ทีวีของบทหารสื่อสาร
วางเมื่อ เวลา ประมาณ ๑๖.๐๐ เศษ
แต่ไม่สำเร็จครับ ขออภัย เดี๋ยวมาลองใหม่ครับ.
ทีวีของทหารสื่อสาร
ในขณะที่กิจการโทรทัศน์ไทย ได้ดำเนินมาครบห้าสิบปี ใน พ.ศ.๒๕๔๘ และมีบริษัทยักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กที่ผลิตรายการต่าง ๆ นานา ออกมาสู่ประชาชนผู้ชม มากมายจนจำชื่อได้ไม่ครบถ้วนนั้น คงไม่มีใครรู้จักหรือจำ คณะ อ.ถ.บ.ผู้ผลิตรายการละครป้อนสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๗ ขาวดำ ได้ อย่างแน่นอน
ในสมัยที่โทรทัศน์ยังมีเพียงสองสีคือขาวดำนั้น ช่อง ๗ หรือสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ได้ก่อกำเนิดขึ้นที่สนามเป้า ริมถนนพหลโยธิน เป็นเพียงสถานีทดลองออกอากาศสัปดาห์ละสามวัน เท่านั้น ต่อมาจึงมีการปรับปรุงกิจการให้สามารถออกอากาศได้ดีขึ้นทั้งคุณภาพและปริมาณ
ในหนังสือที่ระลึกวันสถาปนาสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ ครบรอบ ๔๐ ปี ได้เอ่ยถึงท่านที่มีส่วนในการปรับปรุงครั้งนั้นไว้ว่า
ในสมัยก่อตั้งนั้น กองทัพบกได้เชิญท่าน พลตรี หม่อมเจ้า มุรธาภิเศก โสณกุล อดีตรองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร มาร่วมในคณะกรรมการดำเนินการกิจการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดยมี พันเอก การุณ เก่งระดมยิง หัวหน้ากองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร รับหน้าที่ทางด้านเทคนิค ตั้งแต่ติดตั้งเครื่องส่งจนเปิดสถานีเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๑ และดูแลการออกอากาศทั้งหมดแต่ผู้เดียว
พันเอก การุณ เก่งระดมยิง ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการเป็นโฆษกเสียงเสน่ห์ ของสถานีวิทยุกระจายเสียง จส. ได้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกอากาศ ของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๗ (ขาวดำ) แต่ผู้เดียว และได้นำ คุณอรชร ปาณะโตษะ ดาวดวงเด่นจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มาเป็นโฆษกหญิงคนแรกของสถานี ซึ่งต่อมาอีกสามสิบปี เธอก็คือ พันเอกหญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์
ถึง พ.ศ.๒๕๐๒ พลจัตวา สุภชัย สุรวรรธนะ รองเจ้ากรมการทหารสื่อสารในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๗ พันเอก การุณ เก่งระดมยิง จึงเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิคเพียงตำแหน่งเดียว และให้ พันเอก ถาวร ช่วยประสิทธิ์ ผู้ช่วย ผู้บัญชาการ โรงเรียนทหารสื่อสาร ศูนย์การทหารสื่อสาร เป็นหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ท่านผู้นี้ได้เริ่มปรับปรุงห้องส่ง แสง เสียง ฉาก และเชิญผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านภาพยนตร์ และละคร รวมทั้งศิลปินที่มีชื่อเสียง มาร่วมมือกันจัดรายการสาระและบันเทิง ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จนทำให้สถานีมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้ชม ทัดเทียมกับสถานี ไทยโทรทัศน์ ช่อง ๔ ซึ่งได้ดำเนินกิจการมาก่อนถึง ๓ ปี
