กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย
เครื่องบินของสายการบิน ซูเวย่า อาราเบี้ยน แอร์ไลน์ Suwayya Arabian Airlines ลงจอดที่สนามบิน คิงส์ คาเลด อินเตอร์เนชันแนล แอร์พอร์ต King Khaled International Airport เพื่อส่งผู้โดยสารจากอาบูดาบี Abu Dhabi มาร่วมใน จานาดริยาห์ เฟสติวัล Janadriyah Festival งานเทศกาลด้านมรดกวัฒนธรรมของซาอุฯ ที่จัดขึ้นในกรุงริยาด เป็นประจำทุกๆปี
งานเทศกาลด้านมรดกนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1985 โดย คิงฟาฮัด อิบนิ อับดุลอะซีซ King Fahad Ibn Abdul Aziz ตราบจนปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลา 28 ปีแล้ว งานเทศกาลมรดกวัฒนธรรมของซาอุดิอาระเบีย ก็ยังคงจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเสมอมา โดยมีผู้คนให้ความสนใจหลั่งไหลเข้ามาจากทั่วทุกสารทิศ ดุจระรอกคลื่นแห่งทะเลแดง Red Sea ที่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างต่อเนื่อง
ตรงป้อมปราการติดกับประตูทางเข้าทั้งสองตั้งเป็นคู่ขนานกันอยู่ ปรากฏภาพขนาดใหญ่ประดับอยู่บนกำแพงสีส้มทะเลทราย เด่นตระหง่านทั้งสี่ด้าน เป็นภาพของคิงส์อับดุลอะซีซ อัสซาอูด King Abd Al-Aziz Al-Saud (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม อิบนุ ซาอูด Ibn Saud) ผู้สถาปนาอาณาจักรซาอุดิอาระเบียครั้งที่สอง
ในปี 1902 หลังจากที่อิบนุซะอูดได้ยึดริยาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์ซะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์ซะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์ และนครมะดีนะฮ์ ในปี 1932 อิบนุซะอูดได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลั่งไหลกันเข้ามาในงานเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนแต่งกายอย่างเหมาะสมรัดกุม เข้ากับบรรยากาศและสถานที่ โดยผู้หญิงนั้นต้องสวมชุดอาบาย่า Abaya สีดำสนิทคลุมทับเสื้อด้านใน และมีฮิญาบ Hijab คลุมผมที่ควรรวบเก็บให้เรียบร้อยไม่โผล่หลอมแหลมออกมาจากผ้าคลุม ส่วนผู้ชายจะสวมชุดโต๊ป Thobe สีขาว และคูฟียา kufiya ซึ่งเป็นผ้าคลุมสีแดงสลับขาว คาดด้วยวงแหวนสองวงสีดำบนศีรษะ
และเมื่อเงยหน้าแหงนคอตั้งบ่า ก็จะเห็นนักกระโดดร่ม กลางเวหา ร่อนอยู่บนท้องฟ้า ข้อความบนร่มเขียนเอาไว้ว่า “ต่อต้านผู้ก่อการร้าย” with the anti-terrorism
ส่วนปีกสีน้ำตาลที่กางออก วนเวียนอยู่รอบๆนักกระโดดร่มผู้นั้น นั่นคือเหยี่ยวทะเลทราย Saker Falcon [Falco cherrug] พวกเด็กๆที่ยังไม่ต้องปิดคลุมหน้า พากันชี้นิ้วไปยังเหยี่ยวที่ร่อนอยู่กลางเวหาด้วยความตื่นเต้น
