"น้ำแข็งไฟ"แหล่งพลังงานใหม่ไร้ขีดจำกัด
หลังจากญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม และถูกกระหน่ำซ้ำด้วยคลื่นสึนามิความสูงกว่า 25 เมตร ส่งผลให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสามเตา
ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ส่งแรงสะเทือนถึงสถานะความมั่นคงทางพลังงานของญี่ปุ่น ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลกที่พึ่งพาการผลิตสินค้าส่งออกเป็นหลัก
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในประเทศและนโยบายการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องเร่งค้นหาแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้เพื่อป้อนให้แก่อุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจบริการภายในประเทศ
แหล่งพลังงานหนึ่งที่ญี่ปุ่นกำลังค้นหาและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานนี้คือ "มีเทนไฮเดรต" หรือ "น้ำแข็งไฟ" ก้อนมีเทนแข็งที่สามารถติดไฟได้แม้จะมีสภาพแข็งและมีอุณหภูมิเย็นจัดคล้ายกับน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นจากน้ำ
ญี่ปุ่นกำลังค้นหาแหล่งน้ำแข็งไฟในพื้นที่อ่าวทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ระหว่างจังหวัดชิซุโอกะ กับวากายามะ โดยทุ่มงบลงทุนโครงการค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ถึง 1 หมื่นล้านเยน (ประมาณ 3,800 ล้านบาท) พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งน้ำลึกที่มีแรงดันจากมวลน้ำทะเลในระดับสูง แต่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเหมาะกับการก่อตัวของก๊าซมีเทนเป็นก้อนแข็งตามธรรมชาติ ที่มักจะพบก้อนมีเทนน้ำแข็งไฟในพื้นที่ไหล่ทวีปซึ่งอุณหภูมิต่ำ
ก๊าซมีเทน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับน้ำมันปิโตรเลียม หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือก๊าซเอ็นจีวีที่อยู่ในรูปของแข็ง และพบได้เหนือผิวดิน (ใต้น้ำลึก) ไม่ต้องเจาะผิวดินลึกนับกิโลเมตรเพื่อนำเอาก็าซธรรมชาติออกมาใช้เป็นพลังงานให้แก่รถยนต์และโรงผลิตไฟฟ้าในบ้านเรา
น้ำแข็งไฟ ปริมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถปล่อยก๊าซธรรมชาติเกือบ 164 ลูกบาศก์เมตร มีการประมาณกันว่า ปริมาณทั้งหมดของน้ำแข็งไฟของโลกนั้น มีมากเป็น 2 เท่า ของปริมาณแหล่งสำรองที่พิสูจน์แล้วของก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหินของโลกรวมกัน และแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่นี้ มีศักยภาพที่จะสนองความต้องการของมนุษย์ไปอีกนับพันปี
นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ประเทศจีน และไต้หวันต่างกระหายที่จะใช้พลังงานจากน้ำแข็งติดไฟนี้กันอย่างมาก สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาจีนได้ดำเนินโครงการสำรวจวิจัยก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่นี้ ด้วยงบประมาณถึง 500 ล้านหยวน และเวลา 9 ปีที่ผ่านมา และพบว่าแหล่งสำรองใต้ทะเลบริเวณตอนเหนือของทะเลจีนใต้ ทำให้จีนมีแหล่งพลังงานมีเทนแข็งมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอินเดีย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญในการใช้น้ำแข็งไฟคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตก๊าซธรรมชาติ หรือเอ็นจีวีที่ระดับ 0.125 ดอลลาร์สหรัฐต่อลูกบาศก์เมตรหลายเท่าตัว ยิ่งไปกว่านั้นน้ำแข็งไฟยังมีส่วนประกอบของมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่อันตรายกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากนัก ซึ่งก๊าซมีเทนจะเล็ดลอดออกสู่ชั้นบรรยากาศหลังจากถูกเผาไหม้ หรือเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซ
เมื่อมีได้ ย่อมต้องมีเสีย ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะสามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้ดีเพียงใด
