ตอนที่ 1 ประเทศไทย
http://ppantip.com/topic/30337314
ตอนที่ 2 ประเทศเกาหลี
http://ppantip.com/topic/30338552
ตอนที่ 3 ประเทศจีน
http://ppantip.com/topic/30339534
ตอนที่ 4 ประเทศอินเดีย
http://ppantip.com/topic/30341287
ตอนที่ 5 ประเทศญี่ปุ่น
http://ppantip.com/topic/30348083
ตอนที่ 6 ประเทศภูฏาน
http://ppantip.com/topic/30354853
ตอนที่ 7 ประเทศอียิปต์
http://ppantip.com/topic/30356780
*****************************************************
ตอนนี้เป็นอีกตอนที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่มีชุดประจำชาติที่มีเอกลักษณ์สวยงามอีกประเทศนึงเลยค่ะ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มีฝนตกเนื่องจากมีภูมิประเทศเป็นเกาะ เสื้อผ้าที่สวมใส่จึงต้องให้ความอบอุ่น เรียกว่า “กิโมโน” ซึ่งเป็นเสื้อคลุมยาวถึงเท้า แต่ปัจจุบันแต่ง กายแบบสากลนิยมตะวันตก เนื่องจากกิโมโนมีราคาแพง และไม่สะดวกต่อการทำงานประจำวัน จึงแต่งเฉพาะโอกาสพิเศษวันฉลองครบรอบ 20 ปี ของหนุ่มสาว หรือในพิธีแต่งงาน มีผ้าคาดเอว ของสตรี เรียกว่า “โอบิ” ทำให้ดูไม่รุ่มร่าม มีสีตัดกับกิโมโน สวมถุงเท้า เรียกว่า “ทะบิ” รองเท้า เรียกว่า “โซริ”
ผ้าคาดเอว โอบิ
วิธีการผูก โอบิ
Credit :
http://server.internetcyber.com/~askmedia/book/webboard_reply.php?id=2158
ถุงเท้า ทะบิ
ทะบิ (足袋) ก็คือถุงเท้าที่เป็นหนึ่งในเครื่องแต่งกายแต่ดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีรอยแยกระหว่างนิ้วเท้าหัวแม่โป้ง เพื่อให้สะดวก เหมาะกับการสวมใส่กับรองเท้าแบบหนีบอย่าง รองเท้าเกตะ และ โซริ ทะบินี้สวมใส่ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายค่ะ
โคะฮาเซะ
ในสมัยโบราณทะบิทำจากหนังสัตว์อย่างหนังกวางหรือหนังลิง แต่ต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมแทน เพราะทะบิที่ทำจากหนังสัตว์เมื่อโดนความเย็นแล้วจะแห้งแข็ง ทำให้สวมใส่ไม่สบาย ในยุคปัจจุบันทะบินิยมทำจากผ้าฝ้าย ผ้าซาติน และผ้าไนล่อน ทาบิแบบดั้งเดิมนั้นจะมีสายรัดข้อเท้า หรือมีกระดุมติดด้านหลัง แต่ที่นิยมในปัจจุบันคือแบบที่มีเข็มกลัดโลหะซึ่งเรียกว่า
โคะฮาเซะ เอาไว้กลัดกับผ้าของอีกด้านหนึ่ง
รองเท้าเกะตะ (下駄)
หรือที่บ้านเราออกเสียงเป็น รองเท้าเกี๊ยะ เป็นรองเท้าที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานาน สามารถใช้ได้ตลอดปี ใส่ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ตัววัสดุนั้นทำจากไม้ ตรงกลางจะใช้ผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือหนัง ผูกเป็นเงื่อนให้สวมเท้าเข้าไปได้ เป็นแบบคีบระหว่างนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ เกะตะจะให้ความรู้สึกไม่เป็นพิธีการมากนัก เมื่อใส่ยูกาตะก็จะใส่เกะตะด้วยเท้าเปล่า ไม่ใส่ทะบิ (ถุงเท้า) แต่หากจะใส่กับกิโมโน ที่มีความเป็นทางการมากขึ้น ก็จะใส่ทะบิด้วย
ส่วนประกอบของรองเท้าเกะตะมี 3 ส่วน ได้แก่
1. แผ่นเนื้อไม้ที่วางเท้า เรียกว่า “Dai” (台)
