http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/2010/07/Y9502362/Y9502362.html
--->>> ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ
ผู้วิจัย : นางวนิดา เศาภายน
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)
คำว่า “อุจเฉททิฏฐิ”ประกอบมาจากคำสองคำคืออุจเฉทะ(ขาดสูญ, ขาดสิ้น, ตัวขาด)และทิฏฐิ(๑) (ความเห็น, การเห็น, ลัทธิ, ทฤษฎี, ทัศนะ) อุจเฉททิฏฐิ หมายความว่าทัศนะที่เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ ในความเห็นว่าขาดสูญ หมายความว่า เห็นว่าหลังจากตาย อัตตาและโลกจะพินาศสูญหมด กล่าวคือ หลังจากตายแล้ว อัตตาทุกประเภท ไม่มีการเกิดอีก(๒)
ในคัมภีร์ธรรมสังคณี อภิธรรมปิฎก นิยามความหมายของอุจเฉททิฏฐิไว้ว่า อุจเฉททิฏฐิ คือ แนวคิดที่ถือว่า อัตตาและโลกขาดสูญ(๓)
อีกนัยหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง การปฏิเสธความไม่มีแห่งผลของการกระทำทุกอย่าง คือ ไม่ยอมรับว่ามีผลย้อนกลับมาถึงตัวผู้ทำ ทุกอย่างจบสิ้นเพียงแค่เชิงตะกอน ดังข้อความต่อไปนี้
๑. หลังจากตายแล้ว อัตตาขาดสูญ
. . .หลังจากตายแล้ว อัตตาย่อมขาดสูญ เพราะองค์ประกอบของคนเรานี้ เป็นแต่เพียงการประชุมของมหาภูตทั้งสี่ หลังจากตายแล้ว ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม สิ่งต่างๆย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ ที่จะหามเขาไป ร่างกายจะปรากฏอยู่แค่ป่าช้า หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นกระดูกที่มีสีดุจสีนกพิราบ. . .เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาด ย่อมขาดสูญไม่มีเกิดอีก. . .(๔) อัตตาของมนุษย์. . . อัตตาที่เป็นทิพย์ ชั้นกามาพจร(๕) . . .อัตตาที่เป็นทิพย์มีรูปสำเร็จทางใจ. . . อัตตาที่เป็นอากาสานัญจายตนะ(๖) . . อัตตาที่เป็นวิญญานัญจายตนะ(๗) . . ….อัตตาที่เป็นอากิญจัญยายตนะ(๘) . . . อัตตาที่เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ(๙)หลังจากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ(๑๐)
๒. หลังจากตายแล้ว อัตตาและโลกไม่เกิดอีก
. . . ปุถุชนผู้มิได้สดับ (ยังไม่ทราบถึงความจริง) อาจไม่มองรูปว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองเวทนาว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองสัญญาว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองสังขารว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองวิญญาณว่าเป็นอัตตา ทั้งอาจไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เรานั้น คือ อัตตา เรานั้นคือโลก เรานั้นตายไปแล้ว จะยังคงเที่ยงแท้ถาวรไม่แปรเปลี่ยน กระนั้นก็ตาม เขาก็อาจมีความเห็นอย่างนี้ว่า ตัวเราไม่ควรมี โลกของเราไม่ควรมี ตัวเราจักไม่มี โลกของเรา จัก ไม่มี. . . นี้คือ อุจเฉททิฏฐิ(๑๑)
เท่าที่ได้อธิบายมาเพียงแสดงให้เห็นถึงคำนิยาม ซึ่งยังไม่ปรากฏข้อความใดที่อธิบายคำนิยามอย่างที่ว่าอัตตาและโลกไม่มีเกิด ดังนั้น ผู้วิจัยจะได้อธิบายให้เห็นในส่วนนี้
ว่าด้วยทัศนะของชาวอุจเฉททิฏฐิที่เชื่อว่ามนุษย์คือกลุ่มก้อนของสสาร สิ่งที่เรียกว่า อัตตาเป็นผลผลิตของสสาร ในขณะที่คนตาย สสารที่มารวมกันแยกกระจายจากกัน อัตตาซึ่งเป็นผลของการรวมตัวกันอย่างเหมาะสมของสลารก็ดับสลายไป ในกรณีเช่นนี้ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ดับสูญไปมีเพียงอัตตาเท่านั้น ส่วนโลกซึ่งหมายถึงสสารหรือวัตถุธาตุที่ประกอบกันเป็นร่างกายและวัตถุต่าง ๆ รอบตัว มิได้ดับไปด้วย ดังจะเห็นจากข้อความที่ อชิตะเกสกัมพล ได้กล่าวไว้ สรุปได้ว่า เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว ธาตุ ๔ ก็กลับคืนเข้าสู่ธาตุ ๔ ธาตุเหล่านี้มิได้หายไปไหน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเชื่อว่าโลกขาดสูญ โลกในความหมายว่าคือสสารหรือธาตุสี่ที่ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุในจักรวาล ก็อาจไม่ใช่ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ แต่โดย ความจริง โลกก็ยังมีความตามเดิมนั้น
๓. ปฏิเสธความ “มีอยู่” ทุกอย่าง
. . . การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้ คนเขลาบัญญัติไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่า มีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ(๑๒). . .ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี คุณของมารดาไม่มี คุณของบิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่บรรลุธรรมซึ่งเป็นผู้กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ตาม ไม่มี ในโลก. . .(๑๓)
....................................................................................................................................................
