เงินทุนจากญี่ปุ่นคงมาอีกมากเพราะเขาต้องการสร้างความสัมพันธ์กับไทย เลยมาลงทุนมากเป็นพิเศษ เงินจาก QE ก็มากด้วย สิ่งนี้ขึ้นกับไทยว่าจะบริหารเงินพวกนี้อย่างไร และดูแลเสถียรภาพค่าเงินอย่างไร เพราะเงินลงทุนจากธนาคารกลางทั่วโลกเข้าไทยจากมาตราการ QE คงมาในรูปแบบกองทุนอีกมาก และเน้นลงทุนที่ระยะยาวมากขึ้น และไม่ใช่พวกเก็งกำไร
แนวทางที่เหมาะสมคือ
1.ต้องให้เขาเข้ามาโดยสร้างระบบการเงินที่เสรีที่สุดโดย ธปท ไม่ควรออกพันธบัตรเพิ่มเพื่อสร้างให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงผิดปกติ จะยิ่งทำให้หลายประเทศพยายามกระชับความสัมพันธ์ที่ดีกับเรามากขึ้น คลังควรคุยกับ ธปท ในการปรับปรุงกฎหมายเงินตราให้ ธปท พิมพ์เงินได้ เพื่อใช้ในการบริหารเสถียรภาพค่าเงินและเพิ่มเครื่องมือในการดูแลสภาพคล่องของประเทศ เพราะวันนี้เรามีเงินไหลเข้า ถ้าพิมพ์เงินได้ ดอกเบี้ยในตลาดเงินจะลดลงทันที โดยเฉพาะตัวยาว จะลดแรงจูงใจเงินไหลเข้ามาลดลง หรือถ้าถึงจุดหนึ่งมีเงินไหลออก สภาพคล่องจะลดลงทันที ดอกเบี้ยก็จะสูงผิดปกติ การพิมพ์เงินจะลดผลกระทบของเงินไหลออกไม่ให้ดอกเบี้ยปรับสูงเกินไป
2
. คลังและ ธปท ควรพิจารณาเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานในกรอบที่แคบกว่านี้เช่น 2.75-3.25% เพราะวันนี้กรอบเงินเฟ้อที่ร้อยละ 0.5-3 แทบไม่ต้องใช้นโยบายการเงินอะไรเลย เพราะช่วง 10 ปี จะมีเหตุการณ์น้อยมากที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินหรือต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย สิ่งนี้จะทำให้การใช้นโยบายมีประสิทธิภาพ และความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งความผันด้านราคา ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความผันผวนของนโยบายการเงินเองจะลดลงมาก และความผันผวนที่ลดลงจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนและการบริโภค สิ่งนี้จะส่งผลให้ดอกเบี้ยของไทยสอดคล้องกับเงินเฟ้อและเศรษฐกิจจริงๆ วันนี้เงินเฟ้อบ้านเราต่ำไป ดูง่ายๆ คือราคาอาหาร โดยเฉพาะผลไม้ เช่น
มะม่วงน้ำดอกไม้ราคาแค่ 25 บาทต่อ กก อย่างนี้มันต่ำไป ถูกไป ต้องสงสารเกษตรกรด้วย
ญี่ปุ่น-อาเซียนกระชับสัมพันธ์ทางการเงิน
ญี่ปุ่นนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงทุนในพันธบัตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งตลาดพันธบัตร
"นายทาโร อาโซะ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น กล่าวว่าญี่ปุ่นได้ซื้อกองทุนแพน เอเชีย บอนด์ อินเด็กซ์ ซึ่งลงทุนในพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นที่ออกโดยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยหวังว่าญี่ปุ่นและอาเซียนจะสร้างความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เพื่อบรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตและการพัฒนาของเอเชียโดยรวม
ญี่ปุ่นหวังว่าการซื้อกองทุนดังกล่าว จะเป็นตัวเร่งการลงทุนภาคเอกชนในตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งมีสภาพคล่องน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนการตัดสินใจซื้อเพิ่มในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์
นอกจากนี้ เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤติการเงินซ้ำในภูมิภาค ญี่ปุ่นและประเทศสำคัญในอาเซียนจะพิจารณายกระดับข้อตกลงสวอประดับทวิภาคี เพื่อจัดหาสภาพคล่องเพิ่มเติมในกรณีที่ถูกโจมตีค่าเงิน
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีข้อตกลงสวอปอัตราแลกเปลี่ยนกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ทั้งยังกำลังพิจารณาที่จะทำข้อตกลงกับมาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์อีกครั้งหลังจากหมดอายุลงไป"
จาก