บุคคลที่ได้ช่วยงานด้านจัดรายการเป็นอย่างมากคือ พันตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ประจำกองการภาพ กรมการทหารสื่อสาร ได้ทรงร่วมงานกับหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ในการปรับปรุงครั้งนี้ อย่างเต็มที่ โดยที่ทรงเป็นผู้ชำนาญการนิพนธ์ บทละครและภาพยนตร์ ซึ่งได้สร้างผลงานอันมีชื่อเสียงไว้มากมาย ท่านได้ทรงเล่าเรื่องจากความทรงจำไว้ในหนังสือที่ระลึก ททบ.ครบรอบ ๓๔ ปี ว่า
วันหนึ่ง พ.อ.ม.จ.มุรธาภิเศก รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร ทรงเรียกข้าพเจ้าไปพบ ขณะที่ข้าพเจ้ารับราชการกองการภาพ กรมการทหารสื่อสาร มีรับสั่งว่า ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนตัวผู้จัดรายการสถานี โทรทัศน์ ช่อง ๗ (ขาวดำ) จาก พ.อ.การุณ เก่งระดมยิง เป็น พ.อ.ถาวร ช่วยประสิทธิ์ เนื่องจาก พ.อ.ถาวร เป็นนายทหารมาตรฐานของกรมการทหารสื่อสาร คงจะไม่มีประสบการณ์ในด้านการบันเทิง จึงอยากให้ข้าพเจ้าไปช่วยรายการที่สถานีโทรทัศน์ ช่อง ๗ (ขาวดำ)
ข้าพเจ้าได้ไปพบ พ.อ.ถาวร ตามคำสั่ง คุณถาวรมองหน้าข้าพเจ้าแล้วบอกกล่าวว่า ขณะนี้ทางสถานีฯกำลังต้องการปรับปรุงรายการ ที่ดูยังล้าหลังอยู่ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ สถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ในครั้งนั้น มีอยู่สองสถานีคือ สถานีโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง ๔ และของเรา สถานีทดลองของทหารบกช่อง ๗ (ขาวดำ) ว่าข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างไร ที่จะปรับปรุงให้ดีทัดเทียมเขา
มองตามสถานการณ์ สถานีของเรายังด้อยกว่าเขามาก ประการแรกสถานีกองทัพบกยังอยู่ในฐานะทดลอง ได้รับงบประมาณที่เรียกว่าปัดเศษ ส่วนสถานีของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นสถานีมาตรฐานมี งบประมาณเป็นที่แน่นอน จึงสามารถใช้เงินจ้างเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะฝ่ายจัดรายการ ได้อย่างไม่จำกัด ฝ่ายของ กองทัพบกใช้เจ้าพนักงานที่เป็นทหาร ส่วนใหญ่เป็นนายทหารชั้นประทวน ผิดกันไกลกับชองเขาที่มีสาว ๆ หน้าแฉล้มอย่าง อารีย์ นักดนตรี ซึ่งมีความงามลือเลื่องเป็นโฆษก ในขณะของเรามีแต่โฆษกชาย ที่จัดว่าเป็นเอกคือ พ.ต.บัลลังก์ ขมะสุนทร ซึ่งยืมตัวมาจากกรมแผนที่ทหารบก
