มีกองทุนเปิด ที่เหมือนหรือคล้ายกับ ประกันสังคม มาตรา 40 รึป่าวครับ
เป็นกองทุนแบบไหน หรือมีดีกว่าประกันสังคม มาตรา 40 อีกครับ
พวก RMF/LTF นี่เป็นแบบประกันสังคมไหม เพราะสนใจอยู่ว่าจะตัดสินใจทำแบบไหนดี แนะนำด้วยครับ
.................................................
ประกันสังคม มาตรา 40 มีรายละเอียดดังนี้
คุณสมบัติในการสมัคร
ต้องเป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันสมัครไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ไม่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ) หรือผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 สมัครโดยลงลายมือชื่อในใบสมัครด้วยตนเองพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และจ่ายเงินสมทบงวดแรกได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศเลือกทางเลือกใน การจ่ายเงินสมทบได้ 2 ทางเลือก คือ
ชุดสิทธิประโยชน์ 1 จ่าย 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
ชุดสิทธิประโยชน์ 2 จ่าย 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท) ความเป็นผู้ประกันตนจะเริ่มตั้งแต่วันที่จ่ายเงินสมทบงวดแรก
หมายเหตุ รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น
ประโยชน์ทางภาษี
- เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน
สิทธิประโยชน์พื้นฐาน
1. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
2. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)
3. ค่าทำศพ (เสียชีวิต) จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน
4. เงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ
เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วยชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้
ชุดสิทธิประโยชน์ 1 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ
เงินสมทบที่จ่าย
ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบเดือนละ 100 บาทต่อเดือน หรือวันละประมาณ 3 บาท *ในระยะแรกรัฐบาลมีนโยบายอุดหนุนให้ 30 บาท และผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท
ชุดสิทธิประโยชน์ 2 (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ เงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออมกรณีชราภาพ)
จ่ายเงินสมทบ
ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบเดือนละ 150 บาทต่อเดือน หรือวันละประมาณ 5 บาท *ในระยะแรกรัฐบาลมีนโยบายอุดหนุนให้ 50 บาท และ ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท
***ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน
หมายเหตุ ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้
...............................................................................
มีกองทุนเปิด ที่เหมือนหรือคล้าย ประกันสังคม มาตรา 40 ???
เป็นกองทุนแบบไหน หรือมีดีกว่าประกันสังคม มาตรา 40 อีกครับ
พวก RMF/LTF นี่เป็นแบบประกันสังคมไหม เพราะสนใจอยู่ว่าจะตัดสินใจทำแบบไหนดี แนะนำด้วยครับ
.................................................
ประกันสังคม มาตรา 40 มีรายละเอียดดังนี้
คุณสมบัติในการสมัคร
ต้องเป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันสมัครไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ไม่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ) หรือผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 สมัครโดยลงลายมือชื่อในใบสมัครด้วยตนเองพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และจ่ายเงินสมทบงวดแรกได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศเลือกทางเลือกใน การจ่ายเงินสมทบได้ 2 ทางเลือก คือ
ชุดสิทธิประโยชน์ 1 จ่าย 100 บาท/เดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐสนับสนุน 30 บาท)
ชุดสิทธิประโยชน์ 2 จ่าย 150 บาท/เดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐสนับสนุน 50 บาท) ความเป็นผู้ประกันตนจะเริ่มตั้งแต่วันที่จ่ายเงินสมทบงวดแรก
หมายเหตุ รัฐสนับสนุนในระยะแรกทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะประกาศเป็นอย่างอื่น
ประโยชน์ทางภาษี
- เงินสมทบในแต่ละปี ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยใช้ใบเสร็จรับเงินที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นหลักฐาน
สิทธิประโยชน์พื้นฐาน
1. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
2. เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 - 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)
3. ค่าทำศพ (เสียชีวิต) จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน
4. เงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณ
เพื่อสิทธิประโยชน์ดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมขอเสนอทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับคุณด้วยชุดสิทธิประโยชน์ ดังนี้
ชุดสิทธิประโยชน์ 1 (จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน)
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ
เงินสมทบที่จ่าย
ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบเดือนละ 100 บาทต่อเดือน หรือวันละประมาณ 3 บาท *ในระยะแรกรัฐบาลมีนโยบายอุดหนุนให้ 30 บาท และผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท
ชุดสิทธิประโยชน์ 2 (จ่ายเงินสมทบ 150 บาท/เดือน)
สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ เงินบำเหน็จชราภาพ (เงินออมกรณีชราภาพ)
จ่ายเงินสมทบ
ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบเดือนละ 150 บาทต่อเดือน หรือวันละประมาณ 5 บาท *ในระยะแรกรัฐบาลมีนโยบายอุดหนุนให้ 50 บาท และ ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท
***ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมได้ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน
หมายเหตุ ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้
...............................................................................