สวัสดีครับ สืบเนื่องจากว่าผมเจอบทความที่เป็นประโยชน์มากๆๆๆ กับคนที่เขียนนิยายอย่างเราๆท่านๆ เพราะเมื่อเราเขียนนิยายแล้วหวังให้มันตีพิมพ์ย่อมต้อง ไม่อยากให้ลูกรักของเราๆท่านๆหลุดลอยไปจากมือ อันเืนื่องจากที่เราไม่รู้กฏหมาย จึงนำมาให้ทุกๆท่านได้อ่านดู
สำคัญนะครับ เพราะผมทราบมาว่าบางท่านไม่ทราบว่าหาก เราไม่ได้ระบุในสัญญาว่าเรากำหนดลิขสิทธ์ไว้กี่ปี สัญญานั้นจะกลายเป็น10ปีโดยอัตโนมัติ และบางทีเราเผลอเซ็นยกให้เขาขาดไปก็มี ซึ่งตรงนี้ผมว่าน่าเป็นห่วง ผมจึงนำบทความนี้มาให้ทุกๆท่านได้ดูกัน
ทั้งหมดมีสามภาคแต่ผมจะนำ รวมมาไว้ในบทความเดียวกัน เพื่อความสะดวก แก่ทุกๆท่าน
หมายเหตุ ผมในบทความ นี้ไม่ใช่ จขกท แต่อย่างใด แต่หมายถึงคุณ ทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ แห่งบอร์ดนักเขียน เด็กดี
**************************************
หนึ่งในคำถามที่เหล่านักเขียนและนักอยากเขียนถามบ่อยที่สุด คือ "สัญญาลิขสิทธิ์หนังสือเป็นอย่างไร" "หนู/ผมจะถูกโกงไหม" วันนี้ผมจะนำโครงสร้างสัญญาลิขสิทธิ์จัดพิมพ์หนังสือมาชำแหละให้เห็นกันจะเลยๆครับ ว่า โดยทั่วไปแล้วจะมีรูปแบบมาตรฐานเช่นไร และผลที่ตามมาหลังจากเราลงปากกาเซ็นไปในสัญญาแล้ว จะมีผลบังคับอย่างไรครับ
ต้นฉบับหนังสือนั้น เมื่อได้สร้างสรรค์ขึ้นแล้วถือว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมอันเกิดขึ้น ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8(1) (2) ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งอันสามารถทำสัญญา โอน เช่า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ได้ตามมาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 เอกเทศสัญญา รวมถึงผูกพันเกี่ยวข้องกับหนี้ที่พึงชำระทุกประการ
พูดง่ายๆคือ ให้ถือเสียว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือของเราเป็นผลึกของความคิดก้อนหนึ่ง ที่มีค่ามีราคา เราจะเอาไปให้ใครใช้ก็ได้ ตามข้อตกลงอันจะเกิดขึ้นตามสัญญานั่นเองครับ
ดังนั้น สัญญาจัดพิมพ์หนังสือที่พบเห็นทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1) สัญญาเช่าลิขสิทธิ์(โดยมากจะเป็นแบบนี้)
2) สัญญาซื้อลิขสิทธิ์(ซื้อขาด) หรือสัญญาจ้างทำของ
ขั้นแรกผมจะแจกแจงโครงสร้างของสัญญาเช่าลิขสิทธิ์ ที่เราพบกันมากที่สุดเสียก่อนนะครับ
1. วันเดือนปีที่ทำสัญญา
เป็นสิ่งที่ดูไม่สำคัญ แต่สำคัญมากหากเกิดคดีความขึ้นครับ เพราะจมีผลต่ออายุความการแจ้งความและฟ้องร้อง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
2. ชื่อเจ้าของผลงานสร้างสรรค์(เจ้าของลิขสิทธิ์) และชื่อผู้เช่าใช้ลิขสิทธิ์
