สวรรค์ นรก ที่ อถรรกถา อภิธรรมอธิบายพิศดาร ปอ.ปยุตโต (ตัวอย่างเฉลิมศักดิ์์ที่ชอบอ้าง)

กระทู้สนทนา
สวรรค์ นรก ที่ อถรรกถา อภิธรรมอธิบายพิศดาร ปอ.ปยุตโต (ตัวอย่างเฉลิมศักดิ์์ที่ชอบอ้าง)
กระทู้สนทนา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp-prayuth/lp-prayuth-23-01.htm

.............................................


สำหรับพระไตรปิฎกแปลภาษาไทย โดยมากพูดถึงนรก ไม่พูดถึงสวรรค์ นอกจากนี้ก็ยังมีบางแห่งพูดถึงอายุเทวดาในชั้นต่าง ๆ เช่นชั้นจาตุมหาราช หรือชั้นโลกบาล ๔, ชั้นดาวดึงส์, ชั้นยามา ชั้นดุสิต, ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี แต่ละชั้นมีอายุเท่าไรอยู่นานเท่าไร่ อย่างนี้ก็มีในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ข้อ ๕๑๐ หน้า ๒๗๓ และไปมีซ้ำในเล่ม ๒๓ ข้อ ๑๓๑-๑๓๕ หน้า ๒๕๓-๒๖๙

ยังมีอายุมนุษย์ถึงรูปพรหม แสดงไว้ในฝ่ายอภิธรรม เล่ม ๓๕ ข้อ ๑๑๐๖-๑๑๐๗ หน้า ๕๖๘-๕๗๒  บางแห่งถึงกับบอกว่าในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ คือวันพระ ท้าวมหาราช ๔ คือ ท้าวโลกบาล ๔ จะส่งอำมาตย์เที่ยวดูในหมู่มนุษย์ ว่ามนุษย์ประพฤติดีปฏิบัติชอบหรือเปล่า แล้วจะไปแจ้งข่าวต่อที่ประชุมเทวดาชั้นดาวดึงส์ ซึ่งมีพระอินทร์เป็นประธาน ว่าเดี๋ยวนี้มนุษย์โดยมากประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ถ้ามนุษย์ประพฤติดี เทวดาก็ดีใจ ว่าต่อไปสวรรค์จะมีคนมาเกิดเยอะ ถ้าหากมนุษย์ประพฤติชั่วมากเทวดาก็จะเสียใจ ว่าต่อไปฝ่ายเทวโลกจะมีแต่เสื่อมลง อะไรทำนองนี้ อย่างนี้ก็มีในเล่ม ๒๐ เหมือนกัน ข้อ ๔๗๖ หน้า ๑๐๘ อย่างนี้เป็นต้น เป็นการแทรกอยู่บางแห่ง มีไม่สู้มากนัก

นอกจากนี้มีกระเส็นกระสาย เล็ก ๆ น้อย ๆ ชื่อนรก ๑๐ ขุมก็มีในพระไตรปิฎกด้วย ในเล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกายทสกนิบาต ข้อ ๘๙ หน้า ๑๘๕ และนรก ๘ มีในคาถาชาดกเล่ม ๒๘ ข้อ ๙๒ หน้า ๓๙

นี่แหละก็เป็นเชื้อให้อรรถกถาได้นำมาชี้แจงอธิบายเรื่องนรกต่าง ๆ สาธยายให้เราเห็นเรื่องราวพิสดารยิ่งขึ้น

แต่ในที่นี้เราจะไม่พูดเรื่องนี้ แม้ในพระไตรปิฎก จะได้พูดเรื่องนรก-สวรรค์แบบนี้ เราก็อย่าเอาไปวุ่นกับการเขียนภาพและวรรณคดีให้มากนัก เพราะวรรณคดีบวกจินตนาการเข้าไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวรรณคดี แม้จะบรรยายอารมณ์ มนุษย์ก็ต้องบรรยายให้เป็นภาพ

ทีนี้จะบรรยายนรก-สวรรค์ก็จะพูดให้เห็นจริงเห็นจัง หรือจะมาเขียนเป็นภาพประกอบ จะให้คนธรรมดาเกิดความสนใจ ก็ต้องนำเข้ามาสู่สิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจง่าย เพราะฉะนั้นเราจะเอาวรรณคดีรุ่นหลัง ๆ หรือภาพตามฝาผนังไปเป็นมาตรฐานไม่ได้ เพราะนี่เป็นรูปของการทำให้ง่ายแล้ว เราจะว่าตามนั้นทีเดียวไม่ได้

ก็เป็นอันว่าในแง่ที่หนึ่ง นรก-สวรรค์ หลังจากตายในพระไตรปิฎกมีไหม ถ้าถือตามตัวอักษรก็เป็นอันว่ามี ดังที่กล่าวมาแล้ว

ทีนี้อาจมีบางท่านว่าเรื่องนี้สัมพันธ์กับความเชื่อที่มีดั้งเดิม เช่นว่าพระพุทธเจ้าอาจจะตรัสไปตามที่คนเชื่อกันอยู่ นั่นก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป นอกจากนี้ใครจะตีความอย่างไรต่อไป อาตมาไม่เกี่ยว

..................................................................
แก้ไขข้อความเมื่อ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่