มีหลายขนาดให้เลือกทั้งสีสันและรูปแบบ ทั้งทรงสี่เหลี่ยม ทรงวงรี ซึ่งออกแนวผู้หญิงหรือในปัจจุบันก็มีทรงแปลกๆ เก๋ๆ ออกมาให้ดูทันสมัย
2. ผ้าที่ใช้ผูกเป็นเงื่อน ร้อยตรงกลางของแผ่นไม้ Dai เรียกว่า “Hanao” (鼻緒)
ผ้าที่ใช้ผูกนั้นสามารถเลือกใช้ได้จากผ้าหลายชนิด แต่ที่นิยมที่สุดคือ ทำจากผ้าฝ้ายพิมพ์ลวดลายแบบญี่ปุ่น
3. พื้นไม้ที่อยู่ตรงพื้นรองเท้า นั้นเรียกว่า “Ha” (歯)
มีหลายแบบและหลายระดับเช่นกัน ต่างกันไปตามผู้ใช้ เช่น เกะตะทรงสูงของเกอิชา เพื่อไม่ให้กิโมโนลากพื้นสกปรก เวลาเดินจะวาดขาอย่างงดงาม และมีเสียงเดินเป็นจังหวะหรือ เกะตะขาเดียว หรือเรียกว่า เทนงูเกะตะ ซึ่งมีขาเดียวและสูง เพื่อให้เกิดภาพของสิ่งศักดิ์สิทธ์ สูงส่ง อย่างเทนงู เทพเจ้าภูเขาเทพหนึ่งของญี่ปุ่น เป็นต้น
Yuki Geta (雪下駄) เป็นเกะตะสำหรับใส่หน้าหนาว เพื่อเพิ่มความอบอุ่น ด้านหน้าเท้าจึงมีผ้าและขนปกคลุม
รองเท้าโซริ (草履)
หลังจากยุคเมจิ (Meiji) ที่ญี่ปุ่นมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทำให้รองเท้าแตะคีบแบบตะวันตกเป็นที่รู้จักและเริ่มนิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่น โซริก็คือรองเท้าแตะที่ได้รับอิทธิพลมานั่นเอง จะต่างจากรองเท้าเกะตะที่พื้นรองเท้าเป็นไม้ซี่ๆ ในขณะที่พื้นของโซริ จะหนาและเต็ม ส้นก็ไม่สูงเท้าเกะตะ
ซ้ายคือ เกตะ ขวาคือ โซริ
รองเท้าโซริ แต่แรกเริ่มนั้นทำจากเส้นใยพืชอย่างฟางนำมาสานกัน ปัจจุบันก็ยังมีโซริที่ทำจากฟางอยู่เช่นกัน แต่แบบที่ใส่เพื่อความเป็นทางการนั้นมีทั้งที่ทำจากหนัง ผ้า หรือพลาสติก โซริสำหรับผู้หญิงที่ทำจากพลาสติกถือว่าเป็นทางการ แต่จะเป็นทางการมากขึ้นถ้าหากเป็นแบบผ้า โดยเฉพาะแบบที่มีลายปัก จะนิยมใส่ไปในงานพิธีแต่งงานหรืองานศพ
“Hanao” หรือผ้าที่ใช้ผูกเป็นที่ไว้ใช้เท้าคีบนั้น ของผู้ชายจะนิยมเป็นสีขาวหรือสีดำ ส่วนของผู้หญิงนั้นจะนิยมเป็นสีแดง
อ่ะมาว่ากันเรื่อง ชุดกิโมโน กันต่อค่ะ
ประวัติของ กิโมโน
สมัยนารา (ค.ศ. 710 - 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย
ต่อมาในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด
ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 - 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำ
ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้น ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตนเอง เรียกว่าเป็น "ชุดเครื่องแบบ" โดยชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
สมัยต่อมา ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการเท่านั้น
ชุดกิโมโนในสมัยโบราณจริง ๆ จะสวมทับกันหลายชิ้น โดยเฉพาะตระกูลขุนนางจะสวม ถึง 12 ชิ้น แต่ปัจจุบันจะสวมทับกันเพียง 2 – 3 ชิ้น เท่านั้น
ท่านโชกุนในเรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญา
มาดูชุดแต่งงานกันบ้างค่ะ
อูชิคาเคะ (uchikake) จะเป็นชุดกิโมโนยาวเต็มยศซึ่งเจ้าสาวจะเป็นผู้สวมใส่ในพิธีแต่งงาน ตัดเย็บจากผ้าไหมประดับด้วยดิ้นไหมสีทองและเงิน ส่วยใหญ่จะเป็นลวดลายดอกไม้หรือนก
