ไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (Cosmic Microwave Background) ,เดือนมีนาคม 2013, แผนที่นี้แสดงให้เห็นแสงที่เก่าแก่ที่สุดในเอกภพของเรา ตามที่ตรวจจับได้ด้วยความละเอียดสูงที่สุดในปัจจุบันโดยภารกิจแพลงค์ (Planck) แสงโบราณนี้ถูกเรียกว่าไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลถูกประทับบนท้องฟ้าเมื่อเอกภพมีอายุได้ 370,000 ปี มันแสดงให้เห็นถึงความผันผวนเล็กน้อยมากของอุณหภูมิ ซึ่งสอดคล้องกับบริเวณที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งแทนเมล็ดพันธุ์ของโครงสร้างทั้งหมดในอนาคต นั่นคือดวงดาวและกาแล็กซี่ในทุกวันนี้
พื้นที่สีส้มอุ่นกว่าค่าเฉลี่ย 2.7 เคลวิน (-270 เซลเซียส) เล็กน้อย พื้นที่สีฟ้าเย็นกว่าเล็กน้อย
องค์ประกอบของจักรวาลประกอบด้วย สสาร อย่างเช่นอะตอม 4.9% สสารมืด 26.8% และพลังงานมืด 68.3%
พลังการมองเห็นของแพลงค์, ภาพกราฟิคนี้อธิบายให้เห็นถึงวิวัฒนาการของดาวเทียมที่ถูกออกแบบให้ตรวจวัดแสงโบราณที่หลงเหลือจากบิ๊กแบงซึ่งสร้างเอกภพของเราเมื่อ 13.8 พันล้านปีก่อน Cosmic Background Explorer หรือ COBE ของนาซ่าถูกปล่อยในปี ค.ศ. 1989 แสดงความผันผวนควอนตัมในแสงโบราณซึ่งได้เปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับอดีตของเอกภพ
ความผันแปรเหล่านี้เรียกว่าแอนไอโซทรอปี มีความคมชัดมากขึ้นโดย Wilkinson Microwave Anisotropy Probe หรือ WMAP (ภาพกลาง) ถูกปล่อยในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งได้พบหลักฐานที่หนักแน่นของการพองตัว นั่นก็คือยุคแรกๆของเอกภพของเราเมื่อเอกภพขยายขนาดอย่างรวดเร็ว
Planck คือดาวเทียมประเภทนี้ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในปัจจุบัน ถูกปล่อยในปี ค.ศ. 2009 มันถ่ายภาพท้องฟ้าด้วยความละเอียดสูงกว่า WMAP กว่า 2.5 เท่า สร้างแผนที่ทั้งท้องฟ้าของไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลได้คมชัดที่สุดที่เคยสร้างมา
สสารทั้งหมด, แผนที่ทั้งท้องฟ้าจากภารกิจแพลงค์แสดงให้เห็นสสารระหว่างโลกและขอบของเอกภพที่สังเกตได้ บริเวณที่มีมวลน้อยกว่าแสดงด้วยพื้นที่ที่สว่างกว่า ในขณะที่บริเวณที่มีมวลมากกว่าจะเข้มกว่า (บริเวณสีเทาถูกบดบังโดยทางช้างเผือก)
http://www.popsci.com/science/article/2013-03/new-map-big-bang-afterglow-reorganizes-universes-ingredient-list
http://www.nytimes.com/interactive/2013/03/21/science/space/0321-universe.html?ref=space
http://www.guardian.co.uk/science/2013/mar/21/planck-telescope-light-big-bang-universe
ล่าสุดเอกภพมีอายุ 13.8 พันล้านปี
ไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (Cosmic Microwave Background) ,เดือนมีนาคม 2013, แผนที่นี้แสดงให้เห็นแสงที่เก่าแก่ที่สุดในเอกภพของเรา ตามที่ตรวจจับได้ด้วยความละเอียดสูงที่สุดในปัจจุบันโดยภารกิจแพลงค์ (Planck) แสงโบราณนี้ถูกเรียกว่าไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลถูกประทับบนท้องฟ้าเมื่อเอกภพมีอายุได้ 370,000 ปี มันแสดงให้เห็นถึงความผันผวนเล็กน้อยมากของอุณหภูมิ ซึ่งสอดคล้องกับบริเวณที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งแทนเมล็ดพันธุ์ของโครงสร้างทั้งหมดในอนาคต นั่นคือดวงดาวและกาแล็กซี่ในทุกวันนี้
พื้นที่สีส้มอุ่นกว่าค่าเฉลี่ย 2.7 เคลวิน (-270 เซลเซียส) เล็กน้อย พื้นที่สีฟ้าเย็นกว่าเล็กน้อย
องค์ประกอบของจักรวาลประกอบด้วย สสาร อย่างเช่นอะตอม 4.9% สสารมืด 26.8% และพลังงานมืด 68.3%
พลังการมองเห็นของแพลงค์, ภาพกราฟิคนี้อธิบายให้เห็นถึงวิวัฒนาการของดาวเทียมที่ถูกออกแบบให้ตรวจวัดแสงโบราณที่หลงเหลือจากบิ๊กแบงซึ่งสร้างเอกภพของเราเมื่อ 13.8 พันล้านปีก่อน Cosmic Background Explorer หรือ COBE ของนาซ่าถูกปล่อยในปี ค.ศ. 1989 แสดงความผันผวนควอนตัมในแสงโบราณซึ่งได้เปิดเผยรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับอดีตของเอกภพ
ความผันแปรเหล่านี้เรียกว่าแอนไอโซทรอปี มีความคมชัดมากขึ้นโดย Wilkinson Microwave Anisotropy Probe หรือ WMAP (ภาพกลาง) ถูกปล่อยในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งได้พบหลักฐานที่หนักแน่นของการพองตัว นั่นก็คือยุคแรกๆของเอกภพของเราเมื่อเอกภพขยายขนาดอย่างรวดเร็ว
Planck คือดาวเทียมประเภทนี้ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในปัจจุบัน ถูกปล่อยในปี ค.ศ. 2009 มันถ่ายภาพท้องฟ้าด้วยความละเอียดสูงกว่า WMAP กว่า 2.5 เท่า สร้างแผนที่ทั้งท้องฟ้าของไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลได้คมชัดที่สุดที่เคยสร้างมา
สสารทั้งหมด, แผนที่ทั้งท้องฟ้าจากภารกิจแพลงค์แสดงให้เห็นสสารระหว่างโลกและขอบของเอกภพที่สังเกตได้ บริเวณที่มีมวลน้อยกว่าแสดงด้วยพื้นที่ที่สว่างกว่า ในขณะที่บริเวณที่มีมวลมากกว่าจะเข้มกว่า (บริเวณสีเทาถูกบดบังโดยทางช้างเผือก)
http://www.popsci.com/science/article/2013-03/new-map-big-bang-afterglow-reorganizes-universes-ingredient-list
http://www.nytimes.com/interactive/2013/03/21/science/space/0321-universe.html?ref=space
http://www.guardian.co.uk/science/2013/mar/21/planck-telescope-light-big-bang-universe