ระหว่าง / ให้ทางอบตเขียนแบบ / ให้สถาปนิกเขียนแบบ / แบบไหนดีกว่ากันคะ

สถาปนิกออกแบบดูเด่นสุดๆ แต่ไม่เบ็ดเสร็จ เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตอน ยื่นแบบอีกคะ
ทาง อบต เรียกเงิน จริงๆแล้วเคยยื่นแล้วโดนเรียกเงินไปแล้ว  1 ครั้ง แต่ครั้งนี้จะแก้แบบค่ะ จาก 1 ชั้น เพิ่มอีกหลัง เป็น2ชั้น เพราะทำ 2หลัง
พอให้สถาปนิกเขียนเสร็จแล้วไปยื่นก็ต้องโดนใต้โต๊ะเพิ่มอีก แต่ถ้าให้ อบต เขียนแล้วยื่นพร้อม มันก็เสียครั้งเดียวจบ. แต่แบบบ้านไม่รู้จะโอเคหรือเปล่า

ทางสถาปนิกเขาไม่ยืนขออนุญาติให้ พอเราถามไปว่า แล้วถ้าทาง อบต บอกว่าแบบไม่ผ่าน คุณแก้แบบฟรีไหม เขาบอกว่าฟรี แต่ต้องให้ทาง อบต ทำหนังสือชี้แจงมาให้ผม เพราะผมมั่นใจว่าฝีมือไม่น้อยกว่าเขา ( ชั้นเข้าใจคะ แต่เรื่องราวจะยืดยาวววววว กว่าแบบบ้านชั้นจะผ่าน สรุปคือคิดว่าต้องจ่ายใต้โต๊ะอีกแหงๆ )

เลือกทางไหนดีคะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ให้พวก อบต.เขียน มันก็จะได้แบบเสล่อๆ เหมือนพวกศาลาประชาคมอะไรประมาณนั้น สถานที่ราชาการ สำนักงาน อบต. พวกนี้น่ะ
มันไม่เวิร์คเอาเสียเลย ขาดจินตนาการ ขาดไอเดีย เวิ่นเว้อ ทึนทึก สไตล์ราชการ
ความคิดเห็นที่ 18
ผมจะแนะนำในเรื่องที่นอกเรื่อง หรืออาจจะไม่นอกเรื่องนะครับ

สถาปนิก ส่วนใหญ่ เวลา ออกแบบ ขออนุญาต พยายามจะไม่สนับสนุนเรื่องพวกนี้ ผมทำให้ลูกค้าถูกต้องครับอธิบายข้อกฏหมายที่ควบคุมอาคาร ให้ลูกค้าเข้าใจ

นายช่างส่วนใหญ่ จบ ปวช ปวส ป ตรี  ก่อสร้าง โยธา  เขาไม่ได้เรียน เรื่องความงาม และจรรยาบรรณวิชาชีพครับ. เขาไม่รู้ไม่สนใจหรอกครับ เพราะช่างทุกคนก็ต้องทำมาหากิน เงินเดือนช่างไม่มาก เปอรเซนต์จากผู้รับเหมา ไม่ได้มากมาย เหมือนหน่วยงานอื่นๆ ก็ต้องหารายได้พิเศษโดยการตัดราคา ตัดคุณค่าของงานสถาปัตยกรรม เพื่อนร่วมอาชีพโดยไม่รู้ตัว หรืออาจจะรู้ตัวแต่ต้องทำ