บรรณานุกรม
๑ ทิฏฐิ หมายถึง ลัทธิ คือ คติความเชื่อถือ ความเห็น มีความหมายเป็นกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประสมกับคำอื่น เช่น ใช้กับ “มิจฉา” เป็น มิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นผิด ใช้กับ “สัมมา” เป็น สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ทิฏฐิในที่นี้ หมายถึง ความเห็นผิด (สํ.สฬา.(ไทย) ๑๘/๓๖๕/๔๓๘).
๒ อภิ.สง.(ไทย) ๓๔/๑๓๒/๒๙๘.
๓ อภิ.สง.(ไทย) ๓๔/๘๔๗.
๔ ที.สี.(ไทย) ๙/๑๗๐–๑๗๒/๕๑–๕๗.
๕ หมายถึง อัตตาของเทวดาในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ (๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี (ที.ม.อ.(บาลี) ๒/๑๒๗/๑๐๙, ที.สี.อ.(บาลี) ๘๖/๑๑๑).
๖ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นอากาสานัญจายตนะ หลังจากตายแล้วไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นอากาสานัญจายตนภูมิ ที. ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖., องฺ.นวก.(ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).
๗ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นวิญญาณัญจายตนะ หลังจากตายแล้ว ไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นวิญญาณัญจายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา (ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก. (ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).
๘ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นอากิญจัญญายตนะ หลังจากตายแล้ว ไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นอากิญจัญญายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก. (ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).
๙ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ หลังจากตายแล้วไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก.(ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐, ที.สี.อ.(บาลี) ๘๔/๑๑๐).
๑๐ ที.สี.อ.(บาลี) ๑/๘๔/๑๑๐.
๑๑ สํ.ข.(ไทย) ๑๗/๑๘๐/๑๓๓.
๑๒ ที.สี.(ไทย) ๙/๑๗๐–๑๗๒/๕๑–๕๗.
๑๓ ม.ม.(ไทย) ๑๓/๙๔–๙๕/๙๗–๙๙, ม.อุ.อ.(บาลี) ๓/๑๔๓/๙๗.
อุจเฉททิฏฐิ
--->>> ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ
ผู้วิจัย : นางวนิดา เศาภายน
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)
คำว่า “อุจเฉททิฏฐิ”ประกอบมาจากคำสองคำคืออุจเฉทะ(ขาดสูญ, ขาดสิ้น, ตัวขาด)และทิฏฐิ(๑) (ความเห็น, การเห็น, ลัทธิ, ทฤษฎี, ทัศนะ) อุจเฉททิฏฐิ หมายความว่าทัศนะที่เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ ในความเห็นว่าขาดสูญ หมายความว่า เห็นว่าหลังจากตาย อัตตาและโลกจะพินาศสูญหมด กล่าวคือ หลังจากตายแล้ว อัตตาทุกประเภท ไม่มีการเกิดอีก(๒)
ในคัมภีร์ธรรมสังคณี อภิธรรมปิฎก นิยามความหมายของอุจเฉททิฏฐิไว้ว่า อุจเฉททิฏฐิ คือ แนวคิดที่ถือว่า อัตตาและโลกขาดสูญ(๓)
อีกนัยหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง การปฏิเสธความไม่มีแห่งผลของการกระทำทุกอย่าง คือ ไม่ยอมรับว่ามีผลย้อนกลับมาถึงตัวผู้ทำ ทุกอย่างจบสิ้นเพียงแค่เชิงตะกอน ดังข้อความต่อไปนี้
๑. หลังจากตายแล้ว อัตตาขาดสูญ
. . .หลังจากตายแล้ว อัตตาย่อมขาดสูญ เพราะองค์ประกอบของคนเรานี้ เป็นแต่เพียงการประชุมของมหาภูตทั้งสี่ หลังจากตายแล้ว ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม สิ่งต่างๆย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ ที่จะหามเขาไป ร่างกายจะปรากฏอยู่แค่ป่าช้า หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นกระดูกที่มีสีดุจสีนกพิราบ. . .เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาด ย่อมขาดสูญไม่มีเกิดอีก. . .(๔) อัตตาของมนุษย์. . . อัตตาที่เป็นทิพย์ ชั้นกามาพจร(๕) . . .อัตตาที่เป็นทิพย์มีรูปสำเร็จทางใจ. . . อัตตาที่เป็นอากาสานัญจายตนะ(๖) . . อัตตาที่เป็นวิญญานัญจายตนะ(๗) . . ….อัตตาที่เป็นอากิญจัญยายตนะ(๘) . . . อัตตาที่เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ(๙)หลังจากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ(๑๐)
๒. หลังจากตายแล้ว อัตตาและโลกไม่เกิดอีก
