เรื่องราวน่ารู้..ประวัติการแต่งกายของแต่ละประเทศ ตอนที่ 2 ..เกาหลี..

ตอนที่ 1 ประเทศไทย      http://ppantip.com/topic/30337314
ตอนที่ 2 ประเทศเกาหลี   http://ppantip.com/topic/30338552
ตอนที่ 3 ประเทศจีน       http://ppantip.com/topic/30339534
ตอนที่ 4 ประเทศอินเดีย  http://ppantip.com/topic/30341287
ตอนที่ 5 ประเทศญี่ปุ่น    http://ppantip.com/topic/30348083
ตอนที่ 6 ประเทศภูฏาน   http://ppantip.com/topic/30354853
ตอนที่ 7 ประเทศอียิปต์   http://ppantip.com/topic/30356780

หลังจากที่ลงการแต่งกายประเทศไทยไปตั้งแต่ยุคน่านเจ้า จนมาถึงยุคปัจจุบันชุดบ้านเราเป็นที่คุ้นหูคุ้นตากันดีแล้ว ตอนนี้เลยนำเสนอ ประเทศเกาหลีค่ะ


(Credit : Sukishi)



  เครื่องแต่งกายของชาวเกาหลีใต้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีชื่อเรียกว่า
“ฮันบก (한복)” ซึ่งหากแยกคำ “ฮัน” จะหมายถึง ชาวฮั่นหรือชาวเกาหลี และ “บก” หมายถึง ชุด ความหมายรวมจึงเป็น “ชุดของชาวเกาหลี” นั่นเอง


ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลี มักถูกถ่ายทอดออกมาผ่าน
ทาง ภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุด
ฮันบกจะเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของประเทศเกาหลี
เครื่องแต่งกายทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย จะมีลักษณะหลวมเพื่อความสะดวกสบาย ในการเคลื่อนไหว และเสื้อผ้าจะใช้ผ้าผูกแทนกระดุมหรือตะขอ โดยส่วนประกอบของชุดฮันบก มีดังนี้

  

ชุดผู้หญิง

   หญิง สวมกระโปรงทรงหลวมยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อคลุมผ่าอกตัวสั้น ๆ อยู่เหนือเอว แขนยาวถึงข้อมือ ฮันบกไม่มีปก ตัวเสื้อไขว้กัน มีโบว์ผูกที่ อกด้านขวา เรียกว่า “จอโกลี” หน้าหนาว จะสวมทูรูมาคี ถุงเท้าเรียกว่า ฟอซ็อน สวมรองเท้ายาวสีขาว มีปลายงอนเล็กน้อย เรียกว่า โกมูซิน มีผ้าผูกที่หน้าอกในแทนเสื้อยกทรง เรียกว่า ซ๊อกซีมา กระโปรงกับเสื้อคลุมจะสีเดียวกันก็มี คนละ สีก็มี กระโปรงเรียกว่า ซีมา ทำด้วยผ้าฝ้ายไหมอย่างดี ผ้าไหมของเกาหลีเนื้อหนา มีน้ำหนักมาก มีจีบรอบขึ้น มาเหนืออกมีผ้าขลิบตามคอ สีจะติดกับแขน ทรงกระโปรงจะเรียกว่า ทรง Empire







   ชาย สวมกางเกงขายาวสีขาวหลวม ๆ เรียกว่า บาจี รวบปลายขาด้วยแถบผ้าเรียกว่า “แทนิน” สวมถุงเท้า เรียกว่า “ยังมัล” สวมเสื้อแขนสั้น รัดรูปแขนสั้น ไว้ข้างในเรียกว่า “บันโซเม” สวมเสื้อหลวม ๆ หรือแต่งแบบชาวตะวันตก เสื้อประจำชาติเป็นเสื้อตัวยาว แขนยาวไม่มีปกไม่มี กระเป๋า เรียกว่า “ซอโกรี” แต่บางทีสวมเสื้อกัก ไม่มีแขน มีกระเป๋าเรียกว่า “โจ๊ะกี” ผู้ชายนิยมสวม หมวกสีดำ ไม่มีปีกเหมือนผ้าโปร่ง รัดรอบศีรษะ เรียกว่า “ท้งก็อน” แล้วสวมหมวกทรงสูงมีปีก เรียกว่า “คัช”






