ท่านเคยท้อแท้เบื่อหน่ายในการทำความดีกันบ้างไหมครับ เช่น
ทำดีแล้วไม่ได้ดี
ทำดีแล้วไม่มีใครเห็น
ทำคุณบูชาโทษ เป็นต้น
หากทำดีโดยไม่ "ติด" ดี
ไม่ "หวัง" ดี
เพราะดีคือดี....ต้องได้ดีแน่นอน
ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ดูนะครับ
พ่อหลวง...ทรงสอนด้วยวิธีง่ายๆ ให้เราทำความดีต่อไปโดยไม่ท้อถอยและไม่หวังครับ
"ในคืนวันหนึ่งของปีพ.ศ. ๒๕๑๐
(ยศในขณะนั้นพันตำรวจโท) หลังจากได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแล้ว
ในวังไกลกังวล……..
ผมจำได้ว่า คืนนั้นผู้ที่โชคดีได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระจิตรลดา
เป็นนายตำรวจ 8 นาย และนายทหารเรือ 1 นาย
พระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์
ทรงอยู่ในฉลองพระองค์ชุดลำลอง
ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น
ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา
ภายหลัง เมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงได้ทราบว่า
พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่ององค์นั้น
ด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่างๆทั่วประเทศ
ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า(เส้นผม)ของพระองค์เอง
เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นตัวยึดแล้ว จึงทรงกดลงในพิมพ์
(อ.ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แกะถวาย)
โดยไม่ได้เอาเข้าเตาเผา
หลังจากที่ได้รับพระราชทานแล้ว
ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า.....
” พระที่ให้ไปน่ะ ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน
แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น ”
……..พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า
ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตัวเองว่า
การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้
ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่
และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว…..
ผมเอาพระเครื่องพระราชทานไปปิดทองที่หลังพระแล้ว ก็ซื้อกรอบใส่
หลังจากนั้นมา สมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินองค์นั้น
ก็เป็นพระเครื่องเพียงองค์เดียวที่ห้อยคอผม
หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาท
ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก…..ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ
นอกจากจะเป็นความปีติยินดีที่ได้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด
บางครั้งจนแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต
แต่ปรากฎว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใดๆ ทั้งสิ้น
ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า
ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง……….
……..พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า “จะเอาอะไร?”
และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า.....
จะขอพระบรมราชานุญาต ปิดทองบนหน้าพระ ที่ได้รับพระราชทานไป
พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ…..
ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น
นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด
เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง
มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย……
……พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวจ (ยิ้ม)
ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า
"ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง"
ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
จากบันทึกความทรงจำของ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร
การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด
ว่าที่จริงแล้ว คนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก
เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น
แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย
พระ จะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖
ปิดทองหลังพระ
ทำดีแล้วไม่ได้ดี
ทำดีแล้วไม่มีใครเห็น
ทำคุณบูชาโทษ เป็นต้น
หากทำดีโดยไม่ "ติด" ดี
ไม่ "หวัง" ดี
เพราะดีคือดี....ต้องได้ดีแน่นอน
ลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ดูนะครับ
พ่อหลวง...ทรงสอนด้วยวิธีง่ายๆ ให้เราทำความดีต่อไปโดยไม่ท้อถอยและไม่หวังครับ
"ในคืนวันหนึ่งของปีพ.ศ. ๒๕๑๐
(ยศในขณะนั้นพันตำรวจโท) หลังจากได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำแล้ว
ในวังไกลกังวล……..
ผมจำได้ว่า คืนนั้นผู้ที่โชคดีได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระจิตรลดา
เป็นนายตำรวจ 8 นาย และนายทหารเรือ 1 นาย
พระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์
ทรงอยู่ในฉลองพระองค์ชุดลำลอง
ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น
ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา
ภายหลัง เมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงได้ทราบว่า
พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่ององค์นั้น
ด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน เช่น ดินจากปูชนียสถานต่างๆทั่วประเทศ
ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า(เส้นผม)ของพระองค์เอง
เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นตัวยึดแล้ว จึงทรงกดลงในพิมพ์
(อ.ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แกะถวาย)
โดยไม่ได้เอาเข้าเตาเผา
หลังจากที่ได้รับพระราชทานแล้ว
ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า.....
” พระที่ให้ไปน่ะ ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน
แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น ”
……..พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า
ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตัวเองว่า
การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้
ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่
และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว…..
ผมเอาพระเครื่องพระราชทานไปปิดทองที่หลังพระแล้ว ก็ซื้อกรอบใส่
หลังจากนั้นมา สมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินองค์นั้น
ก็เป็นพระเครื่องเพียงองค์เดียวที่ห้อยคอผม
หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาท
ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก…..ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ
นอกจากจะเป็นความปีติยินดีที่ได้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด
บางครั้งจนแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต
แต่ปรากฎว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใดๆ ทั้งสิ้น
ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า
ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง……….
……..พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า “จะเอาอะไร?”
และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า.....
จะขอพระบรมราชานุญาต ปิดทองบนหน้าพระ ที่ได้รับพระราชทานไป
พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ…..
ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น
นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด
เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง
มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย……
……พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวจ (ยิ้ม)
ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า
"ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง"
ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
จากบันทึกความทรงจำของ พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร
การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด
ว่าที่จริงแล้ว คนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก
เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น
แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย
พระ จะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