สมาคมกุมารแพทย์ในแคนาดา กำลังทบทวนและปรับปรุงเกี่ยวกับคำแนะนำในการขริบสำหรับเด็กเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี
การขริบหนังหุ้มปลายในเด็ก มีการถกเถียงกันมากถึงข้อดีและข้อเสียว่าจำเป็นหรือไม่ โดยฝ่ายที่เห็นว่าดีก็อ้างถึงงานวิจัยทางการแพทย์ต่างๆ
เกี่ยวกับประโยชน์ในการดูแลสุขอนามัย ลดอุบัติการณ์ในโรคต่าง ๆ ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านเองก็พยายามหาข้อมูลมาหักล้าง เช่นถ้าดูแลดีก็ไม่เป็น หรือในปัจจุบันก็พยายามยกเรื่องสิทธิเด็กมาพูดถึงว่าควรให้เป็นเรื่องของเด็กที่จะตัดสินใจเองเมื่อโตขึ้น
สำหรับในประเทศแคนาดาเอง แนวทางปฏิบัติที่ทางสมาคมกุมารแพทย์ได้ประชุมกันและแถลงมาตั้งแต่ปี 1996 ซึ่งตอนนั้นได้บอกว่าการขริบไม่จำเป็นสำหรับเด็กและไม่สนับสนุนให้ทำกันในทุกราย การตัดสินใจให้ขึ้นกับผู้ปกครองเอง ซึ่งแนวทางนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1996 มาจนถึงปัจจุบันสำหรับแพทย์ที่จะนำไปอธิบายให้กับผู้ปกครอง โดยปัจจุบันนี้อัตราการขริบในประเทศแคนาดาอยู่ที่ประมาณ 31 เปอร์เซนต์
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน งานวิจัยที่ออกมาเริ่มมีการยอมรับถึงข้อดีในการขริบเพิ่มขึ้น เช่น
- สามารถลดอัตราการติดเชื้อ HIV ลงได้ 53 – 60 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ทำการขริบ
- สามารถลดการติดเชื้อ herpes simplex type2 (HSV-2) ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสลงได้ 28 – 34 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ขริบ
- สามารถลดอัตราการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งองคชาติได้ 32 – 35 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ขริบ
- สำหรับคู่นอนที่เป็นผู้หญิง ผู้ชายที่ทำการขริบแล้วสามารถลดอัตราการติดเชื้อ bacterial vaginosis ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของผู้หญิงลงได้ 48 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ขริบ
- ลดอัตราการเป็นมะเร็งองคชาติ ซึ่งข้อนี้เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้ว ว่ามะเร็งองคชาติพบได้น้อยมากในคนที่ทำการขริบ
- ลดอัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะในช่วงระหว่างขวบปีแรก ซึ่งการติดเชื้อในระหว่างนี้สามารถรุนแรงได้ถึงขั้นต้องมาพักรักษาในโรงพยาบาล โดยพบว่าเด็กผูชายที่ไม่ได้ทำการขริบ มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ 1 ต่อ 100 เมื่อเทียบกับเด็กที่ทำการขริบแล้ว จะพบอัตราการติดเชื้อนี้ได้เพียง 1 ต่อ 1000
- ป้องกันการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
- ป้องกันการตีบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า phimosis ซึ่งจะทำให้เกิดการเจ็บเวลาที่ทำการร่นหนังหุ้มปลายลงมาทำความสะอาด
- ทำให้การดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
ทำให้ล่าสุด ทางสมาคมกุมารแพทย์ในแคนาดา เตรียมออกแนวทางปฏิบัติใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลที่มีมากขึ้น เช่นเดียวกับแถลงการณ์ที่พึ่งออกจากสมาคมกุมารแพทย์อเมริกาเมื่อปีที่แล้ว ที่บอกว่าการขริบมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย (benefit is outweight than risk) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการตัดสินใจก็ขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง หลักศาสนา สังคม และสภาพแวดล้อม ซึ่งอย่างน้อยก็จะเป็นข้อมูลใหม่ให้ผู้ปกครองได้ใช้สำหรับการตัดสินใจได้ดีขึ้น
