กำลังหาความรู้เรื่องการปรับตั้งเบาะ เลยลองแปลคลิปมาเผยแพร่เล่นๆครับ แปลผิดๆถูกๆก็ต้องขออภัย
เบสิคของการปรับตั้งตำแหน่งเบาะและหลักอาน
1. การปรับตั้งแนวระนาบของพื้นเบาะนั่งควรให้อยู่ในแนวขนานกับพื้นถนนมากที่สุด
2. ปรับตั้งความสูงของหลักอาน โดยใช้ส้นเท้ากดที่กึ่งกลางบันไดแล้วพยายามหาตำแหน่งความสูงหลักอานที่ขาเหยียดตึงที่สุดโดยขณะนั่งปั่นจะต้องไม่ทำให้สะโพกโยกขึ้นลงซ้ายขวา
3. การปรับเลื่อนตำแหน่งของรางเบาะนั่งกับหลักอาน โดยใช้เชือกผูกวัสดุถ่วงน้ำหนักไว้ด้านหนึ่ง แล้วนั่งบนอานใช้ส่วนบนของอุ้งเท้าใต้โคนนิ้วที่เป็นกระดูกโปนออกมากดไว้ที่กลางบันได หมุนตำแหน่งขาบันไดให้อยู่ในแนวนอนขนานกับพื้นถนนแล้วค้างไว้ ใช้ปลายเชื่อกกดไว้ที่ด้านหลังลูกสะบ้าหัวเข่าด้านบน ปลายเชือกด้านที่ถ่วงน้ำหนักไว้จะต้องผ่านตรงกึ่งกลางแป้นบันไดที่ใช้ตรงกระดูกเหนืออุ้งเท้ากดอยู่พอดี พยายามปรับเลื่อนตำแหน่งเบาะนั่งเดินหน้าหรือถอยหลังให้ได้พอดีตำแหน่งนี้
ตำแหน่งการวางเท้าขณะปั่นจักรยานที่ถูกต้อง จะใช้ส่วนบนของอุ้งเท้าใต้โคนนิ้วที่เป็นกระดูกโปนออกมากดไว้ที่กลางบันไดตลอดเวลา และเมื่อปั่นหมุนเท้าเหยียดลงไปที่ตำแหน่งล่างสุดแล้วท่อนขาจะต้องงอนิดๆ และเมื่อขณะนั่งปั่นบนเบาะ สะโพกจะต้องไม่โยกขึ้นลงซ้ายขวา ตำแหน่งการปันแบบนี้จะทำให้ส่งแรงได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ปั่นได้นานโดยไม่เกิดอาการบาดเจ็บ
ความสำคัญของการปรับความสูงของอานที่ถูกต้อง
1. ตำแหน่งแรกถ้าหลักอานเตี้ยเกินไปจะทำให้ไม่สามารถยืดเข่าได้เต็มที่ทำให้ส่งแรงในการปั่นไม่ได้เต็มที่ และยังทำให้กระบังลมติดทำให้หายใจได้ลำบาก และยังอาจทำให้เกิดจากบาดเจ็บที่ด้านหน้าของเข่าเมื่อปั่นที่รอบขาสูงนานๆ โดยเฉพาะเมื่อปั่นขึ้นเนินหรือขึ้นเขา
2. ตำแหน่งที่สอง ถ้าหลักอานสูงเกินไปทำให้ต้องยืดขาเขย่งมากในการปั่น ทำให้เกิดความเครียดที่ด้านหลังต้นขาและด้านหลังเข่า มองด้านหลังสังเกตได้จากก้นบนเบาะนั่งว่าจะแกว่งขึ้นลงทั้งสองข้าง
3. ตำแหน่งที่สาม ตำแหน่งความสูงหลักอานที่ถูกต้อง จะต้องทำให้สะโพกอยู่นิ่งเมื่อกำลังปั่น เป็นการลดการบาดเจ็บ และทำให้ได้ประสิทธิภาพการออกแรงสูงสุด
Credit:
http://thairoadbike.com/index.php?topic=880.0
