บันทึกของผู้เฒ่า
หลักการของกฎหมาย
วันหนึ่งนานมาแล้วผมขึ้นรถแท็กซี่จากโรงพยาบาลศิริราช จะไปกินเลี้ยงที่ภัตตาคารเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันได้เลิกกิจการ และรื้อถอนอาคาร เรียบร้อยไปแล้ว รถแท็กซี่ข้ามสะพานมารอไฟแดงแยกอรุณอัมรินทร์ เป็นคันแรก ซึ่งภัตตาคาร แห่งนั้นอยู่ริมถนนทางกลับกัน พลขับปรารภว่าเราเลี้ยวกลับไปตรงนี้ ก็จะใกล้กว่าที่จะเลี้ยวขวาไปลอดใต้สะพานปิ่นเกล้า แล้วกลับมาเลี้ยวซ้ายเป็นอันมาก แต่เลี้ยวได้หรือเปล่า ผมก็ว่าไม่ทราบ แต่ไม่มีป้ายห้ามเลี้ยวกลับอย่างที่เคยเห็นในหลายแห่ง ตามใจโชเฟอร์ก็แล้วกัน เพราะผมไม่รู้กฎจราจร
พอไฟสัญญาณเปลี่ยนเป็นเขียว พลขับก็เลี้ยวรถกลับไปยังไม่ทันถึงที่หมาย ก็มีตำรวจจราจรออกมาโบกมือให้แท็กซี่จอด แล้วก็ขอใบขับขี่ตามธรรมเนียม เขาพูดจากันอยู่ครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็เขียนใบสั่งยื่นให้พลขับให้ไปชำระค่าปรับที่ สน. ผมมีความสงสัยจึงยื่นหน้าออกไปถามอย่างสุภาพว่า ไฟแดงที่แยกนั้นไม่มีมีป้ายห้ามเลี้ยวกลับไม่ใช่หรือ น่าจะเลี้ยวกลับไป ตำรวจจราจรก็ตอบอย่างสุภาพว่า คุณต้องดูลูกศรที่เขียนบนถนน เขาเขียนให้เลี้ยวขวาไม่ใช่หรือ คุณต้องปฏิบัติตามนั้น ผมก็เงียบเพราะไม่รู้ จริง ๆ ใช้แต่สามัญสำนึก เมื่อแท็กซี่มาส่งส่งผมที่หน้าภัตตาคารแล้ว ผมจึงเพิ่มค่าโดยสารช่วยค่าปรับไปอีกร้อยบาท เพราะคิดว่าตนเองเป็นผู้สนับสนุนให้พลขับทำผิดกฎจราจร
ในปัจจุบันนี้ได้ยินคำพูดที่ว่า หลักนิติธรรม นิติรัฐ ธรรมาภิบาล เจตนารมณ์ของกฎหมาย หรืออะไรทำนองนี้ ผมจึงนึกถึงเรื่องเก่าได้ว่า ผมไม่รู้จริง ๆ ว่า เมื่อไม่ได้ห้ามไม่ให้ทำ แล้วผู้ทำจะผิดได้อย่างไร
ผมจึงมาตั้งกระทู้ในที่นี้ว่า หลักของกฎหมายนั้น คือ
๑.ห้ามไม่ให้ทำแล้วฝ่าฝืน จึงผิดกฎหมาย เช่น ป้ายห้ามเข้า ห้ามเลี้ยว ห้ามจอด
๒.สั่งให้ทำแล้วไม่ทำจึงผิดกฎหมาย เช่น ป้ายบังคับให้เลี้ยว(ทางใดทางหนึ่ง)
ผมเห็นบางสี่แยก มีป้ายห้ามเลี้ยวกลับชัดเจน เมื่อไม่มีป้ายห้าม ผมก็คิดว่าน่าจะเลี้ยวได้ ทำไมถึงผิดครับ
ท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยครับ.