สมาคมกุมารแพทย์แคนาดาเตรียมปรับแนวทางสำหรับการขริบในเด็ก
การขริบหนังหุ้มปลายในเด็ก มีการถกเถียงกันมากถึงข้อดีและข้อเสียว่าจำเป็นหรือไม่ โดยฝ่ายที่เห็นว่าดีก็อ้างถึงงานวิจัยทางการแพทย์ต่างๆ
เกี่ยวกับประโยชน์ในการดูแลสุขอนามัย ลดอุบัติการณ์ในโรคต่าง ๆ ในขณะที่ฝ่ายที่ต่อต้านเองก็พยายามหาข้อมูลมาหักล้าง เช่นถ้าดูแลดีก็ไม่เป็น หรือในปัจจุบันก็พยายามยกเรื่องสิทธิเด็กมาพูดถึงว่าควรให้เป็นเรื่องของเด็กที่จะตัดสินใจเองเมื่อโตขึ้น
สำหรับในประเทศแคนาดาเอง แนวทางปฏิบัติที่ทางสมาคมกุมารแพทย์ได้ประชุมกันและแถลงมาตั้งแต่ปี 1996 ซึ่งตอนนั้นได้บอกว่าการขริบไม่จำเป็นสำหรับเด็กและไม่สนับสนุนให้ทำกันในทุกราย การตัดสินใจให้ขึ้นกับผู้ปกครองเอง ซึ่งแนวทางนี้ใช้มาตั้งแต่ปี 1996 มาจนถึงปัจจุบันสำหรับแพทย์ที่จะนำไปอธิบายให้กับผู้ปกครอง โดยปัจจุบันนี้อัตราการขริบในประเทศแคนาดาอยู่ที่ประมาณ 31 เปอร์เซนต์
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน งานวิจัยที่ออกมาเริ่มมีการยอมรับถึงข้อดีในการขริบเพิ่มขึ้น เช่น
- สามารถลดอัตราการติดเชื้อ HIV ลงได้ 53 – 60 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ทำการขริบ
- สามารถลดการติดเชื้อ herpes simplex type2 (HSV-2) ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสลงได้ 28 – 34 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ขริบ
- สามารถลดอัตราการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งองคชาติได้ 32 – 35 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ขริบ
- สำหรับคู่นอนที่เป็นผู้หญิง ผู้ชายที่ทำการขริบแล้วสามารถลดอัตราการติดเชื้อ bacterial vaginosis ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของผู้หญิงลงได้ 48 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ขริบ
- ลดอัตราการเป็นมะเร็งองคชาติ ซึ่งข้อนี้เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้ว ว่ามะเร็งองคชาติพบได้น้อยมากในคนที่ทำการขริบ
- ลดอัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะในช่วงระหว่างขวบปีแรก ซึ่งการติดเชื้อในระหว่างนี้สามารถรุนแรงได้ถึงขั้นต้องมาพักรักษาในโรงพยาบาล โดยพบว่าเด็กผูชายที่ไม่ได้ทำการขริบ มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ 1 ต่อ 100 เมื่อเทียบกับเด็กที่ทำการขริบแล้ว จะพบอัตราการติดเชื้อนี้ได้เพียง 1 ต่อ 1000
- ป้องกันการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
- ป้องกันการตีบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า phimosis ซึ่งจะทำให้เกิดการเจ็บเวลาที่ทำการร่นหนังหุ้มปลายลงมาทำความสะอาด
- ทำให้การดูแลสุขอนามัยของอวัยวะเพศทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
ทำให้ล่าสุด ทางสมาคมกุมารแพทย์ในแคนาดา เตรียมออกแนวทางปฏิบัติใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลที่มีมากขึ้น เช่นเดียวกับแถลงการณ์ที่พึ่งออกจากสมาคมกุมารแพทย์อเมริกาเมื่อปีที่แล้ว ที่บอกว่าการขริบมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย (benefit is outweight than risk) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการตัดสินใจก็ขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง หลักศาสนา สังคม และสภาพแวดล้อม ซึ่งอย่างน้อยก็จะเป็นข้อมูลใหม่ให้ผู้ปกครองได้ใช้สำหรับการตัดสินใจได้ดีขึ้น