......................ลาวได้งดออกใบอนุญาตลงทุนในโครงการสวนยางพาราเป็นการชั่วคราวเพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ประชาชนในท้องถิ่นได้รับ เช่นเดียวกับการปลูกไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งมีรายงานว่าเป็นที่ทำลายคุณภาพดิน นายกรัฐมนตรีได้สั่งหยุดโครงการลงทุนปลูกพืชทั้งสองชนิดนี้ 100% เพื่อสำรวจข้อมูลด้านต่างๆ
นายวิไลวัน พมเข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้เปิดเผยเรื่องนี้ ในช่วงก่อนเทศกาลขึ้นปีใหม่ประเพณีที่ผ่านมา สำนักข่าวสารประเทดลาวรายงาน
หลายปีมานี้ลาวเป็นประเทศหนึ่งที่นักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง รวมทั้งที่อยู่ไกลออกไป ต่างเข้าไปแสวงหาโอกาสสัมปทานที่ดินผืนใหญ่ หรือ เช่าที่ดินแปลงใหญ่เพื่อทำประโยชน์เป็นเวลายาวนานตั้งแต่ 30-50 ปีขึ้นไป เนื่องจากค่าเช่าไม่แพงและดินอุดมสมบูรณ์
การสำรวจที่ดำเนินมาในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2555-2556 (ต.ค.-มี.ค.) พบข้อมูลเบื้องต้นว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีเนื้อที่สวนยางรวมกันประมาณ 300,000 เฮกตาร์ (1,875,000 ไร่) แขวง (จังหวัด) ภาคเหนือปลูกมากที่สุด โดยนักลงทุนจีนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแขวงภาคกลางกับภาคใต้เป็นของนักลงทุนไทยกับนักลงทุนเวียดนาม
ปัจจุบันการลงทุนด้านเกษตรอุตสาหกรรมของนักลงทุนต่างชาติในลาว เช่นเดียวกับนักลงทุนลาวเอง มียู่ 3 รูปแบบ คือเช่าที่ดินจากรัฐ การเกษตรแบบราษฎรในท้องถิ่นมีส่วนร่วม และปลูกภายใต้สัญญาสัมปทาน
รมว.กสิกรรมลาวกล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงฯ กับภาคส่วนต่างๆ กำลังอยู่ระหว่างปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีฉบับหนึ่งที่สั่งให้หยุดการออกใบอนุญาตลงทุนทำสวนยางพารากับสวนยูคาลิปตัสเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับการปลูกภายใต้สัญญาสัมปทานตามนโยบายเก่านั้น หยุดลง 100% เต็ม คือจะไม่มีการออกใบอนุญาตการลงทุนในรูปแบบนี้อีก ในขณะที่ยังทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับ 2 รูปแบบต่อไปเพื่อศึกษาว่า ราษฎรในพื้นที่ได้รับประโยชน์อย่างไรและคิดเป็นจำนวนเท่าไร ขปล.กล่าว
ตามรายงานของกระทรวงกสิกรรมฯ สวนป่ายูคาลิปตัสมีปัญหามากที่สุด เนื่องจากหลังปลูกแล้วเสร็จราษฎรจะไม่มีงานทำ จนกว่าจะถึงเวลาตัดไม้ใน 5-6 ปีข้างหน้า ซึ่งใช้แรงงานน้อยมาก ทำให้ขาดรายได้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังศึกษาข้อมูลว่า ยูคาลิปตัสทำลายดิน ทำให้เกิดความแห้งแล้งตามที่เคยมีการศึกษาในต่างประเทศหรือไม่และอย่างไร
บริษัทปลูกไม้ยูคาลิปตัสใหญ่อันดับ 1 คือ กลุ่มกระดาษโอจิจากญี่ปุ่น ซึ่งมีสวนป่าเนื้อที่รวมกัน 50,000 เฮกตาร์ (312,500 ไร่) ในแขวงภาคกลางกับภาคใต้ และกลุ่มบริษัทผลิตกระดาษจากอินเดียซึ่งมีเนื้อที่เท่ากัน ส่วนอันดับ 3 เป็นบริษัทดวงตะวัน (กลุ่มซันเปเปอร์) จากจีน 9,000 เฮกตาร์ (56,000 ไร่เศษ)
การสำรวจยังพบว่าการปลูกยางพาราดีกว่ายูคาลิปตัส เนื่องจากประชาชนมีงานทำและมีรายได้ตลอด แต่กระทรวงฯ กำลังศึกษาเพิ่มเติม และได้งดออกใบอนุญาตทั้งหมดในปัจจุบัน ขปล.กล่าว.