องค์ประกอบของแต่ละชิ้น

ผู้หญิง


แพนที = กระโปรงชั้นใน
ซ็อกชีมา = แถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกแทนเสื้อยกทรง


ชีมา = กระโปรงชั้นนอก ยาวคลุมเท้า



ซอโกรี = เสื้อนอกแขนยาว


โชกี = เสื้อกั๊ก จะใส่เวลาออกงานต่าง


อา-ยัม  =  เป็นหมวกสำหรับผู้หญิง ใส่กับชุดฮันบก
มีหางยาวไปถึงหลัง ไว้ป้องกันความเหน็บหนาว



พี-นยอ = ปิ่นปักผมของผู้หญิง ไว้ปักมวยผมด้านหลัง
ความยาวและวัสดุที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสถานะและบรรดาศักดิ์ของแต่ละคน





ตอล-จัม =  เป็นปิ่นประดับผม ใช้กับวิกผม แบบที่อยู่ในรูปด้านบน
ส่วนหัวของปิ่น มีลักษณะเป็นหัวใหญ่ๆ ประดับอย่างสวยงามด้วยเพชรนิลจินดา
ผู้ที่ใส่คือ ผู้หญิงในราชวงศ์ เช่น เจ้าหญิงและพระชายา



โน-รี-แก =  เป็นเครื่องประดับที่ไว้ห้อยติดกับชอโกรี


กด-ชิน =  หลังจากใส่ถุงเท้าแล้ว ก็ต้องทับด้วยรองเท้าสำหรับชุดฮันบก
รองเท้าสำหรับผู้หญิง จะมีลายดอกไม้อยู่รอบๆรองเท้า


ผู้ชาย


พาจี = กางเกงขายาวชั้นนอก รวบปลายขาด้วย แทมิน
วิธีผูกแทนิม (대님) ที่ปลายพาจี

แทมิน = แถบผ้าใช้มัดขากางเกง


โชกี = เสื้อกั๊ก จะใส่เวลาออกงานต่างๆ


ทูรูมากี = เป็นเสื้อนอก คล้ายเสื้อโค้ต ใส่เมื่อออกไปข้างนอก


คัด =  เป็นหมวกสำหรับผู้ชาย ทรงสูง มีสายรัดใต้คาง สีดำโปร่ง
ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนาง หรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวังใส่กัน


เวลาที่ใส่คัด ผู้ชายก็จะทำผมทรงซังทู (상투)



พอ-ซอน = เป็นถุงเท้าสำหรับชุดฮันบก

   การผลิตชุดฮันบก มีประเภทเนื้อผ้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของ ผู้สวมใส่ โดยเด็กผู้หญิงหรือหญิงสาว (ที่ยังไม่แต่งงาน) จะสวมเสื้อสีเหลือง กระโปรงสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นเสื้อสีเขียว กระโปรงสีแดงเมื่อแต่งงานแล้ว นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังคำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อผ้ากับสภาพ
อากาศประเทศของตนอีกด้วย โดยในฤดูหนาวจะใช้ผ้าฝ้าย
และสวมกางเกงขายาวที่มีสายรัดข้อเท้า ช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย
ส่วนในฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็ง ซึ่งช่วยในการดูดซับและแผ่ระบายความร้อนในร่างกายได้ดี
ในปัจจุบันการสวมชุดประจำชาติฮันบก จะใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษต่างๆเท่านั้น เช่น งานมงคลสมรส, ซอลนัล (วันขึ้นปีใหม่ของเกาหลี) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้สูงอายุก็ยังคงสวมใส่ชุดฮันบกกันอยู่


Credit : http://shineeglitter.blogspot.com/
           http://writer.dek-d.com/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่