ความร่วมมือด้านพลังงานของกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมวางแผนด้านพลังงานภายใต้ชื่อ ASEAN Plan

รู้หรือไม่ว่ารัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียน ได้มีความร่วมมือด้านพลังงานโดยการวางแผนด้านพลังงานร่วมกันภายใต้ชื่อ ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation (APAEC)มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 จนกระทั่งแผนล่าสุดคือฉบับปีพ.ศ.2553-2558 ซึ่งประเทศไทยเป็นประธานในการจัดทำ

อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรพลังงานมากและมีความหลากหลายกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติพลังน้ำและถ่านหิน โดยทางตอนเหนือคือพม่าลาว

เวียดนามถือเป็นแหล่งที่มีศักยภาพสูงมากในเรื่องพลังน้ำโดยแต่ละประเทศมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำมากกว่า2 หมื่นเมกะวัตต์ ในขณะที่ทางตอนใต้คือมาเลเซียและอินโดนีเซียก็อุดมไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันโดยอินโดนีเซียยังเป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่อีกด้วย

สำหรับประเทศไทยเรามีทรัพยากรพลังงานในระดับปานกลางแต่มีอัตราการบริโภคพลังงานที่สูงเป็นอันดับ2 รองจากประเทศอินโดนีเซียอีกทั้งไทยยังเป็นประเทศที่ต้องนำ

เข้าก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์(ในอาเซียนมีเพียงไทยและสิงคโปร์ที่นำเข้าก๊าซธรรมชาติ) แต่ทว่าสิงคโปร์เป็นการนำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ ดังนั้นไทยเราจึงอยู่ในฐานะประเทศที่พึ่งพาก๊าซธรรมชาตินำเข้ามากที่สุดในอาเซียน


ทางออกสำหรับประเทศไทย คือการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติสำรอง จากความร่วมมือ ภายใต้แผนพัฒนาด้านพลังงาน APAEC เป็นหนึ่งแผนงานสำหรับความมั่นคงพลังงานโดยการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานพลังงานในภูมิภาคเข้าด้วยกัน รวมทั้งการสร้างนโยบายเพื่อเปิดตลาดพลังงานให้สามารถซื้อขายพลังงานระหว่างประเทศได้อย่างคล่องตัวโดยโครงการสำคัญที่กำลังดำเนินการคือ

1. โครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN  PowerGrid : APG) เพื่อส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศโดยปัจจุบันมีโครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 16 โครงการก่อสร้างเสร็จแล้ว 3 โครงการอยู่ระหว่างก่อสร้าง 3 โครงการโดยคาดว่าจะเชื่อมโยงได้ครบทุกประเทศในปี ค.ศ.2020 (รายละเอียดดังแผนภาพ)


2. โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน( Trans-ASEAN Gas Pipeline : TAGP) เพื่อส่งเสริมการค้าก๊าซธรรมชาติอย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิกปัจจุบันมี

โครงการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติ 8 โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติความยาวรวม 2,300 กม. และมีแผนก่อสร้างเพิ่มอีก7 โครงการโดยใช้แหล่งก๊าซนาทูน่าของอินโดนีเซียเป็นแหล่งหลัก

โครงการเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกิจการพลังงานตามมาอย่างมากมาย โดยอ้างถึงการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค จากการมีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อกันและสามารถซื้อขายพลังงานข้ามประเทศได้อย่าง สะดวกง่ายดาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่