ผมจะขอเล่าเรื่องของ ยายของผมเองให้ฟังประกอบการตัดสินใจ ในทุกขั้นตอนนะครับ เพื่อจะได้ตอบคำถามผมได้ตรงจุดที่สุด
อย่างที่ผมได้ถามคำถามไป เรื่องของนโยบายใหม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน กรณีการเข้าร่วมโครงการ 3 กองทุน สามารถรักษาได้ทุกโรงพยาบาลโดยรัฐบาลรับผิดชอบไม่ต้องเบิกจ่าย ตามลิ้งค์ข่าวต่างๆครับ เข้าไปดูก่อนได้ เผื่อใครยังไม่รู้จัก
>
http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=422
>
http://news.voicetv.co.th/thailand/68467.html
เรื่องมีอยู่ว่า ยายผมป่วยจากอาการท้องเสีย ได้ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นทางญาติ จึงเรียกรถโรงพยาบาล "เอกชนแห่งหนึ่งไม่ขอระบุ" เพราะไม่ทราบว่า คนไข้มีอาการหนัก เพราะ ญาติๆ ก็เป็นแค่คนธรรมดาไม่ทราบจริงๆว่าโคม่า ***และเคยมีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลนี้ในเรื่องของโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว จึงมีเบอร์โทรศัพท์แค่โรงพบาบาลนี้เท่านั้น ญาติไม่ทราบเบอร์รถของโรงพยาบาลอื่นๆเลยเนื่องจากเพิ่งย้ายบ้านมาไม่ถึงปียังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าโรงพยาบาลไหนไกล้บ้านที่สุด หลังจากโทรเรียกรถพยาบาลมา ทางหน่วยแพทย์ มาวัดชีพจรบอกว่า อาการแย่มากต้องรีบไปด่วนที่สุด
หลังจากนำตัวขึ้นรถ ผมก็มาทราบทีหลังว่าสิ่งที่หน่วยแพทย์บอกว่าอาการหนักต้องรีบไปด่วนนี่คือ ต้องเป็นโรงพยาบาลตัวเองเท่านั้น ถ้าเลี้ยวเข้าโรงพยาบาลที่อยู่ไกล้เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยก่อน มันทำไม่ได้ เพราะหลังจากมาถึงโรงพยาบาล หน่วยแพทย์บอกว่าหัวใจของคุณยายหยุดเต้นต้องรีบปั้มหัวใจขึ้นมาระหว่างมาโรงพยาบาล หลังจากมาถึงทางโรงพยาบาลก็รีบรักษาอย่างเร็ว โดยไม่แจ้งสิทธิกับทางญาติเลย อันนี้ผมเข้าใจเพราะอาจรีบรักษาชีวิตก่อน แต่ปรากฏว่าหลังจากพ้นขีดอันตรายแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีใครมาแจ้งอะไรซักอย่าง มาบอกแค่ค่ารักษาพยาบาล ขนาดตอนไปจ่ายตังก็ไปแบบงงๆ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนไข้มีสิทธิอะไรบ้าง อะไรที่คนไข้จะได้รับบ้าง แม้แต่โครงการที่ผมถามก็ไม่เคยพูดถึง
หลังจากนั้นผมก็รีบหาโรงพยาบาลรัฐบาลเพื่อรักษาต่อ หลังจากต้องอยู่โรงพยาบาลในห้อง ICU 10กว่าวัน ค่ารักษาพยาบาล หลายแสนบาท โดยที่แม่ผมเป็นข้าราชการ สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้คุณยายได้ ก็คิดได้แค่ว่า ก็เราไม่รู้ เข้ามาแล้วยังไงก็ต้องจ่ายจะรักษานานแค่ไหนก็ไม่รู้ ไม่จ่ายก็ไม่ได้เดี๋ยวเค้าไม่รักษาก็เลยต้องไปกู้ยืมคนอื่นเขามาจ่าย หาโรงพยาบาลรัฐบาลก็ไม่มีโรงพยาบาลไหนว่างรับคุณยายเลย
