น.ส.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ในปีการศึกษา 55 ที่ผ่านมา กยศ. และกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ได้ปล่อยกู้เพื่อเป็นทุนการศึกษาทั้งสิ้นกว่า 30,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 800,000 ราย โดยขณะนี้มีผู้กู้ที่ครบกำหนดต้องชำระคืน คิดเป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท หรือ 40% ของยอดค้างชำระสะสม แบ่งเป็นผู้กู้ที่ไม่เคยติดต่อกับกยศ. และ กรอ. 500,000 ราย หรือ 20% ของผู้กู้ทั้งหมด คิดเป็นวงเงิน 2,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งเตรียมกิจกรรมที่เป็นการสร้างจิตสำนึกให้ผู้กู้ยืมในทั้ง 2 กองทุน ให้เร่งมาชำระคืนเมื่อครบกำหนด เพื่อเป็นประโยชน์กับรุ่นน้องที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาต่อไป
ส่วนความคืบหน้าในการรวมกองทุน กยศ. กับกรอ. เข้าด้วยนั้น ขณะนี้ กำลังแก้ไขพ.ร.บ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนเสนอให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง พิจารณาและเตรียมเสนอให้ ครม. เห็นชอบต่อไป
ทั้งนี้ การบริหารจัดการภายหลังการควบรวมทั้ง 2 กองทุน จะเป็นหน้าที่โดยตรงของ กยศ. โดยจะเน้นและสนับสนุนให้กู้ยืมในการศึกษาสาขาที่ขาดแคลนกว่า 1,005 สาขา โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ การบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และอาชีวศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ในขณะนี้
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการกยศ. กล่าวว่า การควบรวมทั้ง 2 กองทุนเข้าด้วยกัน เพื่อให้รูปแบบการบริหารจัดการเป็นระบบเดียวกัน มีความชัดเจนและให้รัดกุมมากขึ้นด้วย รวมถึงสนับสนุนและสร้างบุคลากรรองรับตลาดแรงงานในไทยที่กำลังขาดแคลน และรองรับต่างประเทศที่กำลังย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งตลาดเหล่านี้ต้องการแรงงานฝีมือในกลุ่มอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นกองทุน กยศ. และ กรอ. จึงได้พิจารณาให้เงินค่าครองชีพกับกลุ่มอาชีวะมากขึ้น เพื่อสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาหันมาเรียนสาขาวิชาชีพดังกล่าว และตอบสนองความต้องการ ตลาดแรงงานในปัจจุบัน.
http://www.dailynews.co.th/businesss/201395
กองทุนและระบบการศึกษาต้องปรับระบบกันละครับว่าทำไมผลิตนักศึกษาไม่มีความรับผิดชอบได้มากขนาดนี้
นักศึกษาเงินกู้กยศ.เบี้ยวหนี้กว่า 5 แสนราย
ส่วนความคืบหน้าในการรวมกองทุน กยศ. กับกรอ. เข้าด้วยนั้น ขณะนี้ กำลังแก้ไขพ.ร.บ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนเสนอให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง พิจารณาและเตรียมเสนอให้ ครม. เห็นชอบต่อไป
ทั้งนี้ การบริหารจัดการภายหลังการควบรวมทั้ง 2 กองทุน จะเป็นหน้าที่โดยตรงของ กยศ. โดยจะเน้นและสนับสนุนให้กู้ยืมในการศึกษาสาขาที่ขาดแคลนกว่า 1,005 สาขา โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ การบัญชี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และอาชีวศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ในขณะนี้
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการกยศ. กล่าวว่า การควบรวมทั้ง 2 กองทุนเข้าด้วยกัน เพื่อให้รูปแบบการบริหารจัดการเป็นระบบเดียวกัน มีความชัดเจนและให้รัดกุมมากขึ้นด้วย รวมถึงสนับสนุนและสร้างบุคลากรรองรับตลาดแรงงานในไทยที่กำลังขาดแคลน และรองรับต่างประเทศที่กำลังย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งตลาดเหล่านี้ต้องการแรงงานฝีมือในกลุ่มอาชีวศึกษาเป็นอย่างมาก ดังนั้นกองทุน กยศ. และ กรอ. จึงได้พิจารณาให้เงินค่าครองชีพกับกลุ่มอาชีวะมากขึ้น เพื่อสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาหันมาเรียนสาขาวิชาชีพดังกล่าว และตอบสนองความต้องการ ตลาดแรงงานในปัจจุบัน.
http://www.dailynews.co.th/businesss/201395
กองทุนและระบบการศึกษาต้องปรับระบบกันละครับว่าทำไมผลิตนักศึกษาไม่มีความรับผิดชอบได้มากขนาดนี้