คณะบริหารของ พ.อ.ถาวร มีอยู่สามคนด้วยกัน คือคุณถาวรหนึ่ง คุณบัลลังก์เป็นสอง และข้าพเจ้าเป็นสาม เราแบ่งหน้าที่กันทำ คือคุณถาวรเป็นหัวหน้าบริหารงาน ควบคุมรายการมโนสาเร่ เช่นรายการสัมมนานักสืบ ฯลฯ ส่วนคุณบัลลังก์ควบคุมรายการข่าว และเป็นโฆษกประจำสถานี ส่วนข้าพเจ้านั้นได้รับหน้าที่ควบคุมรายการบันเทิง อันเป็นเรื่องใหญ่น่าหนักใจ เพราะรายการบันเทิงเป็นรายการใหญ่ ที่จะต้องสร้างความนิยมให้กับสถานี
ตามปกติในสมัยนั้น แต่ละสถานีจะออกอากาศตั้งแต่เวลา หนึ่งหรือสองทุ่ม โดยมีรายการข่าว รายการสารคดี ฯลฯ ปิดท้ายด้วยรายการใหญ่ คือรายการละครซึ่งแสดงสด ๆ บนเวทีในห้องถ่าย สมัยนั้นยังไม่มีการอัดเทปล่วงหน้า หากไม่มีละครก็ใช้ภาพยนตร์แทน
การจัดรายการละครต้องลงทุนลงแรงสูงเพื่อล่อตาคนดู โดยเฉพาะบริษัทการค้าที่อุปถัมภ์ รายการ พูดสั้น ๆ ก็คือการให้เงินเพื่อสถานีจะทรงชีวิตอยู่ได้ สถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ รุดหน้าสถานีกองทัพบก แทบมองไม่เห็นหลัง ประการแรกเขามีโฆษกหน้าแฉล้มหลายคน แวดล้อมผู้จัดรายการ(คุณจำนง รังสิกุล) ส่วนของเรานอกจากโฆษกเอกคุณบัลลังก์ เราก็มีแต่นายสิบสาวเช่น คุณรำไพ ปรีเปรม และคนอื่นอีก
วันหนึ่งคุณถาวรหัวหน้าฝ่ายจัดรายการก็ประกาศลั่น...จะลั่นกลองรบ โดยจัดรายการสุดท้าย(ละคร)ให้ดัง โดยมอบหน้าที่ให้ข้าพเจ้าจัดละครใหญ่ ที่ไม่ต้องใช้เงินมากนักสักเรื่อง เอาให้ดังทีเดียว เป็นเรื่องหนักใจข้าพเจ้าไม่ใช่น้อย เพราะการจัดละครใหญ่ จำเป็นต้องมีเงินใหญ่ด้วย ข้าพเจ้าคิดไปคิดมา เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาก็ลงมือเขียนละคร(ใหญ่) ขึ้นเรื่องหนึ่งโดยอาศัยเรื่องของ ยาขอบ ชื่อ เป็นไทยต้องสู้ ชื่อเหมาะดี แต่ฐานะของเราไม่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อคุณถาวรประกาศลั่นกลองรบ ข้าพเจ้าก็จะต้องเป็นคนตีกลองให้ดัง
เรื่องนี้ต้องใช้คนแสดงมากนับเป็นสิบ ได้มอบบทนางเอกสาวจีนให้ สุพรรณ บูรณพิมพ์ ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นนางเอกในเรื่อง และไปชวน ประกอบ ไชยพิพัฒน์ ตัวพระรามชื่อดัง(สมัยนั้น) มาเป็นพระเอก ส่วนตัวประกอบอื่น ๆ เลือกคัดมาจากพวกเราในสถานีเช่น ศรีนวล แก้วบัวสาย นักพากย์ประจำสถานี รำไพ ปรีเปรม คนสวย(ที่สุดของเรา) เป็นน้องสาวนางเอก ส่วนตัวละครอื่น ๆ เก็บตกเอาจากนายทหารนายสิบในสถานี (เพราะไม่มีเงินจะจ้างตัวประกอบอาชีพ) เรื่องเครื่องแต่งกายก็เป็นปัญหา เพราะละครเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคที่คนไทยยังอยู่น่านเจ้าติดกับเมืองจีน การแต่งกายเต็มไปด้วนสีสรรค์ เคราะห์ดีอีกที่เจ้าของงิ้วคณะหนึ่ง ที่เป็นเพื่อนรักใคร่ของข้าพเจ้า รับอุปถัมภ์เครื่องแต่งกาย(งิ้ว)ทั้งหมด และยังให้คนมาช่วยแต่งกาย แต่งหน้า ตัวละครให้เป็นงิ้วอีกด้วย