ที่มา
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000046858
***แผ่นป้ายโฆษณาของบริษัทลาวแพลนเทชั่นฟอเรสต์จำกัด (Laos Plantation Forest Co, Ltd) ของกลุ่มกระดาษโอจิ (Oji) จากญี่ปุ่น อยู่ริมทางหลวงเลข 13 ใต้ ในเขตเมืองหินบูน แขวงคำม่วน ในภาพถ่ายวันที่ 22 ก.พ.2556 ประกาศให้ทราบว่ากำลังเข้าเขตเพาะต้นกล้าหมู่บ้านสองห้อง บริษัทนี้มีสวนป่ายูคาลิปตัสในลาวกว่า 3 แสนไร่ เท่าๆ กับของบริษัทกระดาษจากอินเดีย ลาวเริ่มไม่แน่ใจสวนป่ายูคาลิปตัสทำลายคุณภาพดินและทำให้เกิดความแห้งแล้งจริงหรือไม่ รัฐบาลสั่งระงับการออกใบอนุญาตแล้วยูคาฯ และยางพารา แต่ด้วยอีกเหตุผลหนึ่ง. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.
***สวนยางพาราของราษฎรปรากฏอยู่เป็นหย่อมอยู่ริมทางหลวงเลข 13 ใต้ ในเขตเมืองหินบูน แขวงคำม่วน ในภาพวันที่ 22 ก.พ.2555 รัฐบาลสั่งศึกษาผลจากการลงทุนทำสวนยางของทุนต่างชาติและทุนลาวเอง เพื่อดูว่าราษฎรได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ปัจจุบันลาวได้งดออกใบอนุญาตลงทุนชั่วคราวจนกว่าผลการศึกษาจะออกมา แต่ก็ยังส่งเสริมให้ราษฎรปลูกยางพาราในครัวเรือนเพื่อให้มีรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.
ลาวตาสว่าง สวนยาง-ยูคาลิปตัสล้วนมีปัญหา งดออกใบอนุญาตแล้ว
นายวิไลวัน พมเข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้เปิดเผยเรื่องนี้ ในช่วงก่อนเทศกาลขึ้นปีใหม่ประเพณีที่ผ่านมา สำนักข่าวสารประเทดลาวรายงาน
หลายปีมานี้ลาวเป็นประเทศหนึ่งที่นักลงทุนจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง รวมทั้งที่อยู่ไกลออกไป ต่างเข้าไปแสวงหาโอกาสสัมปทานที่ดินผืนใหญ่ หรือ เช่าที่ดินแปลงใหญ่เพื่อทำประโยชน์เป็นเวลายาวนานตั้งแต่ 30-50 ปีขึ้นไป เนื่องจากค่าเช่าไม่แพงและดินอุดมสมบูรณ์
การสำรวจที่ดำเนินมาในช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2555-2556 (ต.ค.-มี.ค.) พบข้อมูลเบื้องต้นว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีเนื้อที่สวนยางรวมกันประมาณ 300,000 เฮกตาร์ (1,875,000 ไร่) แขวง (จังหวัด) ภาคเหนือปลูกมากที่สุด โดยนักลงทุนจีนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแขวงภาคกลางกับภาคใต้เป็นของนักลงทุนไทยกับนักลงทุนเวียดนาม
ปัจจุบันการลงทุนด้านเกษตรอุตสาหกรรมของนักลงทุนต่างชาติในลาว เช่นเดียวกับนักลงทุนลาวเอง มียู่ 3 รูปแบบ คือเช่าที่ดินจากรัฐ การเกษตรแบบราษฎรในท้องถิ่นมีส่วนร่วม และปลูกภายใต้สัญญาสัมปทาน