ทันทีที่เสียงผิวปาก วี๊ด ดังมาจากเบื้องล่าง เหยี่ยวแสนรู้ก็บินโฉบลงมาด้วยความรวดเร็ว จิกกรงเล็บลงบนแขนแข็งแกร่ง ซึ่งพันรอบด้วยผ้าหนายกขึ้นเหนือระดับสายตา ของชายหนุ่มชาวอาหรับหน้าตาคมคายผู้เป็นนายฝึกเหยี่ยว falconer ที่อยู่กลางวงล้อมของนักท่องเที่ยว ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาร่วมในงาน ได้ทดลองฝึกสอนเหยี่ยวด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด เขายื่นแขนส่งเหยี่ยวตัวนั้นให้แก่หญิงสาวต่างชาติผมสีทองผู้หนึ่ง แม้ว่าหล่อนจะไม่สวมผ้าคลุมหน้า ปล่อยให้ผมสยายยาวเต็มแผ่นหลัง แต่อย่างน้อยก็ยังสวมชุดอาบาย่าสีดำเรียบร้อย หล่อนยกแขนขึ้นปล่อยเหยี่ยวตัวนั้นบินขึ้นไปบนฟ้า แล้วมันก็บินหายลับไปในกลีบเมฆไม่มีวี่แววว่าจะกลับมา
ในกำแพงส่วนกลางมีซุ้มขายสินค้าทำมือ handicrafts งานแกะสลักจากไม้ ตะเกียงน้ำมันโบราณ Yemeni Gaza หน้าตาคลาสสิก
รวมทั้งสิ้นค้าหัตถกรรมจักสาน โดยช่างฝีมือลือชื่อจากแต่ละภูมิภาค ที่มาสาธิตวิธีการทำให้ชมและทดลองทำด้วยตนเองด้วยอีกด้วย
เชื่อมต่อกับซุ้มดังกล่าวเลยออกไปนอกกำแพงวัฒนธรรม เป็นร้านค้าเรียงรายยาวเหยียดไปจนสุดถนนเส้นนั้น คือตลาดขายสมบัติเก่า The Treasure market ซึ่งเต็มไปด้วยร้านค้าเครื่องประดับต่างๆมากมาย
ชายเคราแพะในชุดโต๊ปสีขาวไม่สะดุดตาผู้หนึ่ง ดูจะสนอกสนใจจี้น้ำเงินชิ้นนั้นเป็นพิเศษ เขากำลังพยายามต่อรองราคา ลงกว่าครึ่งหนึ่งของราคาเต็ม จนคนขายพยักหน้า เอ้ย..ส่ายหน้า
“ไม่ได้นะนายจ๋า 4,000 ริยาล (Riyal) ราคาเดียวเท่านั้น นี่ก็ลดสุดๆแล้วนะจ๋าา”
ในอุ้งมือของเขาวางอยู่เป็นจี้เงินแท้ ฝังหินลาพิส หรือที่ฝรั่งมังค่าเรียกว่า "แซฟไฟร์" (Sapphire) เป็นหินสีน้ำเงินเข้มมีเนื้อมันเงา แกะลายด้านหน้าทั้งชิ้นเป็นรูปม้าและภาษาอาหรับโบราณ และเมื่อนำมาส่องกับแสงแดด พิจารณามองดูใกล้ๆ ก็จะเห็นว่าหินชนิดนี้ มีสีครามอมเขียว และสีเหลืองประอยู่ในเนื้อหินด้วย คล้ายกับทองคำแทรกในเนื้อหิน แต่ความจริง คือ แร่ไพไรต์ (Pyrite) ซึ่งชาวอียิปต์โบราณ นิยมใช้เป็นเครื่องประดับชั้นสูงของกษัตริย์
“ถ้า 2,000 ริยาล คงต้องเป็นชิ้นนี้แทนนะจ๊ะนาย”
เขาวางจี้ลาพิสสีน้ำเงินเข้มชิ้นนั้นลง แล้วหยิบจี้สีเลือดหมูอีกชิ้นมานำเสนอ เป็นงานสลักหินคาร์เนเลี่ยนสลักเป็นภาษาอาหรับ รอบๆแกะสลักเป็นรูปสัตว์กีบคู่ตระกูลเลียงผาที่มีเขาแหลมเฟี้ยว
เมื่อเห็นลูกค้ายังลังเลไม่ตัดสินใจ ก็ทยอยนำเสนอสิ่งของชื้นอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ ทั้งกำไลมรกต แหวนอาเกต Agate สลักคำว่าอัลเลาะห์ ไปป์แกะสลักประดับพลอย รวมทั้งชุดเครื่องเงิน และโถทองเหลืองใส่ชา แต่ลูกค้าคนดีก็ส่ายหัวดุ๊กดิ๊กแล้วก็เดินจากไป
