วันนี้ (11 มี.ค.) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ก่อนเข้าวาระการประชุม นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา หารือว่า กรณีพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ แพ้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.จะกลับเข้ารับตำแหน่งเดิม คือ รองผบ.ตร.และเลขาธิการป.ป.ส. โดยมีเสียงสนับสนุนคับคั่งจากข้าราชการประจำ ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อตกลงก่อนลาออกเพื่อเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.หรือไม่ก็ตาม แต่ตนไม่เห็นด้วย เพราะขณะนี้พล.ต.อ.พงศพัศ เป็นนักการเมืองไปแล้ว รับเลือกตั้งเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ในนามพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เมื่อท่านจะกลับเข้ารับราชการแม้ไม่มีข้อกฎหมายห้าม แต่กรณีพล.ต.อ.พงศพัศ ต่างกัน เพราะเดิมเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานทั้งสองแห่ง แล้วกลับมาเป็นข้าราชการทันทีจะมีผลกระทบต่อหน่วยงานทั้งสองอย่างใหญ่หลวง ผิดกับการกลับเข้ารับราชการของนักการเมืองอื่นๆ เพราะสังกัดในหน่วยงานสำคัญที่เป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม สามารถให้คุณ ให้โทษคดี หรือเรื่องที่เกี่ยวพันกับพรรครัฐบาล ฝ่ายค้านได้ หากสั่งให้ปล่อยคดีหรือเพิ่มโทษ ทำให้ความเป็นกลางของข้าราชการเสียไป ท่านเองก็จะทำผิดมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553 ข้อ5 อนุ7 ซึ่งให้ดำรงตนในยุติธรรม และ ข้อ7 อนุ2 ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
“การล้างภาพทางการเมืองต้องใช้เวลา ในกฎหมายอื่นๆจะห้ามนักการเมืองดำรงตำแหน่ง จะให้มีเวลาเว้นวรรคเพื่อล้างภาพทางเมือง โดยทั่วไปให้เวลา 2-5 ปี แต่พล.ต.อ.พงศพัศ กลับจะเข้ารับราชการทันที จึงผิดหลักการ เท่ากับส่งข้าราชการการเมืองเข้าดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำ ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้นักการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบายสำหรับให้ข้าราชการปฏิบัติตามเท่านั้น อนึ่ง การกลับเข้ารับราชการตำรวจที่รอคิวเลื่อนตำแหน่งอยู่ หากท่านกลับมานั่งเลขาธิการปปส. เท่ากับนักการเมืองสองคนนั่งทับตำแหน่งกันอยู่ ดังนั้น ถ้านายกรัฐมนตรียังยืนยันจะรับกลับเข้าราชการ เพราะมีเสียงสนับสนุน ผมเสนอให้นายกฯตั้งพล.ต.อ.พงศพัศ เป็นรัฐมนตรีช่วย หรือรองนายกฯดูแล ปปส. หรือสตช. ตำแหน่งใหญ่กว่าเดิมอีก แต่ไม่เสียหลักการระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ” นพ.เจตน์ กล่าว
นางตรึงใจ บุรณะสมภพ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า หลังการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.สมควรจะมีการรับรองจากกกต.ไม่ควรปล่อยให้กทม.ขาดผู้บริหาร แต่ขณะนี้ดีเอสไอเชิญม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่ากทม.ไปสอบสวนกรณีบริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ทราบว่าทำไมดีเอสไอจึงพยายามหาเรื่องกับผู้ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ ทั้งที่เรื่องอื่นมีให้ทำมากมาย จึงฝากไปยังดีเอสไอว่าไม่ควรทำอะไรให้ประชาชนเห็นว่าเลือกข้างในการปฏิบัติหน้าที่และการจะสอบสวนอะไรก็ไม่ควรให้ข่าว.
