาให้เท่ากับทุน กลายเป็น
"ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกรรมการ = ทุน" ซึ่งเป็นของที่อุปโลก ตั้งขึ้นมาลอยๆ ทั้ง 2 ฝั่ง (ทั้งฝั่งเดบิตและเครดิต) แล้วมันจะถูกมาตรฐานบัญชีได้ยังไง ปัญหามันก็พันไปถึงประเด็นในข้อ 1 อีกแล้ว (เรื่องคิดดอกเบี้ย) กลายเป็นงบการเงินเละทะไปหมดเลย
4. การซื้อของด้วยเงินผ่อน สนง.บัญชีส่วนใหญ่มักจะลงไม่ถูก พอเราไปบอกเค้าว่าผิด เค้ายังไม่รู้เลยว่าผิดตรงไหน สมมติเค้าซื้อรถยนต์ โดยจ่ายดาวน์ 5 แสน แล้วผ่อนชำระอีกงวดละ 10,000 เป็นจำนวน 48 งวด เชื่อมั้ยว่า สนง.บัญชีครึ่งนึง บันทึกราคาทุนรถยนต์เท่ากับค่างวดบวกเงินดาวน์ ในกรณีนี้คือ 500,000 + (10,000*48) = 980,000 บาท ในขณะที่ราคารถยนต์ซื้อสดเพียง 8 แสนบาท เค้าบันทึกโดยเดบิต ยานพาหนะ และเครดิต เจ้าหนี้เช่าซื้อ ด้วยจำนวน 980,000 บาทเท่าๆ กัน .... ไม่มีดอกเบี้ยเกิดขึ้นตลอดการผ่อนชำระ!!!!!
เราเลยถามลองภูมิเค้าไปว่า ถ้าพี่ซื้อรถคันนี้เงินสด พี่จะเดบิตรถคันนี้ด้วยราคาทุนเท่าไหร่ เค้าตอบอย่างมั่นใจเลยวา ถ้าซื้อสดก็บันทึก 8 แสนไง โอ้โห แล้วพี่ไม่รู้สึกแปลกอะไรบ้างเลยหรือ ที่รถรุ่นเดียวกัน ราคาต้นทุนที่แสดงในงบต่างกันเพราะซื้อสดกะซื้อผ่อน พี่ไม่รู้เลยว่าที่ทำมันผิด
ถ้าพี่ตอบอย่างมั่นใจแบบนี้ แล้วพี่ไม่ได้จบบัญชีมา เราจะไม่ว่าอะไรเลย แต่นี่ เป็น สนง.บัญชีแท้ๆ หลักการบัญชีพวกนี้ยังไม่เข้าใจ
อยากถามสภาวิชาชีพบัญชีเหมือนกัน ว่าตอนนี้คุณไม่มีนโยบายที่จะควบคุมคุณภาพงานของสำนักงานบัญชีพวกนี้เลยหรือ
สำนักงานบัญชีคุณภาพแบบนี้ มีให้เห็นได้ทั่วไป เรียกว่าเป็นส่วนใหญ่เลยก็อาจจะว่าได้
คุณอย่ามัวเอาเวลาไปให้ความสำคัญกับการตามปรับ TAS ให้ทัน IFRS คอย update แปลมาตรฐานการบัญขีให้เป็นสากล ตามทันประเทศที่เจริญแล้ว
แล้วจะไม่หันกลับมามองคุณภาพของสำนักงานบัญชีระดับล่างพวกนี้บ้างเหรอ
ปล. เดี๋ยวนี้พวก auditor ก็หวังพึ่งอะไรได้ไม่มาก เรียกว่าเราในฐานะผู้ใช้งบการเงิน ถ้าไม่ได้ตรวจโดย big4 หรือ international firm ที่มีชื่อเสียงแล้ว เราแทบจะเชื่ออะไรกับรายงานผู้สอบบัญชีไม่ได้เลยอ่ะ มันเหมือนกับไม่ได้ให้ความเชื่อมั่นแก่เราเลยว่า งบการเงินนี้คุณตรวจ และรับรองแล้วนะ เรียกว่ามีคุณเซ็น หรือไม่มี ก็มีค่าเท่ากันแล้ว....