วางเมื่อ ๑๐ เม.ย.๕๖ เวลา๐๖.๑๓
หลักการของกฎหมาย
หลักการของกฎหมาย
วันหนึ่งนานมาแล้วผมขึ้นรถแท็กซี่จากโรงพยาบาลศิริราช จะไปกินเลี้ยงที่ภัตตาคารเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันได้เลิกกิจการ และรื้อถอนอาคาร เรียบร้อยไปแล้ว รถแท็กซี่ข้ามสะพานมารอไฟแดงแยกอรุณอัมรินทร์ เป็นคันแรก ซึ่งภัตตาคาร แห่งนั้นอยู่ริมถนนทางกลับกัน พลขับปรารภว่าเราเลี้ยวกลับไปตรงนี้ ก็จะใกล้กว่าที่จะเลี้ยวขวาไปลอดใต้สะพานปิ่นเกล้า แล้วกลับมาเลี้ยวซ้ายเป็นอันมาก แต่เลี้ยวได้หรือเปล่า ผมก็ว่าไม่ทราบ แต่ไม่มีป้ายห้ามเลี้ยวกลับอย่างที่เคยเห็นในหลายแห่ง ตามใจโชเฟอร์ก็แล้วกัน เพราะผมไม่รู้กฎจราจร
พอไฟสัญญาณเปลี่ยนเป็นเขียว พลขับก็เลี้ยวรถกลับไปยังไม่ทันถึงที่หมาย ก็มีตำรวจจราจรออกมาโบกมือให้แท็กซี่จอด แล้วก็ขอใบขับขี่ตามธรรมเนียม เขาพูดจากันอยู่ครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็เขียนใบสั่งยื่นให้พลขับให้ไปชำระค่าปรับที่ สน. ผมมีความสงสัยจึงยื่นหน้าออกไปถามอย่างสุภาพว่า ไฟแดงที่แยกนั้นไม่มีมีป้ายห้ามเลี้ยวกลับไม่ใช่หรือ น่าจะเลี้ยวกลับไป ตำรวจจราจรก็ตอบอย่างสุภาพว่า คุณต้องดูลูกศรที่เขียนบนถนน เขาเขียนให้เลี้ยวขวาไม่ใช่หรือ คุณต้องปฏิบัติตามนั้น ผมก็เงียบเพราะไม่รู้ จริง ๆ ใช้แต่สามัญสำนึก เมื่อแท็กซี่มาส่งส่งผมที่หน้าภัตตาคารแล้ว ผมจึงเพิ่มค่าโดยสารช่วยค่าปรับไปอีกร้อยบาท เพราะคิดว่าตนเองเป็นผู้สนับสนุนให้พลขับทำผิดกฎจราจร
ในปัจจุบันนี้ได้ยินคำพูดที่ว่า หลักนิติธรรม นิติรัฐ ธรรมาภิบาล เจตนารมณ์ของกฎหมาย หรืออะไรทำนองนี้ ผมจึงนึกถึงเรื่องเก่าได้ว่า ผมไม่รู้จริง ๆ ว่า เมื่อไม่ได้ห้ามไม่ให้ทำ แล้วผู้ทำจะผิดได้อย่างไร
ผมจึงมาตั้งกระทู้ในที่นี้ว่า หลักของกฎหมายนั้น คือ
๑.ห้ามไม่ให้ทำแล้วฝ่าฝืน จึงผิดกฎหมาย เช่น ป้ายห้ามเข้า ห้ามเลี้ยว ห้ามจอด
๒.สั่งให้ทำแล้วไม่ทำจึงผิดกฎหมาย เช่น ป้ายบังคับให้เลี้ยว(ทางใดทางหนึ่ง)
ผมเห็นบางสี่แยก มีป้ายห้ามเลี้ยวกลับชัดเจน เมื่อไม่มีป้ายห้าม ผมก็คิดว่าน่าจะเลี้ยวได้ ทำไมถึงผิดครับ
ท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยครับ.
วางเมื่อ ๑๐ เม.ย.๕๖ เวลา๐๖.๑๓