ดัดหลังโกง หนี้กยศ. กว่า 2 ล้านคน - นักวิชาการแนะใช้ ม.44 ยกเลิกระบบเดิม และ เปลี่ยนแปลงระบบเงินกู้
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) เรื่อง "ระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาสำหรับประเทศไทย" โดย ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการเสวนา ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และนายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการติดตามและประเมินผลการศึกษา เป็นวิทยากรเสวนา
ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึง ระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาสำหรับประเทศไทยว่า มีความพยายามแก้ไขปัญหาการอุดหนุนเงินด้านการศึกษาผ่านทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มาแล้วหลายรัฐบาล โดยใช้แนวคิดดึงรัฐบาลเข้ามาเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในการอุดหนุนเงิน กยศ. และประกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่กู้ยืมเงิน ไปศึกษา เพื่อแก้ปัญหานักเรียนและนักศึกษาที่ได้ กู้ยืมเงินไปจากกองทุน กยศ. ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากถึงร้อยละ 60 ที่ยังไม่มาชำระคืนเป็นจำนวนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งมาตรการของรัฐต่อมาได้ตั้งกองทุนกู้ยืมระดับอุดมศึกษาขึ้นมาใหม่ เรียกชื่อว่า กองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) หรือ ICL : Income-Contingent Loan ซึ่งหนี้เงินกู้ กรอ. นี้ไม่มีดอกเบี้ย แต่มูลค่าหนี้จะถูกปรับขึ้นลงตามดัชนีราคาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แต่ละปีรัฐต้องใช้งบประมาณหลายร้อยล้านบาท เพื่อดำเนินการทางกฎหมายสั่งฟ้องผู้กู้เงิน กรอ. ที่ไม่ชำระหนี้แต่ละปีจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนคดีที่มีการฟ้องร้องกันในศาลแล้วนับหมื่นคดี ดังนั้น จึงเสนอแนวคิดเพื่อปรับเปลี่ยนระบบยกเลิกระบบเงินกู้ กยศ. โดยย้ายหนี้ทั้งหมดที่ยังคงค้างอยู่โอนย้ายไปสู่ระบบกองทุน กรอ. ซึ่งจุดเริ่มต้นของรายได้จะต้องมีการชำระหนี้ที่
มีกำหนดแน่นอน และเป็นการชำระคืนในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายใต้อำนาจของกรมสรรพากรทำหน้าที่เดิมอยู่แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนระบบเงินกู้ยืมทั้ง กยศ. และ กรอ. อาจใช้เวลาเปลี่ยนผ่านราว 2 ปี เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นระบบเงินกู้ กรอ. ระบบเดียวทั้งหมด
ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว กล่าวว่า การเป็นหนี้ของผู้กู้ยืมเงิน กรอ. เป็นหนี้เฉพาะตัวและผูกพันกับตัวเองไปจนตลอดชีวิต ซึ่งการมีระบบกู้ยืมเงิน กรอ. ที่มีรัฐบาลเป็นหุ้นส่วนกับนักเรียนนักศึกษาในการเข้ารับการศึกษาจะเป็นกลไกที่ช่วยสร้างและควบคุมคุณภาพของผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองในการเรียนและพัฒนาตนเอง อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขระบบเงินกู้ กรอ. จำเป็นต้องแก้ไขตัวกฎหมายโดยยกเลิกกฎหมายเก่ามาใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง และเสนอให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจมาตรา 44 เร่งยกเลิกระบบเดิมและเปลี่ยนแปลงระบบเงินกู้ กรอ. ทันทีตามแนวคิดดังกล่าวเพื่อประโยชน์ระยะยาวของการศึกษาไทยในอนาคต
นายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการติดตามและประเมินผลการศึกษา กล่าวว่า กองทุนกู้ยืมเงินด้านการศึกษาปัจจุบัน พบว่า ใช้งบประมาณไปแล้วมากกว่า 6-7 แสนล้านบาท แต่ยังไม่สร้างประโยชน์ให้เห็นชัดเจนแต่อย่างใด เนื่องจากแนวคิดเดิมระบบการคลังเพื่อการศึกษา หรือ Education Finance ที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญคือ ระบบการคลังที่เน้น การสนับสนุนด้านอุปทาน (Supply-Side Financing) มากกว่าสนับสนุนด้านอุปสงค์ (Demand-side financing) โดยที่ผ่านมารัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
ให้หน่วยผลิตบริการการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย มากกว่าจัดสรรเงินให้ผู้เรียนแล้วให้ ผู้เรียนเลือกโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเอง แต่ไม่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกเรียนตามความถนัดของตนเอง จึงเห็นสมควรเปลี่ยนมาเป็น ระบบการศึกษาด้านอุปสงค์ (Demand-side financing) คือ ให้ความสำคัญต่อผู้เรียนสูงขึ้น และน่าเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
