วิธีฝึกตนให้มี Soft Skill
เคล็ดไม่ลับสู่ความสำเร็จในชีวิต & Soft Skill
มีผู้กล่าวไว้ว่า "Hard Skill ทำให้คุณได้สัมภาษณ์งาน แต่คุณจะได้งานและรักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Soft Skill"
เวลาเราเรียนหนังสือเมื่อจบหลักสูตรก็นำไปประกอบวิชาชีพ เช่น วิศวกร = สามารถสร้างตึกได้, สถาปนิก = สามารถออกแบบได้ เหล่านี้ล้วนเป็นทักษะที่เรียกว่า "Hard Skill" (ความสามารถด้านอาชีพ) ทักษะอีกด้านหนึ่งเรียกว่า "Soft Skill" (ความสามารถด้านสังคม) เช่น การใช้ภาษา, การติดต่อสื่อสาร, ความเป็นมิตร, การมองโลกในแง่ดี, การแสดงออกทางสังคม, บุคลิก เป็นต้น โดยความรวม คือ Hard Skill = ความสามารถในการทำงาน, Soft Skill = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ (hard skill สามารถแทน IQ ได้, soft skill สามารถแทน EQ ได้) มีผู้กล่าวไว้ว่า "Hard Skill ทำให้คุณได้สำภาษณ์งาน แต่คุณจะได้งานและรักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Soft Skill" ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องของผู้บริหารแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของทั้งองค์กรที่จะต้องช่วยกัน มีเรื่องเล่าให้ท่านฟังดังนี้ มีวิศวกร 2 คน คนหนึ่งมองโลกในแง่ดีเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ ในเวลาที่องค์กรมีปัญหาก็สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างลงตัว อีกคนหนึ่งถึงจะมีความรู้ความสามารถเท่ากันแต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เมื่อองค์กรเกิดปัญหาจึงแก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
Soft Skill มี 6 ทักษะ
Soft Skill มี 6 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะการติดต่อระหว่างบุคคล (Interpersonol skill) คือ การติดต่อสื่อสารระหว่าง
บุคคลในองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
2. จิตวิญญาณของความเป็นทีม (Team spirit) คือ การทำงานเป็นทีม ทำไปอย่างพร้อมเพรียงกัน
3. มารยาททางสังคม (Social grace) คือ การสร้างความประทับใจในเบื้องต้นมีมารยาทในการเข้าสังคม รู้วิธีการพูดสิ่งไหนควรพูดสิ่งไหนไม่ควรพูด
4. ธรรมเนียมทางธุรกิจ (Business etiquette) คือ ธรรมเนียมการปฏิบัติตัวขององค์กรนั้นๆ เช่น ไม่ทะเลาะกันในเวลางาน เป็นต้น
5. ทักษะการต่อรอง (Negotiation skills) คือ การต่อรองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของทั้งสองฝ่าย
6. คูณสมบัติด้านพฤติกรรม (Behavioural traits) คือ ทัศนะคติ, แรงจูงใจ, การบริหารเวลา, เป็นต้น
ฝึกตนอย่างไรให้มี Soft Skill
ฝึกตนอย่างไรให้มี Soft Skill (กระบวนการฝึกทักษะ)
1. เป็นส่วนหนึ่งของทีม
2. ถามคนใกล้ชิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีและพฤติกรรมที่ต้องปรับปรุงตนเอง
3. สามารถบริหารเวลาได้ดีเพียงใด
4. มีปฏิกิริยาต่อคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร
5. ใช้ชีวิตอย่างมีสติ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนถึงหลักธรรมไว้ประการหนึ่ง คือ สัปปุริสธรรม 7
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนถึงหลักธรรมไว้ประการหนึ่ง คือ สัปปุริสธรรม 7 (ธรรมที่ทำให้เป็นคนดี, ประสบความสำเร็จ) เป็นธรรมอันซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้