ในระหว่างที่ญาติๆพยายามช่วยกันติดต่อไปที่โรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง รพ.รัฐแห่งหนึ่งได้ให้คำแนะนำแก่พี่สาวผมให้ติดต่อกับ สปสชให้ช่วยประสานงานหารพ.รัฐ ให้อีกทางหนึ่ง หลังจากที่โทรไปคุยกับทางสายด่วน สปสช. ทางสปสช. ได้แจ้งให้ทราบว่ามีโครงการสิทธิ 3 กองทุนอยู่ ผมถึงได้รู้ว่ามันมีโครงการนี้อยู่นะ โดยให้พี่สาวผมลองไปคุยกับทางรพ.เอกชนที่รักษาตัวอยู่นั้นดูว่า "ให้ทำเรื่องเข้าโครงการให้ " แต่หลังจากผมได้มาถามกับทางโรงพยาบาล ผมถึงกับงงไปเลยเมื่อได้คำตอบว่า "โทษนะคะ พอดีคนไข้ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง แต่ให้รถรพ. ไปรับที่บ้าน รวมทั้งคนไข้อยู่ในอาการแข็งแรงดีค่ะ ไม่ถือว่าเป็นคนไข้ฉุกเฉิน" ผมเลยถามกลับไปว่าคนไข้ช็อกไปแล้ว จะให้เดินทางมาด้วยตนเองได้อย่างไร เพราะที่บ้านก็ไม่ได้มีรถยนต์ส่วนตัว ต้องให้ออกมาเรียกแท็กซี่ไปรพ. เองหรือไง อีกทั้งหยุดหายใจไปแล้วระหว่างเดินทางมารพ. เรียกว่าไม่ฉุกเฉินงั้นหรอ แถมยังต้องนอนอยู่ในห้อง ICU นี่เค้าเรียกคนไข้อาการแข็งแรงดีหรอ แล้วหลังจากนั้นผมก็เลยไปถามกับทาง หมอที่รักษาว่า คนไข้เคสนี้ถือว่าฉุกเฉินหรือไม่ หมอก็บอกว่าในเคสนี้ถือว่า ฉุกเฉิน ปรากฏว่า พอจะให้ทำเรื่องให้ ทางโรงพยาบาลก็บอกอีกว่า จากที่ดูแล้ว คนไข้ไม่ได้มาโรงพยาบาลที่ไกล้ที่สุดค่ะ ต้องไปโรงพยาบาล ไกล้บ้านสิคะ ไม่งั้นใช้สิทธิไม่ได้ สุดท้ายแม่ผมก็ต้องหาเงินทุกวิถีทางเพื่อมาจ่ายค่ารักษาให้กับรพ.เอกชน
ปัจจุบันนี้คนไข้ได้ถูกส่งตัวมารักษาที่รพ.รัฐแห่งนึงแล้ว หลังจากได้รับการตอบรับจากรพ.ให้สามารถส่งตัวผู้ป่วยมาทำการรักษาตัวต่อได้ แต่ที่ผมต้องมาโพสถาม เพราะงงและไม่เข้าใจกับนโยบายและสิทธิที่จะได้รับจากโครงการนี้
ผมอยากจะถามตรงๆเลยครับว่า สรุปว่ายังไงกับสิ่งที่ผมเจอ
1. คนไข้ไม่รู้สิทธิการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินก่อนเข้ารับการรักษาและ หลังการรักษา ถ้าทราบตั้งแต่ตอนโทรเรียกรถโรงพยาบาล ก็คงนั่งเปิดสมุดโทรศัพท์หาโรงพยาบาลที่อยู่ไกล้ที่สุด แล้วค่อยโทรไปเรียกรถพยาบาลในระหว่างผู้ป่วยไกล้จะหมดลม หรือครับ ?
2. ตามหลักแล้วรถของโรงพยาบาลไหนก็แล้วแต่สามารถไปส่งคนไข้ที่โรงพยาบาลอื่นได้หรือไม่ แล้วใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ เพราะจากสิ่งที่ผมเจอคือ "หน่วยแพทย์วัดความดันแล้วบอกอาการโคม่าไปโรงพยาบาลด่วนอาจถึงชีวิต" และ "คนไข้หัวใจหยุดเต้นต้องปั้มหัวใจระหว่างเดินทางในรถพยาบาล" แต่สุดท้ายก็ส่งถึงโรงพยาบาลของรถพยาบาลเอง อย่างนี้ผมควรจดเบอร์ปอเต็กตึ๊งดีกว่ามั้ยครับ จะได้ไปโรงพยาบาลไกล้ๆได้ ?