บริเวณนั้นมีนักขับลำนำ มายืนขับขานบทกวีอาหรับ กล่าวร่ายบทกลอน ซึ่งฟังไพเราะเสนาะหูคล้องจองแบบด้นสด ดังกังวานสะเทือนสะท้อน เอื้อนเยอะเสียจนลูกกระเดือกคอสั่น ดูๆไปหน้าตาก็ละม้ายคล้ายกับอูฐหน้าเมื่อยทำปากขมุบขมิบ ที่มาหยุดยืนอยู่ตรงหน้าของเขาครู่หนึ่ง แล้วเครื่องประดับบนตัวมันส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง ขณะก้าวขายาวๆไปข้างหน้านำแขกที่นั่ง อยู่บนหลังของมันชมบรรยากาศในงาน
อูฐตัวอื่นๆที่เหลืออยู่ยืนเรียงกันอย่างเกือบเป็นระเบียบ ผู้คนเดินขวักไขว่ผ่านไปมา มองดูพวกมันด้วยสายตาขบขันระคนเอ็นดู พวกมันถูกส่งตัวมาจาก ‘สมาคมคนรักอูฐ’
ซึ่งซาอุดิอาระเบียได้ก่อตั้งสโมสร คนรักอูฐ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยนาย Homoud al-Qahtani ผู้ริเริ่มก่อตั้งสโมสรก็มาร่วมในงานนี้ด้วย ผู้ซึ่งมีหน้าที่คอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอูฐสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งพฤติกรรมการกิน การอยู่ รวมทั้งเทคนิคในการเอาชีวิตรอด ในทะเลทรายอาระเบียอันแห้งแล้งของพวกมัน และทางสมาคมก็ได้จัดบริการพิเศษรองรับนักท่องเที่ยว ให้สามารถขึ้นขี่อูฐเดินชมบรรยากาศรอบๆตัวงานได้ในราคาเพียงชั่วโมงละ 40 ริยาลเท่านั้น โดยเงินส่วนนี้จะนำไปสมทบทุนช่วยเหลือ ‘สมาคมอูฐไร้บ้าน’ ทั่วประเทศที่เหลือ
สำหรับใครที่อยากจะร่วมลงนามแข่งขันกรีฑาอูฐก็สามารถเข้าร่วมได้เช่นกัน ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเจ้าอูฐหน้าบึ้งปากห้อยย้อยพวกนั้นพอจับมาวิ่งแข่งกัน กลับวิ่งเร็วปรื๋อราวกับพายุฝุ่นตลบกลบสนาม ไม่น้อยหน้าเหล่าม้าแห่งทะเลทรายอาราเบีย ที่ห้อตะบึงแข่งกันอยู่ด้านฝั่งตรงข้าม
ม้าอาราเบี้ยนเหล่านั้น เป็นม้าลำคอเรียวโค้งยาวเป็นรูปคอหงส์ หน้าแหลม ดั้งจมูกเชิดงอนขึ้น และมีคางเป็นสันกลม สังเกตได้ชัดตามภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Dished Face โคนหางจะยกชูขึ้นในขณะวิ่ง เนื่องจากอราเบี้ยนมีกระดูกโคนหางน้อยกว่าม้าสายพันธุ์อื่นอยู่ 2 ชิ้น จึงมีทวงท่าและจังหวะวิ่งที่ขายกลอยจากพื้นพร้อมๆกันทั้งสี่ขา (Floating Gaits) ทำให้สามารถช่วยลดแรงกระแทกและช่วยผ่อนแรงผู้ขี่ได้อย่างมาก
ด้วยลักษณะอันโดดเด่นดังกล่าวเหล่านั้น ทำให้พวกมันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากตะวันออกกลางไปสู่ตะวันตก มีบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ม้าอาหรับจากตะวันออกกลางถูกส่งโดยเรือไปยังเกาะอังกฤษ สำหรับพวกขุนนางชั้นสูงใช้ในเกมส์กีฬาแข่งม้า ในยุคแห่งการสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 พระเจ้าเฮนรี่แห่งราชวงศ์ทิวดอร์เองก็ทรงโปรดม้าอาหรับยิ่งนัก
