สำหรับประเทศไทยความรู้ความเข้าใจต่อพลังงานหมุนเวียน ยังมีน้อยมาก ทำให้มีความเข้าใจที่บิดเบือนโดยมองว่ารัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนน้อยมาก ทำไมไม่เพิ่มสัดส่วนการพัฒนาให้มากๆ เรื่องนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า คุณลักษณะของพลังงานในแต่ละประเภทมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน กล่าวคือ ในจำนวนปริมาณพลังงานต่อหน่วยทั้งโดยน้ำหนัก และปริมาตร ในเชิงการเปรียบเทียบระหว่างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงแตกต่างกัน ยังให้ปริมาณต่อหน่วยต่อปริมาตร ที่ไม่เท่ากัน เช่น
ยูเรเนียม 1 กก.ให้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับน้ำมัน 6,000 ถัง หรือจะต้องขนส่งถ่านหินมาทางเรือถึง 3,000 ตัน หรือกรณีของการเติมน้ำมันลงในเครื่องบินโดยสาร 1 ลำเมื่อเปรียบเทียบพลังงานที่เท่ากันกับพลังงานโซล่าเซล จะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 500 ไร่ เรามีพื้นที่เพียงพอไหมและคุ้มกันหรือไม่ที่จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ไปทดแทนน้ำมัน และที่สำคัญคือ เราไม่สามารถได้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตลอด 24 ชม.
นอกจากนี้ประสิทธิภาพพลังงานต่อหน่วยเวลายังเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณา ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนมีชั่วโมงในการทำงานในรอบ 1 ปี 325 วัน คิดเป็นร้อยละ 84-90 ในขณะที่เซลล์แสงอาทิตย์ใช้พลังงานในรอบปี ได้เพียง 55 วัน หรือเท่ากับร้อยละ 15 เท่านั้น ดังนั้น หากเราฝากความมั่นคงไว้กับสายลมและแสงแดดมากเกินไป เสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศจะเป็นเช่นไร
ในเรื่องต้นทุนต่อหน่วยก็ต้องนำมาพิจารณา การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1000 กิโลวัตต์ ต้องใช้พื้นที่ 25 ไร่ แต่สามารถใช้เตารีดจำนวน 1000 ตัวรีดเสื้อผ้าได้เพียง 1 ชม.แต่เราต้องใช้เงินลงทุนซื้ออุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าสูงถึง 200 ล้านบาท อีกทั้ผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงกลางวัน ดังนั้นพลังงานแสงอาทิตย์เราคงต้องค่อยๆทำไป เพราะเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นทุกปี หากเร่งดำเนินการก็จะเสียโอกาสในการได้ใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่าและถูกกว่า
ดังนั้นเมื่อคิดถึงพลังงานหมุนเวียนต้องมีมุมมองให้กว้าง ......ครอบคลุมถึงต้นทุนของระบบที่จะมารองรับ ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาล ............จะเอาเงินมาจากไหน .....จะกระทบต่อนโยบายสาธารณะหรือไม่ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลพิจารณามากกว่าผู้ที่เสนอมุมมองเพียงด้านเดียวแล้วตัดสินใจเรีกยร้องให้รัฐบาลพัฒนาอย่างเร่งด่วนตะบี้ตะบันซึ่งไม่ถูกต้องโปรดพิจารณาเสียใหม่
เช่นเดียวกับการสนับสนุนนโยบายให้พึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักของ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งกล่าวในงานสัมมนาของมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.ปิยสวัสดิ์ ชี้ชัดว่าอนาคตไทยต้องพึ่งไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ โดยให้เหตุผลว่านอกจากการพิจารณาต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าโดยแสงอาทิตย์ในลักษณะ solar farm แล้ว ยังมีการนำเสนอต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอทิตย์บนหลังคาบ้าน ซึ่งแน่นอนว่าแม้ว่าเงินลงทุนต่อหน่วยต้องสูงกว่าการผลิตไฟฟ้า โดย solar farm เพราะบ้านแต่ละหลังอาจติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าในระดับ 3-4 กิโลวัตต์เท่านั้น
นอกจากนั้นจากผลการคำนวณพบว่าถ้าเราผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนไฟฟ้าที่เราซื้อจากการไฟฟ้า และถ้าเราจ่ายค่าไฟฟ้าในลักษณะ TOU ซึ่งค่าไฟจะแพงในช่วงกลางวัน เราจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.25 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยแสงอาทิตย์อยู่ที่ 5.40-6.54 บาทต่อหน่วย จึงคาดว่า การผลิตไฟฟ้าโดยแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน จะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญมากของประเทศไทยในระยะต่อไป
จากการสืบค้นข้อมูลที่ผ่านกระบวนกการศึกษาวิจัยโดยชัดเจนจากองคืกรทั้งในประเทสและต่างประเทศ หรือแม้แต่ การดำเนินนโยบาย ของดร.ปิยสัวสดิ์ อัมระนันท์ ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่ากากรระทรวงพลังงาน เมื่อปี 2006 พบว่ารัฐบาลต้องทุ่มเงินงบประมาณไปกว่า 5,600 ล้านบาท เพื่อติดตั้งแผงโซล่าเซล ให้กับครัวเรือน โดย กฟผ.พบว่าเบื้องต้นจากการติดตามการดำเนินนโยบายดังกล่าว พบว่าล้มเหลวเช่นกัน
กล่าวคือ กฟภ.เร่งติดตั้งโซล่าเซลล์ 5.6 พันล้าน-ครอบคลุมทั่วประเทศก.ย.นี้
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
Jun 28, 2006
