คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[๕๐๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า
1.เรามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ
เธอย่อมมีผู้กล่าวว่าเชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
2. เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
3. จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลายหรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
4. พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง
ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น ไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนปริยัติเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
5.พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอ
ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
เธอถูกถามว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น ฯ
[๕๐๕] พระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:-
๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง
๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ฯ
[๕๐๘] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วยอาการ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[๕๐๙] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านต้องเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านต้องเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้องเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้องเดือดร้อน
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้แล ฯ
[๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่นพึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:-
๑. ความการุญ
๒. ความหวังประโยชน์
๓. ความเอ็นดู
๔. ความออกจากอาบัติ
๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ฯ
[๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
ความจริง ๑
ความไม่ขุ่นเคือง ๑ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๙๒๖ - ๖๐๖๐. หน้าที่ ๒๔๕ - ๒๕๐.
http://84000.org/tipitaka/read/?7/500-511
ทูลถามการโจท
[๕๐๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า
1.เรามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ
เธอย่อมมีผู้กล่าวว่าเชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
2. เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
3. จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลายหรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
4. พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง
ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น ไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนปริยัติเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้ ฯ
5.พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอ
ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่
ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
เธอถูกถามว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้
เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น ฯ
------------------------------------------------------
[๕๐๕] พระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:-
๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง
๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ฯ
---------------------------------------------------------
ผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
[๕๐๘] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วยอาการ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผู้ถูกโจทโดยธรรมต้องเดือดร้อน
[๕๐๙] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านต้องเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านต้องเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้องเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้องเดือดร้อน
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้แล ฯ
------------------------------------------------------
ผู้โจทก์พึงมนสิการธรรม ๕ ประการ
[๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่นพึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:-
๑. ความการุญ
๒. ความหวังประโยชน์
๓. ความเอ็นดู
๔. ความออกจากอาบัติ
๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น ฯ
--------------------------------------------------------------
ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ
[๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ
ความจริง ๑
ความไม่ขุ่นเคือง ๑ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๙๒๖ - ๖๐๖๐. หน้าที่ ๒๔๕ - ๒๕๐.
http://84000.org/tipitaka/read/?7/500-511
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
ช่วยย้ำให้ผมเห็นแบบชัดๆอีกทีน่ะครับ เอาแบบรู้จริงนะครับ(ถ้ามีจริงคงจะดีแต่ถ้าไม่มีแล้วตอบได้ก็เชิญ)
ขออ้างอิงเป็นกรณีศึกษานะครับ เช่น มีผู้หญิงจมน้ำแล้วพระกระโดลงไปช่วยแต่ผู้หญิงหมดสติ พระท่านจึงทำการผายปอด จนผู้หญิงฟื้น แต่เผอิญมีคนเห็นท่านกำลังผายปอดให้ผู้หญิง แต่เข้าใจผิดนึกว่าพระท่านไปจูบปากผู้หญิงเข้า แล้วคราวนี้ชาวบ้านก็เที่ยวโพทะนากันไปทั่ว ทั้งด่าว่า พูดจากระแทก เสียดสีต่างๆ จนในที่สุดพระท่านทนไม่ไหวสึกออกไปอย่างนี้ บาปมั๊ยครับ และอีกกรณีหนึ่ง คือเห็นพระดูหนังโป็และฉันข้าวเย็น ชาวบ้านก็ด่าว่าเที่ยวโพทะนา จนท่านทนไม่ไหวสึกออกไป อย่างนี้บาปมั๊ยครับ แล้วกรณีไหนบาปมากกว่ากัน
ขออณุญาตินำเอาประวัติของหลวงพ่อปานวัดบางนมโคบางตอนมาลงนะครับ โดยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับครูบาอาจารย์ท่าน คือหลวงพ่อเนียม วัดน้อย มีอยู่ตอนหนึ่งคือตอนที่ หลวงพ่อปานท่านขอฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเนียม แต่หลวงพ่อเนียมท่านด่าว่าหลวงพ่อปานต่างๆ เช่น คำผรุสวาท ต่างๆนาๆ และมีอยู่ประโยคหนึ่งที่หลวงพ่อเนียมท่านพูดขึ้นมาว่า "กรรมฐานโคตรพ่อโคตรแม่มีที่ไหน กูไม่มีกรรมฐาน คนบ้านนี้เขาหาว่ากูบ้า กูเป็นบ้า กูพูดกับหมู กูพูดกับหมา กูกินข้าวกับหมูกับหมาได้ จะมาเรียนกรรมฐานกับกูยังไง กูไม่รู้กรรมฐานมันเป็นยังไง ว่าแล้วก็ขับไล่ไสส่งให้กลับวัด"
ประเด็นหลักๆที่อยากรู้เลยว่าชาวบ้านที่ว่าหลวงพ่อเนียมว่าบ้านั้น เค้าจะได้รับบาปมั๊ยครับ และที่เหลือก็คือประเด็นที่ยกตัวอย่างมาข้างบน น่ะครับว่า ถ้าเราไม่รู้ความจริงแล้วไปว่าพระในทำนองต่างๆอย่างนี้จะบาปมั๊ย
อีกข้อที่สงสัยก็คือ เพราะอะไรครูบาอาจารย์สมัยก่อน บางท่านจึงชอบแกล้งบ้า เพราะอะไรครับ เช่น สมเด็จโต ก็มีเรื่องดังนี้
แขกเลี้ยงวัวหัวใส.
