อดีต อ.จุฬาฯ "พนา ทองมีอาคม" ให้เหตุผล - ทำไม "จุฬาฯ" ต้องทวงที่ "อุเทน" ??......ข่าวมติชน

กระทู้สนทนา
วันที่ 15 มี.ค. 2556 จากการที่นักศึกษาและศิษย์เก่าอุเทนถวาย กว่า
1,000 คนประกาศชุมนุมใหญ่บริเวณถนนพญาไท เพื่อเรียกร้องสิทธิใน
“ที่ดินพระราชทาน” ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายในปัจจุบัน และเป็นที่ผืนเดียวกับที่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอ้างสิทธิโดยอ้างว่าเป็น “ที่ดินพระราชทาน” เช่นกัน

ซึ่งมีการตั้งข้อสงสัยว่าการที่จุฬาฯ เวนคืนที่ดินจากอุเทนถวายนั้นเป็น
“คนตัวใหญ่ รังแกคนตัวเล็ก” หรือไม่ และยังมีกระแสที่ยังเคลือบแคลงใจ
ว่า จุฬาฯ ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินมูลค่ามหาศาลในแถบปทุมวันนำ
เงินที่ได้จากการบริหารทรัพย์สินมาทำอะไร  


ในวันเดียวกัน อาจารย์ พนา ทองมีอาคม อดีตอาจารย์ประจำภาควิชา
การประชาสัมพันธ์และรองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก็ได้โพสข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัวให้เหตุผลในการพัฒนาที่ดินของ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า


“นี่เป็นเรื่องการวางแผนระยะยาวและมองการณ์ไกล .. ก็หวังว่าทุกฝ่าย
จะเข้าใจปัญหากันและกันและวางแผนแต่ละฝ่ายให้สอดคล้องกับกฎหมาย
และความเป็นจริง”


ซึ่งในกรณีของอุเทนถวายฯ อ.พนา ให้ความเห็นว่า

“การบริหารพื้นที่ยาก เปลืองกำลัง รปภ. ยามประตู และมีปัญหาเรื่อง
ความปลอดภัย แน่นอนว่าจุฬาฯย่อมอยากได้พื้นที่ตืน...ใครมีบ้านที่
ถูกผ่ากลางคงเข้าใจได้”



ส่วนกรณีของสาธิตปทุมวัน-เตรียมอุดมฯ

“สาธิตปทุมวัน ถ้าย้ายไปรวมกับสาธิตจุฬาและขยายที่ให้ได้น่าจะดี...
ระดับนโยบายต้องคุยกัน..พื้นที่ส่วนนั้นน่าจะเป็นพื้นที่วิชาการด้านสุขภาพ”

“ไม่มีข้อมูล รร. เตรียมอุดม แต่ในส่วนตัวรร.เตรียมกับจุฬามีความใกล้กัน
ทางความรู้สึกเรื่องจากมีประวัติส่วนหนึ่งมาก่อน แค่กระทรวงควรมีแผน”

นอกจากนั้น และจากปัจจุบันที่คณะต่างๆ ตั้งอย่างกระจัดกระจายไม่เชื่อมโยงกัน
เช่น คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ และสัตวแพทย์ อ.พนา มองว่า
เกิดจากที่ดินในส่วนของอุเทนฯ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและสาธิตปทุมวัน

สิ่งที่จุฬาฯ ทำไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่

อ.พนา ยังระบุต่อไปว่า การที่จุฬาฯ ทำ คือบริหารทรัพย์สินและเงินทุนภายใน
ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ เพราะในมหาวิทยาลัยต่างประเทศก็ใช้เงินบริหารภายใน
มหาวิทยาลัย เช่น ฮาร์วาร์ด แสตนฟอร์ด และการที่ที่ดินในบริเวณนั้นมีราคา
สูงก็จึงจะเป็นประโยชน์กว่าจะปล่อยให้รกร้างเสียค่าดูแล และหวังพึ่ง
งบประมาณในการบริหารมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า จุฬาฯ ไม่เปิดเผยรายละเอียดว่าเงินตอบแทนที่จุฬาได้นั้น
เอาไปทำอะไรบ้าง อ.พนา ระบุว่า นำไปลงทุนด้านการศึกษา พัฒนาในสิ่ง
ที่งบประมาณทำไม่ได้ พร้อมกับยืนยันว่า “ไม่ได้เอาไปแบ่งกันภายใน”

สัดส่วนการใช้ที่ดินแต่ละประเภทของจุฬาฯ
(เรียบเรียงจากเอกสารข้อมูลจากการแถลงข่าวของจุฬาฯ วันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา)

ซึ่งนี่คือที่มาของ "จามจุรีสแควร์" ศูนย์พาณิชย์สมัยใหม่ ซึ่ง อ.พนา เปรียบว่าเป็น
“รั้วและสิ่งกันความสงบของสถานศึกษาภายใน”

เหตุผลในการพัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าวคือ ด้วยความที่เป็นที่ดินแปลงใหญ่
ที่ติดถนน มีการจราจรมาก เสียงดัง จึงเหมาะกับการสร้างศูนย์พาณิชย์ที่มีค่า
ตอบแทนสูง และยังกันเสียงอึกทึกจากภายนอกได้ ซึ่งในการพัฒนาที่ดินแปลง
ดังกล่าว จุฬาฯ ทำสัญญากับ บริษัท วังใหม่ ในฐานะผู้ลงทุนก่อสร้างและ
พัฒนาพื้นที่ โดยบริษัทวังใหม่ต้องใช้วิธีการต่างๆ เข้าไปเคลียร์พื้นที่


โดยที่ดินแปลงจามจุรีสแควร์เดิมนั้น เป็นที่ตั้งของบ้านขนาดเล็กหลายหลัง
ซึ่งมีทั้งที่เช่าโดยถูกกฎหมายและบุกรุก และมีการใช้สถานที่เพื่อการพาณิชย์
ขนาดเล็กและเป็นแหล่งอบายมุข ซึ่งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัย

นอกจากนั้นเมื่อจุฬาฯ ขยายบริการทางการศึกษาและเป็นมหาวิทยาลัยที่มี
ขนาดใหญ่ขึ้น จึงมีความต้องการใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อน
ที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็ก มีพื้นที่แต่ใช้ไม่หมด จึงต้องแบ่งให้ส่วน
ราชการอื่นยืมใช้ และบางส่วนให้ประชาชนเช่าในราคาถูก

อ.พนา ยังระบุต่อไปว่า อาคารจามจุรีสแควร์ในปัจจุบัน ที่มีทำเลดี ทันสมัย
และเป็นแหล่งธุรกิจดีมีมูลค่า ในก่อนหน้านั้น 50 ปีที่ผ่านมา มันคือ
“ชุมชนแออัด ซึ่งเป็นผู้บุกรุก” มาก่อน


อ.พนา ยังเสนอว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในกทม. ควรรักษาไว้ให้ดี ส่วนมหาวิทยาลัย
ที่ขยายออกไปต่างจังหวัด ก็จะเป็นการนำพาความเจริญไปที่ใหม่ๆ ซึ่งหาก
ทุกคนช่วยกันรักษาและพัฒนามหาวิทยาลัยของประเทศให้ดี เป็นสมบัติของ
คนไทยทุกคน จุฬาฯ โชคดีที่มีพื้นที่เป็นที่ผืนใหญ่กลางเมืองที่จะหามาใหม่
ไม่ได้แล้ว


ประวัติศาสตร์การพัฒนาที่ดินจุฬาฯ  

เมื่อหลายปีที่ผ่านมา อ.พนา ระบุว่า ตนทราบว่าจุฬาฯมีแผนแม่บทหรือมาสเตอร์แพลน
การบริหารมหาวิทยาลัย มีการวางแผน ไม่ใช่คิดไปทำไปปุปปับ

ซึ่งถ้าไปเดิน "ชุมชนหลังวัดหัวลำโพง ชุมชนสะพานเหลืองตรอกสองพระ"
ก็อาจนึกภาพได้ว่าถ้าผู้บริหารรุ่นเก่าไม่ทำไว้ พัฒนาการชุมชนรอบจุฬา
จะเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับ ด้านหลังคณะรัฐศาสตร์ที่ติดกับสภากาชาด เดิม
เป็นชุมชนแออัดแล้วถูกไฟไหม้ คณะรัฐศาสตร์จึงได้ที่ดินคืนและคณะ
เศรษฐศาสตร์ก็ได้คืนเช่นกัน ส่วนคณะนิติศาสตร์และนิเทศศาสตร์ เดิมเป็น
ชุมชนบ้านเล็กบ้าน้อย และเคยขุดเจอลูกนิมิตรโบราณ มีร้านขายของ
มีซ่องโสเภณี การมีการฆ่าหมูเถื่อน ก่อนที่จะถูกพัฒนาเป็นคณะทั้งสอง
ในปัจจุบัน

ส่วนริมถนนพระรามสี่ ด้านสะพานเหลืองเดิมเป็นชุมชนแออัดบุกรุก มีอบายมุข
บ่อน บิลเลียต นางคณิกา โต๊ะม้าพินบอลล์ ก่อนที่บริษัทวังใหม่จะค่อยๆ รุกเอา
พื้นที่คืน และเข้าใจว่า ตลาดสามย่านเดิมจะพัฒนาเป็น Modern Biz center
แบบจามจุรีสแควร์ เพราะน่าจะสงบกว่าและผลตอบแทนดีกว่าที่จะเป็นตลาดสด
ส่วนตลาดเดิมก็ย้ายไปอยู่ด้านหลังแทน  ซึ่งนโยบายภายหลังอาจปรับบ้าง แต่
ตลาดสดสามย่านย้าย ตลาดสวนหลวงยังอยู่ แต่การศึกษาที่ขยายตัวตลอดเวลา
โรงเรียนเริ่มหายไป แต่โรงเรียนสาธิตฯ ก็ขยายตัว