"ขอเสนอให้มีกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติเฉพาะด้านกองทุนการศึกษา เพื่อสนับสนุนรองรับการศึกษาทุกด้านทั้งอาชีวศึกษา การศึกษาเฉพาะทาง และสายวิชาชีพที่ขาดแคลนให้สอดคล้องกับการวางมาตรฐานการจัดการศึกษาและการมีงานทำ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งขณะนี้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพยายามขับเคลื่อนเน้นอุดหนุนเงินรายหัวแก่ผู้เรียนในสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อยู่ระหว่างปรับแก้ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี นำสู่การปฏิบัติและมีการวางกลไก ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลด้านการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษาที่ชัดเจน" นายสมนึก กล่าว
ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ... อยู่ในขั้นพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีแนวคิดปรับปรุงระบบกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบบใหม่ และเตรียมระบบ สารสนเทศเพื่อรองรับการกู้ยืมเงินในปีการศึกษา 2560 จำนวน 4 ประเภท ประกอบด้วย กลุ่มผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ กลุ่มสาขาที่เป็นความต้องการหลักจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ กลุ่มผู้เรียนสาขาที่ขาดแคลน กลุ่มที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ และกลุ่มผู้ที่เรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้เมื่อผู้กู้ยืมเงินเข้าทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้บุคคลคณะบุคคล หรือนิติบุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ส่งข้อมูลบุคลากรในสังกัดให้กองทุนตรวจสอบว่าเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือไม่ และมีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงิน รูปแบบเดียวกับหนี้ค่าภาษีอากร
"อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญมีข้อเสนอว่า ทุกฝ่ายรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองควรเร่งสร้างจิตสำนึกแก่ผู้เรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบต่อระบบ กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และสร้างความตระหนักเสมอว่าเป็นหน้าที่สำคัญในฐานะประชาชนไทย เมื่อกู้เงิน มาเรียนแล้วต้องชดใช้เงินคืนเมื่อสามารถหารายได้เลี้ยงตนเองได้แล้ว" ดร.สมศักดิ์ กล่าว
อ่านต่อได้ที่ :
http://www.ryt9.com/s/bmnd/2444345
ดัดหลังโกงหนี้ กยศ. กว่า 2 ล้านคน - นักวิชาการแนะใช้ ม.44 ยกเลิกระบบเดิม และ เปลี่ยนแปลงระบบเงินกู้
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) เรื่อง "ระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาสำหรับประเทศไทย" โดย ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการเสวนา ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และนายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการติดตามและประเมินผลการศึกษา เป็นวิทยากรเสวนา
ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึง ระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาสำหรับประเทศไทยว่า มีความพยายามแก้ไขปัญหาการอุดหนุนเงินด้านการศึกษาผ่านทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มาแล้วหลายรัฐบาล โดยใช้แนวคิดดึงรัฐบาลเข้ามาเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในการอุดหนุนเงิน กยศ. และประกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่กู้ยืมเงิน ไปศึกษา เพื่อแก้ปัญหานักเรียนและนักศึกษาที่ได้ กู้ยืมเงินไปจากกองทุน กยศ. ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากถึงร้อยละ 60 ที่ยังไม่มาชำระคืนเป็นจำนวนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งมาตรการของรัฐต่อมาได้ตั้งกองทุนกู้ยืมระดับอุดมศึกษาขึ้นมาใหม่ เรียกชื่อว่า กองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) หรือ ICL : Income-Contingent Loan ซึ่งหนี้เงินกู้ กรอ. นี้ไม่มีดอกเบี้ย แต่มูลค่าหนี้จะถูกปรับขึ้นลงตามดัชนีราคาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แต่ละปีรัฐต้องใช้งบประมาณหลายร้อยล้านบาท เพื่อดำเนินการทางกฎหมายสั่งฟ้องผู้กู้เงิน กรอ. ที่ไม่ชำระหนี้แต่ละปีจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนคดีที่มีการฟ้องร้องกันในศาลแล้วนับหมื่นคดี ดังนั้น จึงเสนอแนวคิดเพื่อปรับเปลี่ยนระบบยกเลิกระบบเงินกู้ กยศ. โดยย้ายหนี้ทั้งหมดที่ยังคงค้างอยู่โอนย้ายไปสู่ระบบกองทุน กรอ. ซึ่งจุดเริ่มต้นของรายได้จะต้องมีการชำระหนี้ที่
มีกำหนดแน่นอน และเป็นการชำระคืนในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายใต้อำนาจของกรมสรรพากรทำหน้าที่เดิมอยู่แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนระบบเงินกู้ยืมทั้ง กยศ. และ กรอ. อาจใช้เวลาเปลี่ยนผ่านราว 2 ปี เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นระบบเงินกู้ กรอ. ระบบเดียวทั้งหมด
ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว กล่าวว่า การเป็นหนี้ของผู้กู้ยืมเงิน กรอ. เป็นหนี้เฉพาะตัวและผูกพันกับตัวเองไปจนตลอดชีวิต ซึ่งการมีระบบกู้ยืมเงิน กรอ. ที่มีรัฐบาลเป็นหุ้นส่วนกับนักเรียนนักศึกษาในการเข้ารับการศึกษาจะเป็นกลไกที่ช่วยสร้างและควบคุมคุณภาพของผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองในการเรียนและพัฒนาตนเอง อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขระบบเงินกู้ กรอ. จำเป็นต้องแก้ไขตัวกฎหมายโดยยกเลิกกฎหมายเก่ามาใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง และเสนอให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจมาตรา 44 เร่งยกเลิกระบบเดิมและเปลี่ยนแปลงระบบเงินกู้ กรอ. ทันทีตามแนวคิดดังกล่าวเพื่อประโยชน์ระยะยาวของการศึกษาไทยในอนาคต
นายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการติดตามและประเมินผลการศึกษา กล่าวว่า กองทุนกู้ยืมเงินด้านการศึกษาปัจจุบัน พบว่า ใช้งบประมาณไปแล้วมากกว่า 6-7 แสนล้านบาท แต่ยังไม่สร้างประโยชน์ให้เห็นชัดเจนแต่อย่างใด เนื่องจากแนวคิดเดิมระบบการคลังเพื่อการศึกษา หรือ Education Finance ที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญคือ ระบบการคลังที่เน้น การสนับสนุนด้านอุปทาน (Supply-Side Financing) มากกว่าสนับสนุนด้านอุปสงค์ (Demand-side financing) โดยที่ผ่านมารัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
ให้หน่วยผลิตบริการการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย มากกว่าจัดสรรเงินให้ผู้เรียนแล้วให้ ผู้เรียนเลือกโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเอง แต่ไม่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกเรียนตามความถนัดของตนเอง จึงเห็นสมควรเปลี่ยนมาเป็น ระบบการศึกษาด้านอุปสงค์ (Demand-side financing) คือ ให้ความสำคัญต่อผู้เรียนสูงขึ้น และน่าเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
"ขอเสนอให้มีกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติเฉพาะด้านกองทุนการศึกษา เพื่อสนับสนุนรองรับการศึกษาทุกด้านทั้งอาชีวศึกษา การศึกษาเฉพาะทาง และสายวิชาชีพที่ขาดแคลนให้สอดคล้องกับการวางมาตรฐานการจัดการศึกษาและการมีงานทำ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งขณะนี้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพยายามขับเคลื่อนเน้นอุดหนุนเงินรายหัวแก่ผู้เรียนในสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อยู่ระหว่างปรับแก้ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี นำสู่การปฏิบัติและมีการวางกลไก ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลด้านการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษาที่ชัดเจน" นายสมนึก กล่าว
ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ... อยู่ในขั้นพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีแนวคิดปรับปรุงระบบกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบบใหม่ และเตรียมระบบ สารสนเทศเพื่อรองรับการกู้ยืมเงินในปีการศึกษา 2560 จำนวน 4 ประเภท ประกอบด้วย กลุ่มผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ กลุ่มสาขาที่เป็นความต้องการหลักจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ กลุ่มผู้เรียนสาขาที่ขาดแคลน กลุ่มที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ และกลุ่มผู้ที่เรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้เมื่อผู้กู้ยืมเงินเข้าทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้บุคคลคณะบุคคล หรือนิติบุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ส่งข้อมูลบุคลากรในสังกัดให้กองทุนตรวจสอบว่าเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือไม่ และมีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงิน รูปแบบเดียวกับหนี้ค่าภาษีอากร
"อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญมีข้อเสนอว่า ทุกฝ่ายรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองควรเร่งสร้างจิตสำนึกแก่ผู้เรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบต่อระบบ กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และสร้างความตระหนักเสมอว่าเป็นหน้าที่สำคัญในฐานะประชาชนไทย เมื่อกู้เงิน มาเรียนแล้วต้องชดใช้เงินคืนเมื่อสามารถหารายได้เลี้ยงตนเองได้แล้ว" ดร.สมศักดิ์ กล่าว
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/bmnd/2444345