ปตท.เผย"ตระกูลชินฯ"ถือหุ้น 0.002 % มีจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด 2,850 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มีนัยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ถือหุ้น ปตท.ทั้งหมดกว่า 5 หมื่นราย ตามที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีพยายามสร้างกระแสโจมตี
เช่นเดียวกับผลประกอบการ ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีโจมตี ปตท. ว่ามีผลกำไรนับแสนล้านบาท จริงๆแล้ว ปตท.มียอดขายน้ำมันผ่านปั๊มปีละ 3 แสนกว่าล้านบาท โดย ปตท.มีส่วนแบ่งตลาดค้าปลีก 47-48% และธุรกิจน้ำมันมีกำไร 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำไรส่วนใหญ่มาจากธุรกิจนอนออยล์ ได้แก่ ร้านกาแฟอเมซอนธุรกิจที่ได้กำไรสูง เป็นธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน ส่วนกำไรจากธุรกิจน้ำมันเพียง 1.5 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 4.25% จากยอดขายสุทธิ 3 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันต้องแบกรับภาระขาดทุนร่วม 3หมื่นล้าน ต้องชดเชยราคาทั้ง NGV และ LPG
โดยกำไรสุทธิ ปตท.1 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดขายทั้งหมด 3 ล้านล้านบาท ถือว่ามีอัตราผลตอบแทนต่ำมากแค่ 4.25% ในปี 2554 เมื่อเทียบกับบริษัทน้ำมันต่างชาติ อาทิ ปิโตรนาส มาเลเซียที่มีผลตอบแทนถึง 22%
โดยกำไรสุทธิดังกล่าวในปีที่ผ่านมา ปตท.แบกรับภาระขาดทุนเกือบ 2 หมื่นล้านบาทสำหรับเอ็นจีวี และขาดทุนอีก 1 หมื่นล้านบาทในแอลพีจี ถือว่าเป็นการอุดหนุนราคาให้แก่ผู้ใช้รถเพียงไม่กี่แสนราย
นายไพรินทร์กล่าวถึงประเด็นคนไทยใช้น้ำมันแพงว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้ในประเทศนั้นมีการรวมภาษีต่างๆไว้ส่วนหนึ่งคิดเป็น 29% หรือ 1 ใน 3 ของราคาน้ำมันขายปลีก แต่การส่งออกน้ำมันจากไทยจะไม่รวมภาษี ทำให้ราคาส่งออกน้ำมันถูกกว่าราคาขายปลีกในประเทศ ซึ่งหากเรียกร้องให้คนไทยใช้พลังงานในราคาถูกก็จะทำให้เกิดการใช้อย่างฟุ่มเฟือยไม่ประหยัด
ส่วนข้อเรียกร้องการทวงคืน ปตท.นั้น เดิมก่อนการแปรรูป ปตท.ก็มีความเป็นห่วงว่าจะถูกการเมืองครอบงำ ทำให้มีการแปรรูปโดยเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ ปตท.มีผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 5 หมื่กว่ารายรวมทั้งกระทรวงการคลัง ซึ่งหากจะทวงคืน ปตท.ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐเพียงผู้เดียวอีกครั้ง ตนก็ไม่มีปัญหา เป็นเรื่องที่คนไทยจะต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจ
ปัจจุบันไทยมีการใช้พลังงานวันละ 2 ล้านบาร์เรล โดยกลุ่ม ปตท.เข้าไปเกี่ยวข้องเพียงแค่ 18% ที่เหลือเป็น กฟผ. บริษัทพลังงานของต่างชาติ เป็นต้น ซึ่งในอนาคต ปตท.ก็อยากมีสัดส่วนที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานในประเทศเพิ่มขึ้น 40% เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงพลังงานให้กับประเทศ โดยยืนยันว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานไม่เพียงพอ จะเห็นได้ว่าไม่มีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ใหม่ในอ่าวไทยได้เลยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อ่าวไทยมีปริมาณก๊าซฯ เหลือใช้แค่ 10 ปี ดังนั้น ปตท.ต้องไปแสวงหาโอกาสพลังงานในต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันก็มีการลงทุนไปแล้ว 14-15 ประเทศ
ในฐานะประชาชนคนไทย เรามีความเข้าใจ การดำเนินงานของ ปตท.และบทบาทที่ ปตท.กำลังดำเนินการอยู่ และเราเล็งเห็นว่าเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ เราควรให้การสนับสนุนเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจพลังงานของไทยให้เข้มแข็งสามารถแข่งขันกับธุรกิจพลังงานของต่างชาติได้ นั่นแหละจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทสอย่างแท้จริง
ในฐานะประชาชนคนไทย เห็นว่ามีปตท.ที่เข้มแข็ง กับการทวงคืน ปตท.แล้วเปิดโอกาสให้ธุรกิจพลังงานต่างชาติเข้ามากอบโกย??