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- กฟภ. เร่งเดินหน้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศกว่า 2 แสนครัวเรือน ยืนยันแล้วเสร็จ ก.ย.นี้แน่นอน
เผยใช้งบฯ 5,600 ล้าน พร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยโดยงดเก็บค่าไฟฟ้าเดือน พ.ค. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ซ่อมแซมสายไฟและเสาไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหาย
จากน้ำท่วมแล้ว
วันนี้ (27 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 8 สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายประวัติ สิริภัทโรดม รองผู้ว่าการจำหน่ายและบริการภาคใต้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นประธานเปิดการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีผู้บริหารจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตภาคใต้และผู้บริหารจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน
นายประวัติ สิริภัทโรดม ผู้อำนวยการโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้เร่งดำเนินการขยายเขตระบบไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ได้อย่างทั่วถึงทั่วประเทศโดยเฉพาะบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ใน
พื้นที่ห่างไกลในเขตป่าเขา หรือเกาะที่ไม่อาจปักเสาพาดสายได้ ให้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า
ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีครัวเรือนประมาณกว่า 200,000 ครัวเรือน ต้องใช้การติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Home System) หรือระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดย กฟภ.อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการติดตั้ง
ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งต้องใช้งบลงทุนประมาณ 5,600 ล้านบาท จนถึงขณะนี้ กฟภ.ได้ดำเนินการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ ไปแล้วประมาณ 171,748 ครัวเรือน
“โครงการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 73 จังหวัดทั่วประเทศนั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จ
ตามกำหนดได้อย่างแน่นอนคือ ประมาณเดือน ก.ย.นี้” นายประวัติ กล่าวว่า
อย่างไรก็ตาม กฟภ. ต้องขอความร่วมมือให้ประชาชน ที่ได้รับบริการจ่ายไฟ ตามระบบเซลล์แสงอาทิตย์ไปแล้ว ช่วยดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบให้ดี ให้มีอายุการใช้งานยืนยาว เนื่องจากต้นทุนในการติดตั้งมีราคาสูง หากมีการชำรุดเสียหาย ก็จะต้องสูญเสียงบประมาณของรัฐ ในการซ่อมแซมหรือติดตั้งใหม่จำนวนมาก ดังนั้นหากพบว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบขัดข้อง ควรรีบแจ้งได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ส่วนราชการ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ให้มาดำเนินการแก้ไขในทันที
นายประวัติ กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดหลักเกณฑ์ยกเว้นและผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบภัย เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายทั้งหมด ให้ยกเว้นการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค. 2549 หากใครชำระเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค.ไปแล้ว จะคืนเงินให้โดยเร็ว
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายบางส่วนแต่ยังอาศัยอยู่ได้ ให้ผ่อนผันชำระเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค. 2549 ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย จนไม่สามารถประกอบกิจการได้ ทาง กฟภ. ได้ขยายระยะเวลาการชำระเงินจาก 15 วันเป็น 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้า โดยไม่เรียกเก็บเงินค่าดอกเบี้ย หากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดยังไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด ให้ยื่นหนังสือผ่อนผันเป็นราย ๆ ไป
“นอกจากนี้ กฟภ. ยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปซ่อมแซมสายไฟฟ้าและเสาไฟที่ได้รับความเสียหาย จากภาวะน้ำท่วม ให้ใช้งานได้ตามปกติ ส่วนพื้นที่ใดที่น้ำลดและเข้าสู่ภาวะปกติแล้วทาง กฟภ.ก็ได้ทำการจ่ายไฟให้ใช้ได้เป็นปกติเช่นเดิม” นายประวัติ กล่าว
มีต่อ
ปิยสวัสดิ์ ลืมง่ายเร่ขายโครงการติดตั้งโซล่าเซลครัวเรือนอีกรอบ อดีตล้มไม่เป็นท่าผลาญงบกว่า 5.6 พันล้าน จำได้บ๋อ
ยูเรเนียม 1 กก.ให้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับน้ำมัน 6,000 ถัง หรือจะต้องขนส่งถ่านหินมาทางเรือถึง 3,000 ตัน หรือกรณีของการเติมน้ำมันลงในเครื่องบินโดยสาร 1 ลำเมื่อเปรียบเทียบพลังงานที่เท่ากันกับพลังงานโซล่าเซล จะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 500 ไร่ เรามีพื้นที่เพียงพอไหมและคุ้มกันหรือไม่ที่จะใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ไปทดแทนน้ำมัน และที่สำคัญคือ เราไม่สามารถได้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตลอด 24 ชม.
