เปิดแนวเวนคืนสร้างฟลัดเวย์ 1.2 แสนล้าน 2 ทางเลือกเวนคืน 3 หมื่นไร่-1.4 แสนไร่ กบอ.เล็งใช้แนวกรมชลฯ ขุดคลองระบายน้ำ-ถนน 4 เลน ฝั่ง ตอ. 270 กม. ผ่าน 6 จังหวัด "ชัยนาท-สิงห์บุรี-ลพบุรี-สระบุรี-ปทุมฯ-สมุทรปราการ" ใช้แนวคลอง "ชัยนาท-ป่าสัก-ระพีพัฒน์" และขุดคลองใหม่ลงอ่าวไทย ฝั่ง ตต. 300 กม. จากเหนือ นครสวรรค์-ชัยนาท-สุพรรณฯ-นครปฐม-กาญจนบุรี-สมุทรสาคร
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 15 มี.ค. 2556 นี้ กบอ.จะให้บริษัทเอกชน 3 ราย ประกอบด้วย 1.กลุ่มอิตาเลียนไทย 2.เควอเตอร์ และ 3.กิจการร่วมค้าไทย-ญี่ปุ่น ที่ผ่านการพิจารณากรอบแนวคิดพัฒนาโครงการก่อสร้างทางน้ำหลาก (Floodway) หรือทางผันน้ำ (Flood Channel) ทั้งในพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาดการระบายน้ำไม่น้อยกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร วงเงินก่อสร้าง 120,000 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดทีโออาร์ได้กำหนดรายละเอียดโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ว่าพิจารณาจะใช้แนวเส้นทางไหน และรูปแบบการพัฒนาโครงการจะเป็นแนวฟลัดเวย์หรือทางผันน้ำ เพื่อให้เอกชนออกแบบในรายละเอียดก่อนยื่นประมูลก่อสร้าง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ฝั่งตะวันออกเน้นขยายคลองเดิม
ข้อสรุปเบื้องต้นในส่วนของการกำหนดเส้นทางการระบายน้ำหรือฟลัดเวย์ จะใช้แนวเดิมที่กรมชลประทานที่ศึกษาไว้ (ดูแผนที่) โดยฝั่งตะวันออกมีระยะทางประมาณ 270 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ 6 จังหวัด จาก จ.ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี จนถึง จ.สมุทรปราการ
รูปแบบโครงการจะปรับปรุงขยายระบบเดิม คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองระพีพัฒน์ ให้มีขนาดความกว้างประมาณ 200 เมตร ซึ่งจะสามารถระบายน้ำได้มากขึ้น จากปัจจุบัน 210 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เป็น 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
และขุดคลองใหม่ขนาดความกว้าง 200 เมตร ต่อจากคลองระพีพัฒน์ คู่ขนานคลองรังสิต 14, 15 คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และออกสู่ทะเลอ่าวไทย ช่วงด้านล่างแนวเส้นทางจะอยู่ถัดจากถนนวงแหวนรอบที่ 3 ของกรมทางหลวง (ทล.) ประมาณ 20-30 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 78,263 ล้านบาท
ฝั่งตะวันตกขุดแนวใหม่คลอง-ถนน
ส่วนฝั่งตะวันตก กบอ.กำหนดให้เป็นแนวตัดใหม่ตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวมประมาณ 300 กิโลเมตร ปัจจุบันกรมชลประทานกำลังสรุปพื้นที่ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะรับน้ำจากด้านเหนือและช่วงปลายที่ระบายน้ำว่าจะใช้พื้นที่ไหนจึงจะเหมาะสมที่สุดแต่ช่วงพื้นที่กลางน้ำแนวชัดเจนแล้ว โดยจะพาดผ่าน 4 จังหวัด คือ จ.ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และ จ.สมุทรสาคร
แหล่งข่าวกล่าวว่า โดยช่วงต้นน้ำมี 2 ทางเลือก คือ 1.รับน้ำจากพื้นที่เหนือ จ.นครสวรรค์ขึ้นไป เช่น อ.เก้าเลี้ยว อ.ขาณุวรลักษบุรี อ.บรรพตพิสัย หรือ 2.รับน้ำจากบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลงมา
ขณะที่พื้นที่ปลายน้ำมี 2 ทางเลือกเช่นเดียวกัน โดย 1.จะระบายลงอ่าวไทย โดยฉีกแนวมาทาง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ผ่านไปยังลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี หรือ 2.ระบายมาทางแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสาคร แนวจะตัดตรงผ่าน จ.นครปฐม ไล่ลงมาถึงแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน
ฝั่งตะวันตกจะมีทั้งคลองขุดใหม่ระบายน้ำหลากขนาดความกว้างประมาณ 300 เมตร และมีถนนขนาด 4 ช่องจราจร ขนาบอยู่ด้านข้างเป็นคันกั้นน้ำ ส่วนการระบายน้ำกำลังดูว่าจะเป็น 500 ลูกบาศก์เมตร 1,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที คาดว่าเงินลงทุนก่อสร้างจะสูงกว่าฝั่งตะวันออก เพราะมีทั้งถนนและคลองระบายน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นแนวใหม่ทั้งหมด โดยแนวเดิมที่กรมชลฯศึกษาไว้เบื้องต้น เฉพาะการก่อสร้างคลองระบายน้ำ วงเงินลงทุนอยู่ที่ 40,250 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามเพื่อให้การลงทุนก่อสร้างแนวฟลัดเวย์อยู่ภายใต้กรอบวงเงิน 120,000 ล้านบาท ทาง กบอ.อยู่ระหว่างพิจารณาจะปรับลดการลงทุนสร้างฟลัดเวย์ฝั่งตะวันออกลง แต่ยังคงแนวเดิมที่กรมชลฯศึกษาไว้ ด้วยการลดขนาดการรับน้ำลงจากเดิม 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เหลือประมาณ 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และอาจจะมีการก่อสร้างถนนขนาบทั้ง 2 ข้างของคลองระบายน้ำด้วย
ปรับเงินลงทุนซุกตะวันออก
สาเหตุที่ปรับขนาดฟลัดเวย์ทางฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็เพื่อจะนำวงเงินมาเน้นก่อสร้างโครงการในฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาแทน เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ฝั่งตะวันออกมีโครงการระบายน้ำ
ที่สมบูรณ์แบบมากกว่าฝั่งตะวันตก จึงต้องเลือกสร้างคลองระบายน้ำในฝั่งตะวันตกให้ระบายได้ 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
"กบอ.มีแนวคิดจะลดการลงทุนฝั่งตะวันออก เพราะหากสร้างเต็มทั้งโครงการอาจจะต้องเวนคืนที่ดินมาก จากผลการศึกษาของกรมชลฯเดิมคาดว่าจะเวนคืนที่ดินร่วม 3-4 หมื่นไร่ อีกทั้งที่ดินยังมีสภาพเป็นดินอ่อน และมีบางช่วงเป็นพื้นที่ลักษณะตกท้องช้าง ทำให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยทำได้ไม่ค่อยดี ที่สำคัญงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท จะทำทั้ง 2 ฝั่งอาจจะไม่พอ"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เม็ดเงินลงทุนจะมากหรือน้อยอยู่กับรูปแบบการก่อสร้างว่า กบอ.จะเลือกแบบแนวฟลัดเวย์ หรือคลองผันน้ำ ถ้าเป็นคลองผันน้ำต้นทุนจะสูงกว่าเพราะต้องขุดคลองใหม่พร้อมถนน 2 ข้างเป็นคันกั้นน้ำ แต่แบบฟลัดเวย์จะสร้างเป็นแค่สร้างกั้นถนนขนาบข้างพื้นที่ที่จะรับน้ำหลาก
เวนคืนที่ดิน 3 หมื่น-1.4 แสนไร่
ขณะเดียวกันเป็นไปได้ที่ กบอ.จะให้ผสมผสานทั้งฟลัดเวย์และคลองผันน้ำ อย่างฝั่งตะวันตกช่วงด้านบนจะเป็นแบบคลองผันน้ำ และด้านล่างเป็นแบบฟลัดเวย์