1. เป็นผู้รู้จักเหตุ คือ สามารถไตร่ตรองตามความเป็นจริงว่าเรื่องนี้เกิดจากสาเหตุอะไร
2. เป็นผู้รู้จักผล คือ สามารถคาดการณ์ได้ว่าสิ่งนี้จะเกิดผลอย่างไร
3. รู้จักตน คือ สำรวจตนเองว่าฝึกฝนอบรมวินัยตนเองดีแค่ไหน, มีความรู้มากน้อย
เพียงไร การนำความความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพียงไร เป็นต้น
4. รู้จักประมาณ คือ การรู้จักประมาณตน เช่น เรื่องการรับประทานอาหารให้ทานในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยไป เป็นต้น
5. รู้จักกาล คือ บริหารเวลาตัวเรา และ องค์กรให้เป็นไปอย่างถูกที่ถูกเวลา เช่น จะเอาเวลาขององค์กรไปใช้ในเรื่องใดให้เหมาะกับสถานการณ์รอบตัวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปอย่างเปล่าประโยชน์
6. รู้จักชุมชน คือ ในเวลานั้นๆ สังคมกำลังนิยมในเรื่องใด เช่น ถ้าเป็นผู้ประกอบการก็ต้องดูว่าตอนนี้สังคมต้องการอะไรเราก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่โดนใจลูกค้า เป็นต้น
7. รู้จักบุคคล คือ การวางตัวในการเข้าสังคม ให้อยู่ในระดับที่พอดีพองาม มีมารยาท
วินัย, เคารพ, อดทน คือ สิ่งสำคัญ
สรุป ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จในชีวิต จำเป็นจะต้องฝึก สัปปุริสธรรม 7 เพื่อนำไปพัฒนาตนเองให้สมบรูณ์ยิ่ง ๆขึ้นไป
ข้อคิด วินัย, เคารพ, อดทน คือ วินัย ทำให้เรามีมารยาททางสังคมที่ดี, ความเคารพ เมื่อเราติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน, อดทน ทำให้เรามีน้ำใจอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
รับชมวิดีโอ
dmc.tv
ทันโลกทันธรรม ตอน Soft Skills โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
เคล็ดไม่ลับสู่ความสำเร็จในชีวิต & Soft Skill
มีผู้กล่าวไว้ว่า "Hard Skill ทำให้คุณได้สัมภาษณ์งาน แต่คุณจะได้งานและรักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Soft Skill"
เวลาเราเรียนหนังสือเมื่อจบหลักสูตรก็นำไปประกอบวิชาชีพ เช่น วิศวกร = สามารถสร้างตึกได้, สถาปนิก = สามารถออกแบบได้ เหล่านี้ล้วนเป็นทักษะที่เรียกว่า "Hard Skill" (ความสามารถด้านอาชีพ) ทักษะอีกด้านหนึ่งเรียกว่า "Soft Skill" (ความสามารถด้านสังคม) เช่น การใช้ภาษา, การติดต่อสื่อสาร, ความเป็นมิตร, การมองโลกในแง่ดี, การแสดงออกทางสังคม, บุคลิก เป็นต้น โดยความรวม คือ Hard Skill = ความสามารถในการทำงาน, Soft Skill = ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ (hard skill สามารถแทน IQ ได้, soft skill สามารถแทน EQ ได้) มีผู้กล่าวไว้ว่า "Hard Skill ทำให้คุณได้สำภาษณ์งาน แต่คุณจะได้งานและรักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Soft Skill" ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องของผู้บริหารแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของทั้งองค์กรที่จะต้องช่วยกัน มีเรื่องเล่าให้ท่านฟังดังนี้ มีวิศวกร 2 คน คนหนึ่งมองโลกในแง่ดีเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ ในเวลาที่องค์กรมีปัญหาก็สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างลงตัว อีกคนหนึ่งถึงจะมีความรู้ความสามารถเท่ากันแต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เมื่อองค์กรเกิดปัญหาจึงแก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