ส่วนอูฐตัวที่เชื่องช้าหน้าตาเฉลียวฉลาดน้อยกว่าเพื่อนๆ ก็มิได้ถูกทอดทิ้งให้ไร้ประโยชน์ พวกมันจะถูกนำไปใช้แรงงานอย่างคุ้มค่า ตักน้ำจากบ่อน้ำแบบโบราณก่อด้วยอิฐและไม้ เชือกยาวหลากสีสันถักเป็นสายคล้องเอาไว้กับโหนกและลำตัวของอูฐ และเมื่อมันโยกตัวมาข้างหน้า รอกและล้อเพลาทำจากไม้ก็จะเคลื่อนตัวหมุน เกิดแรงดึงจากเชือกซึ่งคล้องกับลำตัวอูฐ ผูกโยงเอาไว้กับถังไม้จักสานขนาดย่อม ก็จะถูกยกขึ้นมาจากบ่อพร้อมกับน้ำที่บรรจุอยู่เต็มถัง
แล้วสาวๆในงานก็เริ่มอยู่ไม่นิ่งมีอาการกระสับกระส่าย สายตาชม้ายมองชายหนุ่มสามคนที่ปรากฏตัวขึ้นในงาน พวกเขาเดินมาพร้อมกัน ผ่านประตูจานาดริยาห์ มาสู่บริเวณพื้นที่ที่มีการจัดแสดงการละเล่นพื้นเมือง ให้ผู้เข้าชมสัมผัสได้อย่างใกล้ชิด
เสียงกีต้าร์แบบอาระเบียนดังตะแน่วๆ แว่วคลอกับการหมุนตัวอย่างพร้อมเพรียงกัน ของระบำซาปิน ซึ่งเป็นการแสดงฟ้อนรำหมู่
ถัดมาคือการแสดงศิลปะการฟันดาบซิมิเตอร์scimitar ดาบโค้งงอที่คมด้านเดียวของชาวอาหรับ ซึ่งใกล้ๆกันมีร้านค้าขายอาวุธโบราณอยู่หนึ่งร้าน ชายหนุ่มหนึ่งในสามชะงักฝีเท้าขณะเดินผ่านหน้าร้าน สายตาคมมองดาบเก่าเล่มหนึ่งด้วยความสนใจ เขาฉวยซิมิเตอร์เล่มนั้นมาชั่งน้ำหนักในมือ ใบหน้าหล่อเหลาสะท้อนบนใบมีดเงินแท้ ดวงตาเป็นประกายมองอักขระอาหรับโบราณ ที่แกะสลักอยู่บนใบมีดอย่างพินิจพิเคราะห์ นิ้วมือลูบด้ามจับประดับด้วยไพลินสีน้ำเงิน แล้วก็ทดลองควงตัดอากาศ ฟุบ ฟับ ด้วยท่าทางคล่องแคล่วปราดเปรียว หันปลายแหลมอันคมกริบสะท้อนแดดเงาวับของดาบเล่มนั้น จี้ใส่เพื่อนอย่างกลั่นแกล้ง ใบหน้ายิ้มแย้มหัวเราะ
หญิงอาหรับนางหนึ่งสวมฮิญาบคลุมดำสนิท ซ่อนใบหน้าทั้งหมดไว้ ไม่ให้ใครเห็นแม้กระทั่งดวงตา ก็ยังอุตส่าห์เหลียวมองมาเหมือนถูกแม่เหล็กดึงดูด แล้วผ้าคลุมฮิญาบก็ปลิวหลุดออกไปจากใบหน้าของเธอ ที่ยังคงยืนเหม่อสติหล่นหายหรือไม่ก็โดนขโมยไม่โดยไม่รู้ตัว เผยให้เห็นสายตามองไปยังชายหนุ่มกลุ่มนั้นด้วยแรงปรารถนาเร่าร้อน ในดินแดนของพระอัลเลาะห์แห่งนี้ มีกฏว่ามนุษย์ต่างเพศต่างพันธุ์ ห้ามแตะเนื้อต้องตัวกันโดยเด็ดขาด จะแตะต้องด้วยสายตาก็มิบังควร
ผู้ชายอาหรับในงานที่ยืนอยู่บริเวณนั้น มองดูชายหนุ่มทั้งสามด้วยสายตาเป็นศัตรูขึ้นมาทันใด
แล้วตำรวจศาสนา mutawwa ก็เข้ามาจับกุมชายหนุ่มทั้งสามคนทันที พวกเขาพยายามขัดขืนเพราะไม่ทราบว่าตนทำผิดข้อหาอะไร
“เฮ้ คุณจับผมด้วยข้อหาอะไรกัน ปล่อยผมเดี๋ยวนี้นะ!” ชายหนุ่มเอ็ดตะโล ซิมิเตอร์ในมือร่วงกระทบพื้นดัง เคร้ง พยายามดิ้นรนขณะถูกรวบแขนจับไพล่หลังแล้วล็อกด้วยกุญแจมือ เช่นเดียวกับชายหนุ่มสองคนที่เหลือ
“พวกคุณทั้งสามคนหน้าตาหล่อเหลาเกินไป” ตำรวจศาสนากล่าวด้วยเสียงเฉียบขาดเผด็จการ “พวกคุณต้องถูกเนรเทศออกไปให้พ้นจากซาอุดิอาระเบียทันที!”