องค์ประกอบสัญญาในเอกเทศสัญญาเช่าทรัพย์ ซึ่งลิขสิทธิ์เองถือเป็นทรัพยสิทธิ (ทรัพย์สินทางปัญญา) ที่รัฐให้การคุ้มครอง ก็คือ ต้องมีคู่สัญญาเสียก่อน ชื่อของคู่สัญญาในที่นี้คือนักเขียนผู้ให้เช่า กับสำนักพิมพ์ผู้เช่าใช้ โดยทั่วไปแล้วจะลงภูมิลำเนาที่อยู่ของทั้งสองฝ่ายไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สะดวกต่อการติดต่อ
3. ชื่อผลงานที่จะทำสัญญา
เป็นส่วนที่กำหนดตัวทรัพย์สินทางปัญญาที่จะทำสัญญากันครับ โดยมากแล้วจะเป็นชื่อหนังสือ/ชื่อเรื่อง ที่ใช้กัน หากสัญญานี้ทำขึ้นก่อนกระบวนการบรรณาธิการจะลงตัว อาจจะใช้ชื่อชั่วคราวที่ยินยอมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ก่อนนั้นหนังสือใช้ชื่อว่า "พิศวาสรักซาตานออนไลน์"
ชื่อชั่วคราว) แต่เมื่อกระบวนการพิมพ์เสร็จ มีหนังสือเล่มอื่นที่ใช้ชื่อเดียวกันหรือคล้ายกันออกวางแผงก่อน ต้องพิมพ์ในชื่อ "ทาสชีคออนไลน์ทะเลทราย" ก็ถือว่าทั้งสองชื่อนั้นเป็นเรื่องเดียวกันนะครับ
4. เงื่อนไขข้อตกลง
ระหว่างสนพ. และนักเขียน อาจมีเงื่อนไขข้อตกลงแตกต่างกันไปในแต่ละที่ ซึ่งสัญญาเปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย เนื่องจากสัญญาลิขสิทธิ์นั้นเป็นสัญญาในทางแพ่ง สัญญาจึงเป็นผลตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ว่าจะแตกต่างจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 150 และ 151
พูดง่ายๆ คือ ถ้าสัญญานั้นไม่มีเจตนาจะไปฉ้อโกงหรือหลอกลวงใคร ไม่ได้จัดพิมพ์สื่อลามกอนาจาร ไม่ได้พิมพ์หนังสือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะตั้งเงื่อนไขอย่างไรก็ได้นั่นเอง
โดยมากแล้วเงื่อนไขข้อตกลง จะมีพื้นฐานอยู่ที่การกำหนดให้สนพ. ใช้ข้อความอันมีลิขสิทธิ์(ต้นฉบับ) นั้นเพื่อการพาณิชย์เพียงผู้เดียว รวมถึงเงื่อนไขการห้ามผู้เขียนนำผลงานของตัวเองออกไปตีพิมพ์เอง ส่วนข้อบังคับอื่นๆ เช่น ห้ามนักเขียนเขียนให้สนพ. อื่นในนามปากกาเดิม, ห้ามนักเขียนเผยแพร่ข้อความในหนังสือ ก็เป็นไปได้ตามแต่จะตกลงกันครับ
ส่วนนี้เองที่เป็นส่วนที่พึงระวังในการทำสัญญานะครับ เพราะเซ็นแกร๊กเดียว คุณจะถูกผูกมัดตามเงื่อนไขในข้อนี้ทั้งหมดทันที ต้องอ่านทำความเข้าใจอย่างละเอียด และหาข้อตกลงร่วมกันถ้าไม่พอใจครับ
5. ระยะเวลาของสัญญา
คือกำหนดเวลาการตกลงให้เช่าใช้ลิขสิทธิ์ครับ ถ้าไม่มีส่วนนี้ เท่ากับคุณโอนกรรมสิทธิ์ให้สนพ. เป็นเวลาสิบปี ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 17 วรรค 3. เพราะฉะนั้นต้องดูให้ดีนะครับว่าในสัญญากำหนดไว้ว่าผู้เขียนจะให้สนพ. เช่าใช้กี่ปี โดยกำหนดวันเริ่มต้นของระยะเวลาให้ชัดเจน เช่น ทันทีที่หนังสือพิมพ์เสร็จ, ในวันที่ทำสัญญา,
โดยมากแล้วสัญญาลิขสิทธิ์จะกำหนดระยะเวลาอยู่ประมาณ 3 ปี โดยมักจะมีเงื่อนไขว่า ถ้าจะนำไปเสนอ สนพ. อื่นต้องแจ้งให้ สนพ. เดิมทราบก่อนสัญญาสิ้นสุด.