นอกจากนี้ประสิทธิภาพพลังงานต่อหน่วยเวลายังเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณา ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนมีชั่วโมงในการทำงานในรอบ 1 ปี 325 วัน คิดเป็นร้อยละ 84-90 ในขณะที่เซลล์แสงอาทิตย์ใช้พลังงานในรอบปี ได้เพียง 55 วัน หรือเท่ากับร้อยละ 15 เท่านั้น ดังนั้น หากเราฝากความมั่นคงไว้กับสายลมและแสงแดดมากเกินไป เสถียรภาพด้านพลังงานของประเทศจะเป็นเช่นไร
ในเรื่องต้นทุนต่อหน่วยก็ต้องนำมาพิจารณา การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 1000 กิโลวัตต์ ต้องใช้พื้นที่ 25 ไร่ แต่สามารถใช้เตารีดจำนวน 1000 ตัวรีดเสื้อผ้าได้เพียง 1 ชม.แต่เราต้องใช้เงินลงทุนซื้ออุปกรณ์การผลิตไฟฟ้าสูงถึง 200 ล้านบาท อีกทั้ผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงกลางวัน ดังนั้นพลังงานแสงอาทิตย์เราคงต้องค่อยๆทำไป เพราะเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นทุกปี หากเร่งดำเนินการก็จะเสียโอกาสในการได้ใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่าและถูกกว่า
ดังนั้นเมื่อคิดถึงพลังงานหมุนเวียนต้องมีมุมมองให้กว้าง ......ครอบคลุมถึงต้นทุนของระบบที่จะมารองรับ ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาล ............จะเอาเงินมาจากไหน .....จะกระทบต่อนโยบายสาธารณะหรือไม่ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลพิจารณามากกว่าผู้ที่เสนอมุมมองเพียงด้านเดียวแล้วตัดสินใจเรีกยร้องให้รัฐบาลพัฒนาอย่างเร่งด่วนตะบี้ตะบันซึ่งไม่ถูกต้องโปรดพิจารณาเสียใหม่
เช่นเดียวกับการสนับสนุนนโยบายให้พึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักของ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งกล่าวในงานสัมมนาของมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.ปิยสวัสดิ์ ชี้ชัดว่าอนาคตไทยต้องพึ่งไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ โดยให้เหตุผลว่านอกจากการพิจารณาต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าโดยแสงอาทิตย์ในลักษณะ solar farm แล้ว ยังมีการนำเสนอต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอทิตย์บนหลังคาบ้าน ซึ่งแน่นอนว่าแม้ว่าเงินลงทุนต่อหน่วยต้องสูงกว่าการผลิตไฟฟ้า โดย solar farm เพราะบ้านแต่ละหลังอาจติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าในระดับ 3-4 กิโลวัตต์เท่านั้น
นอกจากนั้นจากผลการคำนวณพบว่าถ้าเราผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนไฟฟ้าที่เราซื้อจากการไฟฟ้า และถ้าเราจ่ายค่าไฟฟ้าในลักษณะ TOU ซึ่งค่าไฟจะแพงในช่วงกลางวัน เราจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้เฉลี่ย 6.25 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยแสงอาทิตย์อยู่ที่ 5.40-6.54 บาทต่อหน่วย จึงคาดว่า การผลิตไฟฟ้าโดยแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน จะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญมากของประเทศไทยในระยะต่อไป
จากการสืบค้นข้อมูลที่ผ่านกระบวนกการศึกษาวิจัยโดยชัดเจนจากองคืกรทั้งในประเทสและต่างประเทศ หรือแม้แต่ การดำเนินนโยบาย ของดร.ปิยสัวสดิ์ อัมระนันท์ ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่ากากรระทรวงพลังงาน เมื่อปี 2006 พบว่ารัฐบาลต้องทุ่มเงินงบประมาณไปกว่า 5,600 ล้านบาท เพื่อติดตั้งแผงโซล่าเซล ให้กับครัวเรือน โดย กฟผ.พบว่าเบื้องต้นจากการติดตามการดำเนินนโยบายดังกล่าว พบว่าล้มเหลวเช่นกัน
กล่าวคือ กฟภ.เร่งติดตั้งโซล่าเซลล์ 5.6 พันล้าน-ครอบคลุมทั่วประเทศก.ย.นี้
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
Jun 28, 2006
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- กฟภ. เร่งเดินหน้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ให้ครอบคลุมพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศกว่า 2 แสนครัวเรือน ยืนยันแล้วเสร็จ ก.ย.นี้แน่นอน