ในบรรดาแขกที่นำวัวและแพะมาเลี้ยงในวัดระฆังนี้ มีอยู่คนหนึ่ง
ชื่อรามปานเด แขกคนนี้คุ้นเคยกับสมเด็จโตอยู่ไม่น้อย
เพราะเมื่อยามนำวัวและแพะไปเลี้ยงในเขตวัดแล้ว
ถ้าไม่ได้ไปแอบนอนตามที่ร่ม ก็มักจะเข้าไปคุยกับสมเด็จฯ อยู่เสมอ
วันหนึ่งเจ้ารามปานเด นำวัวและแพะไปลี้ยงในเขตวัดตามเคย
ตัวเองก็หลบมุมไปนอนหลับเสียที่ศาลา ซึ่งมีลมพัดโกรกสบาย
ปรากฏว่าแพะของเจ้ารามปานเด เดินกินหญ้าจนกระทั่งมาถึง
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่กำลังแตกใบอ่อนอยู่เต็มต้น
แพะก็กินใบอ่อนนั้นจนหมด พอพระเณรในวัดมาพบเข้าก็ตกใจมาก
รีบไล่แพะให้ออกไปให้พ้น แล้วรีบเข้าไปเรียนให้สมเด็จฯทราบ
ยอมรับว่าเป็นความผิดของพวกตนที่เผลอไม่ทันดู
สมเด็จฯ ก็ไม่ว่าอะไร แต่ให้ไปตามเจ้ารามปานเดมาพบ
เจ้ารามปานเด กำลังนอนหลับสบาย พอถูกพระปลุกก็ตกใจตื่น
และยิ่งตกใจมากขึ้นเมื่อรู้ว่าแพะของตนไปกินใบอ่อนต้นพระศรีมหาโพธิ์
ซึ่งสมเด็จฯ ท่านห่วงหนักหนา พอรู้ว่าสมเด็จฯให้ไปพบ
ก็พาลขาสั่นพลับ ๆ ขึ้นมาทันที
เมื่อเจ้ารามปานเดไปนั่งหมอบกราบอยู่ต่อหน้าท่านแล้ว
ท่านก็ได้บอกให้รู้ว่า ต้นโพธิ์นี้เป็นพันธุ์มาจากพุทธคยา
อันเป็นต้นโพธิ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้
จึงเป็นที่เคารพของชาวพุทธศาสนิกชนยิ่งนัก
เมื่อแพะของเจ้าไปกินใบโพธิ์เช่นนี้เจ้าจะว่าอย่างไร ?