บางสนพ. จะมีข้อความมัดมือชกประเภทว่า ถ้าไม่แจ้งเลิกสัญญา จะถือว่าต่อสัญญาด้วยข้อความเดิมอีกครั้ง (โดนไม่จ่ายเงิน) แบบนี้ซวยครับ และสนพ. ไหนกล้าพิมพ์ข้อความแบบนี้ลงไปในสัญญา ผมว่าไม่น่าทำงานด้วยล่ะ
เมื่ออายุสัญญาสิ้นสุดแล้ว ลิขสิทธิ์ก็จะกลับมาเป็นของเราให้เอาไปพิมพ์ที่ใหม่ ไปต้มยำทำแกงอย่างไร หรือจะตกทอดเป็นมรดกให้ลูกหลานญาติพี่น้องก็ได้ครับ
6. จำนวนพิมพ์ ค่าตอบแทนและการชำระเงิน
จุดที่สำคัญที่สุดเลยครับ
ในสัญญาต้องกำหนด
6.1 จำนวนพิมพ์ที่แน่นอน
กี่พันเล่มก็ว่ากันไป ต้องเห็นตัวเลขจำนวนพิมพ์จะๆ แจ้งๆ ถ้าไม่ระบุชัดๆ ถือว่าไม่น่าไว้ใจ
6.2 ค่าตอบแทน
ในอัตราร้อยละคูณจำนวนพิมพ์ หรือร้อยละคูณจำนวนยอดขาย หรือจำนวนเงินเหมาจ่ายเป็นก้อน สำนักพิมพ์ชั้นดีจะจ่ายเป็นร้อยละคูณยอดพิมพ์ ชั้นรองจะจ่ายเป็นประกันยอดพิมพ์ก้อนแรก แล้วบวกยอดขาย ชั้นแย่ คิดเป็นร้อยละคูณยอดขายอย่างเดียว ส่วนสำนักพิมพ์ที่จ่ายเป็นก้อนนั้น ส่วนมากจะเป็นหนังสือรวมบทความหรือคอลัมน์
6.3 ระยะเวลาในการจ่ายเงิน
กี่เดือนหลังวางตลาด, หรือจ่ายทันทีที่ทำสัญญา บางสำนักพิมพ์ให้สามเดือนหลังวางแผง บางสำนักพิมพ์ลากยาวเป็นปี บางสำนักพิมพ์ต้องเช็กยอดขาย(โดยเฉพาะสนพ. ที่คิดเงินตามร้อยละคูณยอดขาย) ตรงนี้เป็นการหมุนเงินของสนพ. ที่รับรู้รายได้หลังจากหนังสือวางแผงไปเป็นรอบบิลของสายส่ง จึงต้องถ่วงเวลาจ่ายเงินนักเขียนไปบ้าง แต่สนพ. ใหญ่ๆ ก็จ่ายเลยทันทีที่ทำสัญญาก็มี
7. ข้อตกลงในกรณีผิดสัญญา
ส่วนข้อตกลงสำคัญที่สุดที่เห็นในทุกสัญญา คือ "นักเขียนสร้างสรรค์ผลงานนี้ขึ้นมาเอง มิได้ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ ในผลงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากเกิดความเสียหายจากการลอกเลียนฯ สนพ.มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาทันที และนักเขียนต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในการละเมิดทั้งหมด"
สรุปคือ ถ้าคุณไปลอกใคร แล้วสนพ. พิมพ์ให้ ถ้าถูกฟ้องมา คุณรับเละไปคนเดียวนั่นเอง
ในส่วนการผิดสัญญาอย่างอื่นๆ ก็เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นตามแต่ที่นักเขียนและสนพ. จะกำหนดขึ้นครับ เช่น การชดเชยค่าเสียหายกรณี สนพ. จ่ายเงินช้า หรือนักเขียนเอาผลงานตัวเองออกเผยแพร่ ขัดกับเงื่อนไขในข้อ 4. นั่นเอง
8. ลายมือชื่อคู่สัญญา
