กรุงเทพมหานครได้ผนึกกำลังร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนกว่า 90 องค์กร ตั้ง “ภาคีการอ่านกรุงเทพฯ” ขึ้น พร้อมร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งการอ่าน ภายใต้แนวคิด Bangkok Read for Life เพราะต้องการสร้างเสริมรากฐานวัฒนธรรมการอ่านให้เข้มแข็งในสังคมไทย อาทิ การจัดตั้งหอสมุดเมือง (City Library) พิพิธภัณฑ์ประวัติหนังสือไทย (Thai Literary Museum) ศูนย์วิจัยหนังสือและการอ่านแห่งประเทศไทย การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทย โดยกรุงเทพมหานครตั้งเป้าผลักดันให้คนไทยหันมาสนใจอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 10 – 15 เล่ม/คน/ปี จากเดิมที่คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียงปีละ 5 เล่ม/คน/ปี เท่านั้น โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน พร้อมนำเสนอพันธกิจ 9 ประการ ที่แสดงถึงเจตจำนงในการขับเคลื่อนและส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง ประกอบด้วย 1.แปลงโฉมศาลาว่าการกรุงเทพมหานครสู่ “พิพิธภัณฑ์เมืองและหอสมุดเมือง” 2.จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์การ์ตูนไทย” เพื่อส่งเสริมจินตนาการ สร้างสรรค์ความคิดนอกกรอบให้แก่คนทุกเพศวัย 3.สร้างวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการคิด 4.ส่งเสริมการอ่านในเด็กและเยาวชน ปลูกฝังค่านิยมรักการอ่านให้แก่อนาคตของชาติ 5.ตามหาวรรณกรรมสำหรับคนกรุงเทพฯ เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงใจสร้างแรงบันดาลใจในการดำรงชีวิต 6.ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านหนังสือวิทยาศาสตร์ เพื่อการคิดที่เป็นระบบคิดเป็นวิทยาศาสตร์ 7.สนับสนุนการอ่านหนังสือพัฒนาจิตใจ เพื่อพัฒนาความคิด ยกระดับจิตใจ สร้างสังคมไทยสันติสุข 8.ผนึกกำลังเครือข่าย เดินหน้าขับเคลื่อนกิจกรรมต่อเนื่องไปไม่หยุดนิ่ง เพื่อสร้างรากฐานวัฒนธรรมการอ่านในสังคมไทยให้เข้มแข็งและยั่งยืน 9.เตรียมความพร้อมสู่การเป็นเจ้าภาพ IPA Symposium 2014
http://www.banmuang.co.th/
“จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 ระบุว่า คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ใช้เวลาอ่านหนังสือเรียนนอกเวลาเรียนและเวลาทำงาน เฉลี่ยวันละ 39 นาที โดยกลุ่มเยาวชนถือเป็นกลุ่มที่อ่านหนังสือมากที่สุด เฉลี่ย 46 นาที แต่หากเทียบกับประเทศอื่นยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก ซึ่งจากการจัดลำดับพฤติกรรมการอ่านพบว่าใน 1 ปี เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียง 5 เล่ม ขณะที่เวียดนามอ่าน 60 เล่ม สิงคโปร์อ่าน 45 เล่ม และมาเลเซียอ่าน 40 เล่ม ขณะที่ผลการทดสอบ PISA ในปี 2552 เด็กไทยทั้งประเทศทำคะแนนต่ำกว่ามาตรฐาน อยู่ในอับดับ 50 จากทั้งหมด 65 ประเทศ สะท้อนว่ารัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมการอ่านให้มากขึ้น ขณะเดียวกันครูก็ต้องปรับวิธีสอนให้มีความน่าสนใจไม่ใช่เน้นแต่ไวยากรณ์ จนทำให้การเรียนการสอนขาดความสนุกสนานจนเด็กไม่สนใจเรียน” รศ.วิทยากร กล่าว
http://www.komchadluek.net/
จากกระทู้ "ทำไมเขาถึงว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 6 บรรทัด"
http://ppantip.com/topic/30417904
พอดีเห็นข่าวของกทม. จึงเอาสถิติการอ่านของคนไทยมาให้ดูกันครับ
คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 5 เล่ม/คน/ปี
http://www.banmuang.co.th/
“จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2551 ระบุว่า คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ใช้เวลาอ่านหนังสือเรียนนอกเวลาเรียนและเวลาทำงาน เฉลี่ยวันละ 39 นาที โดยกลุ่มเยาวชนถือเป็นกลุ่มที่อ่านหนังสือมากที่สุด เฉลี่ย 46 นาที แต่หากเทียบกับประเทศอื่นยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก ซึ่งจากการจัดลำดับพฤติกรรมการอ่านพบว่าใน 1 ปี เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียง 5 เล่ม ขณะที่เวียดนามอ่าน 60 เล่ม สิงคโปร์อ่าน 45 เล่ม และมาเลเซียอ่าน 40 เล่ม ขณะที่ผลการทดสอบ PISA ในปี 2552 เด็กไทยทั้งประเทศทำคะแนนต่ำกว่ามาตรฐาน อยู่ในอับดับ 50 จากทั้งหมด 65 ประเทศ สะท้อนว่ารัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมการอ่านให้มากขึ้น ขณะเดียวกันครูก็ต้องปรับวิธีสอนให้มีความน่าสนใจไม่ใช่เน้นแต่ไวยากรณ์ จนทำให้การเรียนการสอนขาดความสนุกสนานจนเด็กไม่สนใจเรียน” รศ.วิทยากร กล่าว
http://www.komchadluek.net/
จากกระทู้ "ทำไมเขาถึงว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 6 บรรทัด"
http://ppantip.com/topic/30417904
พอดีเห็นข่าวของกทม. จึงเอาสถิติการอ่านของคนไทยมาให้ดูกันครับ