เผยใช้งบฯ 5,600 ล้าน พร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยโดยงดเก็บค่าไฟฟ้าเดือน พ.ค. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ซ่อมแซมสายไฟและเสาไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหาย
จากน้ำท่วมแล้ว
วันนี้ (27 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมชั้น 8 สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายประวัติ สิริภัทโรดม รองผู้ว่าการจำหน่ายและบริการภาคใต้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นประธานเปิดการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีผู้บริหารจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตภาคใต้และผู้บริหารจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน
นายประวัติ สิริภัทโรดม ผู้อำนวยการโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้เร่งดำเนินการขยายเขตระบบไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ได้อย่างทั่วถึงทั่วประเทศโดยเฉพาะบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ใน
พื้นที่ห่างไกลในเขตป่าเขา หรือเกาะที่ไม่อาจปักเสาพาดสายได้ ให้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า
ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีครัวเรือนประมาณกว่า 200,000 ครัวเรือน ต้องใช้การติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Home System) หรือระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดย กฟภ.อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการติดตั้ง
ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งต้องใช้งบลงทุนประมาณ 5,600 ล้านบาท จนถึงขณะนี้ กฟภ.ได้ดำเนินการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ ไปแล้วประมาณ 171,748 ครัวเรือน
“โครงการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่ห่างไกลทั้ง 73 จังหวัดทั่วประเทศนั้นคาดว่าจะแล้วเสร็จ
ตามกำหนดได้อย่างแน่นอนคือ ประมาณเดือน ก.ย.นี้” นายประวัติ กล่าวว่า
อย่างไรก็ตาม กฟภ. ต้องขอความร่วมมือให้ประชาชน ที่ได้รับบริการจ่ายไฟ ตามระบบเซลล์แสงอาทิตย์ไปแล้ว ช่วยดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบให้ดี ให้มีอายุการใช้งานยืนยาว เนื่องจากต้นทุนในการติดตั้งมีราคาสูง หากมีการชำรุดเสียหาย ก็จะต้องสูญเสียงบประมาณของรัฐ ในการซ่อมแซมหรือติดตั้งใหม่จำนวนมาก ดังนั้นหากพบว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบขัดข้อง ควรรีบแจ้งได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ส่วนราชการ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ให้มาดำเนินการแก้ไขในทันที
นายประวัติ กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดหลักเกณฑ์ยกเว้นและผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบภัย เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายทั้งหมด ให้ยกเว้นการเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค. 2549 หากใครชำระเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค.ไปแล้ว จะคืนเงินให้โดยเร็ว
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายบางส่วนแต่ยังอาศัยอยู่ได้ ให้ผ่อนผันชำระเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน พ.ค. 2549 ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย จนไม่สามารถประกอบกิจการได้ ทาง กฟภ. ได้ขยายระยะเวลาการชำระเงินจาก 15 วันเป็น 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้า โดยไม่เรียกเก็บเงินค่าดอกเบี้ย หากผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดยังไม่สามารถชำระเงินได้ตามกำหนด ให้ยื่นหนังสือผ่อนผันเป็นราย ๆ ไป
“นอกจากนี้ กฟภ. ยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปซ่อมแซมสายไฟฟ้าและเสาไฟที่ได้รับความเสียหาย จากภาวะน้ำท่วม ให้ใช้งานได้ตามปกติ ส่วนพื้นที่ใดที่น้ำลดและเข้าสู่ภาวะปกติแล้วทาง กฟภ.ก็ได้ทำการจ่ายไฟให้ใช้ได้เป็นปกติเช่นเดิม” นายประวัติ กล่าว
มีต่อ