3. ใครเป็นคนตัดสินใจในกรณีที่ ผู้ป่วยมีอาการสภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างอยู่บนรถพยาบาล เพราะ 1. ญาติไม่มีทางทราบว่าผู้ป่วยฉุกเฉินหรือไม่เพราะไม่ได้ประสบอุบัติเหตุซึ่งหน้า จึงโทรเรียกรถพยาบาลที่มีเบอร์และมีประวัติ เพราะคิดว่าผู้ป่วยไม่เป็นอะไรมาก 2. แล้วในขณะที่หัวใจหยุดเต้นแล้วปั้มหัวใจขึ้นมาได้เสร็จ คุณอยู่หน้าโรงพยาบาลไหน ?? ถ้าคุณปั๊มหัวใจขึ้นมาแล้วถึงหน้า โรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้นพอดี อันนี้ผมถือว่า โรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้ไกล้ที่สุดได้หรือไม่ครับ ??
เพราะถ้า หัวใจวาย = ฉุกเฉิน แล้วทำไมรถไม่ส่งที่ไกล้ที่สุดละ ก็มันรถพยาบาลของคุณเองรึเปล่าครับ ทั้งๆที่ก็บอกว่าไกล้ตาย แต่ยังอุดส่าขับมาถึงโรงพยาบาลตัวเองได้ ทั้งๆที่ไกลกว่า หรือ เพิ่งปั้มหัวใจเสร็จแล้วมาถึงพอดี ?? กลับกลายเป็นว่าผมผิดเองที่โทรเรียกคุณ จะมาบอกโรงพยาบาลได้ยังไง คุณก็แค่จ่ายเงินให้ครบก็พอหรือครับ แถมไม่แจ้งสิทธิอะไรซักอย่างทำเป็นว่า สิทธ์การรักษามันไม่สำคัญ แค่เข้าโรงพยาบาลนี้ได้ต้องมีตังค์อยู่แล้วจริงๆหรือ อยากทราบจริงๆครับ
ถ้าผมใช้ถ้อยคำที่ไม่ดีก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
อะไรคือความเที่ยงตรงของ โครงการ 3 กองทุน ในกรณีนี้ครับ บอกผมที!!!
อย่างที่ผมได้ถามคำถามไป เรื่องของนโยบายใหม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน กรณีการเข้าร่วมโครงการ 3 กองทุน สามารถรักษาได้ทุกโรงพยาบาลโดยรัฐบาลรับผิดชอบไม่ต้องเบิกจ่าย ตามลิ้งค์ข่าวต่างๆครับ เข้าไปดูก่อนได้ เผื่อใครยังไม่รู้จัก
>http://www.tcijthai.com/TCIJ/view.php?ids=422
> http://news.voicetv.co.th/thailand/68467.html
เรื่องมีอยู่ว่า ยายผมป่วยจากอาการท้องเสีย ได้ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นทางญาติ จึงเรียกรถโรงพยาบาล "เอกชนแห่งหนึ่งไม่ขอระบุ" เพราะไม่ทราบว่า คนไข้มีอาการหนัก เพราะ ญาติๆ ก็เป็นแค่คนธรรมดาไม่ทราบจริงๆว่าโคม่า ***และเคยมีประวัติการรักษาที่โรงพยาบาลนี้ในเรื่องของโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว จึงมีเบอร์โทรศัพท์แค่โรงพบาบาลนี้เท่านั้น ญาติไม่ทราบเบอร์รถของโรงพยาบาลอื่นๆเลยเนื่องจากเพิ่งย้ายบ้านมาไม่ถึงปียังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าโรงพยาบาลไหนไกล้บ้านที่สุด หลังจากโทรเรียกรถพยาบาลมา ทางหน่วยแพทย์ มาวัดชีพจรบอกว่า อาการแย่มากต้องรีบไปด่วนที่สุด
