ขอถามเป็นความรู้เพื่อหาทางรับมือครับว่า ถ้าเราทำงานอยู่บริษัทหนึ่ง แต่บริษัทนั้นบังคับให้เซ็นสัญญาว่า ถ้าคุณลาออกจากงาน คุณจะไม่ไปทำงานกับบริษัทคู่แข่ง หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน เป็นเวลา 2 ปี ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในลักษณะใดก็ตาม คลอบคลุมถึงการเป็นฟรีแล้นซ์ หรือแม้แต่การจัดตั้งบริษัทเองที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ง่ายๆ เลยคือเหมือนคุณต้องออกจากประเภทธุรกิจที่เคยเป็นลูกจ้างอยู่เป็นเวลา 1 ปี ถ้าไม่ทำตามสัญญา จะมีการดำเนินการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญานี้
อยากถามผู้รู้ครับว่า
1.
ถ้าเราลาออกไปแล้ว และบังเอิญได้ทำในบริษัทใหม่ที่เป็นลักษณะเดียวกัน (เช่น ผมเป็นวิศวกรให้บริษัท A แต่ลาออกไปเป็นวิศวกรอยู่บริษัท B ซึ่ง A และ B ประกอบเครื่องจักรส่งออกเหมือนกัน)
2.
ถ้าเราลาออกไปแล้ว และทำเป็นฟรีแล้นซ์ให้กับบริษัทที่เป็นลักษณะเดียวกัน (เช่น ผมเป็น AE ประจำให้บริษัท A แต่ลาออกไปเป็น AE ฟรีแล้นซ์ให้กับบริษัท B ซึ่ง A และ B เ็ป็นบริษัทเอเจนซี่เหมือนกัน)
3.
ถ้าเราลาออกไปแล้ว มีเงินทุนจึงจัดตั้งบริษัทของตัวเอง และทำธุรกิจในรูปแบบเดียวกับบริษัท A ที่ลาออกมา ด้วยความรู้ที่ตัวเองมีอยู่หรือผสมผสานจากการทำงานบริษัทเดิม (ซึ่ง A และบริษัทใหม่ที่เพิ่งจัดตั้ง เป็นบริษัทรับสร้างบ้านเหมือนกัน)
บริษัทเดิมสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้จริงหรือไม่ ค่าเสียหายเกิดขึ้นมาจากตรงไหน (ในกรณีไม่ได้เปิดเผยความลับบริษัทเดิมจนเกิดความเสียหาย หรือเอารูปแบบที่เป็นตัวตนของบริษัทเดิมมาใช้) เหมือนคนเป็นวิศวะสร้างบ้านของบริษัท A ก็จะไม่สามารถไปสร้างบ้านให้กับบริษัืท E หรือ C หรือ G ได้เพราะทำธุรกิจขายบ้านเหมือนกัน เป็นการริดรอนสิทธิของลูกจ้างผู้ประกอบวิชาชีพหรือไม่ครับ และถ้าเกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ผู้ถูกฟ้องจะสามารถฟ้องกลับ และเอาผิดกับบริษัทผู้ฟ้องฐานริดรอนสิทธิได้หรือไม่ คุ้มไหมที่จะทำการฟ้องกลับ
รบกวนผู้รู้ด้วยครับ เพราะตอนนี้บริษัทอสังหาฯแนวบ้านจัดสรรที่เพื่อนทำงานอยู่ กำลังเกิดปัญหานี้อยู่ คือบริษัทเดิมดูแลพนักงานห่วยแตก HR ก็เอาแต่ปกป้องบริษัทไม่รู้เป็น HR มาได้ยังไง เอาเปรียบพนักงานสุดๆ บริษัทคู่แข่งซื้อตัวไปหลายคนและหลายตำแหน่งมากๆ หลายคนลาออกแล้วไปอยู่บริษัทในสายธุรกิจเดียวกันที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า บริษัทเดิมจะตามไปฟ้องเอาผิดกับพนักงานที่ไปอยู่บริษัทนั้นๆ ครับ
ขอคำแนะนำด้วยครับผม เราจะมีวิธีจัดการบริษัทที่เอาเปรียบลูกจ้างแบบนี้ได้อย่างไรบ้างครับ
สงสัยเรื่องสัญญาจ้างงาน ในกรณีลาออกแต่ไม่ให้ไปทำบริษัทคู่แข่งอ่ะครับ
อยากถามผู้รู้ครับว่า
1.