เช่นเดียวกับผลประกอบการ ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีโจมตี ปตท. ว่ามีผลกำไรนับแสนล้านบาท จริงๆแล้ว ปตท.มียอดขายน้ำมันผ่านปั๊มปีละ 3 แสนกว่าล้านบาท โดย ปตท.มีส่วนแบ่งตลาดค้าปลีก 47-48% และธุรกิจน้ำมันมีกำไร 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกำไรส่วนใหญ่มาจากธุรกิจนอนออยล์ ได้แก่ ร้านกาแฟอเมซอนธุรกิจที่ได้กำไรสูง เป็นธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน ส่วนกำไรจากธุรกิจน้ำมันเพียง 1.5 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 4.25% จากยอดขายสุทธิ 3 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันต้องแบกรับภาระขาดทุนร่วม 3หมื่นล้าน ต้องชดเชยราคาทั้ง NGV และ LPG
โดยกำไรสุทธิ ปตท.1 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดขายทั้งหมด 3 ล้านล้านบาท ถือว่ามีอัตราผลตอบแทนต่ำมากแค่ 4.25% ในปี 2554 เมื่อเทียบกับบริษัทน้ำมันต่างชาติ อาทิ ปิโตรนาส มาเลเซียที่มีผลตอบแทนถึง 22%
โดยกำไรสุทธิดังกล่าวในปีที่ผ่านมา ปตท.แบกรับภาระขาดทุนเกือบ 2 หมื่นล้านบาทสำหรับเอ็นจีวี และขาดทุนอีก 1 หมื่นล้านบาทในแอลพีจี ถือว่าเป็นการอุดหนุนราคาให้แก่ผู้ใช้รถเพียงไม่กี่แสนราย
นายไพรินทร์กล่าวถึงประเด็นคนไทยใช้น้ำมันแพงว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ใช้ในประเทศนั้นมีการรวมภาษีต่างๆไว้ส่วนหนึ่งคิดเป็น 29% หรือ 1 ใน 3 ของราคาน้ำมันขายปลีก แต่การส่งออกน้ำมันจากไทยจะไม่รวมภาษี ทำให้ราคาส่งออกน้ำมันถูกกว่าราคาขายปลีกในประเทศ ซึ่งหากเรียกร้องให้คนไทยใช้พลังงานในราคาถูกก็จะทำให้เกิดการใช้อย่างฟุ่มเฟือยไม่ประหยัด
ส่วนข้อเรียกร้องการทวงคืน ปตท.นั้น เดิมก่อนการแปรรูป ปตท.ก็มีความเป็นห่วงว่าจะถูกการเมืองครอบงำ ทำให้มีการแปรรูปโดยเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้ ปตท.มีผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 5 หมื่กว่ารายรวมทั้งกระทรวงการคลัง ซึ่งหากจะทวงคืน ปตท.ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐเพียงผู้เดียวอีกครั้ง ตนก็ไม่มีปัญหา เป็นเรื่องที่คนไทยจะต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจ
ปัจจุบันไทยมีการใช้พลังงานวันละ 2 ล้านบาร์เรล โดยกลุ่ม ปตท.เข้าไปเกี่ยวข้องเพียงแค่ 18% ที่เหลือเป็น กฟผ. บริษัทพลังงานของต่างชาติ เป็นต้น ซึ่งในอนาคต ปตท.ก็อยากมีสัดส่วนที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานในประเทศเพิ่มขึ้น 40% เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงพลังงานให้กับประเทศ โดยยืนยันว่าประเทศไทยมีแหล่งพลังงานไม่เพียงพอ จะเห็นได้ว่าไม่มีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ใหม่ในอ่าวไทยได้เลยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อ่าวไทยมีปริมาณก๊าซฯ เหลือใช้แค่ 10 ปี ดังนั้น ปตท.ต้องไปแสวงหาโอกาสพลังงานในต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันก็มีการลงทุนไปแล้ว 14-15 ประเทศ
ในฐานะประชาชนคนไทย เรามีความเข้าใจ การดำเนินงานของ ปตท.และบทบาทที่ ปตท.กำลังดำเนินการอยู่ และเราเล็งเห็นว่าเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ เราควรให้การสนับสนุนเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจพลังงานของไทยให้เข้มแข็งสามารถแข่งขันกับธุรกิจพลังงานของต่างชาติได้ นั่นแหละจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทสอย่างแท้จริง