ราวๆปี 2544 ก่อนหน้าที่ผมจะได้เริ่มทำความรู้จักกับอัลบั้มแรก ของวงซึ่งจะก้าวขึ้นมาเป็นวงระดับประเทศในเวลาต่อมาอย่าง Bodyslam ช่วงเวลานั้น ผมเลือกที่จะเทใจให้กับวง Pop Rock น้ำดี ที่ทำดนตรีออกมาได้น่าฟังมากที่สุดในเวลานั้น พวกเขาใช้ชื่อว่า 'Bandwagon' กับเพลงเปิดตัวอย่าง 'เธอกลับมาเพื่อหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินกลับหลัง' หรือกับเพลงที่แม้แต่ทุกวันนี้ ก็ยังถูกขอและเปิดผ่านคลื่นวิทยุอยู่เป็นประจำที่ชื่อ 'รักเธอให้น้อยลง' ณ เวลานั้น ผมได้สถาปนาตัวขึ้นมาเป็นแฟนคลับของ Bangwagon อย่างจริงจัง พร้อมกับตั้งใจไว้ว่า จะคอยติดตามผลงานของวงนี้ต่อไปเรื่อยๆ
แต่อายุขัยของ Bandwagon บนเส้นทางดนตรีกลับสั้นมากเสียจนผมคิดไม่ถึง แม้จะตั้งตาคอยที่จะได้ยินเพลงใหม่ของพวกเขา จากทั้งทางวิทยุหรือโทรทัศน์ขนาดไหน แต่ก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีวันมาถึง และงานชุดนั้นก็กลายเป็นอัลบั้มชุดเดียวของพวกเขาในชื่อ Bandwagon ไปจนได้ ผมเองในขณะนั้น ได้แต่คิดว่าทำไมและทำไม กับวงดนตรีวงหนึ่ง ที่สามารถทำเพลงออกมาได้ดีขนาดนี้ ถึงได้มีโอกาสโลดแล่นผ่านเสียงเพลงของตัวเองได้น้อยนัก ด้วยอายุขนาดนั้น สำหรับผม มันเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจความยากของการเป็นวงดนตรีสักวงหนึ่ง ที่ต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างรายล้อมอยู่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง .. กับการเป็นวงดนตรีที่สังกัดอยู่กับค่ายยักษ์ใหญ่ที่สุดของประเทศนี้
ในขณะเดียวกัน อีกทางฝั่งหนึ่ง ชายอีกคนเลือกที่จะต่อสู้ที่จะได้ทำงานเพลงในแบบที่ตัวเองเชื่อเรื่อยมา ในนามของศิลปินอิสระ เริ่มจากกระแส'อัลเตอร์ฯ'ในบ้านเรา ในช่วงเวลานั้น เขาคือนักร้องนำของวง'ครับ' ซึ่งเป็นวงแรกในประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่าทำเพลง และนำกระแสดนตรีแบบ Brit Pop เข้าสู่ประเทศนี้ แต่ก็อย่างที่ทราบกัน ว่าชะตากรรมของวงครับเอง ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจาก Bandwagon สักเท่าไหร่นัก เมื่อ View กลายเป็นอัลบั้มแรก และอัลบั้มเดียว ของวงดนตรีล้ำสมัยวงนี้ (แน่ล่ะ ว่าอะไรที่ขึ้นชื่อได้ว่าล้ำ หรือใหม่ในบ้านเรา โดยเฉพาะในเชิงดนตรี เป็นสิ่งที่ขายยากเสมอในบ้านนี้เมืองนี้)
แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปจาก Bandwagon คือหลังจากการล่มสลายไปของวงครับ อูเลือกที่จะเดินหน้าต่อ ด้วย 5 อัลบั้มถัดมา ในนามของวง 'Day Tripper' ที่สร้างชื่อให้ตัวเขาอยู่ไม่น้อย รวมถึงงานเดี่ยวของเขาในชื่อ 'Ooh & The Ballyhoo' ด้วย