นักเขียนจะลงลายมือชื่อไว้ปิดท้าย พร้อมกับตัวแทนจากสำนักพิมพ์ผู้มีอำนาจเต็มในการลงนาม (โดยมากจะเป็นผู้จัดการ หรือประธานกรรมการ หรือเจ้าของสนพ.)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 537 ว่าด้วยการเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าลิขสิทธิ์นี้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อประกอบด้วย คู่สัญญา (ข้อ 2 และ ข้อ 8) ทรัพย์สิน (ข้อ 3) ระยะเวลาจำกัด(ข้อ 5 แต่สัญญานี้จะถูกตัดใน 10 ปี ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ มาตรา 17 วรรค 3 จึงไม่ต้องมีก็ได้) และค่าตอบแทน (ข้อ 6)
ถ้าขาดข้อใดไปในข้อ (2,3,6,8) ถือว่าสัญญาไม่สมบูรณ์ตามแบบ เป็นโมฆะตามมาตรา 152 และถ้าในสัญญามีเงื่อนไขใดๆ คุณก็ต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นทางสนพ. ก็สามารถบอกเลิกสัญญา หรือฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ เช่นเดียวกับหากทางสนพ. ละเมิดสัญญากับนักเขียนด้วย
อย่างไรก็ตาม อายุความในคดีลิขสิทธิ์ ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน และต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ทราบถึงการละเมิดนั้น รวมถึงต้องฟ้องกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศนะครับ ศาลแพ่งธรรมดาฟ้องไม่ได้นะเออ
ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับนักเขียนทุกท่านครับ
สัญญาลิขสิทธิ์หนังสือเป็นอย่างไร รู้เอาไว้ไม่ถูกโกง
สำคัญนะครับ เพราะผมทราบมาว่าบางท่านไม่ทราบว่าหาก เราไม่ได้ระบุในสัญญาว่าเรากำหนดลิขสิทธ์ไว้กี่ปี สัญญานั้นจะกลายเป็น10ปีโดยอัตโนมัติ และบางทีเราเผลอเซ็นยกให้เขาขาดไปก็มี ซึ่งตรงนี้ผมว่าน่าเป็นห่วง ผมจึงนำบทความนี้มาให้ทุกๆท่านได้ดูกัน
ทั้งหมดมีสามภาคแต่ผมจะนำ รวมมาไว้ในบทความเดียวกัน เพื่อความสะดวก แก่ทุกๆท่าน
หมายเหตุ ผมในบทความ นี้ไม่ใช่ จขกท แต่อย่างใด แต่หมายถึงคุณ ทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ แห่งบอร์ดนักเขียน เด็กดี
**************************************
หนึ่งในคำถามที่เหล่านักเขียนและนักอยากเขียนถามบ่อยที่สุด คือ "สัญญาลิขสิทธิ์หนังสือเป็นอย่างไร" "หนู/ผมจะถูกโกงไหม" วันนี้ผมจะนำโครงสร้างสัญญาลิขสิทธิ์จัดพิมพ์หนังสือมาชำแหละให้เห็นกันจะเลยๆครับ ว่า โดยทั่วไปแล้วจะมีรูปแบบมาตรฐานเช่นไร และผลที่ตามมาหลังจากเราลงปากกาเซ็นไปในสัญญาแล้ว จะมีผลบังคับอย่างไรครับ
ต้นฉบับหนังสือนั้น เมื่อได้สร้างสรรค์ขึ้นแล้วถือว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิในลิขสิทธิ์ของวรรณกรรมอันเกิดขึ้น ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8(1) (2) ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งอันสามารถทำสัญญา โอน เช่า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ ได้ตามมาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 เอกเทศสัญญา รวมถึงผูกพันเกี่ยวข้องกับหนี้ที่พึงชำระทุกประการ