การฝึกซ้อมทำกันอย่างเคร่งเครียด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างหน้าใหม่หมด ละครในคืนนั้นต้องระดมสรรพกำลัง ไม่ว่าจะเป็นนายทหาร นายสิบ แม้แต่ภารโรง ก็ต้องเข้าฉากเป็นตัวประกอบ ผู้ที่เข้ามาติดต่อสถานีในคืนนั้นต้องแปลกใจเป็นอันมาก เพราะอยู่ ๆ ก็พบนายทหารเวร นายสิบเวร กลายสภาพเป็นตัวงิ้วแทนเครื่องแบบ นับว่าสนุกดี
หลังจากความสำเร็จในละครเรื่อง เป็นไทยต้องสู้ แล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องรับภาระอันหนักโดยมีหน้าที่ต้องเขียนเรื่อง และจัดละครรายการสุดท้าย เดือนละเรื่องสองเรื่องเป็นประจำ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๗ (ขาวดำ) ก็ลืมหน้าอ้าปาก ต่อสู้กับสถานีโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง ๔ ได้
ท่านได้เล่าว่ามีละครอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งได้เชิญ พ.อ.ถาวร ช่วยประสิทธิ์ กับ พ.ต.บัลลังก์ ขมะสุนทร เป็นผู้แสดงเอก ท่านทั้งสองเกี่ยงว่า
เมื่อข้าพเจ้าเกณฑ์พวกท่านแสดง ทำไมข้าพเจ้าจึงไม่แสดงเสียเอง ? ข้าพเจ้าจึงต้องเข้าร่วมแสดง แต่ไม่ได้เป็นนายพล หากเป็นพลทหารให้ชื่อว่า พลทหารขาว ทหารคนใช้ของท่านนายพล นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา คณะละคร อ.ถ.บ. (อนุสร, ถาวร, บัลลังก์) ก็เกิดขึ้นและเป็นเจ้าของรายการละครที่ข้าพเจ้าจัดขึ้น
ท่านยังจำได้ว่าบทละครที่ท่านเขียนให้แสดงในสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๗ (ขาวดำ) รวมทั้งสิ้นถึง ๒๔ เรื่อง
คุณลืมตอบคำถามที่ * จำเป็นต้องตอบ
นิทานขาวสวน ๓๐ มี.ค.๕๖
วางเมื่อ เวลา ประมาณ ๑๖.๐๐ เศษ
แต่ไม่สำเร็จครับ ขออภัย เดี๋ยวมาลองใหม่ครับ.
ทีวีของทหารสื่อสาร
ในขณะที่กิจการโทรทัศน์ไทย ได้ดำเนินมาครบห้าสิบปี ใน พ.ศ.๒๕๔๘ และมีบริษัทยักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กที่ผลิตรายการต่าง ๆ นานา ออกมาสู่ประชาชนผู้ชม มากมายจนจำชื่อได้ไม่ครบถ้วนนั้น คงไม่มีใครรู้จักหรือจำ คณะ อ.ถ.บ.ผู้ผลิตรายการละครป้อนสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๗ ขาวดำ ได้ อย่างแน่นอน
ในสมัยที่โทรทัศน์ยังมีเพียงสองสีคือขาวดำนั้น ช่อง ๗ หรือสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ได้ก่อกำเนิดขึ้นที่สนามเป้า ริมถนนพหลโยธิน เป็นเพียงสถานีทดลองออกอากาศสัปดาห์ละสามวัน เท่านั้น ต่อมาจึงมีการปรับปรุงกิจการให้สามารถออกอากาศได้ดีขึ้นทั้งคุณภาพและปริมาณ
ในหนังสือที่ระลึกวันสถาปนาสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ ครบรอบ ๔๐ ปี ได้เอ่ยถึงท่านที่มีส่วนในการปรับปรุงครั้งนั้นไว้ว่า