[CR] วิธีการปรับตั้งความสูงของหลักอานและตำแหน่งเบาะจักรยาน
เบสิคของการปรับตั้งตำแหน่งเบาะและหลักอาน
1. การปรับตั้งแนวระนาบของพื้นเบาะนั่งควรให้อยู่ในแนวขนานกับพื้นถนนมากที่สุด
2. ปรับตั้งความสูงของหลักอาน โดยใช้ส้นเท้ากดที่กึ่งกลางบันไดแล้วพยายามหาตำแหน่งความสูงหลักอานที่ขาเหยียดตึงที่สุดโดยขณะนั่งปั่นจะต้องไม่ทำให้สะโพกโยกขึ้นลงซ้ายขวา
3. การปรับเลื่อนตำแหน่งของรางเบาะนั่งกับหลักอาน โดยใช้เชือกผูกวัสดุถ่วงน้ำหนักไว้ด้านหนึ่ง แล้วนั่งบนอานใช้ส่วนบนของอุ้งเท้าใต้โคนนิ้วที่เป็นกระดูกโปนออกมากดไว้ที่กลางบันได หมุนตำแหน่งขาบันไดให้อยู่ในแนวนอนขนานกับพื้นถนนแล้วค้างไว้ ใช้ปลายเชื่อกกดไว้ที่ด้านหลังลูกสะบ้าหัวเข่าด้านบน ปลายเชือกด้านที่ถ่วงน้ำหนักไว้จะต้องผ่านตรงกึ่งกลางแป้นบันไดที่ใช้ตรงกระดูกเหนืออุ้งเท้ากดอยู่พอดี พยายามปรับเลื่อนตำแหน่งเบาะนั่งเดินหน้าหรือถอยหลังให้ได้พอดีตำแหน่งนี้
ตำแหน่งการวางเท้าขณะปั่นจักรยานที่ถูกต้อง จะใช้ส่วนบนของอุ้งเท้าใต้โคนนิ้วที่เป็นกระดูกโปนออกมากดไว้ที่กลางบันไดตลอดเวลา และเมื่อปั่นหมุนเท้าเหยียดลงไปที่ตำแหน่งล่างสุดแล้วท่อนขาจะต้องงอนิดๆ และเมื่อขณะนั่งปั่นบนเบาะ สะโพกจะต้องไม่โยกขึ้นลงซ้ายขวา ตำแหน่งการปันแบบนี้จะทำให้ส่งแรงได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ปั่นได้นานโดยไม่เกิดอาการบาดเจ็บ
ความสำคัญของการปรับความสูงของอานที่ถูกต้อง
1. ตำแหน่งแรกถ้าหลักอานเตี้ยเกินไปจะทำให้ไม่สามารถยืดเข่าได้เต็มที่ทำให้ส่งแรงในการปั่นไม่ได้เต็มที่ และยังทำให้กระบังลมติดทำให้หายใจได้ลำบาก และยังอาจทำให้เกิดจากบาดเจ็บที่ด้านหน้าของเข่าเมื่อปั่นที่รอบขาสูงนานๆ โดยเฉพาะเมื่อปั่นขึ้นเนินหรือขึ้นเขา
2. ตำแหน่งที่สอง ถ้าหลักอานสูงเกินไปทำให้ต้องยืดขาเขย่งมากในการปั่น ทำให้เกิดความเครียดที่ด้านหลังต้นขาและด้านหลังเข่า มองด้านหลังสังเกตได้จากก้นบนเบาะนั่งว่าจะแกว่งขึ้นลงทั้งสองข้าง
3. ตำแหน่งที่สาม ตำแหน่งความสูงหลักอานที่ถูกต้อง จะต้องทำให้สะโพกอยู่นิ่งเมื่อกำลังปั่น เป็นการลดการบาดเจ็บ และทำให้ได้ประสิทธิภาพการออกแรงสูงสุด
Credit: http://thairoadbike.com/index.php?topic=880.0