พูดง่ายๆคือ ให้ถือเสียว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือของเราเป็นผลึกของความคิดก้อนหนึ่ง ที่มีค่ามีราคา เราจะเอาไปให้ใครใช้ก็ได้ ตามข้อตกลงอันจะเกิดขึ้นตามสัญญานั่นเองครับ
ดังนั้น สัญญาจัดพิมพ์หนังสือที่พบเห็นทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ
1) สัญญาเช่าลิขสิทธิ์(โดยมากจะเป็นแบบนี้)
2) สัญญาซื้อลิขสิทธิ์(ซื้อขาด) หรือสัญญาจ้างทำของ
ขั้นแรกผมจะแจกแจงโครงสร้างของสัญญาเช่าลิขสิทธิ์ ที่เราพบกันมากที่สุดเสียก่อนนะครับ
1. วันเดือนปีที่ทำสัญญา
เป็นสิ่งที่ดูไม่สำคัญ แต่สำคัญมากหากเกิดคดีความขึ้นครับ เพราะจมีผลต่ออายุความการแจ้งความและฟ้องร้อง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
2. ชื่อเจ้าของผลงานสร้างสรรค์(เจ้าของลิขสิทธิ์) และชื่อผู้เช่าใช้ลิขสิทธิ์
องค์ประกอบสัญญาในเอกเทศสัญญาเช่าทรัพย์ ซึ่งลิขสิทธิ์เองถือเป็นทรัพยสิทธิ (ทรัพย์สินทางปัญญา) ที่รัฐให้การคุ้มครอง ก็คือ ต้องมีคู่สัญญาเสียก่อน ชื่อของคู่สัญญาในที่นี้คือนักเขียนผู้ให้เช่า กับสำนักพิมพ์ผู้เช่าใช้ โดยทั่วไปแล้วจะลงภูมิลำเนาที่อยู่ของทั้งสองฝ่ายไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สะดวกต่อการติดต่อ
3. ชื่อผลงานที่จะทำสัญญา
เป็นส่วนที่กำหนดตัวทรัพย์สินทางปัญญาที่จะทำสัญญากันครับ โดยมากแล้วจะเป็นชื่อหนังสือ/ชื่อเรื่อง ที่ใช้กัน หากสัญญานี้ทำขึ้นก่อนกระบวนการบรรณาธิการจะลงตัว อาจจะใช้ชื่อชั่วคราวที่ยินยอมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ก่อนนั้นหนังสือใช้ชื่อว่า "พิศวาสรักซาตานออนไลน์"ชื่อชั่วคราว) แต่เมื่อกระบวนการพิมพ์เสร็จ มีหนังสือเล่มอื่นที่ใช้ชื่อเดียวกันหรือคล้ายกันออกวางแผงก่อน ต้องพิมพ์ในชื่อ "ทาสชีคออนไลน์ทะเลทราย" ก็ถือว่าทั้งสองชื่อนั้นเป็นเรื่องเดียวกันนะครับ
4. เงื่อนไขข้อตกลง
ระหว่างสนพ. และนักเขียน อาจมีเงื่อนไขข้อตกลงแตกต่างกันไปในแต่ละที่ ซึ่งสัญญาเปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย เนื่องจากสัญญาลิขสิทธิ์นั้นเป็นสัญญาในทางแพ่ง สัญญาจึงเป็นผลตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ว่าจะแตกต่างจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ตาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 150 และ 151