Suwayya Arabian Airlines [ 01 - จานาดริยาห์ เฟสติวัล ]
เครื่องบินของสายการบิน ซูเวย่า อาราเบี้ยน แอร์ไลน์ Suwayya Arabian Airlines ลงจอดที่สนามบิน คิงส์ คาเลด อินเตอร์เนชันแนล แอร์พอร์ต King Khaled International Airport เพื่อส่งผู้โดยสารจากอาบูดาบี Abu Dhabi มาร่วมใน จานาดริยาห์ เฟสติวัล Janadriyah Festival งานเทศกาลด้านมรดกวัฒนธรรมของซาอุฯ ที่จัดขึ้นในกรุงริยาด เป็นประจำทุกๆปี
งานเทศกาลด้านมรดกนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1985 โดย คิงฟาฮัด อิบนิ อับดุลอะซีซ King Fahad Ibn Abdul Aziz ตราบจนปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลา 28 ปีแล้ว งานเทศกาลมรดกวัฒนธรรมของซาอุดิอาระเบีย ก็ยังคงจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเสมอมา โดยมีผู้คนให้ความสนใจหลั่งไหลเข้ามาจากทั่วทุกสารทิศ ดุจระรอกคลื่นแห่งทะเลแดง Red Sea ที่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างต่อเนื่อง
ตรงป้อมปราการติดกับประตูทางเข้าทั้งสองตั้งเป็นคู่ขนานกันอยู่ ปรากฏภาพขนาดใหญ่ประดับอยู่บนกำแพงสีส้มทะเลทราย เด่นตระหง่านทั้งสี่ด้าน เป็นภาพของคิงส์อับดุลอะซีซ อัสซาอูด King Abd Al-Aziz Al-Saud (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม อิบนุ ซาอูด Ibn Saud) ผู้สถาปนาอาณาจักรซาอุดิอาระเบียครั้งที่สอง
ในปี 1902 หลังจากที่อิบนุซะอูดได้ยึดริยาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์ซะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์ซะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์ และนครมะดีนะฮ์ ในปี 1932 อิบนุซะอูดได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลั่งไหลกันเข้ามาในงานเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนแต่งกายอย่างเหมาะสมรัดกุม เข้ากับบรรยากาศและสถานที่ โดยผู้หญิงนั้นต้องสวมชุดอาบาย่า Abaya สีดำสนิทคลุมทับเสื้อด้านใน และมีฮิญาบ Hijab คลุมผมที่ควรรวบเก็บให้เรียบร้อยไม่โผล่หลอมแหลมออกมาจากผ้าคลุม ส่วนผู้ชายจะสวมชุดโต๊ป Thobe สีขาว และคูฟียา kufiya ซึ่งเป็นผ้าคลุมสีแดงสลับขาว คาดด้วยวงแหวนสองวงสีดำบนศีรษะ
และเมื่อเงยหน้าแหงนคอตั้งบ่า ก็จะเห็นนักกระโดดร่ม กลางเวหา ร่อนอยู่บนท้องฟ้า ข้อความบนร่มเขียนเอาไว้ว่า “ต่อต้านผู้ก่อการร้าย” with the anti-terrorism
ส่วนปีกสีน้ำตาลที่กางออก วนเวียนอยู่รอบๆนักกระโดดร่มผู้นั้น นั่นคือเหยี่ยวทะเลทราย Saker Falcon [Falco cherrug] พวกเด็กๆที่ยังไม่ต้องปิดคลุมหน้า พากันชี้นิ้วไปยังเหยี่ยวที่ร่อนอยู่กลางเวหาด้วยความตื่นเต้น
