เคยได้ยินคุณย่า คุณยายบอกประโยคดังกล่าวบ้างไหมครับ??
วันนี้ถือโอกาสให้ข้อมูลสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยทารกมาฝากครับ
ช่วงขวบปีแรก ตามพัฒนาการด้านจิตสังคมของเด็ก
เป็นช่วงเวลาแห่งการพัฒนาความผูกพัน และความไว้วางใจ (basic trust)
คิดถึงภาพเด็กที่เพิ่งออกมาดูโลก ซึ่งต้องการการพึ่งพิงสูง
เค้ากำลังเรียนรู้ว่าโลกนี้มันจะเป็นยังไง มันน่าอยู่ มันปลอดภัยสำหรับเค้าหรือเปล่า
และเนื่องด้วยการสื่อสารที่จำกัดของเด็ก ไม่ว่าจะหิว ปวด เปียกชื้น
ทุกอย่างเค้าทำได้เพียงแค่ร้องไห้เท่านั้น
หากพ่อแม่ตอบสนองเค้าช้า หรือปล่อยให้ลูกร้องนานเกินไปบ่อยๆ
เค้าจะเรียนรู้ว่า โลกนี้มันไม่น่าอยู่เอาเสียเลย
เพราะแม้แต่คนใกล้ชิดที่สุด ยังสร้างความไว้วางใจไม่ได้
จะมีผลต่อการสร้างความไว้วางใจต่อโลกภายนอกเมื่อเขาโตขึ้น
และในระยะยาว อาจมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
เมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้ เพราะรู้สึกว่าไว้วางใจใครไม่ได้
การสร้างความผูกพันแบบมั่นคงปลอดภัยกับคนเลี้ยง (secure attachment) ก็จะไม่เกิดขึ้น
กลับยิ่งทำให้เค้ายิ่งติดคนเลี้ยงมากเกินไป เพราะรู้สึกว่ามันไม่ปลอดภัยพอ
สิ่งที่ควรทำคือ ตอบสนองกับลูกทุกครั้งเมื่อลูกร้องไห้
ประเด็นคือ การตอบสนองไม่จำเป็นต้องอุ้มเสมอไป
อาจจะขานรับ มองหน้าลูก สำรวจว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร
พอเข้าใกล้ 1 ขวบ เราสามารถชะลอการตอบสนองให้เค้า เพื่อฝึกการอดทนรอคอยได้บ้าง
เช่น ลูกร้องไห้เพราะหิวนม มองหน้าลูกแล้วบอกว่า
"รอแม่แป๊ปนึงนะจ๊ะ แม่ตากผ้าอ้อมใกล้จะเสร็จแล้ว เดี๋ยวแม่ให้กินนม"
การที่ชะลอได้เป็นเพราะเค้าพัฒนาความไว้วางใจไปเรียบร้อยแล้ว
และฝึกการอดทนรอคอยเพื่อเตรียมเค้าสู่การฝึกระเบียบวินัย เมื่อครบหนึ่งขวบต่อไป
ลูกอาจจะติดมือหรือติดพ่อแม่ เป็นเรื่องปกติตามพัฒนาการ
เพราะเค้าต้องการความรักและทะนุถนอมจากคุณ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะตอบสนอง แต่ก็เป็นแค่ช่วงขวบปีแรก
หลังจากนั้น ที่เค้าเริ่มเดินได้ เค้าก็จะเลิกติดมือคุณเอง
เพราะตื่นตาตื่นใจกับการไปสำรวจโลกกว้างด้วยขาของตัวเองแล้ว
แต่จะไปด้วยความมั่นใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณเตรียมให้เค้าตั้งแต่ปีแรก
ถ้าเค้าพัฒนาความไว้วางใจ และความผูกพันแบบมั่นคงปลอดภัย เค้าก็จะไปอย่างมั่นใจ
เพราะเค้ารู้ว่ายังไงก็มีคนที่รักและคอยประคับประคองเค้าอยู่ข้างหลังแล้วนั่นเอง
ฉะนั้น เมื่อเจ้าตัวเล็กร้อง แปลว่าเค้ากำลังโบกธงเป็นสัญญาณว่า
หนูกำลังต้องการความช่วยเหลือ
........อย่ากลัวที่จะต้องอุ้ม หรือตอบสนองเค้าเลยครับ
ที่มาของภาพ:
http://www.baomoi.com/Be-hay-khoc-nhe-vi-sao-vay/139/8635629.epi