ผมอยากจะถามว่าทุกคน เป็นคนรุ่นไหน รุ่นใหม่หรือรุ่นเก่า. และเรามีความตั้งใจที่จะทำให้บ้านเมืองเราน่าอยู่ขนาดไหน.
หากเรายอมที่จะอยู่ในระบบ ที่ล้าสมัย และ ความเห็นแก่ความสบายส่วนตัวแบบนี้ต่อไป คุณก็จ่ายไปเถอะเพื่อความสบายส่วนตัว และระบบนี้ก็จะอยู่รับใช้ลูกหลานเราไปเรื่อยๆ.
แต่หากเราอยากตัดวงจรอุบาทว์ เราร่วมมือกันทำให้มันถูกต้อง ไม่สนับสนุน ไม่เห็นแก่ความสะดวกส่วนตัว ทุกคนก็ต้องแข็งใจ ไว้. ผมเชื่อว่ามันทำยาก แต่ไม่ยากถ้าเราจะทำ
อยากจะให้ลูกหลานเราในอนาคตอยู่ในสังคมแบบไหน แค่นั้นล่ะครับ
ความคิดเห็นที่ 9
ผมทำงานเทศบาลแห่งหนึ่งชานพระนคร ขอแนะนำให้จ้างสถาปนิกครับ
กรณีที่ ช่าง อบต.อ้างว่าไม่ได้ให้เขาแจ้งมาเป็นหนังสือเลยครับว่าไม่ถูกต้องตรงไหน
จริงๆแล้ว พรบ.ควบคุมอาคารฯ ถ้ากรณี พท.ใช้สอยไม่ถึง 150 ตร.ม ยื่นแต่ผังบริเวณก็พอ
แบบบริการก็มีครับ ลองถามดู แต่ถ้างอแงมากๆ ลองขอคุยกับนายกฯหรือปลัดเลยครับ
รับรองความยุติธรรม มีอยู่ครับ ผมทำงานตั้งแต่เป็นช่าง ส่วนกลาง แล้วถ่ายโอนมาเป็น
ช่างท้องถิ่น รับไม่ได้กับพฤติกรรมเหลือบพวกนี้ครับ จนต้องเปลี่ยนสายงานมาทำงานบริหาร
ย้อนไปเห็น ความเห็นที่7 ตามนั้นเลยครับ  เพิ่มเติมครับ ตอนนี้ อปท.ทั้งหลายมีโครงการ
ลดขั้นตอนการปฎิบัติงาน กรณีหน่วยงานช่าง จะเสนอมาทุกปีว่าจะลดเวลาในการออกใบอนุญาติ
จากเดิม 45 วันเป็นภายใน 7 วันครับ เพื่อนำไปขอโบนัสประจำปี
ความคิดเห็นที่ 42
ผมเป็นวิศวกรที่จบสายช่างมานะครับทำงานรับราชการที่เกี่ยวข้องกับอบต.มาพอสมควร และก็รู้เรื่องของทางช่างและสถาปนิกพอสมควรก็พอจะสรุปได้อย่างนี้ครับ
1. ตามกฏหมาย(พรบ.ควบคุมอาคาร 2522)ระบุให้ต้องปฏิบัติตาม พรบ.สถาปนิก และพรบ.วิศวกร
       - หากบ้านหรืออาคารใดเข้าข่าย  ต้องปฏิบัติตาม พรบ.สถาปนิก ต้องมีสถาปนิกเซ็นต์รับรองครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบ้านพักอาศัยที่มีขนาดเกิน 150 ตารางเมตร ช่างธรรมดาที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพเซ็นต์แทนไม่ได้
       - หากบ้านหรืออาคารใดเข้าข่าย  ต้องปฏิบัติตาม พรบ.สถาปนิก ต้องมีสถาปนิกเซ็นต์รับรองครับ ยกตัวอย่างเช่นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ ๓ ชั้นขึ้นไป หรือโครงสร้างของอาคารที่ชั้นใดชั้นหนึ่งมีความสูงตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป หรืออาคารที่มีช่วงคานตั้งแต่ ๕ เมตรขึ้นไป  ต้องมีวิศวกรเซ็นต์รับรองด้วย ช่างธรรมดาที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพเซ็นต์แทนไม่ได้
2. ตามลักษณะการทำงาน
       ผมเป็นวิศวกรทำงานด้านอาคารมากว่า 20 ปีก็ยังต้องใช้สถาปนิกในการออกแบบเพราะช่างเราไม่ได้เรียนในเรื่องของการออกแบบมาโดยเฉพาะเรียนแค่การเขียนแบบให้ถูกต้องเท่านั้น อาจจะมีช่างที่มีพรสวรรค์อยู่บ้างแต่ยังไงก็สู้สถาปนิกไม่ได้ครับ
3. ในแง่ของราคา
       เป็นธรรมดาครับค่าออกแบบของสถาปนิกจะแพงกว่าช่าง เพราะถือว่าเป็นค่าวิชาชีพเขาครับ ถ้าคิดแพงเกินก็หาคนใหม่ได้ แต่โดยปกติทางสถาปนิกก็จะมีราคามาตรฐานอยู่แล้วครับคิดราคาเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของราคาบ้าน