ไม่ไหวจะเคลียร์กับ สนง.บัญชี หลายแห่ง หลักพื้นฐานบัญชียังไม่รู้ แถมยังสอนให้ลูกค้าเข้าใจบัญชีผิดๆ อีก จะแก้ปัญหายังไงดี
เราพบว่า ส่วนใหญ่ เกินครึ่ง ไม่เข้าใจหลักการบัญชีพื้นฐาน แถมยังสอนลูกค้า (ทั้งที่มีพื้นบัญชีและไม่มีพื้นบัญชี) ผิดๆ จนลูกค้าฝังใจเชื่อในสิ่งที่ผิดๆ นั้น
เราเองพยายามสอนในสิ่งที่ถูก แต่บางทีก็เป็นการยากที่จะทัดทาน มันเหมือนกับเค้าฝังใจเชื่อสำนักงานบัญชีพวกนั้น จนไม่ยอมรับฟังความถูกต้องไปแล้ว เราจะลองยกประเด็นง่ายๆ หลักบัญชีพื้นๆ ที่เราเจอแล้วปวดหัวกับ สนง.บัญชีระดับล่าง มาให้ลองพิจารณากันนะ ไม่ได้มีเจตนาดูถูกพวกเค้า แต่อัดอั้นมานาน อยากแชร์
1. สอนย้ำลูกค้าเลยว่า "ถ้าบริษัทให้กรรมการกู้เงิน ยังไงต้องคิดดอกเบี้ย" จนลูกค้าหลายรายเข้าใจผิด คิดว่านี่เป็นหลักบัญชีไปแล้ว
มาตรฐานฉบับไหนกล่าวไว้ไม่ทราบ เป็นกฎของใครหรือเปล่า เข้าใจผิดกันเต็มๆ สำหรับคนที่ยังหลงผิด เราจะชี้แจงให้ฟัง แต่เราเชื่อว่า
พวกที่แม่นมาตรฐานการบัญชี โดยเฉพาะพวก CPA จะเข้าใจ
การที่บริษัทจะให้ใครยืมเงิน มีใครมาบังคับได้ด้วยหรือ ว่าต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่านั้นเท่านี้
การที่ สนง.บัญชีสอนแบบนี้ ก็เพราะไป ยึดเอาประกาศของสรรพากร เรื่อง การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย
หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาด มาตีกับเรื่องบัญชี จนทำให้ลูกค้าสับสนไปหมด และเข้าใจผิด
ความเป็นจริงก็คือ สรรรพากรไม่มีอำนาจมาบังคับให้บริษัทคิดดอกเบี้ย แต่มีอำนาจประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีเพิ่มขึ้น
โดยยึดหลักการที่ว่า ถ้าบริษัท เอาเงินก้อนนี้ไปฝากธนาคาร จะทำให้ได้รับดอกเบี้ย แล้วสรรพากรรจะมีรายได้จากกำไรของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยรับก้อนนั้น ดังนั้น ถ้าหากบริษัทไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรจะขอประเมินดอกเบี้ยเพิ่ม แล้วบวกเข้าไปจากกำไรสุทธิทางบัญชี ก่อนจะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ประเมินดอกเบี้ยรับเพิ่มเข้าไปในแบบ ภงด50 ถ้าใครไม่ทราบ ขอแนะนำให้เปิดไปในแบบหน้า 3 รายการที่ 3 ข้อที่ 10 ที่บอกว่า "บวก รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ตามประมวลรัษฎากร"
ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยรับเข้าไปในงบการเงิน โดยบันทึก Dr.ดอกเบี้ยค้างรับ และ Cr.ดอกเบี้ยรับ เข้าไปทุกๆ ปี
กรุณาเถอะ สนง.บ้ญชีทั้งหลาย ช่วยทำให้มันถูกต้องได้มั้ย แบบ ภงด.50 เค้ามีให้ประเมินเพิ่มอยู่แล้ว ใส่เข้าไปตรงนั้น