ทันทีที่เสียงผิวปาก วี๊ด ดังมาจากเบื้องล่าง เหยี่ยวแสนรู้ก็บินโฉบลงมาด้วยความรวดเร็ว จิกกรงเล็บลงบนแขนแข็งแกร่ง ซึ่งพันรอบด้วยผ้าหนายกขึ้นเหนือระดับสายตา ของชายหนุ่มชาวอาหรับหน้าตาคมคายผู้เป็นนายฝึกเหยี่ยว falconer ที่อยู่กลางวงล้อมของนักท่องเที่ยว ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาร่วมในงาน ได้ทดลองฝึกสอนเหยี่ยวด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด เขายื่นแขนส่งเหยี่ยวตัวนั้นให้แก่หญิงสาวต่างชาติผมสีทองผู้หนึ่ง แม้ว่าหล่อนจะไม่สวมผ้าคลุมหน้า ปล่อยให้ผมสยายยาวเต็มแผ่นหลัง แต่อย่างน้อยก็ยังสวมชุดอาบาย่าสีดำเรียบร้อย หล่อนยกแขนขึ้นปล่อยเหยี่ยวตัวนั้นบินขึ้นไปบนฟ้า แล้วมันก็บินหายลับไปในกลีบเมฆไม่มีวี่แววว่าจะกลับมา
ในกำแพงส่วนกลางมีซุ้มขายสินค้าทำมือ handicrafts งานแกะสลักจากไม้ ตะเกียงน้ำมันโบราณ Yemeni Gaza หน้าตาคลาสสิก
รวมทั้งสิ้นค้าหัตถกรรมจักสาน โดยช่างฝีมือลือชื่อจากแต่ละภูมิภาค ที่มาสาธิตวิธีการทำให้ชมและทดลองทำด้วยตนเองด้วยอีกด้วย
เชื่อมต่อกับซุ้มดังกล่าวเลยออกไปนอกกำแพงวัฒนธรรม เป็นร้านค้าเรียงรายยาวเหยียดไปจนสุดถนนเส้นนั้น คือตลาดขายสมบัติเก่า The Treasure market ซึ่งเต็มไปด้วยร้านค้าเครื่องประดับต่างๆมากมาย
ชายเคราแพะในชุดโต๊ปสีขาวไม่สะดุดตาผู้หนึ่ง ดูจะสนอกสนใจจี้น้ำเงินชิ้นนั้นเป็นพิเศษ เขากำลังพยายามต่อรองราคา ลงกว่าครึ่งหนึ่งของราคาเต็ม จนคนขายพยักหน้า เอ้ย..ส่ายหน้า
“ไม่ได้นะนายจ๋า 4,000 ริยาล (Riyal) ราคาเดียวเท่านั้น นี่ก็ลดสุดๆแล้วนะจ๋าา”
ในอุ้งมือของเขาวางอยู่เป็นจี้เงินแท้ ฝังหินลาพิส หรือที่ฝรั่งมังค่าเรียกว่า "แซฟไฟร์" (Sapphire) เป็นหินสีน้ำเงินเข้มมีเนื้อมันเงา แกะลายด้านหน้าทั้งชิ้นเป็นรูปม้าและภาษาอาหรับโบราณ และเมื่อนำมาส่องกับแสงแดด พิจารณามองดูใกล้ๆ ก็จะเห็นว่าหินชนิดนี้ มีสีครามอมเขียว และสีเหลืองประอยู่ในเนื้อหินด้วย คล้ายกับทองคำแทรกในเนื้อหิน แต่ความจริง คือ แร่ไพไรต์ (Pyrite) ซึ่งชาวอียิปต์โบราณ นิยมใช้เป็นเครื่องประดับชั้นสูงของกษัตริย์
“ถ้า 2,000 ริยาล คงต้องเป็นชิ้นนี้แทนนะจ๊ะนาย”
เขาวางจี้ลาพิสสีน้ำเงินเข้มชิ้นนั้นลง แล้วหยิบจี้สีเลือดหมูอีกชิ้นมานำเสนอ เป็นงานสลักหินคาร์เนเลี่ยนสลักเป็นภาษาอาหรับ รอบๆแกะสลักเป็นรูปสัตว์กีบคู่ตระกูลเลียงผาที่มีเขาแหลมเฟี้ยว
เมื่อเห็นลูกค้ายังลังเลไม่ตัดสินใจ ก็ทยอยนำเสนอสิ่งของชื้นอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ ทั้งกำไลมรกต แหวนอาเกต Agate สลักคำว่าอัลเลาะห์ ไปป์แกะสลักประดับพลอย รวมทั้งชุดเครื่องเงิน และโถทองเหลืองใส่ชา แต่ลูกค้าคนดีก็ส่ายหัวดุ๊กดิ๊กแล้วก็เดินจากไป