Soft Skill มี 6 ทักษะ
Soft Skill มี 6 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะการติดต่อระหว่างบุคคล (Interpersonol skill) คือ การติดต่อสื่อสารระหว่าง
บุคคลในองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
2. จิตวิญญาณของความเป็นทีม (Team spirit) คือ การทำงานเป็นทีม ทำไปอย่างพร้อมเพรียงกัน
3. มารยาททางสังคม (Social grace) คือ การสร้างความประทับใจในเบื้องต้นมีมารยาทในการเข้าสังคม รู้วิธีการพูดสิ่งไหนควรพูดสิ่งไหนไม่ควรพูด
4. ธรรมเนียมทางธุรกิจ (Business etiquette) คือ ธรรมเนียมการปฏิบัติตัวขององค์กรนั้นๆ เช่น ไม่ทะเลาะกันในเวลางาน เป็นต้น
5. ทักษะการต่อรอง (Negotiation skills) คือ การต่อรองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของทั้งสองฝ่าย
6. คูณสมบัติด้านพฤติกรรม (Behavioural traits) คือ ทัศนะคติ, แรงจูงใจ, การบริหารเวลา, เป็นต้น
ฝึกตนอย่างไรให้มี Soft Skill
ฝึกตนอย่างไรให้มี Soft Skill (กระบวนการฝึกทักษะ)
1. เป็นส่วนหนึ่งของทีม
2. ถามคนใกล้ชิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีและพฤติกรรมที่ต้องปรับปรุงตนเอง
3. สามารถบริหารเวลาได้ดีเพียงใด
4. มีปฏิกิริยาต่อคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร
5. ใช้ชีวิตอย่างมีสติ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนถึงหลักธรรมไว้ประการหนึ่ง คือ สัปปุริสธรรม 7
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนถึงหลักธรรมไว้ประการหนึ่ง คือ สัปปุริสธรรม 7 (ธรรมที่ทำให้เป็นคนดี, ประสบความสำเร็จ) เป็นธรรมอันซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้
1. เป็นผู้รู้จักเหตุ คือ สามารถไตร่ตรองตามความเป็นจริงว่าเรื่องนี้เกิดจากสาเหตุอะไร
2. เป็นผู้รู้จักผล คือ สามารถคาดการณ์ได้ว่าสิ่งนี้จะเกิดผลอย่างไร
3. รู้จักตน คือ สำรวจตนเองว่าฝึกฝนอบรมวินัยตนเองดีแค่ไหน, มีความรู้มากน้อย
เพียงไร การนำความความรู้ความสามารถที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพียงไร เป็นต้น
4. รู้จักประมาณ คือ การรู้จักประมาณตน เช่น เรื่องการรับประทานอาหารให้ทานในปริมาณที่พอดีไม่มากหรือน้อยไป เป็นต้น
5. รู้จักกาล คือ บริหารเวลาตัวเรา และ องค์กรให้เป็นไปอย่างถูกที่ถูกเวลา เช่น จะเอาเวลาขององค์กรไปใช้ในเรื่องใดให้เหมาะกับสถานการณ์รอบตัวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปอย่างเปล่าประโยชน์
6. รู้จักชุมชน คือ ในเวลานั้นๆ สังคมกำลังนิยมในเรื่องใด เช่น ถ้าเป็นผู้ประกอบการก็ต้องดูว่าตอนนี้สังคมต้องการอะไรเราก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่โดนใจลูกค้า เป็นต้น
7. รู้จักบุคคล คือ การวางตัวในการเข้าสังคม ให้อยู่ในระดับที่พอดีพองาม มีมารยาท
วินัย, เคารพ, อดทน คือ สิ่งสำคัญ
สรุป ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จในชีวิต จำเป็นจะต้องฝึก สัปปุริสธรรม 7 เพื่อนำไปพัฒนาตนเองให้สมบรูณ์ยิ่ง ๆขึ้นไป
ข้อคิด วินัย, เคารพ, อดทน คือ วินัย ทำให้เรามีมารยาททางสังคมที่ดี, ความเคารพ เมื่อเราติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน, อดทน ทำให้เรามีน้ำใจอดทนต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
รับชมวิดีโอ
dmc.tv