ที่มา:
http://goo.gl/Piw2c
"น้ำแข็งไฟ"แหล่งพลังงานใหม่ไร้ขีดจำกัด
หลังจากญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม และถูกกระหน่ำซ้ำด้วยคลื่นสึนามิความสูงกว่า 25 เมตร ส่งผลให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสามเตา
ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ส่งแรงสะเทือนถึงสถานะความมั่นคงทางพลังงานของญี่ปุ่น ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลกที่พึ่งพาการผลิตสินค้าส่งออกเป็นหลัก
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในประเทศและนโยบายการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องเร่งค้นหาแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้เพื่อป้อนให้แก่อุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจบริการภายในประเทศ
แหล่งพลังงานหนึ่งที่ญี่ปุ่นกำลังค้นหาและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานนี้คือ "มีเทนไฮเดรต" หรือ "น้ำแข็งไฟ" ก้อนมีเทนแข็งที่สามารถติดไฟได้แม้จะมีสภาพแข็งและมีอุณหภูมิเย็นจัดคล้ายกับน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นจากน้ำ
ญี่ปุ่นกำลังค้นหาแหล่งน้ำแข็งไฟในพื้นที่อ่าวทางตอนใต้ของกรุงโตเกียว ระหว่างจังหวัดชิซุโอกะ กับวากายามะ โดยทุ่มงบลงทุนโครงการค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ถึง 1 หมื่นล้านเยน (ประมาณ 3,800 ล้านบาท) พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งน้ำลึกที่มีแรงดันจากมวลน้ำทะเลในระดับสูง แต่มีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเหมาะกับการก่อตัวของก๊าซมีเทนเป็นก้อนแข็งตามธรรมชาติ ที่มักจะพบก้อนมีเทนน้ำแข็งไฟในพื้นที่ไหล่ทวีปซึ่งอุณหภูมิต่ำ
ก๊าซมีเทน เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับน้ำมันปิโตรเลียม หรือจะเรียกง่ายๆ ก็คือก๊าซเอ็นจีวีที่อยู่ในรูปของแข็ง และพบได้เหนือผิวดิน (ใต้น้ำลึก) ไม่ต้องเจาะผิวดินลึกนับกิโลเมตรเพื่อนำเอาก็าซธรรมชาติออกมาใช้เป็นพลังงานให้แก่รถยนต์และโรงผลิตไฟฟ้าในบ้านเรา
น้ำแข็งไฟ ปริมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถปล่อยก๊าซธรรมชาติเกือบ 164 ลูกบาศก์เมตร มีการประมาณกันว่า ปริมาณทั้งหมดของน้ำแข็งไฟของโลกนั้น มีมากเป็น 2 เท่า ของปริมาณแหล่งสำรองที่พิสูจน์แล้วของก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และถ่านหินของโลกรวมกัน และแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่นี้ มีศักยภาพที่จะสนองความต้องการของมนุษย์ไปอีกนับพันปี
นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ประเทศจีน และไต้หวันต่างกระหายที่จะใช้พลังงานจากน้ำแข็งติดไฟนี้กันอย่างมาก สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาจีนได้ดำเนินโครงการสำรวจวิจัยก๊าซธรรมชาติแหล่งใหม่นี้ ด้วยงบประมาณถึง 500 ล้านหยวน และเวลา 9 ปีที่ผ่านมา และพบว่าแหล่งสำรองใต้ทะเลบริเวณตอนเหนือของทะเลจีนใต้ ทำให้จีนมีแหล่งพลังงานมีเทนแข็งมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอินเดีย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญในการใช้น้ำแข็งไฟคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการผลิตก๊าซธรรมชาติ หรือเอ็นจีวีที่ระดับ 0.125 ดอลลาร์สหรัฐต่อลูกบาศก์เมตรหลายเท่าตัว ยิ่งไปกว่านั้นน้ำแข็งไฟยังมีส่วนประกอบของมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่อันตรายกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากนัก ซึ่งก๊าซมีเทนจะเล็ดลอดออกสู่ชั้นบรรยากาศหลังจากถูกเผาไหม้ หรือเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซ
เมื่อมีได้ ย่อมต้องมีเสีย ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะสามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้ดีเพียงใด
ที่มา: http://goo.gl/Piw2c