= = ปล่อยให้ร้องบ้าง อย่าไปอุ้มมาก..เดี๋ยวลูกติดมือ!! = =
วันนี้ถือโอกาสให้ข้อมูลสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยทารกมาฝากครับ
ช่วงขวบปีแรก ตามพัฒนาการด้านจิตสังคมของเด็ก
เป็นช่วงเวลาแห่งการพัฒนาความผูกพัน และความไว้วางใจ (basic trust)
คิดถึงภาพเด็กที่เพิ่งออกมาดูโลก ซึ่งต้องการการพึ่งพิงสูง
เค้ากำลังเรียนรู้ว่าโลกนี้มันจะเป็นยังไง มันน่าอยู่ มันปลอดภัยสำหรับเค้าหรือเปล่า
และเนื่องด้วยการสื่อสารที่จำกัดของเด็ก ไม่ว่าจะหิว ปวด เปียกชื้น
ทุกอย่างเค้าทำได้เพียงแค่ร้องไห้เท่านั้น
หากพ่อแม่ตอบสนองเค้าช้า หรือปล่อยให้ลูกร้องนานเกินไปบ่อยๆ
เค้าจะเรียนรู้ว่า โลกนี้มันไม่น่าอยู่เอาเสียเลย
เพราะแม้แต่คนใกล้ชิดที่สุด ยังสร้างความไว้วางใจไม่ได้
จะมีผลต่อการสร้างความไว้วางใจต่อโลกภายนอกเมื่อเขาโตขึ้น
และในระยะยาว อาจมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
เมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้ เพราะรู้สึกว่าไว้วางใจใครไม่ได้
การสร้างความผูกพันแบบมั่นคงปลอดภัยกับคนเลี้ยง (secure attachment) ก็จะไม่เกิดขึ้น
กลับยิ่งทำให้เค้ายิ่งติดคนเลี้ยงมากเกินไป เพราะรู้สึกว่ามันไม่ปลอดภัยพอ
สิ่งที่ควรทำคือ ตอบสนองกับลูกทุกครั้งเมื่อลูกร้องไห้
ประเด็นคือ การตอบสนองไม่จำเป็นต้องอุ้มเสมอไป
อาจจะขานรับ มองหน้าลูก สำรวจว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร
พอเข้าใกล้ 1 ขวบ เราสามารถชะลอการตอบสนองให้เค้า เพื่อฝึกการอดทนรอคอยได้บ้าง
เช่น ลูกร้องไห้เพราะหิวนม มองหน้าลูกแล้วบอกว่า
"รอแม่แป๊ปนึงนะจ๊ะ แม่ตากผ้าอ้อมใกล้จะเสร็จแล้ว เดี๋ยวแม่ให้กินนม"
การที่ชะลอได้เป็นเพราะเค้าพัฒนาความไว้วางใจไปเรียบร้อยแล้ว
และฝึกการอดทนรอคอยเพื่อเตรียมเค้าสู่การฝึกระเบียบวินัย เมื่อครบหนึ่งขวบต่อไป
ลูกอาจจะติดมือหรือติดพ่อแม่ เป็นเรื่องปกติตามพัฒนาการ
เพราะเค้าต้องการความรักและทะนุถนอมจากคุณ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะตอบสนอง แต่ก็เป็นแค่ช่วงขวบปีแรก
หลังจากนั้น ที่เค้าเริ่มเดินได้ เค้าก็จะเลิกติดมือคุณเอง
เพราะตื่นตาตื่นใจกับการไปสำรวจโลกกว้างด้วยขาของตัวเองแล้ว
แต่จะไปด้วยความมั่นใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณเตรียมให้เค้าตั้งแต่ปีแรก
ถ้าเค้าพัฒนาความไว้วางใจ และความผูกพันแบบมั่นคงปลอดภัย เค้าก็จะไปอย่างมั่นใจ
เพราะเค้ารู้ว่ายังไงก็มีคนที่รักและคอยประคับประคองเค้าอยู่ข้างหลังแล้วนั่นเอง
ฉะนั้น เมื่อเจ้าตัวเล็กร้อง แปลว่าเค้ากำลังโบกธงเป็นสัญญาณว่า
หนูกำลังต้องการความช่วยเหลือ
........อย่ากลัวที่จะต้องอุ้ม หรือตอบสนองเค้าเลยครับ
ที่มาของภาพ: http://www.baomoi.com/Be-hay-khoc-nhe-vi-sao-vay/139/8635629.epi