http://www.bangkokbiznews.com
ญี่ปุ่นกระชับความสัมพันธ์ โดยนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงทุนในพันธบัตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แนวทางที่เหมาะสมคือ
1.ต้องให้เขาเข้ามาโดยสร้างระบบการเงินที่เสรีที่สุดโดย ธปท ไม่ควรออกพันธบัตรเพิ่มเพื่อสร้างให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงผิดปกติ จะยิ่งทำให้หลายประเทศพยายามกระชับความสัมพันธ์ที่ดีกับเรามากขึ้น คลังควรคุยกับ ธปท ในการปรับปรุงกฎหมายเงินตราให้ ธปท พิมพ์เงินได้ เพื่อใช้ในการบริหารเสถียรภาพค่าเงินและเพิ่มเครื่องมือในการดูแลสภาพคล่องของประเทศ เพราะวันนี้เรามีเงินไหลเข้า ถ้าพิมพ์เงินได้ ดอกเบี้ยในตลาดเงินจะลดลงทันที โดยเฉพาะตัวยาว จะลดแรงจูงใจเงินไหลเข้ามาลดลง หรือถ้าถึงจุดหนึ่งมีเงินไหลออก สภาพคล่องจะลดลงทันที ดอกเบี้ยก็จะสูงผิดปกติ การพิมพ์เงินจะลดผลกระทบของเงินไหลออกไม่ให้ดอกเบี้ยปรับสูงเกินไป
2. คลังและ ธปท ควรพิจารณาเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานในกรอบที่แคบกว่านี้เช่น 2.75-3.25% เพราะวันนี้กรอบเงินเฟ้อที่ร้อยละ 0.5-3 แทบไม่ต้องใช้นโยบายการเงินอะไรเลย เพราะช่วง 10 ปี จะมีเหตุการณ์น้อยมากที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินหรือต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย สิ่งนี้จะทำให้การใช้นโยบายมีประสิทธิภาพ และความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งความผันด้านราคา ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน ความผันผวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความผันผวนของนโยบายการเงินเองจะลดลงมาก และความผันผวนที่ลดลงจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนและการบริโภค สิ่งนี้จะส่งผลให้ดอกเบี้ยของไทยสอดคล้องกับเงินเฟ้อและเศรษฐกิจจริงๆ วันนี้เงินเฟ้อบ้านเราต่ำไป ดูง่ายๆ คือราคาอาหาร โดยเฉพาะผลไม้ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ราคาแค่ 25 บาทต่อ กก อย่างนี้มันต่ำไป ถูกไป ต้องสงสารเกษตรกรด้วย
ญี่ปุ่น-อาเซียนกระชับสัมพันธ์ทางการเงิน
ญี่ปุ่นนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลงทุนในพันธบัตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางยุทธศาสตร์สร้างความแข็งแกร่งตลาดพันธบัตร
"นายทาโร อาโซะ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น กล่าวว่าญี่ปุ่นได้ซื้อกองทุนแพน เอเชีย บอนด์ อินเด็กซ์ ซึ่งลงทุนในพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นที่ออกโดยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยหวังว่าญี่ปุ่นและอาเซียนจะสร้างความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เพื่อบรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตและการพัฒนาของเอเชียโดยรวม
ญี่ปุ่นหวังว่าการซื้อกองทุนดังกล่าว จะเป็นตัวเร่งการลงทุนภาคเอกชนในตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งมีสภาพคล่องน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนการตัดสินใจซื้อเพิ่มในอนาคตนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์
นอกจากนี้ เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤติการเงินซ้ำในภูมิภาค ญี่ปุ่นและประเทศสำคัญในอาเซียนจะพิจารณายกระดับข้อตกลงสวอประดับทวิภาคี เพื่อจัดหาสภาพคล่องเพิ่มเติมในกรณีที่ถูกโจมตีค่าเงิน
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีข้อตกลงสวอปอัตราแลกเปลี่ยนกับอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ทั้งยังกำลังพิจารณาที่จะทำข้อตกลงกับมาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์อีกครั้งหลังจากหมดอายุลงไป"
จาก http://www.bangkokbiznews.com