“หมอเจตน์”สว.ลากตั้ง ค้าน “จูดี้”กลับรับราชการเหตุไม่เป็นกลางการเมืองแล้ว
วันนี้ (11 มี.ค.) ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ก่อนเข้าวาระการประชุม นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา หารือว่า กรณีพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ แพ้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.จะกลับเข้ารับตำแหน่งเดิม คือ รองผบ.ตร.และเลขาธิการป.ป.ส. โดยมีเสียงสนับสนุนคับคั่งจากข้าราชการประจำ ไม่แน่ใจว่าเป็นข้อตกลงก่อนลาออกเพื่อเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.หรือไม่ก็ตาม แต่ตนไม่เห็นด้วย เพราะขณะนี้พล.ต.อ.พงศพัศ เป็นนักการเมืองไปแล้ว รับเลือกตั้งเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. ในนามพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เมื่อท่านจะกลับเข้ารับราชการแม้ไม่มีข้อกฎหมายห้าม แต่กรณีพล.ต.อ.พงศพัศ ต่างกัน เพราะเดิมเป็นถึงผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานทั้งสองแห่ง แล้วกลับมาเป็นข้าราชการทันทีจะมีผลกระทบต่อหน่วยงานทั้งสองอย่างใหญ่หลวง ผิดกับการกลับเข้ารับราชการของนักการเมืองอื่นๆ เพราะสังกัดในหน่วยงานสำคัญที่เป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม สามารถให้คุณ ให้โทษคดี หรือเรื่องที่เกี่ยวพันกับพรรครัฐบาล ฝ่ายค้านได้ หากสั่งให้ปล่อยคดีหรือเพิ่มโทษ ทำให้ความเป็นกลางของข้าราชการเสียไป ท่านเองก็จะทำผิดมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. 2553 ข้อ5 อนุ7 ซึ่งให้ดำรงตนในยุติธรรม และ ข้อ7 อนุ2 ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
“การล้างภาพทางการเมืองต้องใช้เวลา ในกฎหมายอื่นๆจะห้ามนักการเมืองดำรงตำแหน่ง จะให้มีเวลาเว้นวรรคเพื่อล้างภาพทางเมือง โดยทั่วไปให้เวลา 2-5 ปี แต่พล.ต.อ.พงศพัศ กลับจะเข้ารับราชการทันที จึงผิดหลักการ เท่ากับส่งข้าราชการการเมืองเข้าดำรงตำแหน่งข้าราชการประจำ ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้นักการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบายสำหรับให้ข้าราชการปฏิบัติตามเท่านั้น อนึ่ง การกลับเข้ารับราชการตำรวจที่รอคิวเลื่อนตำแหน่งอยู่ หากท่านกลับมานั่งเลขาธิการปปส. เท่ากับนักการเมืองสองคนนั่งทับตำแหน่งกันอยู่ ดังนั้น ถ้านายกรัฐมนตรียังยืนยันจะรับกลับเข้าราชการ เพราะมีเสียงสนับสนุน ผมเสนอให้นายกฯตั้งพล.ต.อ.พงศพัศ เป็นรัฐมนตรีช่วย หรือรองนายกฯดูแล ปปส. หรือสตช. ตำแหน่งใหญ่กว่าเดิมอีก แต่ไม่เสียหลักการระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำ” นพ.เจตน์ กล่าว
นางตรึงใจ บุรณะสมภพ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า หลังการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.สมควรจะมีการรับรองจากกกต.ไม่ควรปล่อยให้กทม.ขาดผู้บริหาร แต่ขณะนี้ดีเอสไอเชิญม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ว่าที่ผู้ว่ากทม.ไปสอบสวนกรณีบริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ทราบว่าทำไมดีเอสไอจึงพยายามหาเรื่องกับผู้ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ ทั้งที่เรื่องอื่นมีให้ทำมากมาย จึงฝากไปยังดีเอสไอว่าไม่ควรทำอะไรให้ประชาชนเห็นว่าเลือกข้างในการปฏิบัติหน้าที่และการจะสอบสวนอะไรก็ไม่ควรให้ข่าว.