เป็นภาพงานแต่งงานจาก วัดเมจิค่ะ
ชุดแต่งงานสวยๆค่ะ
เครื่องแต่งกาย นอกจากกิโมโนแล้วยังมีเครื่องแต่งกายอื่นอีก เช่น
1. เสื้อแฮปปี้ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำ สำหรับคนงานแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน
2. เสื้อฮาโอริ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำเช่นกัน จะมีลวดลายเป็นสีขาวหรือเครื่องหมาย นามสกุล
3. เสื้อฮะกามา เป็นเสื้อที่มีรูปร่างคล้ายกางเกงขากว้าง ใช้ในงานพิธี
4. ยูกาตะ (Yukata) เป็นกิโมโนชนิดหนึ่งทำจากผ้าฝ้าย ใส่ได้ทั้งชายและหญิง สีไม่สด เป็นชุดที่ใส่อยู่กับบ้านหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว ต่อมาได้มีการนำชุดยูกาตะมาใส่ในงานประเพณี และเทศกาลในฤดูร้อน ทำให้มีลวดลายสีสันขึ้น ชุดผู้หญิงจะมีสีสันมากกว่าชาย
5. โกโซเดะ (Kosode) เป็นชุดกิโมโนของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เป็นชุดกิโมโนแขนยาว ธรรมดา “ฟูริโวเดะ” เป็นกิโมโนของหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานมีแขนยาวกว้างเป็นพิเศษ
ชุดกิโมโน ฮาโอริ
ยูกาตะ
ชุดโกโซเดะ
ชุดฟูริโวเดะ
คลิกที่นี่.. ถ้าจะดูวิธีการใส่ชุดกิโมโนจ้า
http://www.japan-mook.com/web/?option=com_content&view=article&id=101300067&Itemid=93
กิโมโนเด็กค่ะ
Credit : sisterme.net , baanjomyut.com , wikipedia.org
เรื่องราวน่ารู้..ประวัติการแต่งกายของแต่ละประเทศ ตอนที่ 4 .. ญี่ปุ่น ..
ตอนที่ 2 ประเทศเกาหลี http://ppantip.com/topic/30338552
ตอนที่ 3 ประเทศจีน http://ppantip.com/topic/30339534
ตอนที่ 4 ประเทศอินเดีย http://ppantip.com/topic/30341287
ตอนที่ 5 ประเทศญี่ปุ่น http://ppantip.com/topic/30348083
ตอนที่ 6 ประเทศภูฏาน http://ppantip.com/topic/30354853
ตอนที่ 7 ประเทศอียิปต์ http://ppantip.com/topic/30356780
*****************************************************
ตอนนี้เป็นอีกตอนที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่มีชุดประจำชาติที่มีเอกลักษณ์สวยงามอีกประเทศนึงเลยค่ะ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มีฝนตกเนื่องจากมีภูมิประเทศเป็นเกาะ เสื้อผ้าที่สวมใส่จึงต้องให้ความอบอุ่น เรียกว่า “กิโมโน” ซึ่งเป็นเสื้อคลุมยาวถึงเท้า แต่ปัจจุบันแต่ง กายแบบสากลนิยมตะวันตก เนื่องจากกิโมโนมีราคาแพง และไม่สะดวกต่อการทำงานประจำวัน จึงแต่งเฉพาะโอกาสพิเศษวันฉลองครบรอบ 20 ปี ของหนุ่มสาว หรือในพิธีแต่งงาน มีผ้าคาดเอว ของสตรี เรียกว่า “โอบิ” ทำให้ดูไม่รุ่มร่าม มีสีตัดกับกิโมโน สวมถุงเท้า เรียกว่า “ทะบิ” รองเท้า เรียกว่า “โซริ”
ผ้าคาดเอว โอบิ
วิธีการผูก โอบิ
Credit : http://server.internetcyber.com/~askmedia/book/webboard_reply.php?id=2158
ถุงเท้า ทะบิ
