เลี้ยงจิ้งหรีดแปรรูปทำ 'ข้าวเกรียบ' หนึ่งเดียวที่เทศบาล 'ปลายพระยา' : โดย...ดลมนัส กาเจ
หลังจากเทศบาลตำบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยง เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรแนววิถีพอเพียง ซึ่งได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) นั้น พบว่า อาชีพการเลี้ยงจี้งหรีดเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากสร้างรายได้ดี มีตลาดแน่นอน ล่าสุดเทศบาลตำบลปลายพระยากำลังนำร่องแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ "ข้าวเกรียบจิ้งหรีด" ขายถุงละ 10 บาท ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี
จเร ปานจีน นายกเทศมนตรีตำบลปลายพระยา บอกว่า เทศบาลปลายพระยาเป็นเทศบาลเล็กๆ ที่มีงบประมาณไม่มากนัก จึงมองว่าหากนำงบเหล่านี้นำไปพัฒนาสร้างถนนไม่เกิดผลดีต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา ซึ่งทุกวันทั้งปาล์มน้ำมันและยางพาราไม่แน่นอน จึงหาแนวทางสร้างอาชีพเสริมให้ชาวบ้าน ด้วยโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยง เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรแนววิถีพอเพียง เน้นให้เกษตรกรปลูกพืชผักปลอดสารพิษและเลี้ยงสัตว์ที่ที่ตลาดต้องการ เนื่องจากแต่ละอาชีพจะหาตลาดก่อน อย่างการเลี้ยงจิ้งหรีดก็ได้ศึกษาตลาดว่า เฉพาะในพื้นที่มีความต้องการวันละ 500 กก. จึงมีการส่งเสริมเลี้ยงจิ้งหรีดขึ้นมา
ด้าน พิชัย เพ็งนาด นักพัฒนาชุมชนประจำเทศบาลตำบลปลายพระยา ผู้รับผิดชอบโครงการเลี้ยงจิ้งหรีด บอกว่า จิ้งหรีดที่เลี้ยงในศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรของเทศบาลปลายพระยาเป็นจิ้งหรีดพันธุ์ทองคำ ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองเลี้ยงง่าย โดยเลี้ยงครั้งแรกนำจิ้งหรีดตัวอ่อน 2 ถาด ไปเลี้ยงในลังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยแผ่นกระเบื้องเรียบขนาด 60x120 ซม. ปัจจุบันขยายการเพิ่มเป็น 20 ลังแล้ว ส่วนของจิ้งหรีดเหล่านี้จับให้ลูกค้าในราคา กก.ละ 200 บาท อีกส่วนหนึ่งเพื่อขยายพันธุ์ให้เกษตรกร ขณะนี้มีการเลี้ยงกระจัดกระจายตามหมู่บ้านต่างๆ กว่า 20 ราย
การเลี้ยงจิ้งหรีดนั้น หลังจากเลี้ยงได้ 45 วัน สังเกตจิ้งหรีดจะมีเสียงร้องออกมา ซึ่งเป็นช่วงที่จิ้งหรีดกำลังผสมพันธุ์ จึงนำถาดที่ใส่ขุยมะพร้าวไปวางไว้หลังละ 2-4 ถาด ทิ้งไว้ 2 คืนจิ้งหรีดจะวางไข่ จากนั้นยกถาดออกมาเลี้ยงในลังใหม่ที่เตรียมไว้ ส่วนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ก็จับขาย จิ้งหรีดที่เลี้ยงจะให้ใบตำลึง ใบมะละกอ ผักบุ้งเป็นอาหาร และจะมีอาหารลูกไก่สำเร็จรูปเป็นอาหารเสริม พอครบ 45 วันก็จับขายได้แล้ว ภายใน 1 ลังหากเลี้ยง 2 ถาด จะได้ 2 กก. แต่ปัจจุบันมีการขยายลังขนาดใหญ่ขึ้นนาด 120x120 ซม. จะได้จิ้งหรีดลังละ 5 กก.
