คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่12 (มติชนรายวัน 2 มี.ค.2556)
ถ้าเป็นผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล
เขาต้องหาว่า "หวยล็อก" อย่างแน่นอน
เพราะนี่คือ ข้อเขียนใน "สถานีคิด" ที่เขียนไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน
"2 สัปดาห์สุดท้ายรับรองได้ว่าเกมการต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง
ผู้ว่าฯกทม.จะต้องดุเดือด
อย่างแน่นอน
โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรอง
เราจะได้เห็นวิชาก้นหีบเรื่อง "ปีศาจทักษิณ"
ปลุกให้คนเมืองกรุง "กลัว" เพื่อจะดึงคะแนนเสียงจาก
"ผู้สมัครอิสระ" ที่มีฐานคะแนนใกล้เคียงกัน
สร้างบรรยากาศให้คนกลัวจนต้องเปลี่ยนใจ
ประเภท "ไม่เลือกเรา เขามาแน่"
ทำให้คนรู้สึกว่าถ้าเลือกคนอื่น คะแนนจะทิ้งน้ำ
เลือก "สุขุมพันธุ์" ดีกว่า เพื่อป้องกัน "ทักษิณ" ยึด กทม.
เกมนี้ได้เห็นแน่ ในช่วงโค้งสุดท้าย
แล้วสิ่งที่ทำนายไว้ก็เป็นจริง
"ประชาธิปัตย์" พลิกเกมในช่วงโค้งสุดท้าย
เริ่มต้นจาก "เกมโหด" ปลุกผีทักษิณ และเรื่อง
"เผาบ้านเผาเมือง" ออกมากระตุ้นความทรง
จำของคน กทม.
จากนั้นก็เปลี่ยนมาเล่นเกมอ้อนขอเสียงจากคนกรุง
ทั้งจดหมายจาก "อภิสิทธิ์" และการหลั่งน้ำตาของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ในทางการตลาดเขาเรียกกลยุทธ์นี้ว่าการตลาดอารมณ์ร่วม
หรือ emotional marketing
เป็นกลยุทธ์ที่ "อภิรักษ์ เกษะโยธิน" คุ้นเคยดี
เพราะนักการตลาดเชื่อว่าคนเราตัดสินใจซื้อสินค้าไม่ได้มาจาก
"เหตุผล" เพียงอย่างเดียว
บางครั้งเราก็ซื้อด้วย "อารมณ์" ด้วย
ประเภทเห็นป้าย "sale" แล้วต้องควักกระเป๋าซื้อทั้งที่ของเก่ายังไม่ได้ใช้เลย
ในช่วงแรก "ประชาธิปัตย์" ขายนโยบายแข่งกับ "เพื่อไทย"
แข่งกันว่าใครมีแนวคิดที่จะทำกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้นอย่างไร
ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพราะเรากำลังเลือก "ตัวแทน" มาบริหารจัดการ กทม.
โค้งแรกที่สู้กันด้วย "นโยบาย" ทั้ง 2 พรรคได้ใจคนไปแล้วกลุ่มหนึ่ง
แต่ "ประชาธิปัตย์" คงประเมินแล้วคะแนนสู้ไม่ได้
โค้งสุดท้ายของ "ประชาธิปัตย์" จึงเปลี่ยนจากเกม "เหตุผล"
มาขยี้เรื่อง "อารมณ์" แทน
ปลุกทั้งอารมณ์ "เกลียด" และ "สงสาร"
ทั้งเกลียดทักษิณ เกลียดเสื้อแดง
และสงสาร "สุขุมพันธ์" สงสาร "อภิสิทธิ์" สงสาร "ประชาธิปัตย์"
พยายามสร้างอารมณ์ความรู้สึกนี้ี่ให้เกิดขึ้นกับ "กลุ่มเป้าหมาย"
ที่มีโอกาสเปลี่ยนใจในโค้งสุดท้าย
เพราะการไปแย่งคะแนนจากกลุ่มคนที่ตัดสินใจเลือก "พงศพัศ" แล้วยากมาก
การตลาดอารมณ์ร่วมแบบนี้จึงใช้กับคนที่มีเยื่อใยกับพรรคประชาธิปัตย์
มาก่อน หรือคนที่เกลียดเสื้อแดงและทักษิณแบบเข้ากระดูกดำ
คนกลุ่มนี้คือ คนที่เตรียมหย่อนบัตรให้ผู้สมัครอิสระอื่นๆ
"ประชาธิปัตย์" หวังเปลี่ยนใจคนกลุ่มนี้ในโค้งสุดท้าย
เติมคะแนนให้กับ "สุขุมพันธุ์"
แต่จะได้ผลหรือไม่ วันพรุ่งนี้ (3 มีนาคม) จะได้รู้กันว่าพลังของ "เหตุผล" กับ "อารมณ์"
อะไรจะแรงกว่ากัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362212953&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ก่อนหน้านี้ ก็มีศัพท์ political marketing ....เห็นวิจารณ์กันแหลก
หาว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย ...แล้ว ศัพท์ใหม่วันนี้ emotional marketing
ล่ะคะ เห็นยังไง กันบ้าง อะไรจะชั่วร้ายกว่ากัน แล้วเราก็รู้ว่า
emotional marketing นั้นใช้ได้ผลจริงๆ
การตลาด"อารมณ์" โดย สรกล อดุลยานนท์ ....... มติชนออนไลน์
ถ้าเป็นผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล
เขาต้องหาว่า "หวยล็อก" อย่างแน่นอน
เพราะนี่คือ ข้อเขียนใน "สถานีคิด" ที่เขียนไว้เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน
"2 สัปดาห์สุดท้ายรับรองได้ว่าเกมการต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง
ผู้ว่าฯกทม.จะต้องดุเดือด
อย่างแน่นอน
โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรอง
เราจะได้เห็นวิชาก้นหีบเรื่อง "ปีศาจทักษิณ"
ปลุกให้คนเมืองกรุง "กลัว" เพื่อจะดึงคะแนนเสียงจาก
"ผู้สมัครอิสระ" ที่มีฐานคะแนนใกล้เคียงกัน
สร้างบรรยากาศให้คนกลัวจนต้องเปลี่ยนใจ
ประเภท "ไม่เลือกเรา เขามาแน่"
ทำให้คนรู้สึกว่าถ้าเลือกคนอื่น คะแนนจะทิ้งน้ำ
เลือก "สุขุมพันธุ์" ดีกว่า เพื่อป้องกัน "ทักษิณ" ยึด กทม.
