รอช้าอยู่ใย เรามาเริ่มกันที่ โรคแรกเลยดีกว่า
โรคแรกที่ท่านๆ จะพบเห็นได้ชัดและบ่อยที่สุด คือ โรคสันนิบาต (หรือพาร์กินสัน)
คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ มือสั่น เท้าสั่น เคลื่อนไหวช้า บางรายอาจปากสั่น คางสั่น ลิ้นสั่น ส่วนมากพบในผู้สูงอายุ
แต่คนที่เป็นโรคนี้บน BTS มักเป็นวัยหนุ่มสาว และส่วนใหญ่จะ...สั่นแค่นิ้ว!!!
ไม่แน่ใจว่าทางการแพทย์แผนไหน (แต่น่าจะมีแต่ชาติไทย) แนะนำให้ใช้ Smart Phone หรือ Tablet ในการบรรเทาอาการของโรค
(ต่อไปจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า อุปกรณ์บำบัด)
ผู้ป่วยจะมีอาการมึนตึงกับสังคม และมีโลกส่วนตัวสูง ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะบางส่วนได้ ในกรณีนี้มักเป็นที่นิ้วมือ...!
บางรายอาจมีอาการหูตึงร่วมด้วย จึงต้องให้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา
วิธีรับมือในกรณีเจอผู้ป่วยโรคสันนิบาต
เราต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักมีความเครียด เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และภาวะกดดันจากการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
เพราะฉะนั้นหากเราเจอผู้ป่วยสันนิบาต ควรมีความเห็นอกเห็นใจ และเอื้ออาทรพวกเค้า
เพราะอย่างที่บอกไป ว่าโรคนี้จะทำให้การเคลื่อนที่ของผู้ป่วยช้าลง เดินช้าลง ขยับตัวช้าลง
เราจึงไม่ควรถือสา ถึงแม้พวกเค้าจะขวางทาง ไม่ค่อยขยับตัว จนบางทีเราๆท่านๆจะโดนประตูหนีบตูดอยู่ร่อมร่อ เราต้องเข้าใจและมีขันติ
บางรายที่มีอาการขั้นรุนแรงอาจต่อต้านสังคม เวลาไปพูดจาสื่อสารกับเค้าก็ควรสื่อสารด้วยความสุภาพ นอบน้อม ถ่อมตน
บางรายที่มีอาการหูตึงร่วมด้วยอาจต้องใช้ภาษามือในการสื่อสาร (เราจึงควรไปเรียนภาษามือเพิ่มเติม เพื่อใช้สื่อสารกับผู้ป่วย)
เวลาจะเดินผ่านก็ควรระมัดระวังอุปกรณ์บำบัดของพวกเค้า ทางที่ดี ไม่ควรแตะต้องหรือเสียดสีอุปกรณ์บำบัดของผู้ป่วย
เพราะจากการสังเกต ผู้ป่วยจะค่อนข้างมีอาการหวงแหนอุปกรณ์บำบัด อาจมีอาการฟึดฟัดหากเราไปสัมผัสสิ่งเลอค่าชิ้นนั้น!
หากเกิดกรณีที่อุปกรณ์บำบัดเกิดความเสียหาย...จากเรา (ผู้ซึ่งพยามทำตัวเล็กลีบแล้ว)
ผู้ป่วยสันนิบาตอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง และนำไปสู่โศกนาฏกรรมหมู่ได้
หากผู้ใดคิดจะมีเรื่องกับผู้ป่วยสันนิบาตและนำให้คิดให้ดีเสียก่อน
เนื่องจากปัจจุบันโรคสันนิบาตได้แพร่กระจายสู่ผู้โดยสารรถไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว
คนที่เป็นโรคนี้จึงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เลี่ยงได้ควรเลี่ยง...
โรคภัย บนรถไฟฟ้า
โรคแรกที่ท่านๆ จะพบเห็นได้ชัดและบ่อยที่สุด คือ โรคสันนิบาต (หรือพาร์กินสัน)
คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ มือสั่น เท้าสั่น เคลื่อนไหวช้า บางรายอาจปากสั่น คางสั่น ลิ้นสั่น ส่วนมากพบในผู้สูงอายุ
แต่คนที่เป็นโรคนี้บน BTS มักเป็นวัยหนุ่มสาว และส่วนใหญ่จะ...สั่นแค่นิ้ว!!!
ไม่แน่ใจว่าทางการแพทย์แผนไหน (แต่น่าจะมีแต่ชาติไทย) แนะนำให้ใช้ Smart Phone หรือ Tablet ในการบรรเทาอาการของโรค
(ต่อไปจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า อุปกรณ์บำบัด)
ผู้ป่วยจะมีอาการมึนตึงกับสังคม และมีโลกส่วนตัวสูง ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะบางส่วนได้ ในกรณีนี้มักเป็นที่นิ้วมือ...!
บางรายอาจมีอาการหูตึงร่วมด้วย จึงต้องให้เครื่องช่วยฟังตลอดเวลา
วิธีรับมือในกรณีเจอผู้ป่วยโรคสันนิบาต
เราต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักมีความเครียด เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และภาวะกดดันจากการปรับตัวให้เข้ากับสังคม
เพราะฉะนั้นหากเราเจอผู้ป่วยสันนิบาต ควรมีความเห็นอกเห็นใจ และเอื้ออาทรพวกเค้า
เพราะอย่างที่บอกไป ว่าโรคนี้จะทำให้การเคลื่อนที่ของผู้ป่วยช้าลง เดินช้าลง ขยับตัวช้าลง
เราจึงไม่ควรถือสา ถึงแม้พวกเค้าจะขวางทาง ไม่ค่อยขยับตัว จนบางทีเราๆท่านๆจะโดนประตูหนีบตูดอยู่ร่อมร่อ เราต้องเข้าใจและมีขันติ
บางรายที่มีอาการขั้นรุนแรงอาจต่อต้านสังคม เวลาไปพูดจาสื่อสารกับเค้าก็ควรสื่อสารด้วยความสุภาพ นอบน้อม ถ่อมตน
บางรายที่มีอาการหูตึงร่วมด้วยอาจต้องใช้ภาษามือในการสื่อสาร (เราจึงควรไปเรียนภาษามือเพิ่มเติม เพื่อใช้สื่อสารกับผู้ป่วย)
เวลาจะเดินผ่านก็ควรระมัดระวังอุปกรณ์บำบัดของพวกเค้า ทางที่ดี ไม่ควรแตะต้องหรือเสียดสีอุปกรณ์บำบัดของผู้ป่วย
เพราะจากการสังเกต ผู้ป่วยจะค่อนข้างมีอาการหวงแหนอุปกรณ์บำบัด อาจมีอาการฟึดฟัดหากเราไปสัมผัสสิ่งเลอค่าชิ้นนั้น!
หากเกิดกรณีที่อุปกรณ์บำบัดเกิดความเสียหาย...จากเรา (ผู้ซึ่งพยามทำตัวเล็กลีบแล้ว)
ผู้ป่วยสันนิบาตอาจมีอาการคลุ้มคลั่ง และนำไปสู่โศกนาฏกรรมหมู่ได้
หากผู้ใดคิดจะมีเรื่องกับผู้ป่วยสันนิบาตและนำให้คิดให้ดีเสียก่อน
เนื่องจากปัจจุบันโรคสันนิบาตได้แพร่กระจายสู่ผู้โดยสารรถไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว
คนที่เป็นโรคนี้จึงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เลี่ยงได้ควรเลี่ยง...