หลังจากนำตัวขึ้นรถ ผมก็มาทราบทีหลังว่าสิ่งที่หน่วยแพทย์บอกว่าอาการหนักต้องรีบไปด่วนนี่คือ ต้องเป็นโรงพยาบาลตัวเองเท่านั้น ถ้าเลี้ยวเข้าโรงพยาบาลที่อยู่ไกล้เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยก่อน มันทำไม่ได้ เพราะหลังจากมาถึงโรงพยาบาล หน่วยแพทย์บอกว่าหัวใจของคุณยายหยุดเต้นต้องรีบปั้มหัวใจขึ้นมาระหว่างมาโรงพยาบาล หลังจากมาถึงทางโรงพยาบาลก็รีบรักษาอย่างเร็ว โดยไม่แจ้งสิทธิกับทางญาติเลย อันนี้ผมเข้าใจเพราะอาจรีบรักษาชีวิตก่อน แต่ปรากฏว่าหลังจากพ้นขีดอันตรายแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีใครมาแจ้งอะไรซักอย่าง มาบอกแค่ค่ารักษาพยาบาล ขนาดตอนไปจ่ายตังก็ไปแบบงงๆ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนไข้มีสิทธิอะไรบ้าง อะไรที่คนไข้จะได้รับบ้าง แม้แต่โครงการที่ผมถามก็ไม่เคยพูดถึง
หลังจากนั้นผมก็รีบหาโรงพยาบาลรัฐบาลเพื่อรักษาต่อ หลังจากต้องอยู่โรงพยาบาลในห้อง ICU 10กว่าวัน ค่ารักษาพยาบาล หลายแสนบาท โดยที่แม่ผมเป็นข้าราชการ สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้คุณยายได้ ก็คิดได้แค่ว่า ก็เราไม่รู้ เข้ามาแล้วยังไงก็ต้องจ่ายจะรักษานานแค่ไหนก็ไม่รู้ ไม่จ่ายก็ไม่ได้เดี๋ยวเค้าไม่รักษาก็เลยต้องไปกู้ยืมคนอื่นเขามาจ่าย หาโรงพยาบาลรัฐบาลก็ไม่มีโรงพยาบาลไหนว่างรับคุณยายเลย
ในระหว่างที่ญาติๆพยายามช่วยกันติดต่อไปที่โรงพยาบาลรัฐหลายแห่ง รพ.รัฐแห่งหนึ่งได้ให้คำแนะนำแก่พี่สาวผมให้ติดต่อกับ สปสชให้ช่วยประสานงานหารพ.รัฐ ให้อีกทางหนึ่ง หลังจากที่โทรไปคุยกับทางสายด่วน สปสช. ทางสปสช. ได้แจ้งให้ทราบว่ามีโครงการสิทธิ 3 กองทุนอยู่ ผมถึงได้รู้ว่ามันมีโครงการนี้อยู่นะ โดยให้พี่สาวผมลองไปคุยกับทางรพ.เอกชนที่รักษาตัวอยู่นั้นดูว่า "ให้ทำเรื่องเข้าโครงการให้ " แต่หลังจากผมได้มาถามกับทางโรงพยาบาล ผมถึงกับงงไปเลยเมื่อได้คำตอบว่า "โทษนะคะ พอดีคนไข้ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง แต่ให้รถรพ. ไปรับที่บ้าน รวมทั้งคนไข้อยู่ในอาการแข็งแรงดีค่ะ ไม่ถือว่าเป็นคนไข้ฉุกเฉิน" ผมเลยถามกลับไปว่าคนไข้ช็อกไปแล้ว จะให้เดินทางมาด้วยตนเองได้อย่างไร เพราะที่บ้านก็ไม่ได้มีรถยนต์ส่วนตัว ต้องให้ออกมาเรียกแท็กซี่ไปรพ. เองหรือไง อีกทั้งหยุดหายใจไปแล้วระหว่างเดินทางมารพ. เรียกว่าไม่ฉุกเฉินงั้นหรอ แถมยังต้องนอนอยู่ในห้อง ICU นี่เค้าเรียกคนไข้อาการแข็งแรงดีหรอ แล้วหลังจากนั้นผมก็เลยไปถามกับทาง หมอที่รักษาว่า คนไข้เคสนี้ถือว่าฉุกเฉินหรือไม่ หมอก็บอกว่าในเคสนี้ถือว่า ฉุกเฉิน ปรากฏว่า พอจะให้ทำเรื่องให้ ทางโรงพยาบาลก็บอกอีกว่า จากที่ดูแล้ว คนไข้ไม่ได้มาโรงพยาบาลที่ไกล้ที่สุดค่ะ ต้องไปโรงพยาบาล ไกล้บ้านสิคะ ไม่งั้นใช้สิทธิไม่ได้ สุดท้ายแม่ผมก็ต้องหาเงินทุกวิถีทางเพื่อมาจ่ายค่ารักษาให้กับรพ.เอกชน