บริเวณนั้นมีนักขับลำนำ มายืนขับขานบทกวีอาหรับ กล่าวร่ายบทกลอน ซึ่งฟังไพเราะเสนาะหูคล้องจองแบบด้นสด ดังกังวานสะเทือนสะท้อน เอื้อนเยอะเสียจนลูกกระเดือกคอสั่น ดูๆไปหน้าตาก็ละม้ายคล้ายกับอูฐหน้าเมื่อยทำปากขมุบขมิบ ที่มาหยุดยืนอยู่ตรงหน้าของเขาครู่หนึ่ง แล้วเครื่องประดับบนตัวมันส่งเสียงกรุ๋งกริ๋ง ขณะก้าวขายาวๆไปข้างหน้านำแขกที่นั่ง อยู่บนหลังของมันชมบรรยากาศในงาน
อูฐตัวอื่นๆที่เหลืออยู่ยืนเรียงกันอย่างเกือบเป็นระเบียบ ผู้คนเดินขวักไขว่ผ่านไปมา มองดูพวกมันด้วยสายตาขบขันระคนเอ็นดู พวกมันถูกส่งตัวมาจาก ‘สมาคมคนรักอูฐ’
ซึ่งซาอุดิอาระเบียได้ก่อตั้งสโมสร คนรักอูฐ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก โดยนาย Homoud al-Qahtani ผู้ริเริ่มก่อตั้งสโมสรก็มาร่วมในงานนี้ด้วย ผู้ซึ่งมีหน้าที่คอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอูฐสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งพฤติกรรมการกิน การอยู่ รวมทั้งเทคนิคในการเอาชีวิตรอด ในทะเลทรายอาระเบียอันแห้งแล้งของพวกมัน และทางสมาคมก็ได้จัดบริการพิเศษรองรับนักท่องเที่ยว ให้สามารถขึ้นขี่อูฐเดินชมบรรยากาศรอบๆตัวงานได้ในราคาเพียงชั่วโมงละ 40 ริยาลเท่านั้น โดยเงินส่วนนี้จะนำไปสมทบทุนช่วยเหลือ ‘สมาคมอูฐไร้บ้าน’ ทั่วประเทศที่เหลือ
สำหรับใครที่อยากจะร่วมลงนามแข่งขันกรีฑาอูฐก็สามารถเข้าร่วมได้เช่นกัน ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าเจ้าอูฐหน้าบึ้งปากห้อยย้อยพวกนั้นพอจับมาวิ่งแข่งกัน กลับวิ่งเร็วปรื๋อราวกับพายุฝุ่นตลบกลบสนาม ไม่น้อยหน้าเหล่าม้าแห่งทะเลทรายอาราเบีย ที่ห้อตะบึงแข่งกันอยู่ด้านฝั่งตรงข้าม
ม้าอาราเบี้ยนเหล่านั้น เป็นม้าลำคอเรียวโค้งยาวเป็นรูปคอหงส์ หน้าแหลม ดั้งจมูกเชิดงอนขึ้น และมีคางเป็นสันกลม สังเกตได้ชัดตามภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Dished Face โคนหางจะยกชูขึ้นในขณะวิ่ง เนื่องจากอราเบี้ยนมีกระดูกโคนหางน้อยกว่าม้าสายพันธุ์อื่นอยู่ 2 ชิ้น จึงมีทวงท่าและจังหวะวิ่งที่ขายกลอยจากพื้นพร้อมๆกันทั้งสี่ขา (Floating Gaits) ทำให้สามารถช่วยลดแรงกระแทกและช่วยผ่อนแรงผู้ขี่ได้อย่างมาก
ด้วยลักษณะอันโดดเด่นดังกล่าวเหล่านั้น ทำให้พวกมันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากตะวันออกกลางไปสู่ตะวันตก มีบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ม้าอาหรับจากตะวันออกกลางถูกส่งโดยเรือไปยังเกาะอังกฤษ สำหรับพวกขุนนางชั้นสูงใช้ในเกมส์กีฬาแข่งม้า ในยุคแห่งการสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 พระเจ้าเฮนรี่แห่งราชวงศ์ทิวดอร์เองก็ทรงโปรดม้าอาหรับยิ่งนัก