ถ้าเราลาออกไปแล้ว และบังเอิญได้ทำในบริษัทใหม่ที่เป็นลักษณะเดียวกัน (เช่น ผมเป็นวิศวกรให้บริษัท A แต่ลาออกไปเป็นวิศวกรอยู่บริษัท B ซึ่ง A และ B ประกอบเครื่องจักรส่งออกเหมือนกัน)
2.
ถ้าเราลาออกไปแล้ว และทำเป็นฟรีแล้นซ์ให้กับบริษัทที่เป็นลักษณะเดียวกัน (เช่น ผมเป็น AE ประจำให้บริษัท A แต่ลาออกไปเป็น AE ฟรีแล้นซ์ให้กับบริษัท B ซึ่ง A และ B เ็ป็นบริษัทเอเจนซี่เหมือนกัน)
3.
ถ้าเราลาออกไปแล้ว มีเงินทุนจึงจัดตั้งบริษัทของตัวเอง และทำธุรกิจในรูปแบบเดียวกับบริษัท A ที่ลาออกมา ด้วยความรู้ที่ตัวเองมีอยู่หรือผสมผสานจากการทำงานบริษัทเดิม (ซึ่ง A และบริษัทใหม่ที่เพิ่งจัดตั้ง เป็นบริษัทรับสร้างบ้านเหมือนกัน)
บริษัทเดิมสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายได้จริงหรือไม่ ค่าเสียหายเกิดขึ้นมาจากตรงไหน (ในกรณีไม่ได้เปิดเผยความลับบริษัทเดิมจนเกิดความเสียหาย หรือเอารูปแบบที่เป็นตัวตนของบริษัทเดิมมาใช้) เหมือนคนเป็นวิศวะสร้างบ้านของบริษัท A ก็จะไม่สามารถไปสร้างบ้านให้กับบริษัืท E หรือ C หรือ G ได้เพราะทำธุรกิจขายบ้านเหมือนกัน เป็นการริดรอนสิทธิของลูกจ้างผู้ประกอบวิชาชีพหรือไม่ครับ และถ้าเกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ผู้ถูกฟ้องจะสามารถฟ้องกลับ และเอาผิดกับบริษัทผู้ฟ้องฐานริดรอนสิทธิได้หรือไม่ คุ้มไหมที่จะทำการฟ้องกลับ
รบกวนผู้รู้ด้วยครับ เพราะตอนนี้บริษัทอสังหาฯแนวบ้านจัดสรรที่เพื่อนทำงานอยู่ กำลังเกิดปัญหานี้อยู่ คือบริษัทเดิมดูแลพนักงานห่วยแตก HR ก็เอาแต่ปกป้องบริษัทไม่รู้เป็น HR มาได้ยังไง เอาเปรียบพนักงานสุดๆ บริษัทคู่แข่งซื้อตัวไปหลายคนและหลายตำแหน่งมากๆ หลายคนลาออกแล้วไปอยู่บริษัทในสายธุรกิจเดียวกันที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า บริษัทเดิมจะตามไปฟ้องเอาผิดกับพนักงานที่ไปอยู่บริษัทนั้นๆ ครับ
ขอคำแนะนำด้วยครับผม เราจะมีวิธีจัดการบริษัทที่เอาเปรียบลูกจ้างแบบนี้ได้อย่างไรบ้างครับ