ปลั๊กพ่วง

กระทู้สนทนา
ปลั๊กที่อยู่ข้างฝาบ้านเรานั้นมันจะมีช่องไม่พอกับการใช้งานในปัจจุบัน แค่มีทีวีก็ยังต้องมีเครื่องอุปกรณ์พ่วงอีกหลายๆตัว คอมก็เช่นกัน
ดังนั้นเราจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ปลั๊กพ่วงหรือรางไฟได้ จึงมาทำความรู้จักกันเพื่อความปลอดภัยในการเลือกซื้อและใช้งาน

ถ้าจะแบ่งชนิดง่ายๆก็น่าจะเอาระบบป้องกันเป็นการแบ่ง มีอยู่เพียงสามแบบคือ
     ๑.แบบมีฟิวส์  เมื่อใช้ไฟเกิน ฟิวส์จะขาด-เปลี่ยนฟิวส์ใหม่ก็ใช้ได้
     ๒.แบบมีปุ่มกด   หรือเบรคเกอร์ เมื่อใช้ไฟเกินระบบโลหะภายในต่างชนิดร้อนจะเด้งออก ไฟฟ้าไม่สามารถผ่านได้ - กดปุ่มรีเซ็ทลงไปเบาๆก็กลับมาใช้ได้
     ๓.แบบไม่มีอะไรตัดไฟเลย อันตรายสุด - เมื่อใช้ไฟเกิน จะร้อน ละลายส่วนที่เป็นพลาสติกก่อน

ถ้าเอาสวิตช์เป็นตัวแบ่งก็จะมีสามแบบ
     ๑.แบบมีสวิตช์เดียว คุมทั้งหมด  สะดวกดี
     ๒.แบบมีสวิตช์แยกคุมแต่ละช่องปลั๊ก  ดียิ่งขึ้นเพราะบางครั้งเลือกเปิดใช้เป็นแต่ละอุปกรณ์ ไม่ต้องถอดปลั๊กตัวที่ไม่ใช้ออก
     ๓.แบบไม่มีสวิตช์

ถ้าเอาจำนวนสายเป็นตัวแบ่งก็มีสองแบบ(ดูที่ปลั๊กปลายสาย)คือ
     ๑.แบบมีสายคู่
     ๒.แบบมีสามเส้น (มีเส้นกราวน์มาด้วย-แต่ถ้าปลั๊กที่บ้านไม่มีกราวน์ก็ไม่มีประโยชน์-แพงกว่าด้วย) อันนี้ดีที่สุด
(ถ้าปลั๊กบ้านมีสามช่อง-คอมจะไม่มีไฟดูดเพราะลงกราวน์ได้)
ฉนวนหุ้มสายจะมีแบบ ชั้นเดียวและสองชั้น  แน่นอนว่าสองชั้นย่อมเหนือกว่าชั้นเดียว แต่ก็ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่ดี

การเลือกใช้
     อันดับแรก ก็ดูจำนวนช่องเสียบ มีตั้งแต่สองช่องไปจนหลายสิบช่อง  เลือกจำนวนที่ต้องใช้ อาจมีเผื่อไว้บ้าง
     อันดับสอง ก็เป็นความยาวสาย มีตั้งแต่หนึ่งเมตรจนถึงสิบห้าเมตร  ถ้าเลือกสายยาวเกินไปก็อาจจะเกะกะ
     อันดับสาม ดูขนาดหน้าตัดสายตั้งแต่ 2x0.75 ม.ม.ขึ้นไป ขนาดหน้าตัดยิ่งสูงมากก็รับกระแสได้มาก (แต่ก็ห้ามใช้กับเตารีด หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กระแสสูงกว่า 1000 วัตต์อยู่ดี)---ถ้าจำเป็นควรต้องสั่งทำสายพิเศษ จากร้านไฟฟ้าทำให้ ไม่มีขายทั่วไป