4. ในกรณีโดนกลั่นแกล้ง
       บางครั้งเราก็อย่ายอมพวกที่คิดหาผลประโยชน์แบบผิดๆ ครับ ในกรณีที่โดนกลั่นแกล้งไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการตรวจแบบ หรืออื่นๆ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็จะต้องตรวจแบบและทำหนังสือแจ้งให้เราทราบ โดยจะต้องระบุรายละเอียดให้เราทราบด้วยว่าแบบที่ขออนุญาตของเราผิดที่ตรงใหน (ในกรณีที่ไม่อนุญาต)และเราสามารถแย้งได้ตามกฏหมายหากไม่เห็นด้วยกับผลการตรวจสอบเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยในกฏหมายควบคุมอาคารได้ให้อำนาจกับประชาชนในการอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ โดยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไปยังท้องถิ่นนั้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับหนังสือของเราแล้วก็จะดำเนินการแจ้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพื่อพิจารณาและคณะกรรมการดังกล่าวจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จถายใน 60 วัน ไม่ช้าหรอกครับ หากเราไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็สามารถฟ้องต่อศาลปกครองได้อีก แต่ผมเชื่อนะว่าถ้าเราโดนกลั่นแกล้งจริง เรื่องก็จะจบที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นี่แหละเพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องกลัวเรื่องกลั่นแกล้งแล้วครับ อ้อ! ลืมบอกไปคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หากอยู่ต่างจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเ็นประธานมีเลขาเป็นโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด และหากอยู่ใน กทม.ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นเลขา
5.ในเรื่องความรู้เรื่องกฏหมาย
       มีบางท่านในนี้บอกว่าสถาปนิกไม่ค่อยรู้กฏหมายสู้ช่างไม่ได้ ผมว่าไม่จริงครับ เป็นเพียงว่าอาจจะเป็นสถาปนิกใหม่ยังรู้กฏหมายไม่ครอบคลุมแต่ไม่นานก็เก่ง เพราะงานของสถาปนิกต้องอิงกับกฏหมายเป็นประจำอยู่แล้ว
สรุป
        ผมเป็นวิศวกรมา 20 กว่าปี และเป็นช่างด้วยยังต้องให้สถาปนิกออกแบบให้เลยครับ
                                                                                 ขอบคุณครับที่ทนอ่าน
ความคิดเห็นที่ 8
เคยทำแบบให้ญาตไปยื่น

แบบครบ เอกสารประกอบครบ มั่นใจว่าถูกต้องแน่นอน

เจอ อบต.บอกว่า แบบนี้ให้ไม่ได้ ถ้าจะสร้างก็ให้ใช้แบบของเค้า(จนท.)

ญาติโทรมาหาผมว่า อบต.บอกมาแบบนั้น  

ผมบอกให้ อบต.แจ้งมาเลยว่ามันผิดตรงไหนบ้างจะได้แก้ไข เพราะมันหน้าที่คุณที่จะต้องแจ้ง

ผลคือสุดท้าย อบต.บอกแบบอันนั้นใช้ไม่ได้และไม่ได้แจ้งเอกสารใดๆมาทั้งสิ้น

และญาติก็ดันบ้าจี้ เชื่อตามเค้า จ่ายเงินให้ แล้วก็ได้แบบง่อยๆมาไม่ถึงสิบแผ่น

พอกลับไปดูแล้วเซ็งๆ นี่มันแบบอะไรฟะเนี่ย  เอาแบบคนอื่นมาผสมตัดแปะแล้วซีรอค

รูปแบบก็เป็นกล่องเหลี่ยมๆตรงๆเอาหลังคามาแปะๆให้มันกันฝน -_-"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่