ทะบิ (足袋) ก็คือถุงเท้าที่เป็นหนึ่งในเครื่องแต่งกายแต่ดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีรอยแยกระหว่างนิ้วเท้าหัวแม่โป้ง เพื่อให้สะดวก เหมาะกับการสวมใส่กับรองเท้าแบบหนีบอย่าง รองเท้าเกตะ และ โซริ ทะบินี้สวมใส่ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายค่ะ
โคะฮาเซะ
ในสมัยโบราณทะบิทำจากหนังสัตว์อย่างหนังกวางหรือหนังลิง แต่ต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมแทน เพราะทะบิที่ทำจากหนังสัตว์เมื่อโดนความเย็นแล้วจะแห้งแข็ง ทำให้สวมใส่ไม่สบาย ในยุคปัจจุบันทะบินิยมทำจากผ้าฝ้าย ผ้าซาติน และผ้าไนล่อน ทาบิแบบดั้งเดิมนั้นจะมีสายรัดข้อเท้า หรือมีกระดุมติดด้านหลัง แต่ที่นิยมในปัจจุบันคือแบบที่มีเข็มกลัดโลหะซึ่งเรียกว่า โคะฮาเซะ เอาไว้กลัดกับผ้าของอีกด้านหนึ่ง
รองเท้าเกะตะ (下駄)
หรือที่บ้านเราออกเสียงเป็น รองเท้าเกี๊ยะ เป็นรองเท้าที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานาน สามารถใช้ได้ตลอดปี ใส่ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ตัววัสดุนั้นทำจากไม้ ตรงกลางจะใช้ผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือหนัง ผูกเป็นเงื่อนให้สวมเท้าเข้าไปได้ เป็นแบบคีบระหว่างนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ เกะตะจะให้ความรู้สึกไม่เป็นพิธีการมากนัก เมื่อใส่ยูกาตะก็จะใส่เกะตะด้วยเท้าเปล่า ไม่ใส่ทะบิ (ถุงเท้า) แต่หากจะใส่กับกิโมโน ที่มีความเป็นทางการมากขึ้น ก็จะใส่ทะบิด้วย
ส่วนประกอบของรองเท้าเกะตะมี 3 ส่วน ได้แก่
1. แผ่นเนื้อไม้ที่วางเท้า เรียกว่า “Dai” (台)
มีหลายขนาดให้เลือกทั้งสีสันและรูปแบบ ทั้งทรงสี่เหลี่ยม ทรงวงรี ซึ่งออกแนวผู้หญิงหรือในปัจจุบันก็มีทรงแปลกๆ เก๋ๆ ออกมาให้ดูทันสมัย
2. ผ้าที่ใช้ผูกเป็นเงื่อน ร้อยตรงกลางของแผ่นไม้ Dai เรียกว่า “Hanao” (鼻緒)
ผ้าที่ใช้ผูกนั้นสามารถเลือกใช้ได้จากผ้าหลายชนิด แต่ที่นิยมที่สุดคือ ทำจากผ้าฝ้ายพิมพ์ลวดลายแบบญี่ปุ่น
3. พื้นไม้ที่อยู่ตรงพื้นรองเท้า นั้นเรียกว่า “Ha” (歯)
มีหลายแบบและหลายระดับเช่นกัน ต่างกันไปตามผู้ใช้ เช่น เกะตะทรงสูงของเกอิชา เพื่อไม่ให้กิโมโนลากพื้นสกปรก เวลาเดินจะวาดขาอย่างงดงาม และมีเสียงเดินเป็นจังหวะหรือ เกะตะขาเดียว หรือเรียกว่า เทนงูเกะตะ ซึ่งมีขาเดียวและสูง เพื่อให้เกิดภาพของสิ่งศักดิ์สิทธ์ สูงส่ง อย่างเทนงู เทพเจ้าภูเขาเทพหนึ่งของญี่ปุ่น เป็นต้น
Yuki Geta (雪下駄) เป็นเกะตะสำหรับใส่หน้าหนาว เพื่อเพิ่มความอบอุ่น ด้านหน้าเท้าจึงมีผ้าและขนปกคลุม
รองเท้าโซริ (草履)
หลังจากยุคเมจิ (Meiji) ที่ญี่ปุ่นมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทำให้รองเท้าแตะคีบแบบตะวันตกเป็นที่รู้จักและเริ่มนิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่น โซริก็คือรองเท้าแตะที่ได้รับอิทธิพลมานั่นเอง จะต่างจากรองเท้าเกะตะที่พื้นรองเท้าเป็นไม้ซี่ๆ ในขณะที่พื้นของโซริ จะหนาและเต็ม ส้นก็ไม่สูงเท้าเกะตะ
ซ้ายคือ เกตะ ขวาคือ โซริ