ในสมัยก่อตั้งนั้น กองทัพบกได้เชิญท่าน พลตรี หม่อมเจ้า มุรธาภิเศก โสณกุล อดีตรองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร มาร่วมในคณะกรรมการดำเนินการกิจการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดยมี พันเอก การุณ เก่งระดมยิง หัวหน้ากองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร รับหน้าที่ทางด้านเทคนิค ตั้งแต่ติดตั้งเครื่องส่งจนเปิดสถานีเป็นปฐมฤกษ์เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๑ และดูแลการออกอากาศทั้งหมดแต่ผู้เดียว
พันเอก การุณ เก่งระดมยิง ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการเป็นโฆษกเสียงเสน่ห์ ของสถานีวิทยุกระจายเสียง จส. ได้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการออกอากาศ ของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๗ (ขาวดำ) แต่ผู้เดียว และได้นำ คุณอรชร ปาณะโตษะ ดาวดวงเด่นจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มาเป็นโฆษกหญิงคนแรกของสถานี ซึ่งต่อมาอีกสามสิบปี เธอก็คือ พันเอกหญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์
ถึง พ.ศ.๒๕๐๒ พลจัตวา สุภชัย สุรวรรธนะ รองเจ้ากรมการทหารสื่อสารในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๗ พันเอก การุณ เก่งระดมยิง จึงเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิคเพียงตำแหน่งเดียว และให้ พันเอก ถาวร ช่วยประสิทธิ์ ผู้ช่วย ผู้บัญชาการ โรงเรียนทหารสื่อสาร ศูนย์การทหารสื่อสาร เป็นหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ท่านผู้นี้ได้เริ่มปรับปรุงห้องส่ง แสง เสียง ฉาก และเชิญผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านภาพยนตร์ และละคร รวมทั้งศิลปินที่มีชื่อเสียง มาร่วมมือกันจัดรายการสาระและบันเทิง ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง จนทำให้สถานีมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้ชม ทัดเทียมกับสถานี ไทยโทรทัศน์ ช่อง ๔ ซึ่งได้ดำเนินกิจการมาก่อนถึง ๓ ปี
บุคคลที่ได้ช่วยงานด้านจัดรายการเป็นอย่างมากคือ พันตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ประจำกองการภาพ กรมการทหารสื่อสาร ได้ทรงร่วมงานกับหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ในการปรับปรุงครั้งนี้ อย่างเต็มที่ โดยที่ทรงเป็นผู้ชำนาญการนิพนธ์ บทละครและภาพยนตร์ ซึ่งได้สร้างผลงานอันมีชื่อเสียงไว้มากมาย ท่านได้ทรงเล่าเรื่องจากความทรงจำไว้ในหนังสือที่ระลึก ททบ.ครบรอบ ๓๔ ปี ว่า
วันหนึ่ง พ.อ.ม.จ.มุรธาภิเศก รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร ทรงเรียกข้าพเจ้าไปพบ ขณะที่ข้าพเจ้ารับราชการกองการภาพ กรมการทหารสื่อสาร มีรับสั่งว่า ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนตัวผู้จัดรายการสถานี โทรทัศน์ ช่อง ๗ (ขาวดำ) จาก พ.อ.การุณ เก่งระดมยิง เป็น พ.อ.ถาวร ช่วยประสิทธิ์ เนื่องจาก พ.อ.ถาวร เป็นนายทหารมาตรฐานของกรมการทหารสื่อสาร คงจะไม่มีประสบการณ์ในด้านการบันเทิง จึงอยากให้ข้าพเจ้าไปช่วยรายการที่สถานีโทรทัศน์ ช่อง ๗ (ขาวดำ)
