พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนนี้เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างเนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปีพุทธศักราช 2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงครามและให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชาต่อมาในปีปีพุทธศักราช 2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนขึ้น..
จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5)
ปีพุทธศักราช 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากรโดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการนอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่งจึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่งซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยคณาจารย์ทั้ง 108 รูป ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว พระพุทธชินราชอินโดจีนลอยองค์ปีพุทธศักราช 2485 แบบตอกโค๊ด พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ
โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ
ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับของการสร้างพระกริ่งและพระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้วยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ที่นิมนต์
มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราชเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง..
พระรูปหล่อพระพุทธชินราช อินโดจีน ส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค๊ดและมีบางองค์ที่กรรมการได้ตอกโค๊ดธรรมจักร 2 ครั้งเรียกกันว่า 3 โค๊ดซึ่งอาจจะเนื่องด้วยเพื่อแจกคณะกรรมการหรือผู้ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้แจกผู้ติดตามและผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่ช่วยงาน
แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ไม่ได้ตอกโค๊ดเนื่องจากโค๊ดชำรุดเสียก่อน ซึ่งบางท่านก็ได้นำพระที่ไม่ได้ตอกโค๊ดไปให้เกจิอาจารย์ในพิธีได้ลงอักขระเลขยันต์ตามตำราของท่าน..
พระพุทธชินราชอินโดจีนจากลักษณะพิมพ์ทรงองค์พระที่ปรากฎ สามารถคาดเดาได้ว่ามีหลายกลุ่มฝีมือช่างซึ่งโรงงานที่รับช่วงงานไปทำ มีอยู่สองแหล่งใหญ่ๆ คือ ชุมชนบ้านช่างหล่อ และบริเวณเสาชิงช้า ดังนั้นพระที่ได้จึงปรากฎความแตกต่างให้เห็นตามกลุ่มฝีมือช่าง ในกลุ่มพิมพ์ต่างๆซึ่งบริเวณเสาชิงช้าจะเป็นช่างชาวจีนได้หล่อพระที่มีลักษณะผิวขรุขระหรือที่เรียกกันว่าผิวมะระ ส่วนบ้านช่างหล่อเป็นช่างหล่อพระที่มีประสบการณ์มานานซึ่งเป็นช่างชาวไทยจึงมีความปราณีตและเรียบร้อยหล่อพระออกมามีลักษณะสวยงาม
ส่วนมากจะเป็นพิมพ์สังฆาฏิยาว และสังฆฏิสั้น..
แบ่งออกเป็น 4 พิมพ์หลัก และ พิมพ์พิเศษต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกกว่า 70 พิมพ์ย่อยซึ่งกว่าจะดูและแยกแยกออกได้โดยง่ายนั้นต้องศึกษาและเรียนรู้มาในระยะเวลาระดับหนึ่ง..
ขั้นตอนของการหล่อพระพุทธรูปโดยสังเขปมีดังนี้ คือ
1. การปั้น
การปั้นพระพุทธรูปตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสมบูรณ์พร้อมที่จะหล่อมี ขั้นตอนโดยละเอียด ดังนี้ คือ
1.1 การปั้นดินแกนหรือดินหุ่น
1.2 การหุ้มขี้ผึ้ง
1.3 การใส่ทอย
1.4 การติดสายชนวนขี้ผึ้ง
1.5 การทับดินนวล
1.6 การทับด้วยดินอ่อน
1.7 การพอกทับด้วยดินแก่
1.8 การเข้าลวดหรือรัดปลอก
1.9 การพอกดินแก่ทับอีกชั้นหนึ่ง
1.10 การทำปากจอบ
2. การหล่อพระ
การหล่อพระพุทธรูปนิยมเรียกว่า “ การเททอง ” ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
2.1 การเผาแม่พิมพ์
2.2 การหลอมทองให้ละลาย
2.3 การทำนั่งร้าน
2.4 การเททอง
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนนี้เริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้างเนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปีพุทธศักราช 2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงครามและให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชาต่อมาในปีปีพุทธศักราช 2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีนขึ้น..
