ปัญหาที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเกิดจากปัญหาเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนตราสารหนี้ แต่ทำไมเงินทุนไหลเข้าไทยมากขนาดนี้ สาเหตุหลักคือ เวลานักลงทุนสถาบันลงทุน เขาดูว่า ปริมาณพันธบัตรของไทยมีขนาดเท่าไร เมื่อเงินทุนไหลเข้า เงินบาทแข็งค่า ธปท จึงออกพันธบัตรเพิ่ม เพื่อควบคุมการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ปริมาณพันธบัตรในระบบก็ปรับเพิ่มขึ้นอีก เมื่อยิ่งมีเงินทุนไหลเข้ามาก ปริมาณพันธบัตรที่ออกโดย ธปท ก็สูงตาม เพื่อแทรกแซงเงินทุนไหลเข้า (ปริมาณพันธบัตรของ ธปท เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 5 ปี) แต่มันยิ่งจูงใจให้นักลงทุนสถาบันต่างชาติเข้าลงทุนไทยเพิ่มจากปริมาณพันธบัตรในระบบก็ปรับเพิ่มขึ้น เพราะเขาดูจากปริมาณตราสารหนี้ที่สามารถลงทุนได้ เพราะการทำ QE ทำให้ปริมาณพันธบัตรในระบบของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นหายไปทันที ทำให้ต้องมาหาตราสารหนี้ในต่างประเทศเพื่อลงทุน บางรายไม่ได้ต้องการเก็งกำไรค่าเงินเลย แต่บางรายมีการวิเคราะห์ผลกระทบค่าเงินในการตัดสินใจการลงทุน
การออกพันธบัตรของ ธปท (รวมคลังและรัฐวิสาหกิจ) ควรปรับให้ขายตรงกับนักลงทุนรายย่อยและระบุให้คนไทยลงทุนได้เท่านั้น คล้ายที่คลังออกพวกพันธบัตรช่วยชาติ แต่ต้องระบุให้รายย่อยถือได้เท่านั้น และต้องเป็นคนไทยด้วย สิ่งนี้จะส่งผลดีให้ปริมาณพันธบัตรในระบบที่สถาบันต่างชาติลงทุนได้ลดลงทันที สถาบันตลาดตราสารหนี้ก็สามารถระบุว่าปริมาณพันธบัตรที่ต่างชาติลงทุนได้อาจลดลงในอนาคตทันที
กระทรวงการคลังและ ธปท รวมรัฐวิสาหกิจอาจออกพันธบัตรเพื่อคนไทยเท่านั้น โดยปัจจุบัน พันธบัตรของคลัง ธปท และรัฐวิสาหกิจ รวมกันเกือบ 7 ล้านล้านบาท( 3 ล้านล้านของคลัง 3 ล้านล้านของ ธปท และเกือบ 1 ล้านล้านของรัฐวิสาหกิจ) จาก 9 ล้านล้านบาท ถ้ามีการปรับกลยุทธ์และลดปริมาณพันธบัตรทั่วไป และเพิ่มพันธบัตรเพื่อคนไทยเท่านั้นเป็น 2-3 ล้านล้านบาท (คงไม่สามารถทำได้ทันที แต่อาจใช้เวลา 1-2 ปีจากนี้) จะลดปริมาณพันธบัตรที่ต่างชาติลงทุนได้ทันที แน่นอนเขาก็จะลงสัดส่วนการลงทุนในตราสารตราสารหนี้ไทยทันที และช่วยลดเงินทุนไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ และแน่นอนลด Demand for Baht ซึ่งทำให้ ธปท จะลดการแทรกแซงค่าเงินในอนาคต และลดปริมาณพันธบัตรในอนาคต ธปท ลดการขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินในอนาคต ค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพมากขึ้น แน่นอน สิ่งนี้อาจไม่ได้หมายถึงค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่า เพราะค่าเงินบาทไม่ได้ขึ้นกับเงินทุนไหลเข้าอย่างเดียว แต่สิ่งนี้จะลดความไม่สมดุลของการลงทุนของนักลงทุนตราสารหนี้ในไทยจากปริมาณตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นเร็วจาก ธปท เป็นผู้ออก
ในส่วนตลาดหุ้นจะมีการกำหนด Foreign Limit จึงมีความประสบความสำเร็จที่ไม่มีเงินทุนไหลเข้า แต่สิ่งนี้ไม่เกิดในตราสารหนี้ ทำให้เงินทุนไหลเข้าตราสารหนี้จำนวนมาก
แนวทางแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ธปท ควรออกมาพันธบัตรที่ระบุให้คนไทยถือได้เท่านั้น
การออกพันธบัตรของ ธปท (รวมคลังและรัฐวิสาหกิจ) ควรปรับให้ขายตรงกับนักลงทุนรายย่อยและระบุให้คนไทยลงทุนได้เท่านั้น คล้ายที่คลังออกพวกพันธบัตรช่วยชาติ แต่ต้องระบุให้รายย่อยถือได้เท่านั้น และต้องเป็นคนไทยด้วย สิ่งนี้จะส่งผลดีให้ปริมาณพันธบัตรในระบบที่สถาบันต่างชาติลงทุนได้ลดลงทันที สถาบันตลาดตราสารหนี้ก็สามารถระบุว่าปริมาณพันธบัตรที่ต่างชาติลงทุนได้อาจลดลงในอนาคตทันที
กระทรวงการคลังและ ธปท รวมรัฐวิสาหกิจอาจออกพันธบัตรเพื่อคนไทยเท่านั้น โดยปัจจุบัน พันธบัตรของคลัง ธปท และรัฐวิสาหกิจ รวมกันเกือบ 7 ล้านล้านบาท( 3 ล้านล้านของคลัง 3 ล้านล้านของ ธปท และเกือบ 1 ล้านล้านของรัฐวิสาหกิจ) จาก 9 ล้านล้านบาท ถ้ามีการปรับกลยุทธ์และลดปริมาณพันธบัตรทั่วไป และเพิ่มพันธบัตรเพื่อคนไทยเท่านั้นเป็น 2-3 ล้านล้านบาท (คงไม่สามารถทำได้ทันที แต่อาจใช้เวลา 1-2 ปีจากนี้) จะลดปริมาณพันธบัตรที่ต่างชาติลงทุนได้ทันที แน่นอนเขาก็จะลงสัดส่วนการลงทุนในตราสารตราสารหนี้ไทยทันที และช่วยลดเงินทุนไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ และแน่นอนลด Demand for Baht ซึ่งทำให้ ธปท จะลดการแทรกแซงค่าเงินในอนาคต และลดปริมาณพันธบัตรในอนาคต ธปท ลดการขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินในอนาคต ค่าเงินบาทจะมีเสถียรภาพมากขึ้น แน่นอน สิ่งนี้อาจไม่ได้หมายถึงค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่า เพราะค่าเงินบาทไม่ได้ขึ้นกับเงินทุนไหลเข้าอย่างเดียว แต่สิ่งนี้จะลดความไม่สมดุลของการลงทุนของนักลงทุนตราสารหนี้ในไทยจากปริมาณตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นเร็วจาก ธปท เป็นผู้ออก
ในส่วนตลาดหุ้นจะมีการกำหนด Foreign Limit จึงมีความประสบความสำเร็จที่ไม่มีเงินทุนไหลเข้า แต่สิ่งนี้ไม่เกิดในตราสารหนี้ ทำให้เงินทุนไหลเข้าตราสารหนี้จำนวนมาก