พูดง่ายๆ คือ ถ้าสัญญานั้นไม่มีเจตนาจะไปฉ้อโกงหรือหลอกลวงใคร ไม่ได้จัดพิมพ์สื่อลามกอนาจาร ไม่ได้พิมพ์หนังสือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะตั้งเงื่อนไขอย่างไรก็ได้นั่นเอง
โดยมากแล้วเงื่อนไขข้อตกลง จะมีพื้นฐานอยู่ที่การกำหนดให้สนพ. ใช้ข้อความอันมีลิขสิทธิ์(ต้นฉบับ) นั้นเพื่อการพาณิชย์เพียงผู้เดียว รวมถึงเงื่อนไขการห้ามผู้เขียนนำผลงานของตัวเองออกไปตีพิมพ์เอง ส่วนข้อบังคับอื่นๆ เช่น ห้ามนักเขียนเขียนให้สนพ. อื่นในนามปากกาเดิม, ห้ามนักเขียนเผยแพร่ข้อความในหนังสือ ก็เป็นไปได้ตามแต่จะตกลงกันครับ
ส่วนนี้เองที่เป็นส่วนที่พึงระวังในการทำสัญญานะครับ เพราะเซ็นแกร๊กเดียว คุณจะถูกผูกมัดตามเงื่อนไขในข้อนี้ทั้งหมดทันที ต้องอ่านทำความเข้าใจอย่างละเอียด และหาข้อตกลงร่วมกันถ้าไม่พอใจครับ
5. ระยะเวลาของสัญญา
คือกำหนดเวลาการตกลงให้เช่าใช้ลิขสิทธิ์ครับ ถ้าไม่มีส่วนนี้ เท่ากับคุณโอนกรรมสิทธิ์ให้สนพ. เป็นเวลาสิบปี ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 17 วรรค 3. เพราะฉะนั้นต้องดูให้ดีนะครับว่าในสัญญากำหนดไว้ว่าผู้เขียนจะให้สนพ. เช่าใช้กี่ปี โดยกำหนดวันเริ่มต้นของระยะเวลาให้ชัดเจน เช่น ทันทีที่หนังสือพิมพ์เสร็จ, ในวันที่ทำสัญญา,
โดยมากแล้วสัญญาลิขสิทธิ์จะกำหนดระยะเวลาอยู่ประมาณ 3 ปี โดยมักจะมีเงื่อนไขว่า ถ้าจะนำไปเสนอ สนพ. อื่นต้องแจ้งให้ สนพ. เดิมทราบก่อนสัญญาสิ้นสุด.
บางสนพ. จะมีข้อความมัดมือชกประเภทว่า ถ้าไม่แจ้งเลิกสัญญา จะถือว่าต่อสัญญาด้วยข้อความเดิมอีกครั้ง (โดนไม่จ่ายเงิน) แบบนี้ซวยครับ และสนพ. ไหนกล้าพิมพ์ข้อความแบบนี้ลงไปในสัญญา ผมว่าไม่น่าทำงานด้วยล่ะ
เมื่ออายุสัญญาสิ้นสุดแล้ว ลิขสิทธิ์ก็จะกลับมาเป็นของเราให้เอาไปพิมพ์ที่ใหม่ ไปต้มยำทำแกงอย่างไร หรือจะตกทอดเป็นมรดกให้ลูกหลานญาติพี่น้องก็ได้ครับ
6. จำนวนพิมพ์ ค่าตอบแทนและการชำระเงิน
จุดที่สำคัญที่สุดเลยครับ
ในสัญญาต้องกำหนด
6.1 จำนวนพิมพ์ที่แน่นอน
กี่พันเล่มก็ว่ากันไป ต้องเห็นตัวเลขจำนวนพิมพ์จะๆ แจ้งๆ ถ้าไม่ระบุชัดๆ ถือว่าไม่น่าไว้ใจ
6.2 ค่าตอบแทน
ในอัตราร้อยละคูณจำนวนพิมพ์ หรือร้อยละคูณจำนวนยอดขาย หรือจำนวนเงินเหมาจ่ายเป็นก้อน สำนักพิมพ์ชั้นดีจะจ่ายเป็นร้อยละคูณยอดพิมพ์ ชั้นรองจะจ่ายเป็นประกันยอดพิมพ์ก้อนแรก แล้วบวกยอดขาย ชั้นแย่ คิดเป็นร้อยละคูณยอดขายอย่างเดียว ส่วนสำนักพิมพ์ที่จ่ายเป็นก้อนนั้น ส่วนมากจะเป็นหนังสือรวมบทความหรือคอลัมน์
6.3 ระยะเวลาในการจ่ายเงิน