อย่าคิดดอกเบี้ยเข้าไปในงบกำไรขาดทุนเด็ดขาด เว้นแต่เป็นเงินกู้ที่กรรมการมีเจตนาจะชำระดอกเบี้ยจริงๆ มิเช่นนั้นแล้ว มันจะผิดมาตรฐานการบัญชีอย่างแน่นอน เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยที่บันทึกเข้าไป ไม่ใช่รายได้ที่แท้จริง และไม่มีวันได้รับชำระ เวลาผ่านไปหลายปี สินทรัพย์ที่ชื่อว่า "ดอกเบี้ยค้างรับ" ก็จะพอกพูนเข้าไปเป็นยอดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไม่ใช่สินทรัพย์ที่แท้จริง
2. เรื่องค่าเสื่อมราคา โดยคิด 40% ณ วันที่ซื้อมา แล้วที่เหลือทยอยตัด 3 ปี สนง.บัญชี มักจะสอนให้ลูกค้า sme ทั้งหลายใช้ประโยชน์จากค่าเสื่อมราคาวิธีพิเศษที่สรรพากกรอนุญาต โดยไม่เคยบอกลูกค้าเลยว่า วิธีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับทางบัญชีอย่างเด็ดขาด ยกตัวอย่าง ถ้าบริษัทซื้อคอมพิวเตอร์มา 10,000 บาท วันที่ 1 มกราคม ดังนั้น ค่าเสื่อมราคาทางภาษีตามวิธีนี้จะเท่ากับ 6,000 บาท และเท่ากับ 2,000 บาทในอีก 2 ปีถัดมา
เราพยายามสอนลูกค้าเราใหม่ให้เข้าใจให้ถูกว่า ทางบัญชีคุณจะบันทึกค่าเสื่อมราคาเท่านี้ไม่ได้ เพราะคุณไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่า ปีแรกคอมพิวเตอร์คุณเสื่อมลงไป 60% ส่วนปีที่ 2 และ 3 เสื่อมปีละ 20% ตามที่สรรพากรอนุญาต
ถามว่าที่ถูกต้องทำยังไง ทางบัญชี ต้องตัดค่าเสื่อมปีละ 3,333 บาทนะ แล้วปีแรก ถ้าจะใช้ประโยชน์ทางภาษี ให้เอาส่วนต่างอีก 2,667 บาทไปหักออกจากกำไรสุทธิ เพื่อทำให้เสียภาษีน้อยลงจากผลประโยชน์ดังกล่าว ไม่ใช่บันทึกค่าเสื่อมเข้าไป 6,000 บาทเลย
แล้วอย่าลืมหล่ะ ปีแรกคุณได้ประโยชน์ แต่อีก 2 ปีถัดมา คุณเสียประโยชน์นะ เพราะค่าเสื่อมทางบัญชีคือ 3,333 บาท แต่ภาษีเหลือ 2,000 บาท อย่าลืมบวกกลับกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเพิ่มด้วย จะเห็นเลยว่า 3 ปี ถ้ามองโดยรวม คุณก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก นอกจากตัดค่าเสื่อมปีแรกได้มากขึ้นเท่านั้นเอง
แต่ขอย้ำ ทางบัญชี ยอมรับไม่ได้เด็ดขาดกับการบันทึกค่าเสื่อมราคาด้วยจำนวนตามที่สรรพากรอนุญาต กรุณาช่วยสอนลูกค้าให้ถุกด้วยเถิด
จริงๆ เราอยากจะสอนเข้าต่อนะ ว่ารายการนี้มันจะเกิดหนี้สินตัวหนึ่งชื่อว่า "หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี" แต่คงคุยกันยาก จากที่เราสัมผัสมา สนง.บัญชี ส่วนใหญ่ ไม่รู้จักคำว่า "ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี" ..... คุณไม่มีความเป็นมืออาชีพเอาซะเลย ....
3. เรื่องทุนจดทะเบียน ตอนจะจัดตั้งบริษัท เรื่องนี้เราว่าสำคัญมาก ตอนนี้เกือบทุกคนเข้าใจผิดกันหมด เพราะ สนง.บัญชีระดับล่างพวกนี้แหละ คือเดิมที ลูกค้าเวลาจะจัดตั้งบริษัท ก็จะเข้าใจถูกอยู่แล้ว ว่า จดทะเบียนเท่าไหร่ ก็ควรมีสินทรัพย์เท่านั้น ถ้ามีสินทรัพย์ 100,000 ก็จดทะเบียน 100,000 นี่คือความเข้าใจที่ถูก
แต่คงเป็นเวรเป็นกรรมของลูกค้าที่ใช้ สนง.บัญชีที่ไม่รู้บัญชีพื้นฐาน พวกนี้จะสอนลูกค้าว่าไม่จำเป็น พร้อมนำเสนอจำนวนทุนจดทะเบียนยอดฮิต 1 ล้านบาท โดยบอกว่าไม่มีเงินและไม่มีสินทรัพย์อื่น (หรือมีแค่นิดเดียว) ก็จดได้แล้ว ซึ่งผิดถนัด เราจะชี้แจงให้ดู