ผ่านเวลามานาน จนผมมั่นใจ ว่าคงจะไม่ได้ยินผลงานใดๆจากวงดนตรีที่ชื่อ Bandwagon อีก รวมถึงการเป็นแฟนเพลงในวิธีการเขียนเนื้อ และเสียงร้องของอูเสมอมา ไม่ว่าเขาจะทำเพลงกับวงอะไรก็ตาม จนกระทั่งการพบกันของทั้ง 2 ฝ่ายเกิดขึ้นในที่สุด เมื่ออู๊ด ที่เป็นทั้งมือกีต้าร์ และมันสมองของ Bandwagon ได้พบกับอู ที่ร้าน Blue's Bar ในยุคสมัยที่ยังตั้งอยู่ที่ซอยหลังสวนฝั่งสารสิน สถานที่ซึ่งขึ้นชื่อ ว่าเป็นที่พบปะกัน ของคอเพลงที่นิยมดนตรีจากฝั่งอังกฤษ และจากการพบกันครั้งนั้นเอง คือจุดเริ่มต้น ที่นำไปสู่การพูดถึงเรื่องดนตรี วงดนตรีต่างๆ ที่คนทั้งคู่มีความชอบใกล้เคียงกัน จนไปสู่การทำงานเพลงร่วมกันในที่สุด
และก็เป็นชื่อร้านนี้นี่เอง ที่ทั้งคู่เลือกใช้มาเป็นชื่อสำหรับการทำงานร่วมกันครั้งนี้ โดยมีอู๊ด ที่รับหน้าที่หลักในการทำดนตรีทั้งหมด รวมทั้งเป็น Producer ด้วยตัวเองด้วย ก่อนจะมาเป็นหน้าที่ของอู ในการใช้เสียงร้องของเขาในการเล่าเรื่อง รวมถึงการร่วมเขียนเนื้อในบางเพลง ซึ่งก็แน่นอน ว่าเราจะได้ยินหลากหลายสำเนียง และอารมณ์เหมือนกับที่เคยได้ยินในงานของ Bandwagon มาก่อน และนั่น น่าจะทำให้ใครหลายคน ที่ยังคิดถึง Bandwagon อยู่นั้น พอจะชื่นใจขึ้นมาบ้าง จากการฟังงานชุดนี้
รวมถึงแฟนเพลงจากอีกฟากฝั่ง ที่ตามมาจากหลากหลายผลงานของอู ทั้ง ครับ , Day Tripper และ Ooh & The Ballyhoo นั้น ก็จะได้ฟังเพลงในแบบที่แตกต่างออกไปจากผลงานทั้งหมดที่เขาเคยทำมาอีกครั้ง ซึ่งถ้าหากใครเป็นแฟนเพลงของอูย่อมจะรู้ดี ว่านอกจากผลงานชิ้นแรกของเขากับวงครับแล้ว ผลงานแทบทั้งหมดหลังจากนั้น คือการร่วมงานกับ 'ทวนทอง นิยมชาติ' ที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นมือกีต้าร์คู่บุญของเขาไปแล้ว แทบทั้งสิ้น
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของคนทั้งคู่ กับการสร้างวง Blue's Bar ขึ้นมาใหม่นี้ ทั้งอู๊ด ที่เปลี่ยนจากการทำวงดนตรี มาสู่การเป็นมือกีต้าร์ ที่นอกจากนั้นยังรับหน้าที่ทำดนตรีทั้งหมดเอง และควบคุมการผลิตด้วยตัวเอง และอู ที่เปลี่ยนจากการทำเพลงแบบที่ตัวเองถนัด และเลือกที่จะทำแบบนั้นมาตลอด มาสู่การร่วมงานกับคนใหม่ๆ และเพลงแบบที่เราไม่น่าจะเคยได้ยินจากเขามาก่อน
ผลลัพธ์ของการร่วมงานกันครั้งนี้จะเป็นอย่างไร นั่นเป็นเรื่องที่แต่ละคนคงต้องพิสูจน์กันเอาเอง แต่สำหรับผม ที่เป็นทั้งแฟนเพลงของ Bandwagon และ Day Tripper นี่คือเคมีที่เข้ากัน โดยมันได้แสดงออกมาทางผลงานที่พวกเขาทั้งคู่ได้ทำร่วมกัน เพราะทั้ง 7 track ที่อยู่ในอัลบั้มชุดนี้ มันทำให้ผมสนใจได้ไม่น้อยไปกว่างานเก่าๆของทั้งคู่เลย
====================
Artist : Blue's Bar
Album : พิพิธภัณฑ์
Producer : ประเวช นพนิราพาธ
Label : Lemon Factory
====================
* Blue's Bar คือ ..