เจ้ารามปานเดเป็นแขกหัวไว และปกติสมเด็จฯก็นึกเอ็นดู
เพราะตั้งแต่มักคุ้นกันมา เจ้ารามปานเดก็เกือบจะเป็นชาวพุทธไปอีกคน
รู้จักไหว้หมอบกราบทั้งๆ ที่นับถืออิสลาม
ยอมรับผิดที่แพะของตนไปกินใบโพธิ์ แต่ก็อดหยอดไม่ได้ว่า
“คุณพ่อครับ ต้นโพธิ์ต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ได้ต้นนี้
เพราะว่าต้นโน้นอยู่ที่อินเดีย เป็นคนละต้นกันครับคุณพ่อ”
สมเด็จฯได้ยินดังนั้นก็นึกขำ จนกระทั่งอดหัวเราะไม่ได้
ในความปัญญาไวของรามปานเด
ท่านจึงเพียงแต่ว่ากล่าวตักเตือนให้คอยระมัดระวัง อย่าให้แพะ
มากินใบโพธิ์อีกเป็นอันขาด เจ้ารามปานเดก็รับคำและกราบลา
พอออกมาก็คุยฟุ้งในหมู่ศิษย์วัดว่า ตนเองทำให้สมเด็จฯยอม
และไม่อาจลงโทษตนได้
จนกระทั้งเป็นที่หมั่นไส้ของบรรดาศิษย์วัดเป็นอันมาก
ลูกศิษย์วัดจึงหาทางแก้เผ็ดเจ้ารามปานเด
วันหนึ่งอันเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ที่จะต้องมีงานเลี้ยง
รื่นเริงกันในกลุ่มชาวมุสลิม เจ้ารามปานเดก็เดินร้องไห้สะอึกสะอื้น
ขึ้นมาหาท่านถึงบนกุฎ แล้วฟ้องท่านว่า
มีศิษย์วัดระฆังของท่านไปแกล้ง โดยนำหมูไปละเลงในกะทะ
ที่จะประกอบอาหารเลี้ยงดูกันในวันนั้น ซึ่งการกระทำนี้
นับว่ารุนแรงมากเพราะก็ทราบกันอยู่ว่า ชาวมุสลิมไม่กินหมู
สมเด็จฯได้ยินดังนั้น ก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะเรื่องความเชื่อทางศาสนานั้น
เป็นสิ่งที่ต้องเคารพซึ่งกันและกันตามคำสั่งของพระบรมศาสดาของแต่ละศาสนา
เมื่อศิษย์วัดไปทำเช่นนั้นเป็นการไม่สมควร
แต่ทว่า ...... ท่านคิดอะไรขึ้นมาได้อย่างหนึ่ง จึงถามเจ้ารามปานเดว่า ....
“ทำไมชาวมุสลิมไม่กินหมูเล่ารามปานเด?”
เจ้ารามปานเดก็สาธยายเรื่องราวแต่หนหลัง เกี่ยวกับที่พระนาบีไม่โปรดหมู
เพราะเป็นสัตว์สกปรกที่กินอาจม จนกระทั้งมีบัญญัติไว้
มิให้ชาวมุสลิมทั้งปวงกินหมู เจ้ารามปานเดบอกท่านว่า
การกระทำของศิษย์วัด เป็นบาปหนักที่สมเด็จฯท่านจะต้องชำระโทษ
ให้เห็นดำเห็นแดงกันไป
แต่สมเด็จฯ ตอบว่า ....
“ไม่บาปหรอกรามปานเด เพราะหมูตัวที่เจ้าพวกนั้นนำไปละเลงกะทะ
ของเจ้านั้นเป็นหมูคนละตัวกับที่พระนาบีเกลียด
เหมือนต้นโพธิ์ที่วัดนี้เป็นคนละต้นกับต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั่นหละ”
เพียงเท่านี้เจ้ารามปานเดก็กราบลากลับบ้านทันที
และเล่าต่อมาว่าในระยะหลังๆ เจ้ารามปานเดถึงกับมาเป็นศิษย์
ประจำกุฏิของสมเด็จฯ กินข้าวปลาอาหาร ร่วมกับศิษย์วัดอย่างเอร็ดอร่อย
สรุปแล้วประเด็นหลักๆก็คือ
1)ชาวบ้านที่ด่าว่า เหยียดหยาม และตำหนิติเตียนพระสงฆ์ ทั้งๆที่รู้หรือไม่รู้ว่าท่านผิดจริงหรือไม่เป็นบาปมั๊ย
และถ้าท่านทนไม่ไหวจนสึกออกไปอีกเป็นบาปมั๊ย
2)ทำำไมครูบาอาจารย์สมัยก่อนจึงชอบแกล้งบ้า เช่น สมเด็จโต พระจี้กง หรือหลวงพ่อเนียมวัดน้อย เพราะอะไร