ตามสมการบัญชีอย่างง่ายเลยนะ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
ถ้าคุณจะตั้งบริษัท โดยไม่มีหนี้สิน สมการก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ คือ "สินทรัพย์ = ทุน" พอเห็นภาพหรือยัง
ทีนี้ เมื่อไม่มีสินทรัพย์ แล้วจะมีทุนได้ยังไง ในเมื่อลูกค้าไม่มีสินทรัพย์ แต่ สนง.บัญชีนี้ พยายามอุปโลกทุนให้ลูกค้าด้วยจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ถามว่าอะไรเกิดขึ้นต่อไป ก็ต้องอุปโลกจำนวน "สินทรัพย์" ขึ้นมาให้เท่ากับทุน กลายเป็น
"ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมกรรมการ = ทุน" ซึ่งเป็นของที่อุปโลก ตั้งขึ้นมาลอยๆ ทั้ง 2 ฝั่ง (ทั้งฝั่งเดบิตและเครดิต) แล้วมันจะถูกมาตรฐานบัญชีได้ยังไง ปัญหามันก็พันไปถึงประเด็นในข้อ 1 อีกแล้ว (เรื่องคิดดอกเบี้ย) กลายเป็นงบการเงินเละทะไปหมดเลย
4. การซื้อของด้วยเงินผ่อน สนง.บัญชีส่วนใหญ่มักจะลงไม่ถูก พอเราไปบอกเค้าว่าผิด เค้ายังไม่รู้เลยว่าผิดตรงไหน สมมติเค้าซื้อรถยนต์ โดยจ่ายดาวน์ 5 แสน แล้วผ่อนชำระอีกงวดละ 10,000 เป็นจำนวน 48 งวด เชื่อมั้ยว่า สนง.บัญชีครึ่งนึง บันทึกราคาทุนรถยนต์เท่ากับค่างวดบวกเงินดาวน์ ในกรณีนี้คือ 500,000 + (10,000*48) = 980,000 บาท ในขณะที่ราคารถยนต์ซื้อสดเพียง 8 แสนบาท เค้าบันทึกโดยเดบิต ยานพาหนะ และเครดิต เจ้าหนี้เช่าซื้อ ด้วยจำนวน 980,000 บาทเท่าๆ กัน .... ไม่มีดอกเบี้ยเกิดขึ้นตลอดการผ่อนชำระ!!!!!
เราเลยถามลองภูมิเค้าไปว่า ถ้าพี่ซื้อรถคันนี้เงินสด พี่จะเดบิตรถคันนี้ด้วยราคาทุนเท่าไหร่ เค้าตอบอย่างมั่นใจเลยวา ถ้าซื้อสดก็บันทึก 8 แสนไง โอ้โห แล้วพี่ไม่รู้สึกแปลกอะไรบ้างเลยหรือ ที่รถรุ่นเดียวกัน ราคาต้นทุนที่แสดงในงบต่างกันเพราะซื้อสดกะซื้อผ่อน พี่ไม่รู้เลยว่าที่ทำมันผิด
ถ้าพี่ตอบอย่างมั่นใจแบบนี้ แล้วพี่ไม่ได้จบบัญชีมา เราจะไม่ว่าอะไรเลย แต่นี่ เป็น สนง.บัญชีแท้ๆ หลักการบัญชีพวกนี้ยังไม่เข้าใจ
อยากถามสภาวิชาชีพบัญชีเหมือนกัน ว่าตอนนี้คุณไม่มีนโยบายที่จะควบคุมคุณภาพงานของสำนักงานบัญชีพวกนี้เลยหรือ
สำนักงานบัญชีคุณภาพแบบนี้ มีให้เห็นได้ทั่วไป เรียกว่าเป็นส่วนใหญ่เลยก็อาจจะว่าได้
คุณอย่ามัวเอาเวลาไปให้ความสำคัญกับการตามปรับ TAS ให้ทัน IFRS คอย update แปลมาตรฐานการบัญขีให้เป็นสากล ตามทันประเทศที่เจริญแล้ว
แล้วจะไม่หันกลับมามองคุณภาพของสำนักงานบัญชีระดับล่างพวกนี้บ้างเหรอ
ปล. เดี๋ยวนี้พวก auditor ก็หวังพึ่งอะไรได้ไม่มาก เรียกว่าเราในฐานะผู้ใช้งบการเงิน ถ้าไม่ได้ตรวจโดย big4 หรือ international firm ที่มีชื่อเสียงแล้ว เราแทบจะเชื่ออะไรกับรายงานผู้สอบบัญชีไม่ได้เลยอ่ะ มันเหมือนกับไม่ได้ให้ความเชื่อมั่นแก่เราเลยว่า งบการเงินนี้คุณตรวจ และรับรองแล้วนะ เรียกว่ามีคุณเซ็น หรือไม่มี ก็มีค่าเท่ากันแล้ว....