     วิธีการใช้

          ไฟฟ้าใช้ตามบ้านทั่วไปมีมาสองเส้น L-เส้นที่มีไฟมา  (วัดด้วยไขควงวัดต้องมีไฟติด) และ N-เส้นไฟกลับ (วัดด้วยไขควงวัดไฟต้องไม่มีไฟติด)
เมื่อเสียบปลั๊ก เราไม่รู้ว่าสายนั้นถูกข้างกับสวิตช์ตัดหรือไม่ (สวิตช์ส่วนมากตัดไฟแค่เส้นเดียว)
ถ้าเสียบถูกข้าง เมื่อปิดสวิตช์ก็จะเป็นการตัดไฟ ไม่เข้าอุปกรณ์ได้ 100%
          ถ้าเสียบไม่ถูกข้าง เมื่อปิดสวิตช์ก็จะไม่เป็นการตัดไฟ ยังมีเข้าอุปกรณ์ได้ 100% แต่ปิดด้วยรีโมทจึงทำไห้ไม่ทำงานบางส่วนและทำงานกินกระแสบางส่วนเช่นหม้อแปลงไฟเป็นต้น การเปิดในภาวะนี้ก็ทำให้อุปกรณ์เสื่อมได้เหมือนกัน
          ที่บ้านเลือกสายพ่วงที่มีสวิตช์ตัดแบบมีไฟแสดง ลองเช็คที่ปลั๊กว่าเมื่อปิดสวิตช์ไฟ ต้องไม่มีมาทั้งสองขั้ว (ถ้ามีไฟมาใช้วิธีกลับสายที่ปลั๊ก-ง่ายดี) คือสลับข้างซ้ายไปข้างขวา หรือ ขวาไปซ้าย
เวลาเลิกใช้ก็แค่ปิดสวิตช์ที่ปลั๊กเท่านั้น ก็จะไม่มีไฟมาที่ปลั๊กที่เราเสียบอุปกรณ์ แต่ยังมีไฟมาตามสายอยู่ ปลอดภัยเต็มที่ก็คือ ถอดปลั๊กออกจากข้างฝา
          วัสดุที่นำมาประกอบ  ก็มีความสำคัญ     
               1.สายไฟ ควรมีขนาดหน้าตัดสายที่ยิ่งมาก ก็ยิ่งทนกระแสได้สูง เช่น 2*0.75 ม.ม. ทนกระแสต่ำกว่า 2*1.0 ม.ม. เป็นต้น     
               2.ชนิดของโลหะที่มาทำเป็นเต้ารับ  ถ้าบางมากจะมีน้ำหนักเบา ไม่ทน หลวมง่าย ทำให้เกิดการอาร์ค ร้อน และอันตราย กลายเป็นสาเหตของไฟไหม้ได้ ควรเลือกที่มีน้ำหนักมากกว่า    
               3.ตัวโครงพลาสติก/โลหะ ถ้าเป็นพลาสติก ไม่ควรเป็นชนิดที่ลามไฟได้ (ABS) กลายเป็นสาเหตที่ไฟไหม้ทุกวันนี้
     หมายเหตุ
          สายไฟควรวางให้แนบพื้นและฝาผนัง ถ้าแปะเทปได้ก็จะดี ป้องกันเด็กหรือบางคนอาจเดินเตะสาย สะดุดหกล้ม
          การใช้งานครั้งแรกจึงควรมีไขควงเช็คไฟร่วมเพื่อจะได้เสียบให้ถูกด้านที่มีไฟ L  กับสวิตช์ว่าปิดสวิตช์แล้วต้องไม่มีไฟขึ้นทั้งหมด
          การต่อปลั๊กไฟก็ควรทำให้มีมาตรฐานถูกต้อง คือ เส้นที่มีไฟเป็นสีดำ ช่างบ้านๆชอบเข้าใจผิด จนวุ่นวาย
          ปลั๊กตัวเมียเรียกว่าซ็อกเก็ต (socket) ถ้าเป็นของที่คุณภาพดีทำด้วยทองเหลือง หนา ใช้ได้นานไม่อ้าออกง่าย ทำให้ไม่สป็าคและร้อน ไฟเดินสะดวก ไม่มาๆดับๆ
          ปลั๊กตัวผู้เรียกว่า ปลั๊ก (plug) มีแบบใช้กับกระแสต่ำ (มักเป็นแบบแบน)และใช้กับกระแสสูง กลมหรือแบนหนา(เช่นเตารีด,เครื่องซักผ้า ฯลฯ) ถ้าต้องเปลี่ยนควรใช้ชนิดเดิม อาจดูตัวเลขการทนกระแสของเดิม ในการเปลี่ยนตัวใหม่ เพื่อความปลอดภัย
          ถ้าปลั๊กหลวม ต้องหยุดใช้ และตรวจสอบทันทีที่ทำได้ เพราะเป็นสาเหตูทำให้ร้อนและเกิดไฟได้
          สายถ้ามีรอยฉีก สายตรงปลั๊กตัวผู้หรือตัวเมียหลวมหรือหลุดออก ไม่ควรใช้งาน
          ถ้าเปียกหรือวางผ่านน้ำ (หน้าฝน) ต้องตรวจรอยแผลที่สายให้ดีว่าไม่มี เพราะอาจโดนของมีคมหรือทับตอนไม่โดนฝน ก็เลยไฟไม่ดูด
          ถ้าใช้นอกห้องควรเป็นแบบฉนวนสองชั้น เพราะมีโอกาสที่จะโดนบาดถึงเส้นโลหะได้ยากกว่า
          ทุกบ้านควรมีไขควงวัดไฟที่ไว้ใจได้อย่างน้อยหนึ่งอัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่