กี่เดือนหลังวางตลาด, หรือจ่ายทันทีที่ทำสัญญา บางสำนักพิมพ์ให้สามเดือนหลังวางแผง บางสำนักพิมพ์ลากยาวเป็นปี บางสำนักพิมพ์ต้องเช็กยอดขาย(โดยเฉพาะสนพ. ที่คิดเงินตามร้อยละคูณยอดขาย) ตรงนี้เป็นการหมุนเงินของสนพ. ที่รับรู้รายได้หลังจากหนังสือวางแผงไปเป็นรอบบิลของสายส่ง จึงต้องถ่วงเวลาจ่ายเงินนักเขียนไปบ้าง แต่สนพ. ใหญ่ๆ ก็จ่ายเลยทันทีที่ทำสัญญาก็มี
7. ข้อตกลงในกรณีผิดสัญญา
ส่วนข้อตกลงสำคัญที่สุดที่เห็นในทุกสัญญา คือ "นักเขียนสร้างสรรค์ผลงานนี้ขึ้นมาเอง มิได้ลอกเลียน ดัดแปลง ทำซ้ำ ในผลงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น หากเกิดความเสียหายจากการลอกเลียนฯ สนพ.มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาทันที และนักเขียนต้องรับผิดชอบค่าเสียหายในการละเมิดทั้งหมด"
สรุปคือ ถ้าคุณไปลอกใคร แล้วสนพ. พิมพ์ให้ ถ้าถูกฟ้องมา คุณรับเละไปคนเดียวนั่นเอง
ในส่วนการผิดสัญญาอย่างอื่นๆ ก็เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นตามแต่ที่นักเขียนและสนพ. จะกำหนดขึ้นครับ เช่น การชดเชยค่าเสียหายกรณี สนพ. จ่ายเงินช้า หรือนักเขียนเอาผลงานตัวเองออกเผยแพร่ ขัดกับเงื่อนไขในข้อ 4. นั่นเอง
8. ลายมือชื่อคู่สัญญา
นักเขียนจะลงลายมือชื่อไว้ปิดท้าย พร้อมกับตัวแทนจากสำนักพิมพ์ผู้มีอำนาจเต็มในการลงนาม (โดยมากจะเป็นผู้จัดการ หรือประธานกรรมการ หรือเจ้าของสนพ.)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 537 ว่าด้วยการเช่าทรัพย์ สัญญาเช่าลิขสิทธิ์นี้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อประกอบด้วย คู่สัญญา (ข้อ 2 และ ข้อ 8) ทรัพย์สิน (ข้อ 3) ระยะเวลาจำกัด(ข้อ 5 แต่สัญญานี้จะถูกตัดใน 10 ปี ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ มาตรา 17 วรรค 3 จึงไม่ต้องมีก็ได้) และค่าตอบแทน (ข้อ 6)
ถ้าขาดข้อใดไปในข้อ (2,3,6,8) ถือว่าสัญญาไม่สมบูรณ์ตามแบบ เป็นโมฆะตามมาตรา 152 และถ้าในสัญญามีเงื่อนไขใดๆ คุณก็ต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นทางสนพ. ก็สามารถบอกเลิกสัญญา หรือฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ เช่นเดียวกับหากทางสนพ. ละเมิดสัญญากับนักเขียนด้วย
อย่างไรก็ตาม อายุความในคดีลิขสิทธิ์ ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือน และต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ทราบถึงการละเมิดนั้น รวมถึงต้องฟ้องกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศนะครับ ศาลแพ่งธรรมดาฟ้องไม่ได้นะเออ
ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับนักเขียนทุกท่านครับ