ปัจจุบันนี้คนไข้ได้ถูกส่งตัวมารักษาที่รพ.รัฐแห่งนึงแล้ว หลังจากได้รับการตอบรับจากรพ.ให้สามารถส่งตัวผู้ป่วยมาทำการรักษาตัวต่อได้ แต่ที่ผมต้องมาโพสถาม เพราะงงและไม่เข้าใจกับนโยบายและสิทธิที่จะได้รับจากโครงการนี้
ผมอยากจะถามตรงๆเลยครับว่า สรุปว่ายังไงกับสิ่งที่ผมเจอ
1. คนไข้ไม่รู้สิทธิการรักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉินก่อนเข้ารับการรักษาและ หลังการรักษา ถ้าทราบตั้งแต่ตอนโทรเรียกรถโรงพยาบาล ก็คงนั่งเปิดสมุดโทรศัพท์หาโรงพยาบาลที่อยู่ไกล้ที่สุด แล้วค่อยโทรไปเรียกรถพยาบาลในระหว่างผู้ป่วยไกล้จะหมดลม หรือครับ ?
2. ตามหลักแล้วรถของโรงพยาบาลไหนก็แล้วแต่สามารถไปส่งคนไข้ที่โรงพยาบาลอื่นได้หรือไม่ แล้วใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ เพราะจากสิ่งที่ผมเจอคือ "หน่วยแพทย์วัดความดันแล้วบอกอาการโคม่าไปโรงพยาบาลด่วนอาจถึงชีวิต" และ "คนไข้หัวใจหยุดเต้นต้องปั้มหัวใจระหว่างเดินทางในรถพยาบาล" แต่สุดท้ายก็ส่งถึงโรงพยาบาลของรถพยาบาลเอง อย่างนี้ผมควรจดเบอร์ปอเต็กตึ๊งดีกว่ามั้ยครับ จะได้ไปโรงพยาบาลไกล้ๆได้ ?
3. ใครเป็นคนตัดสินใจในกรณีที่ ผู้ป่วยมีอาการสภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างอยู่บนรถพยาบาล เพราะ 1. ญาติไม่มีทางทราบว่าผู้ป่วยฉุกเฉินหรือไม่เพราะไม่ได้ประสบอุบัติเหตุซึ่งหน้า จึงโทรเรียกรถพยาบาลที่มีเบอร์และมีประวัติ เพราะคิดว่าผู้ป่วยไม่เป็นอะไรมาก 2. แล้วในขณะที่หัวใจหยุดเต้นแล้วปั้มหัวใจขึ้นมาได้เสร็จ คุณอยู่หน้าโรงพยาบาลไหน ?? ถ้าคุณปั๊มหัวใจขึ้นมาแล้วถึงหน้า โรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้นพอดี อันนี้ผมถือว่า โรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้ไกล้ที่สุดได้หรือไม่ครับ ??
เพราะถ้า หัวใจวาย = ฉุกเฉิน แล้วทำไมรถไม่ส่งที่ไกล้ที่สุดละ ก็มันรถพยาบาลของคุณเองรึเปล่าครับ ทั้งๆที่ก็บอกว่าไกล้ตาย แต่ยังอุดส่าขับมาถึงโรงพยาบาลตัวเองได้ ทั้งๆที่ไกลกว่า หรือ เพิ่งปั้มหัวใจเสร็จแล้วมาถึงพอดี ?? กลับกลายเป็นว่าผมผิดเองที่โทรเรียกคุณ จะมาบอกโรงพยาบาลได้ยังไง คุณก็แค่จ่ายเงินให้ครบก็พอหรือครับ แถมไม่แจ้งสิทธิอะไรซักอย่างทำเป็นว่า สิทธ์การรักษามันไม่สำคัญ แค่เข้าโรงพยาบาลนี้ได้ต้องมีตังค์อยู่แล้วจริงๆหรือ อยากทราบจริงๆครับ
ถ้าผมใช้ถ้อยคำที่ไม่ดีก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