สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ปีกของอากาศยานมีหลากหลายรูปแบบ บางประเภทมีปีก 2 ปีก บางประเภทมีมากกว่านั้น ถ้าเราจินตาการว่าตัดขวางปีกออกมา(crossection) จะเห็นเป็นแพนอากาศ (air foil) หน้าที่หลักของปีกคือ สร้างแรงยกที่ทำให้อากาศยานลอยอยู่ในอากาศได้ นอกจากนี้ในอากาศยานบางรุ่น ปีกยังเป็นส่วนที่ไว้ติดตั้งเครื่องยนต์ หรือเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย
วัสดุหลักสำหรับโครงสร้าง ลำตัว และปีก (กรณีของเครื่องบิน) ได้แก่
อะลูมิเนียม อัลลอยด์-- เป็นวัสดุหลักที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น เครื่องบินโบอิง 747 โครงสร้างทำมาจาก อะลูมิเนียมถึง 80% อะลูมิเนียมเป็นที่นิยมเพราะ การตัดขั้นรูปสะดวก ราคาเหมาะสม มีความต้านทาน การกัดกร่อนพอสมควร และมีอัตราความแข็งแรงเมื่อเทียบกับน้ำหนักดีมาก
เหล็กกล้า -- ในเครื่องบินพาณิชทั่วไป ใช้เหล็กกล้า ประมาณ 17% ในการทำเป็นโครงสร้าง ใช้ในบริเวณที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่นจุดยึดจับของปีก, ระบบลงจอด เป็นต้น
ไทเทเนียม อัลลอยด์-- ไทเทเนียมมีข้อดีคล้ายอะลูมิเนียม คือ มีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักที่ดีมาก และยิ่งไปกว่านั้นคือ ยังคงสภาพความแข็งแรงได้อยู่ แม้ที่อุณหภูมิสูง แต่ข้อเสียคือ การตัดแต่งขึ้นรูปทำได้ยาก และราคาแพงกว่า อะลูมิเนียม 5-10 เท่า แต่อย่างไรก็ตาม ไทเทเนียม จำเป็นสำหรับอากาศยานความเร็วเหนือเสียง (Supersonic aircraft) เพราะขณะบินด้วยความเร็วเหนือเสียงนั้น จะเกิดความร้อนสูงที่ผิวของอากาศยาน เนื่องมาจาก การเสียดสีของอากาศกับผิวของกาศยานขณะที่บินด้วยความเร็วสูง หรือที่เรียกว่า Aerodynamic Heating
นิเกิลอัลลอยด์-- มีคุณสมบัติคงความแข็งแรงขณะที่อุณหภูมิสูง ยิ่งกว่าไทเทเนียม ใช้สำหรับอากาศยานที่เร็วกว่า supersonic ขึ้นไปอีก อากาศยานแบบ Hypersonic (เช่น The North American X-15, บินได้เร็วถึง 7 มัค) เครื่องบินยิ่งบินด้วยความเร็วสูงมากขึ้น Aerodynamic Heating ก็ยิ่งมากขึ้นด้วย
คอมโพสิต-- คอมโพสิตเป็นวัสดุผสมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ เมื่อเทียบความสามารถในการรับแรงต่างๆ กับโลหะแล้ว คอมโพสิตจะมีน้ำหนักที่เบากว่าอย่างน้อย 25% คอมโพสิตนี้ประกอบด้วยวัสดุจำพวกเส้นใย และตัวประสาน (Matrix binder) อากาศยานสมัยใหม่ มีแนวโน้มที่จะใช้คอมโพสิตมากขึ้นเรื่อยๆ
credit wikipedia