ส่วนมาบุญครองเดิมก็เป็นที่แออัดเช่นกัน มีบ้านเล็กบ้านน้อยและมีโรงเรียนเล็กๆ
ที่ต่อมาจุฬาฯหาที่ให้ใหม่เมื่อจะพัฒนาเป็นมาบุญครอง...พัฒนาเพื่อรักษาพื้นที่

ด้านถนนอังรีดูนังต์ ด้านนั้นสงบแต่ดั้งเดิม ตรงข้ามหน่วยงานขนาดใหญ่ ไม่มีเสียงดัง
ไม่พลุกพล่าน เดิมมีคลองอรชรขนานทำให้สงบ และเป็นเขตการศึกษามาแต่ดั้งเดิม

ส่วนที่สยามก็ใช้เวลานานกว่าจะหมดสัญญา และจุฬาฯนำมาบริหารหาผลตอบแทน
โดยมีการกำหนดธุรกิจที่จะสอดคล้องและรักษามูลค่าที่ดิน ซึ่งก็เพื่อกันเสียงอึกทึก
จากถนนพระรามที่ 1

หลายคนสงสัยว่าสยามสแควร์เมื่อก่อนเป็นอะไร.. เมื่อ 50 ปีก่อนเป็นป่าพงและ
ที่เช่าแออัดเป็นหย่อมๆ ไล่เรียงมาจนถึงอุเทนฯ ซึ่งต่อมาพัฒนาโดยบริษัทวังใหม่  

สุดท้าย อ.พนา ระบุว่า ในอดีต จุฬาฯไม่ได้คิดแต่ตัวเอง นโยบายด้านสังคมก็ให้
คงตลาดสดไว้สองตลาดเพื่อชาวบ้าน ให้มีปั๊มน้ำมันที่หายากในกทม. ให้พื้นที่ของ
ส่วนราชการ และเขตตำรวจ  

ทั้งนี้ นี่เป็นเพียงหนึ่งในคำชี้แจง และความเห็นหนึ่งจากทางฝากฝั่งอาจารย์จุฬาฯ
แต่ไม่ได้หมายรวมว่าทั้งหมดนี้คือคำตอบเรื่องข้อพิพาททั้งหมด

แต่เมื่อ... ข้อพิพาทระหว่าง "สถานศึกษา" จุฬาฯ-อุเทนถวาย


เมื่อสถานศึกษาแห่งหนึ่งขอคืนพื้นที่ สถานศึกษาอีกแห่ง ด้วยการใช้เหตุผลว่า
เพื่อการศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศ

ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นดูคล้ายกับว่าเกิดจากการละเลยความสำคัญ "การศึกษา" และ
"การให้บริการการศึกษา"


คำถามที่น่าสนใจคือ ปมลึกในชนวนความขัดแย้งนั้น แฝงเร้นด้วยบางสิ่งที่มีมากไป
กว่า "เพื่อการศึกษา" หรือไม่ ?


คลิกอ่าน! ข้อเท็จจริงกรณีที่ดินจุฬาฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363324533&grpid=01&catid=&subcatid=

คลิกอ่าน! ส.ว.เด็กอาชีวะเก่าข้องใจ "อุเทนฯ" ไม่ใช่เพื่อการศึกษาหรือ
ทำไมต้องเวนคืน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363342903&grpid=03&catid=00&subcatid=0000

แปะ Link  แล้ว ต่อได้เลยคะ


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1363337756&grpid=&catid=01&subcatid=0100

เห็นการชุมนุมประท้วง  พร้อมท่าทีอันแข็งกร้าว ...สยองค่ะ ..ก็ให้สงสัยยิ่งนักว่า
อ.จ. จุฬา..นิสิตจุฬา.. จะมีความปลอดภัยในชีวิต  ไหมนับจากนี่ไป....
เพราะ...ที่นี่  เขาตัดสินใจตอบโตักันด้วยกำลัง ...และอาวุธ  ตอนนี้เขารวม
พลังปลุกระดมกันทั้ง ศิษย์เก่า...ศิษย์ปัจจุบัน ...แน่ใจไหมว่า ...จะคุมกันด้วย
ฝากความไปยัง .....ผู้รับผิดชอบด้วยนะคะ

อมยิ้ม19อมยิ้ม19อมยิ้ม19อมยิ้ม19

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่