รองเท้าโซริ แต่แรกเริ่มนั้นทำจากเส้นใยพืชอย่างฟางนำมาสานกัน ปัจจุบันก็ยังมีโซริที่ทำจากฟางอยู่เช่นกัน แต่แบบที่ใส่เพื่อความเป็นทางการนั้นมีทั้งที่ทำจากหนัง ผ้า หรือพลาสติก โซริสำหรับผู้หญิงที่ทำจากพลาสติกถือว่าเป็นทางการ แต่จะเป็นทางการมากขึ้นถ้าหากเป็นแบบผ้า โดยเฉพาะแบบที่มีลายปัก จะนิยมใส่ไปในงานพิธีแต่งงานหรืองานศพ
“Hanao” หรือผ้าที่ใช้ผูกเป็นที่ไว้ใช้เท้าคีบนั้น ของผู้ชายจะนิยมเป็นสีขาวหรือสีดำ ส่วนของผู้หญิงนั้นจะนิยมเป็นสีแดง
อ่ะมาว่ากันเรื่อง ชุดกิโมโน กันต่อค่ะ
ประวัติของ กิโมโน
สมัยนารา (ค.ศ. 710 - 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย
ต่อมาในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด
ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 - 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำ
ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้น ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตนเอง เรียกว่าเป็น "ชุดเครื่องแบบ" โดยชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
สมัยต่อมา ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการเท่านั้น
ชุดกิโมโนในสมัยโบราณจริง ๆ จะสวมทับกันหลายชิ้น โดยเฉพาะตระกูลขุนนางจะสวม ถึง 12 ชิ้น แต่ปัจจุบันจะสวมทับกันเพียง 2 – 3 ชิ้น เท่านั้น
ท่านโชกุนในเรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญา
มาดูชุดแต่งงานกันบ้างค่ะ
อูชิคาเคะ (uchikake) จะเป็นชุดกิโมโนยาวเต็มยศซึ่งเจ้าสาวจะเป็นผู้สวมใส่ในพิธีแต่งงาน ตัดเย็บจากผ้าไหมประดับด้วยดิ้นไหมสีทองและเงิน ส่วยใหญ่จะเป็นลวดลายดอกไม้หรือนก
เป็นภาพงานแต่งงานจาก วัดเมจิค่ะ
ชุดแต่งงานสวยๆค่ะ
เครื่องแต่งกาย นอกจากกิโมโนแล้วยังมีเครื่องแต่งกายอื่นอีก เช่น
1. เสื้อแฮปปี้ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำ สำหรับคนงานแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน
2. เสื้อฮาโอริ เป็นเสื้อชิ้น นอกสีดำเช่นกัน จะมีลวดลายเป็นสีขาวหรือเครื่องหมาย นามสกุล
3. เสื้อฮะกามา เป็นเสื้อที่มีรูปร่างคล้ายกางเกงขากว้าง ใช้ในงานพิธี
4. ยูกาตะ (Yukata) เป็นกิโมโนชนิดหนึ่งทำจากผ้าฝ้าย ใส่ได้ทั้งชายและหญิง สีไม่สด เป็นชุดที่ใส่อยู่กับบ้านหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว ต่อมาได้มีการนำชุดยูกาตะมาใส่ในงานประเพณี และเทศกาลในฤดูร้อน ทำให้มีลวดลายสีสันขึ้น ชุดผู้หญิงจะมีสีสันมากกว่าชาย
5. โกโซเดะ (Kosode) เป็นชุดกิโมโนของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เป็นชุดกิโมโนแขนยาว ธรรมดา “ฟูริโวเดะ” เป็นกิโมโนของหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานมีแขนยาวกว้างเป็นพิเศษ
ชุดกิโมโน ฮาโอริ
ยูกาตะ
ชุดโกโซเดะ
ชุดฟูริโวเดะ
คลิกที่นี่.. ถ้าจะดูวิธีการใส่ชุดกิโมโนจ้า
http://www.japan-mook.com/web/?option=com_content&view=article&id=101300067&Itemid=93
กิโมโนเด็กค่ะ
Credit : sisterme.net , baanjomyut.com , wikipedia.org