เกมนี้ได้เห็นแน่ ในช่วงโค้งสุดท้าย
แล้วสิ่งที่ทำนายไว้ก็เป็นจริง
"ประชาธิปัตย์" พลิกเกมในช่วงโค้งสุดท้าย
เริ่มต้นจาก "เกมโหด" ปลุกผีทักษิณ และเรื่อง
"เผาบ้านเผาเมือง" ออกมากระตุ้นความทรง
จำของคน กทม.
จากนั้นก็เปลี่ยนมาเล่นเกมอ้อนขอเสียงจากคนกรุง
ทั้งจดหมายจาก "อภิสิทธิ์" และการหลั่งน้ำตาของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ในทางการตลาดเขาเรียกกลยุทธ์นี้ว่าการตลาดอารมณ์ร่วม
หรือ emotional marketing
เป็นกลยุทธ์ที่ "อภิรักษ์ เกษะโยธิน" คุ้นเคยดี
เพราะนักการตลาดเชื่อว่าคนเราตัดสินใจซื้อสินค้าไม่ได้มาจาก
"เหตุผล" เพียงอย่างเดียว
บางครั้งเราก็ซื้อด้วย "อารมณ์" ด้วย
ประเภทเห็นป้าย "sale" แล้วต้องควักกระเป๋าซื้อทั้งที่ของเก่ายังไม่ได้ใช้เลย
ในช่วงแรก "ประชาธิปัตย์" ขายนโยบายแข่งกับ "เพื่อไทย"
แข่งกันว่าใครมีแนวคิดที่จะทำกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้นอย่างไร
ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพราะเรากำลังเลือก "ตัวแทน" มาบริหารจัดการ กทม.
โค้งแรกที่สู้กันด้วย "นโยบาย" ทั้ง 2 พรรคได้ใจคนไปแล้วกลุ่มหนึ่ง
แต่ "ประชาธิปัตย์" คงประเมินแล้วคะแนนสู้ไม่ได้
โค้งสุดท้ายของ "ประชาธิปัตย์" จึงเปลี่ยนจากเกม "เหตุผล"
มาขยี้เรื่อง "อารมณ์" แทน
ปลุกทั้งอารมณ์ "เกลียด" และ "สงสาร"
ทั้งเกลียดทักษิณ เกลียดเสื้อแดง
และสงสาร "สุขุมพันธ์" สงสาร "อภิสิทธิ์" สงสาร "ประชาธิปัตย์"
พยายามสร้างอารมณ์ความรู้สึกนี้ี่ให้เกิดขึ้นกับ "กลุ่มเป้าหมาย"
ที่มีโอกาสเปลี่ยนใจในโค้งสุดท้าย
เพราะการไปแย่งคะแนนจากกลุ่มคนที่ตัดสินใจเลือก "พงศพัศ" แล้วยากมาก
การตลาดอารมณ์ร่วมแบบนี้จึงใช้กับคนที่มีเยื่อใยกับพรรคประชาธิปัตย์
มาก่อน หรือคนที่เกลียดเสื้อแดงและทักษิณแบบเข้ากระดูกดำ
คนกลุ่มนี้คือ คนที่เตรียมหย่อนบัตรให้ผู้สมัครอิสระอื่นๆ
"ประชาธิปัตย์" หวังเปลี่ยนใจคนกลุ่มนี้ในโค้งสุดท้าย
เติมคะแนนให้กับ "สุขุมพันธุ์"
แต่จะได้ผลหรือไม่ วันพรุ่งนี้ (3 มีนาคม) จะได้รู้กันว่าพลังของ "เหตุผล" กับ "อารมณ์"
อะไรจะแรงกว่ากัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362212953&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ก่อนหน้านี้ ก็มีศัพท์ political marketing ....เห็นวิจารณ์กันแหลก
หาว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย ...แล้ว ศัพท์ใหม่วันนี้ emotional marketing
ล่ะคะ เห็นยังไง กันบ้าง อะไรจะชั่วร้ายกว่ากัน แล้วเราก็รู้ว่า
emotional marketing นั้นใช้ได้ผลจริงๆ