สรุป เป็นเรื่องของวัสดุศาสตร์ครับที่พัฒนาขึ้นตามการพัฒนา ของเครื่องบิน สมันก่อนเครื่องบินทำจากไม้ บินช้าๆ ปีกทำจากบ้าใบก็เพียงพอ แต่ต่อมาเมื่อเครื่องบินน้ำหนักมากขึ้น บินเร็วขึ้นก็ต้องมีการพัฒนาวัสดุมาให้เหมาะสม
ดูปีกเจ้านี่สิ
วัสดุหลักสำหรับโครงสร้าง ลำตัว และปีก (กรณีของเครื่องบิน) ได้แก่
อะลูมิเนียม อัลลอยด์-- เป็นวัสดุหลักที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น เครื่องบินโบอิง 747 โครงสร้างทำมาจาก อะลูมิเนียมถึง 80% อะลูมิเนียมเป็นที่นิยมเพราะ การตัดขั้นรูปสะดวก ราคาเหมาะสม มีความต้านทาน การกัดกร่อนพอสมควร และมีอัตราความแข็งแรงเมื่อเทียบกับน้ำหนักดีมาก
เหล็กกล้า -- ในเครื่องบินพาณิชทั่วไป ใช้เหล็กกล้า ประมาณ 17% ในการทำเป็นโครงสร้าง ใช้ในบริเวณที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่นจุดยึดจับของปีก, ระบบลงจอด เป็นต้น
ไทเทเนียม อัลลอยด์-- ไทเทเนียมมีข้อดีคล้ายอะลูมิเนียม คือ มีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักที่ดีมาก และยิ่งไปกว่านั้นคือ ยังคงสภาพความแข็งแรงได้อยู่ แม้ที่อุณหภูมิสูง แต่ข้อเสียคือ การตัดแต่งขึ้นรูปทำได้ยาก และราคาแพงกว่า อะลูมิเนียม 5-10 เท่า แต่อย่างไรก็ตาม ไทเทเนียม จำเป็นสำหรับอากาศยานความเร็วเหนือเสียง (Supersonic aircraft) เพราะขณะบินด้วยความเร็วเหนือเสียงนั้น จะเกิดความร้อนสูงที่ผิวของอากาศยาน เนื่องมาจาก การเสียดสีของอากาศกับผิวของกาศยานขณะที่บินด้วยความเร็วสูง หรือที่เรียกว่า Aerodynamic Heating
นิเกิลอัลลอยด์-- มีคุณสมบัติคงความแข็งแรงขณะที่อุณหภูมิสูง ยิ่งกว่าไทเทเนียม ใช้สำหรับอากาศยานที่เร็วกว่า supersonic ขึ้นไปอีก อากาศยานแบบ Hypersonic (เช่น The North American X-15, บินได้เร็วถึง 7 มัค) เครื่องบินยิ่งบินด้วยความเร็วสูงมากขึ้น Aerodynamic Heating ก็ยิ่งมากขึ้นด้วย
คอมโพสิต-- คอมโพสิตเป็นวัสดุผสมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ เมื่อเทียบความสามารถในการรับแรงต่างๆ กับโลหะแล้ว คอมโพสิตจะมีน้ำหนักที่เบากว่าอย่างน้อย 25% คอมโพสิตนี้ประกอบด้วยวัสดุจำพวกเส้นใย และตัวประสาน (Matrix binder) อากาศยานสมัยใหม่ มีแนวโน้มที่จะใช้คอมโพสิตมากขึ้นเรื่อยๆ
credit wikipedia
สรุป เป็นเรื่องของวัสดุศาสตร์ครับที่พัฒนาขึ้นตามการพัฒนา ของเครื่องบิน สมันก่อนเครื่องบินทำจากไม้ บินช้าๆ ปีกทำจากบ้าใบก็เพียงพอ แต่ต่อมาเมื่อเครื่องบินน้ำหนักมากขึ้น บินเร็วขึ้นก็ต้องมีการพัฒนาวัสดุมาให้เหมาะสม
ดูปีกเจ้านี่สิ
แสดงความคิดเห็น
สงสัยจังว่าปีกเครื่องบินมันอยู่ได้อย่างไร ไม่หักตรงกลางที่อยู่กับลำเครื่อง