- วาสิต มุกดาวิจิตร (อู) : ร้องนำ
- ประเวช นพนิราพาธ (อู๊ด) : กีต้าร์ , คอรัส , ทุกเครื่องดนตรี
* http://soundsyndrome.exteen.com/20120914/ooh-the-ballyhoo-the-other-stories
งานเดี่ยวของอู ในชื่อ Ooh & The Ballyhoo อัลบั้ม The Other Stories
* http://soundsyndrome.exteen.com/20070911/day-tripper-guilty
Guilty อัลบั้มสุดท้ายในชื่อของ Day Tripper
* http://soundsyndrome.exteen.com
ตามใจฉัน - Blue's Bar
คำร้อง : วาสิต มุกดาวิจิตร , ประเวช นิพนิราพาธ
ทำนอง , เรียบเรียง : ประเวช นิพนิราพาธ
[CR] [Review] Blue's Bar อัลบั้ม พิพิธภัณฑ์
ราวๆปี 2544 ก่อนหน้าที่ผมจะได้เริ่มทำความรู้จักกับอัลบั้มแรก ของวงซึ่งจะก้าวขึ้นมาเป็นวงระดับประเทศในเวลาต่อมาอย่าง Bodyslam ช่วงเวลานั้น ผมเลือกที่จะเทใจให้กับวง Pop Rock น้ำดี ที่ทำดนตรีออกมาได้น่าฟังมากที่สุดในเวลานั้น พวกเขาใช้ชื่อว่า 'Bandwagon' กับเพลงเปิดตัวอย่าง 'เธอกลับมาเพื่อหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินกลับหลัง' หรือกับเพลงที่แม้แต่ทุกวันนี้ ก็ยังถูกขอและเปิดผ่านคลื่นวิทยุอยู่เป็นประจำที่ชื่อ 'รักเธอให้น้อยลง' ณ เวลานั้น ผมได้สถาปนาตัวขึ้นมาเป็นแฟนคลับของ Bangwagon อย่างจริงจัง พร้อมกับตั้งใจไว้ว่า จะคอยติดตามผลงานของวงนี้ต่อไปเรื่อยๆ
แต่อายุขัยของ Bandwagon บนเส้นทางดนตรีกลับสั้นมากเสียจนผมคิดไม่ถึง แม้จะตั้งตาคอยที่จะได้ยินเพลงใหม่ของพวกเขา จากทั้งทางวิทยุหรือโทรทัศน์ขนาดไหน แต่ก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่มีวันมาถึง และงานชุดนั้นก็กลายเป็นอัลบั้มชุดเดียวของพวกเขาในชื่อ Bandwagon ไปจนได้ ผมเองในขณะนั้น ได้แต่คิดว่าทำไมและทำไม กับวงดนตรีวงหนึ่ง ที่สามารถทำเพลงออกมาได้ดีขนาดนี้ ถึงได้มีโอกาสโลดแล่นผ่านเสียงเพลงของตัวเองได้น้อยนัก ด้วยอายุขนาดนั้น สำหรับผม มันเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจความยากของการเป็นวงดนตรีสักวงหนึ่ง ที่ต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างรายล้อมอยู่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง .. กับการเป็นวงดนตรีที่สังกัดอยู่กับค่ายยักษ์ใหญ่ที่สุดของประเทศนี้
ในขณะเดียวกัน อีกทางฝั่งหนึ่ง ชายอีกคนเลือกที่จะต่อสู้ที่จะได้ทำงานเพลงในแบบที่ตัวเองเชื่อเรื่อยมา ในนามของศิลปินอิสระ เริ่มจากกระแส'อัลเตอร์ฯ'ในบ้านเรา ในช่วงเวลานั้น เขาคือนักร้องนำของวง'ครับ' ซึ่งเป็นวงแรกในประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่าทำเพลง และนำกระแสดนตรีแบบ Brit Pop เข้าสู่ประเทศนี้ แต่ก็อย่างที่ทราบกัน ว่าชะตากรรมของวงครับเอง ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจาก Bandwagon สักเท่าไหร่นัก เมื่อ View กลายเป็นอัลบั้มแรก และอัลบั้มเดียว ของวงดนตรีล้ำสมัยวงนี้ (แน่ล่ะ ว่าอะไรที่ขึ้นชื่อได้ว่าล้ำ หรือใหม่ในบ้านเรา โดยเฉพาะในเชิงดนตรี เป็นสิ่งที่ขายยากเสมอในบ้านนี้เมืองนี้)
แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปจาก Bandwagon คือหลังจากการล่มสลายไปของวงครับ อูเลือกที่จะเดินหน้าต่อ ด้วย 5 อัลบั้มถัดมา ในนามของวง 'Day Tripper' ที่สร้างชื่อให้ตัวเขาอยู่ไม่น้อย รวมถึงงานเดี่ยวของเขาในชื่อ 'Ooh & The Ballyhoo' ด้วย