ข้าพเจ้าได้ไปพบ พ.อ.ถาวร ตามคำสั่ง คุณถาวรมองหน้าข้าพเจ้าแล้วบอกกล่าวว่า ขณะนี้ทางสถานีฯกำลังต้องการปรับปรุงรายการ ที่ดูยังล้าหลังอยู่ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ สถานีโทรทัศน์ที่มีอยู่ในครั้งนั้น มีอยู่สองสถานีคือ สถานีโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง ๔ และของเรา สถานีทดลองของทหารบกช่อง ๗ (ขาวดำ) ว่าข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างไร ที่จะปรับปรุงให้ดีทัดเทียมเขา
มองตามสถานการณ์ สถานีของเรายังด้อยกว่าเขามาก ประการแรกสถานีกองทัพบกยังอยู่ในฐานะทดลอง ได้รับงบประมาณที่เรียกว่าปัดเศษ ส่วนสถานีของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นสถานีมาตรฐานมี งบประมาณเป็นที่แน่นอน จึงสามารถใช้เงินจ้างเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะฝ่ายจัดรายการ ได้อย่างไม่จำกัด ฝ่ายของ กองทัพบกใช้เจ้าพนักงานที่เป็นทหาร ส่วนใหญ่เป็นนายทหารชั้นประทวน ผิดกันไกลกับชองเขาที่มีสาว ๆ หน้าแฉล้มอย่าง อารีย์ นักดนตรี ซึ่งมีความงามลือเลื่องเป็นโฆษก ในขณะของเรามีแต่โฆษกชาย ที่จัดว่าเป็นเอกคือ พ.ต.บัลลังก์ ขมะสุนทร ซึ่งยืมตัวมาจากกรมแผนที่ทหารบก
คณะบริหารของ พ.อ.ถาวร มีอยู่สามคนด้วยกัน คือคุณถาวรหนึ่ง คุณบัลลังก์เป็นสอง และข้าพเจ้าเป็นสาม เราแบ่งหน้าที่กันทำ คือคุณถาวรเป็นหัวหน้าบริหารงาน ควบคุมรายการมโนสาเร่ เช่นรายการสัมมนานักสืบ ฯลฯ ส่วนคุณบัลลังก์ควบคุมรายการข่าว และเป็นโฆษกประจำสถานี ส่วนข้าพเจ้านั้นได้รับหน้าที่ควบคุมรายการบันเทิง อันเป็นเรื่องใหญ่น่าหนักใจ เพราะรายการบันเทิงเป็นรายการใหญ่ ที่จะต้องสร้างความนิยมให้กับสถานี
ตามปกติในสมัยนั้น แต่ละสถานีจะออกอากาศตั้งแต่เวลา หนึ่งหรือสองทุ่ม โดยมีรายการข่าว รายการสารคดี ฯลฯ ปิดท้ายด้วยรายการใหญ่ คือรายการละครซึ่งแสดงสด ๆ บนเวทีในห้องถ่าย สมัยนั้นยังไม่มีการอัดเทปล่วงหน้า หากไม่มีละครก็ใช้ภาพยนตร์แทน
การจัดรายการละครต้องลงทุนลงแรงสูงเพื่อล่อตาคนดู โดยเฉพาะบริษัทการค้าที่อุปถัมภ์ รายการ พูดสั้น ๆ ก็คือการให้เงินเพื่อสถานีจะทรงชีวิตอยู่ได้ สถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ รุดหน้าสถานีกองทัพบก แทบมองไม่เห็นหลัง ประการแรกเขามีโฆษกหน้าแฉล้มหลายคน แวดล้อมผู้จัดรายการ(คุณจำนง รังสิกุล) ส่วนของเรานอกจากโฆษกเอกคุณบัลลังก์ เราก็มีแต่นายสิบสาวเช่น คุณรำไพ ปรีเปรม และคนอื่นอีก