"ที่ผ่านมาเราบริโภคจิ้งหรีดทอดหรือคั่ว ถ้าจะให้รสชาติดีขึ้นใส่สมุนไพรด้วย ทั้งใบมะกรูด ใบยี่หร่า เกลือ พริกไทย หรือไม่ก็นำไปทำน้ำพริก ล่าสุดผมคิดสูตรใหม่มาแปรรูปทำเป็นข้าวเกรียบจิ้งหรีด ปรากฏว่ารสชาติดี ให้คนลองชิมทุกคนบอกว่าอร่อย ผมคิดว่าข้าวเกรียบจิ้งหรีดจะมีปลายพระยาแห่งเดียวในประเทศไทย" พิชัย กล่าว
ส่วน ศันสนีย์ เพ็งนาด เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไปเทศบาลปลายพระยา บอกถึงวิธีการแปรรูปจิ้งหรีดทำเป็นข้าวเกรียบว่า เริ่มจากนำจิ้งหรีดที่มีอายุ 45 วันมาลวกน้ำร้อนก่อน แล้วมาบดให้ละเอียดนำไปผสมกับส่วนผสมอย่างอื่น คือ จิ้งหรีด 500 กรัม แป้งสาลี 500 กรัม แป้งมัน 1 กก. เกลือป่น 3 ช้อนโต๊ะ พริกไทยสด 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล 1 ช้อน มาบดละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาปั้นเป็นรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. เสร็จแล้วไปนึ่งอีก 1 ชั่วโมง ยกลงปล่อยให้เย็น นำมาฝานให้บางๆ จากนำไปตากให้แห้ง จึงสามารถนำมาทอด บรรจุใส่ถุงพลาสติกราว 12-15 ชิ้นขายถุงละ 10 บาท
การเลี้ยงจิ้งหรีดก็นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะขายเป็นตัวแล้ว ยังสามารถแปรรูปทำเป็นอาหารได้อีกหลายอย่าง
เครดิต จาก คมชัดลึก
เลี้ยงจิ้งหรีดแปรรูปทำ'ข้าวเกรียบ'
หลังจากเทศบาลตำบลปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยง เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรแนววิถีพอเพียง ซึ่งได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) นั้น พบว่า อาชีพการเลี้ยงจี้งหรีดเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกร เนื่องจากสร้างรายได้ดี มีตลาดแน่นอน ล่าสุดเทศบาลตำบลปลายพระยากำลังนำร่องแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ "ข้าวเกรียบจิ้งหรีด" ขายถุงละ 10 บาท ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี
จเร ปานจีน นายกเทศมนตรีตำบลปลายพระยา บอกว่า เทศบาลปลายพระยาเป็นเทศบาลเล็กๆ ที่มีงบประมาณไม่มากนัก จึงมองว่าหากนำงบเหล่านี้นำไปพัฒนาสร้างถนนไม่เกิดผลดีต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา ซึ่งทุกวันทั้งปาล์มน้ำมันและยางพาราไม่แน่นอน จึงหาแนวทางสร้างอาชีพเสริมให้ชาวบ้าน ด้วยโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มทักษะการประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยง เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรแนววิถีพอเพียง เน้นให้เกษตรกรปลูกพืชผักปลอดสารพิษและเลี้ยงสัตว์ที่ที่ตลาดต้องการ เนื่องจากแต่ละอาชีพจะหาตลาดก่อน อย่างการเลี้ยงจิ้งหรีดก็ได้ศึกษาตลาดว่า เฉพาะในพื้นที่มีความต้องการวันละ 500 กก. จึงมีการส่งเสริมเลี้ยงจิ้งหรีดขึ้นมา