ผ่านเวลามานาน จนผมมั่นใจ ว่าคงจะไม่ได้ยินผลงานใดๆจากวงดนตรีที่ชื่อ Bandwagon อีก รวมถึงการเป็นแฟนเพลงในวิธีการเขียนเนื้อ และเสียงร้องของอูเสมอมา ไม่ว่าเขาจะทำเพลงกับวงอะไรก็ตาม จนกระทั่งการพบกันของทั้ง 2 ฝ่ายเกิดขึ้นในที่สุด เมื่ออู๊ด ที่เป็นทั้งมือกีต้าร์ และมันสมองของ Bandwagon ได้พบกับอู ที่ร้าน Blue's Bar ในยุคสมัยที่ยังตั้งอยู่ที่ซอยหลังสวนฝั่งสารสิน สถานที่ซึ่งขึ้นชื่อ ว่าเป็นที่พบปะกัน ของคอเพลงที่นิยมดนตรีจากฝั่งอังกฤษ และจากการพบกันครั้งนั้นเอง คือจุดเริ่มต้น ที่นำไปสู่การพูดถึงเรื่องดนตรี วงดนตรีต่างๆ ที่คนทั้งคู่มีความชอบใกล้เคียงกัน จนไปสู่การทำงานเพลงร่วมกันในที่สุด
และก็เป็นชื่อร้านนี้นี่เอง ที่ทั้งคู่เลือกใช้มาเป็นชื่อสำหรับการทำงานร่วมกันครั้งนี้ โดยมีอู๊ด ที่รับหน้าที่หลักในการทำดนตรีทั้งหมด รวมทั้งเป็น Producer ด้วยตัวเองด้วย ก่อนจะมาเป็นหน้าที่ของอู ในการใช้เสียงร้องของเขาในการเล่าเรื่อง รวมถึงการร่วมเขียนเนื้อในบางเพลง ซึ่งก็แน่นอน ว่าเราจะได้ยินหลากหลายสำเนียง และอารมณ์เหมือนกับที่เคยได้ยินในงานของ Bandwagon มาก่อน และนั่น น่าจะทำให้ใครหลายคน ที่ยังคิดถึง Bandwagon อยู่นั้น พอจะชื่นใจขึ้นมาบ้าง จากการฟังงานชุดนี้
รวมถึงแฟนเพลงจากอีกฟากฝั่ง ที่ตามมาจากหลากหลายผลงานของอู ทั้ง ครับ , Day Tripper และ Ooh & The Ballyhoo นั้น ก็จะได้ฟังเพลงในแบบที่แตกต่างออกไปจากผลงานทั้งหมดที่เขาเคยทำมาอีกครั้ง ซึ่งถ้าหากใครเป็นแฟนเพลงของอูย่อมจะรู้ดี ว่านอกจากผลงานชิ้นแรกของเขากับวงครับแล้ว ผลงานแทบทั้งหมดหลังจากนั้น คือการร่วมงานกับ 'ทวนทอง นิยมชาติ' ที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นมือกีต้าร์คู่บุญของเขาไปแล้ว แทบทั้งสิ้น
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของคนทั้งคู่ กับการสร้างวง Blue's Bar ขึ้นมาใหม่นี้ ทั้งอู๊ด ที่เปลี่ยนจากการทำวงดนตรี มาสู่การเป็นมือกีต้าร์ ที่นอกจากนั้นยังรับหน้าที่ทำดนตรีทั้งหมดเอง และควบคุมการผลิตด้วยตัวเอง และอู ที่เปลี่ยนจากการทำเพลงแบบที่ตัวเองถนัด และเลือกที่จะทำแบบนั้นมาตลอด มาสู่การร่วมงานกับคนใหม่ๆ และเพลงแบบที่เราไม่น่าจะเคยได้ยินจากเขามาก่อน
ผลลัพธ์ของการร่วมงานกันครั้งนี้จะเป็นอย่างไร นั่นเป็นเรื่องที่แต่ละคนคงต้องพิสูจน์กันเอาเอง แต่สำหรับผม ที่เป็นทั้งแฟนเพลงของ Bandwagon และ Day Tripper นี่คือเคมีที่เข้ากัน โดยมันได้แสดงออกมาทางผลงานที่พวกเขาทั้งคู่ได้ทำร่วมกัน เพราะทั้ง 7 track ที่อยู่ในอัลบั้มชุดนี้ มันทำให้ผมสนใจได้ไม่น้อยไปกว่างานเก่าๆของทั้งคู่เลย
====================
Artist : Blue's Bar
Album : พิพิธภัณฑ์
Producer : ประเวช นพนิราพาธ
Label : Lemon Factory
====================
* Blue's Bar คือ ..
- วาสิต มุกดาวิจิตร (อู) : ร้องนำ
- ประเวช นพนิราพาธ (อู๊ด) : กีต้าร์ , คอรัส , ทุกเครื่องดนตรี
* http://soundsyndrome.exteen.com/20120914/ooh-the-ballyhoo-the-other-stories
งานเดี่ยวของอู ในชื่อ Ooh & The Ballyhoo อัลบั้ม The Other Stories
* http://soundsyndrome.exteen.com/20070911/day-tripper-guilty
Guilty อัลบั้มสุดท้ายในชื่อของ Day Tripper
* http://soundsyndrome.exteen.com
ตามใจฉัน - Blue's Bar
คำร้อง : วาสิต มุกดาวิจิตร , ประเวช นิพนิราพาธ
ทำนอง , เรียบเรียง : ประเวช นิพนิราพาธ