วันหนึ่งคุณถาวรหัวหน้าฝ่ายจัดรายการก็ประกาศลั่น...จะลั่นกลองรบ โดยจัดรายการสุดท้าย(ละคร)ให้ดัง โดยมอบหน้าที่ให้ข้าพเจ้าจัดละครใหญ่ ที่ไม่ต้องใช้เงินมากนักสักเรื่อง เอาให้ดังทีเดียว เป็นเรื่องหนักใจข้าพเจ้าไม่ใช่น้อย เพราะการจัดละครใหญ่ จำเป็นต้องมีเงินใหญ่ด้วย ข้าพเจ้าคิดไปคิดมา เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาก็ลงมือเขียนละคร(ใหญ่) ขึ้นเรื่องหนึ่งโดยอาศัยเรื่องของ ยาขอบ ชื่อ เป็นไทยต้องสู้ ชื่อเหมาะดี แต่ฐานะของเราไม่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อคุณถาวรประกาศลั่นกลองรบ ข้าพเจ้าก็จะต้องเป็นคนตีกลองให้ดัง
เรื่องนี้ต้องใช้คนแสดงมากนับเป็นสิบ ได้มอบบทนางเอกสาวจีนให้ สุพรรณ บูรณพิมพ์ ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นนางเอกในเรื่อง และไปชวน ประกอบ ไชยพิพัฒน์ ตัวพระรามชื่อดัง(สมัยนั้น) มาเป็นพระเอก ส่วนตัวประกอบอื่น ๆ เลือกคัดมาจากพวกเราในสถานีเช่น ศรีนวล แก้วบัวสาย นักพากย์ประจำสถานี รำไพ ปรีเปรม คนสวย(ที่สุดของเรา) เป็นน้องสาวนางเอก ส่วนตัวละครอื่น ๆ เก็บตกเอาจากนายทหารนายสิบในสถานี (เพราะไม่มีเงินจะจ้างตัวประกอบอาชีพ) เรื่องเครื่องแต่งกายก็เป็นปัญหา เพราะละครเรื่องนี้เป็นเรื่องในยุคที่คนไทยยังอยู่น่านเจ้าติดกับเมืองจีน การแต่งกายเต็มไปด้วนสีสรรค์ เคราะห์ดีอีกที่เจ้าของงิ้วคณะหนึ่ง ที่เป็นเพื่อนรักใคร่ของข้าพเจ้า รับอุปถัมภ์เครื่องแต่งกาย(งิ้ว)ทั้งหมด และยังให้คนมาช่วยแต่งกาย แต่งหน้า ตัวละครให้เป็นงิ้วอีกด้วย
การฝึกซ้อมทำกันอย่างเคร่งเครียด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างหน้าใหม่หมด ละครในคืนนั้นต้องระดมสรรพกำลัง ไม่ว่าจะเป็นนายทหาร นายสิบ แม้แต่ภารโรง ก็ต้องเข้าฉากเป็นตัวประกอบ ผู้ที่เข้ามาติดต่อสถานีในคืนนั้นต้องแปลกใจเป็นอันมาก เพราะอยู่ ๆ ก็พบนายทหารเวร นายสิบเวร กลายสภาพเป็นตัวงิ้วแทนเครื่องแบบ นับว่าสนุกดี
หลังจากความสำเร็จในละครเรื่อง เป็นไทยต้องสู้ แล้ว ข้าพเจ้าก็ต้องรับภาระอันหนักโดยมีหน้าที่ต้องเขียนเรื่อง และจัดละครรายการสุดท้าย เดือนละเรื่องสองเรื่องเป็นประจำ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๗ (ขาวดำ) ก็ลืมหน้าอ้าปาก ต่อสู้กับสถานีโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ช่อง ๔ ได้
ท่านได้เล่าว่ามีละครอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งได้เชิญ พ.อ.ถาวร ช่วยประสิทธิ์ กับ พ.ต.บัลลังก์ ขมะสุนทร เป็นผู้แสดงเอก ท่านทั้งสองเกี่ยงว่า
เมื่อข้าพเจ้าเกณฑ์พวกท่านแสดง ทำไมข้าพเจ้าจึงไม่แสดงเสียเอง ? ข้าพเจ้าจึงต้องเข้าร่วมแสดง แต่ไม่ได้เป็นนายพล หากเป็นพลทหารให้ชื่อว่า พลทหารขาว ทหารคนใช้ของท่านนายพล นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา คณะละคร อ.ถ.บ. (อนุสร, ถาวร, บัลลังก์) ก็เกิดขึ้นและเป็นเจ้าของรายการละครที่ข้าพเจ้าจัดขึ้น
ท่านยังจำได้ว่าบทละครที่ท่านเขียนให้แสดงในสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๗ (ขาวดำ) รวมทั้งสิ้นถึง ๒๔ เรื่อง