ส่วนอูฐตัวที่เชื่องช้าหน้าตาเฉลียวฉลาดน้อยกว่าเพื่อนๆ ก็มิได้ถูกทอดทิ้งให้ไร้ประโยชน์ พวกมันจะถูกนำไปใช้แรงงานอย่างคุ้มค่า ตักน้ำจากบ่อน้ำแบบโบราณก่อด้วยอิฐและไม้ เชือกยาวหลากสีสันถักเป็นสายคล้องเอาไว้กับโหนกและลำตัวของอูฐ และเมื่อมันโยกตัวมาข้างหน้า รอกและล้อเพลาทำจากไม้ก็จะเคลื่อนตัวหมุน เกิดแรงดึงจากเชือกซึ่งคล้องกับลำตัวอูฐ ผูกโยงเอาไว้กับถังไม้จักสานขนาดย่อม ก็จะถูกยกขึ้นมาจากบ่อพร้อมกับน้ำที่บรรจุอยู่เต็มถัง
แล้วสาวๆในงานก็เริ่มอยู่ไม่นิ่งมีอาการกระสับกระส่าย สายตาชม้ายมองชายหนุ่มสามคนที่ปรากฏตัวขึ้นในงาน พวกเขาเดินมาพร้อมกัน ผ่านประตูจานาดริยาห์ มาสู่บริเวณพื้นที่ที่มีการจัดแสดงการละเล่นพื้นเมือง ให้ผู้เข้าชมสัมผัสได้อย่างใกล้ชิด
เสียงกีต้าร์แบบอาระเบียนดังตะแน่วๆ แว่วคลอกับการหมุนตัวอย่างพร้อมเพรียงกัน ของระบำซาปิน ซึ่งเป็นการแสดงฟ้อนรำหมู่
ถัดมาคือการแสดงศิลปะการฟันดาบซิมิเตอร์scimitar ดาบโค้งงอที่คมด้านเดียวของชาวอาหรับ ซึ่งใกล้ๆกันมีร้านค้าขายอาวุธโบราณอยู่หนึ่งร้าน ชายหนุ่มหนึ่งในสามชะงักฝีเท้าขณะเดินผ่านหน้าร้าน สายตาคมมองดาบเก่าเล่มหนึ่งด้วยความสนใจ เขาฉวยซิมิเตอร์เล่มนั้นมาชั่งน้ำหนักในมือ ใบหน้าหล่อเหลาสะท้อนบนใบมีดเงินแท้ ดวงตาเป็นประกายมองอักขระอาหรับโบราณ ที่แกะสลักอยู่บนใบมีดอย่างพินิจพิเคราะห์ นิ้วมือลูบด้ามจับประดับด้วยไพลินสีน้ำเงิน แล้วก็ทดลองควงตัดอากาศ ฟุบ ฟับ ด้วยท่าทางคล่องแคล่วปราดเปรียว หันปลายแหลมอันคมกริบสะท้อนแดดเงาวับของดาบเล่มนั้น จี้ใส่เพื่อนอย่างกลั่นแกล้ง ใบหน้ายิ้มแย้มหัวเราะ
หญิงอาหรับนางหนึ่งสวมฮิญาบคลุมดำสนิท ซ่อนใบหน้าทั้งหมดไว้ ไม่ให้ใครเห็นแม้กระทั่งดวงตา ก็ยังอุตส่าห์เหลียวมองมาเหมือนถูกแม่เหล็กดึงดูด แล้วผ้าคลุมฮิญาบก็ปลิวหลุดออกไปจากใบหน้าของเธอ ที่ยังคงยืนเหม่อสติหล่นหายหรือไม่ก็โดนขโมยไม่โดยไม่รู้ตัว เผยให้เห็นสายตามองไปยังชายหนุ่มกลุ่มนั้นด้วยแรงปรารถนาเร่าร้อน ในดินแดนของพระอัลเลาะห์แห่งนี้ มีกฏว่ามนุษย์ต่างเพศต่างพันธุ์ ห้ามแตะเนื้อต้องตัวกันโดยเด็ดขาด จะแตะต้องด้วยสายตาก็มิบังควร
ผู้ชายอาหรับในงานที่ยืนอยู่บริเวณนั้น มองดูชายหนุ่มทั้งสามด้วยสายตาเป็นศัตรูขึ้นมาทันใด
แล้วตำรวจศาสนา mutawwa ก็เข้ามาจับกุมชายหนุ่มทั้งสามคนทันที พวกเขาพยายามขัดขืนเพราะไม่ทราบว่าตนทำผิดข้อหาอะไร
“เฮ้ คุณจับผมด้วยข้อหาอะไรกัน ปล่อยผมเดี๋ยวนี้นะ!” ชายหนุ่มเอ็ดตะโล ซิมิเตอร์ในมือร่วงกระทบพื้นดัง เคร้ง พยายามดิ้นรนขณะถูกรวบแขนจับไพล่หลังแล้วล็อกด้วยกุญแจมือ เช่นเดียวกับชายหนุ่มสองคนที่เหลือ
“พวกคุณทั้งสามคนหน้าตาหล่อเหลาเกินไป” ตำรวจศาสนากล่าวด้วยเสียงเฉียบขาดเผด็จการ “พวกคุณต้องถูกเนรเทศออกไปให้พ้นจากซาอุดิอาระเบียทันที!”