รมว.กสิกรรมลาวกล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงฯ กับภาคส่วนต่างๆ กำลังอยู่ระหว่างปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีฉบับหนึ่งที่สั่งให้หยุดการออกใบอนุญาตลงทุนทำสวนยางพารากับสวนยูคาลิปตัสเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับการปลูกภายใต้สัญญาสัมปทานตามนโยบายเก่านั้น หยุดลง 100% เต็ม คือจะไม่มีการออกใบอนุญาตการลงทุนในรูปแบบนี้อีก ในขณะที่ยังทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับ 2 รูปแบบต่อไปเพื่อศึกษาว่า ราษฎรในพื้นที่ได้รับประโยชน์อย่างไรและคิดเป็นจำนวนเท่าไร ขปล.กล่าว
ตามรายงานของกระทรวงกสิกรรมฯ สวนป่ายูคาลิปตัสมีปัญหามากที่สุด เนื่องจากหลังปลูกแล้วเสร็จราษฎรจะไม่มีงานทำ จนกว่าจะถึงเวลาตัดไม้ใน 5-6 ปีข้างหน้า ซึ่งใช้แรงงานน้อยมาก ทำให้ขาดรายได้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังศึกษาข้อมูลว่า ยูคาลิปตัสทำลายดิน ทำให้เกิดความแห้งแล้งตามที่เคยมีการศึกษาในต่างประเทศหรือไม่และอย่างไร
บริษัทปลูกไม้ยูคาลิปตัสใหญ่อันดับ 1 คือ กลุ่มกระดาษโอจิจากญี่ปุ่น ซึ่งมีสวนป่าเนื้อที่รวมกัน 50,000 เฮกตาร์ (312,500 ไร่) ในแขวงภาคกลางกับภาคใต้ และกลุ่มบริษัทผลิตกระดาษจากอินเดียซึ่งมีเนื้อที่เท่ากัน ส่วนอันดับ 3 เป็นบริษัทดวงตะวัน (กลุ่มซันเปเปอร์) จากจีน 9,000 เฮกตาร์ (56,000 ไร่เศษ)
การสำรวจยังพบว่าการปลูกยางพาราดีกว่ายูคาลิปตัส เนื่องจากประชาชนมีงานทำและมีรายได้ตลอด แต่กระทรวงฯ กำลังศึกษาเพิ่มเติม และได้งดออกใบอนุญาตทั้งหมดในปัจจุบัน ขปล.กล่าว.
ที่มา http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000046858
***แผ่นป้ายโฆษณาของบริษัทลาวแพลนเทชั่นฟอเรสต์จำกัด (Laos Plantation Forest Co, Ltd) ของกลุ่มกระดาษโอจิ (Oji) จากญี่ปุ่น อยู่ริมทางหลวงเลข 13 ใต้ ในเขตเมืองหินบูน แขวงคำม่วน ในภาพถ่ายวันที่ 22 ก.พ.2556 ประกาศให้ทราบว่ากำลังเข้าเขตเพาะต้นกล้าหมู่บ้านสองห้อง บริษัทนี้มีสวนป่ายูคาลิปตัสในลาวกว่า 3 แสนไร่ เท่าๆ กับของบริษัทกระดาษจากอินเดีย ลาวเริ่มไม่แน่ใจสวนป่ายูคาลิปตัสทำลายคุณภาพดินและทำให้เกิดความแห้งแล้งจริงหรือไม่ รัฐบาลสั่งระงับการออกใบอนุญาตแล้วยูคาฯ และยางพารา แต่ด้วยอีกเหตุผลหนึ่ง. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.
***สวนยางพาราของราษฎรปรากฏอยู่เป็นหย่อมอยู่ริมทางหลวงเลข 13 ใต้ ในเขตเมืองหินบูน แขวงคำม่วน ในภาพวันที่ 22 ก.พ.2555 รัฐบาลสั่งศึกษาผลจากการลงทุนทำสวนยางของทุนต่างชาติและทุนลาวเอง เพื่อดูว่าราษฎรได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ปัจจุบันลาวได้งดออกใบอนุญาตลงทุนชั่วคราวจนกว่าผลการศึกษาจะออกมา แต่ก็ยังส่งเสริมให้ราษฎรปลูกยางพาราในครัวเรือนเพื่อให้มีรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.