จัดพิธีการสร้างขึ้นที่วัดสุทัศน์และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ในวันที่ 21 มีนาคม เสาร์ 5 (วันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5)
ปีพุทธศักราช 2485 ดำเนินการสร้างและออกแบบโดยกรมศิลปากรโดยมีท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ทุกประการนอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่งจึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่งซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยคณาจารย์ทั้ง 108 รูป ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศเลยทีเดียว พระพุทธชินราชอินโดจีนลอยองค์ปีพุทธศักราช 2485 แบบตอกโค๊ด พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ
โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธานและท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ
ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับของการสร้างพระกริ่งและพระชัยของวัดสุทัศน์นี้แล้วยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ที่นิมนต์
มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่าพิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราชเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง..
พระรูปหล่อพระพุทธชินราช อินโดจีน ส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค๊ดและมีบางองค์ที่กรรมการได้ตอกโค๊ดธรรมจักร 2 ครั้งเรียกกันว่า 3 โค๊ดซึ่งอาจจะเนื่องด้วยเพื่อแจกคณะกรรมการหรือผู้ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้แจกผู้ติดตามและผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่ช่วยงาน
แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ไม่ได้ตอกโค๊ดเนื่องจากโค๊ดชำรุดเสียก่อน ซึ่งบางท่านก็ได้นำพระที่ไม่ได้ตอกโค๊ดไปให้เกจิอาจารย์ในพิธีได้ลงอักขระเลขยันต์ตามตำราของท่าน..
พระพุทธชินราชอินโดจีนจากลักษณะพิมพ์ทรงองค์พระที่ปรากฎ สามารถคาดเดาได้ว่ามีหลายกลุ่มฝีมือช่างซึ่งโรงงานที่รับช่วงงานไปทำ มีอยู่สองแหล่งใหญ่ๆ คือ ชุมชนบ้านช่างหล่อ และบริเวณเสาชิงช้า ดังนั้นพระที่ได้จึงปรากฎความแตกต่างให้เห็นตามกลุ่มฝีมือช่าง ในกลุ่มพิมพ์ต่างๆซึ่งบริเวณเสาชิงช้าจะเป็นช่างชาวจีนได้หล่อพระที่มีลักษณะผิวขรุขระหรือที่เรียกกันว่าผิวมะระ ส่วนบ้านช่างหล่อเป็นช่างหล่อพระที่มีประสบการณ์มานานซึ่งเป็นช่างชาวไทยจึงมีความปราณีตและเรียบร้อยหล่อพระออกมามีลักษณะสวยงาม
ส่วนมากจะเป็นพิมพ์สังฆาฏิยาว และสังฆฏิสั้น..
แบ่งออกเป็น 4 พิมพ์หลัก และ พิมพ์พิเศษต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกกว่า 70 พิมพ์ย่อยซึ่งกว่าจะดูและแยกแยกออกได้โดยง่ายนั้นต้องศึกษาและเรียนรู้มาในระยะเวลาระดับหนึ่ง..
ขั้นตอนของการหล่อพระพุทธรูปโดยสังเขปมีดังนี้ คือ
1. การปั้น
การปั้นพระพุทธรูปตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสมบูรณ์พร้อมที่จะหล่อมี ขั้นตอนโดยละเอียด ดังนี้ คือ
1.1 การปั้นดินแกนหรือดินหุ่น
1.2 การหุ้มขี้ผึ้ง
1.3 การใส่ทอย
1.4 การติดสายชนวนขี้ผึ้ง
1.5 การทับดินนวล
1.6 การทับด้วยดินอ่อน
1.7 การพอกทับด้วยดินแก่
1.8 การเข้าลวดหรือรัดปลอก
1.9 การพอกดินแก่ทับอีกชั้นหนึ่ง
1.10 การทำปากจอบ
2. การหล่อพระ
การหล่อพระพุทธรูปนิยมเรียกว่า “ การเททอง ” ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
2.1 การเผาแม่พิมพ์
2.2 การหลอมทองให้ละลาย
2.3 การทำนั่งร้าน
2.4 การเททอง