. . . ปุถุชนผู้มิได้สดับ (ยังไม่ทราบถึงความจริง) อาจไม่มองรูปว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองเวทนาว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองสัญญาว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองสังขารว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองวิญญาณว่าเป็นอัตตา ทั้งอาจไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เรานั้น คือ อัตตา เรานั้นคือโลก เรานั้นตายไปแล้ว จะยังคงเที่ยงแท้ถาวรไม่แปรเปลี่ยน กระนั้นก็ตาม เขาก็อาจมีความเห็นอย่างนี้ว่า ตัวเราไม่ควรมี โลกของเราไม่ควรมี ตัวเราจักไม่มี โลกของเรา จัก ไม่มี. . . นี้คือ อุจเฉททิฏฐิ(๑๑)
เท่าที่ได้อธิบายมาเพียงแสดงให้เห็นถึงคำนิยาม ซึ่งยังไม่ปรากฏข้อความใดที่อธิบายคำนิยามอย่างที่ว่าอัตตาและโลกไม่มีเกิด ดังนั้น ผู้วิจัยจะได้อธิบายให้เห็นในส่วนนี้
ว่าด้วยทัศนะของชาวอุจเฉททิฏฐิที่เชื่อว่ามนุษย์คือกลุ่มก้อนของสสาร สิ่งที่เรียกว่า อัตตาเป็นผลผลิตของสสาร ในขณะที่คนตาย สสารที่มารวมกันแยกกระจายจากกัน อัตตาซึ่งเป็นผลของการรวมตัวกันอย่างเหมาะสมของสลารก็ดับสลายไป ในกรณีเช่นนี้ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ดับสูญไปมีเพียงอัตตาเท่านั้น ส่วนโลกซึ่งหมายถึงสสารหรือวัตถุธาตุที่ประกอบกันเป็นร่างกายและวัตถุต่าง ๆ รอบตัว มิได้ดับไปด้วย ดังจะเห็นจากข้อความที่ อชิตะเกสกัมพล ได้กล่าวไว้ สรุปได้ว่า เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว ธาตุ ๔ ก็กลับคืนเข้าสู่ธาตุ ๔ ธาตุเหล่านี้มิได้หายไปไหน
เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเชื่อว่าโลกขาดสูญ โลกในความหมายว่าคือสสารหรือธาตุสี่ที่ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุในจักรวาล ก็อาจไม่ใช่ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ แต่โดย ความจริง โลกก็ยังมีความตามเดิมนั้น
๓. ปฏิเสธความ “มีอยู่” ทุกอย่าง
. . . การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้ คนเขลาบัญญัติไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่า มีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ(๑๒). . .ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี คุณของมารดาไม่มี คุณของบิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่บรรลุธรรมซึ่งเป็นผู้กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ตาม ไม่มี ในโลก. . .(๑๓)
....................................................................................................................................................
บรรณานุกรม
๑ ทิฏฐิ หมายถึง ลัทธิ คือ คติความเชื่อถือ ความเห็น มีความหมายเป็นกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประสมกับคำอื่น เช่น ใช้กับ “มิจฉา” เป็น มิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นผิด ใช้กับ “สัมมา” เป็น สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ทิฏฐิในที่นี้ หมายถึง ความเห็นผิด (สํ.สฬา.(ไทย) ๑๘/๓๖๕/๔๓๘).
๒ อภิ.สง.(ไทย) ๓๔/๑๓๒/๒๙๘.
๓ อภิ.สง.(ไทย) ๓๔/๘๔๗.
๔ ที.สี.(ไทย) ๙/๑๗๐–๑๗๒/๕๑–๕๗.
๕ หมายถึง อัตตาของเทวดาในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ (๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี (ที.ม.อ.(บาลี) ๒/๑๒๗/๑๐๙, ที.สี.อ.(บาลี) ๘๖/๑๑๑).
๖ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นอากาสานัญจายตนะ หลังจากตายแล้วไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นอากาสานัญจายตนภูมิ ที. ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖., องฺ.นวก.(ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).
๗ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นวิญญาณัญจายตนะ หลังจากตายแล้ว ไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นวิญญาณัญจายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา (ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก. (ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).
๘ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นอากิญจัญญายตนะ หลังจากตายแล้ว ไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นอากิญจัญญายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก. (ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).
๙ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ หลังจากตายแล้วไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก.(ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐, ที.สี.อ.(บาลี) ๘๔/๑๑๐).
๑๐ ที.สี.อ.(บาลี) ๑/๘๔/๑๑๐.
๑๑ สํ.ข.(ไทย) ๑๗/๑๘๐/๑๓๓.
๑๒ ที.สี.(ไทย) ๙/๑๗๐–๑๗๒/๕๑–๕๗.
๑๓ ม.ม.(ไทย) ๑๓/๙๔–๙๕/๙๗–๙๙, ม.อุ.อ.(บาลี) ๓/๑๔๓/๙๗.