ด้าน พิชัย เพ็งนาด นักพัฒนาชุมชนประจำเทศบาลตำบลปลายพระยา ผู้รับผิดชอบโครงการเลี้ยงจิ้งหรีด บอกว่า จิ้งหรีดที่เลี้ยงในศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรของเทศบาลปลายพระยาเป็นจิ้งหรีดพันธุ์ทองคำ ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองเลี้ยงง่าย โดยเลี้ยงครั้งแรกนำจิ้งหรีดตัวอ่อน 2 ถาด ไปเลี้ยงในลังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยแผ่นกระเบื้องเรียบขนาด 60x120 ซม. ปัจจุบันขยายการเพิ่มเป็น 20 ลังแล้ว ส่วนของจิ้งหรีดเหล่านี้จับให้ลูกค้าในราคา กก.ละ 200 บาท อีกส่วนหนึ่งเพื่อขยายพันธุ์ให้เกษตรกร ขณะนี้มีการเลี้ยงกระจัดกระจายตามหมู่บ้านต่างๆ กว่า 20 ราย
การเลี้ยงจิ้งหรีดนั้น หลังจากเลี้ยงได้ 45 วัน สังเกตจิ้งหรีดจะมีเสียงร้องออกมา ซึ่งเป็นช่วงที่จิ้งหรีดกำลังผสมพันธุ์ จึงนำถาดที่ใส่ขุยมะพร้าวไปวางไว้หลังละ 2-4 ถาด ทิ้งไว้ 2 คืนจิ้งหรีดจะวางไข่ จากนั้นยกถาดออกมาเลี้ยงในลังใหม่ที่เตรียมไว้ ส่วนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ก็จับขาย จิ้งหรีดที่เลี้ยงจะให้ใบตำลึง ใบมะละกอ ผักบุ้งเป็นอาหาร และจะมีอาหารลูกไก่สำเร็จรูปเป็นอาหารเสริม พอครบ 45 วันก็จับขายได้แล้ว ภายใน 1 ลังหากเลี้ยง 2 ถาด จะได้ 2 กก. แต่ปัจจุบันมีการขยายลังขนาดใหญ่ขึ้นนาด 120x120 ซม. จะได้จิ้งหรีดลังละ 5 กก.
"ที่ผ่านมาเราบริโภคจิ้งหรีดทอดหรือคั่ว ถ้าจะให้รสชาติดีขึ้นใส่สมุนไพรด้วย ทั้งใบมะกรูด ใบยี่หร่า เกลือ พริกไทย หรือไม่ก็นำไปทำน้ำพริก ล่าสุดผมคิดสูตรใหม่มาแปรรูปทำเป็นข้าวเกรียบจิ้งหรีด ปรากฏว่ารสชาติดี ให้คนลองชิมทุกคนบอกว่าอร่อย ผมคิดว่าข้าวเกรียบจิ้งหรีดจะมีปลายพระยาแห่งเดียวในประเทศไทย" พิชัย กล่าว
ส่วน ศันสนีย์ เพ็งนาด เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไปเทศบาลปลายพระยา บอกถึงวิธีการแปรรูปจิ้งหรีดทำเป็นข้าวเกรียบว่า เริ่มจากนำจิ้งหรีดที่มีอายุ 45 วันมาลวกน้ำร้อนก่อน แล้วมาบดให้ละเอียดนำไปผสมกับส่วนผสมอย่างอื่น คือ จิ้งหรีด 500 กรัม แป้งสาลี 500 กรัม แป้งมัน 1 กก. เกลือป่น 3 ช้อนโต๊ะ พริกไทยสด 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล 1 ช้อน มาบดละเอียดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมาปั้นเป็นรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. เสร็จแล้วไปนึ่งอีก 1 ชั่วโมง ยกลงปล่อยให้เย็น นำมาฝานให้บางๆ จากนำไปตากให้แห้ง จึงสามารถนำมาทอด บรรจุใส่ถุงพลาสติกราว 12-15 ชิ้นขายถุงละ 10 บาท
การเลี้ยงจิ้งหรีดก็นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะขายเป็นตัวแล้ว ยังสามารถแปรรูปทำเป็นอาหารได้อีกหลายอย่าง
เครดิต จาก คมชัดลึก