ส่วนการใช้พื้นที่เวนคืนเพื่อมาก่อสร้างอยู่ที่ขนาดคลองระบายน้ำ หากกว้าง 1 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางกว่า 200-300 กิโลเมตร ใน 1 เส้นทางต้องใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 1.4 แสนไร่ หากกว้าง 200-500 เมตร ใน 1 เส้นทางต้องไม่น้อยกว่า 3-6 หมื่นไร่
ครม.อนุมัตพิมพ์เขียว กบอ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ กบอ.เสนอรายละเอียดการออกแบบ Floodway และ Flood Diversion Channel เพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง โดยระบุว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือผันน้ำ หรือเบี่ยงเส้นทางน้ำโดยจะดำเนินการใน 2 พื้นที่ คือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาราว 2 ปีและฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยในการออกแบบจะให้สามารถใช้ประโยชน์ทางคมนาคมได้ด้วย
เวนคืนแสนไร่เซ่นฟลัดเวย์ 11จว.รอบกทม.-ปริมณฑล
เปิดแนวเวนคืนสร้างฟลัดเวย์ 1.2 แสนล้าน 2 ทางเลือกเวนคืน 3 หมื่นไร่-1.4 แสนไร่ กบอ.เล็งใช้แนวกรมชลฯ ขุดคลองระบายน้ำ-ถนน 4 เลน ฝั่ง ตอ. 270 กม. ผ่าน 6 จังหวัด "ชัยนาท-สิงห์บุรี-ลพบุรี-สระบุรี-ปทุมฯ-สมุทรปราการ" ใช้แนวคลอง "ชัยนาท-ป่าสัก-ระพีพัฒน์" และขุดคลองใหม่ลงอ่าวไทย ฝั่ง ตต. 300 กม. จากเหนือ นครสวรรค์-ชัยนาท-สุพรรณฯ-นครปฐม-กาญจนบุรี-สมุทรสาคร
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 15 มี.ค. 2556 นี้ กบอ.จะให้บริษัทเอกชน 3 ราย ประกอบด้วย 1.กลุ่มอิตาเลียนไทย 2.เควอเตอร์ และ 3.กิจการร่วมค้าไทย-ญี่ปุ่น ที่ผ่านการพิจารณากรอบแนวคิดพัฒนาโครงการก่อสร้างทางน้ำหลาก (Floodway) หรือทางผันน้ำ (Flood Channel) ทั้งในพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาดการระบายน้ำไม่น้อยกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตร วงเงินก่อสร้าง 120,000 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดทีโออาร์ได้กำหนดรายละเอียดโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่ว่าพิจารณาจะใช้แนวเส้นทางไหน และรูปแบบการพัฒนาโครงการจะเป็นแนวฟลัดเวย์หรือทางผันน้ำ เพื่อให้เอกชนออกแบบในรายละเอียดก่อนยื่นประมูลก่อสร้าง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ฝั่งตะวันออกเน้นขยายคลองเดิม
ข้อสรุปเบื้องต้นในส่วนของการกำหนดเส้นทางการระบายน้ำหรือฟลัดเวย์ จะใช้แนวเดิมที่กรมชลประทานที่ศึกษาไว้ (ดูแผนที่) โดยฝั่งตะวันออกมีระยะทางประมาณ 270 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ 6 จังหวัด จาก จ.ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี จนถึง จ.สมุทรปราการ
รูปแบบโครงการจะปรับปรุงขยายระบบเดิม คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองระพีพัฒน์ ให้มีขนาดความกว้างประมาณ 200 เมตร ซึ่งจะสามารถระบายน้ำได้มากขึ้น จากปัจจุบัน 210 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เป็น 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
และขุดคลองใหม่ขนาดความกว้าง 200 เมตร ต่อจากคลองระพีพัฒน์ คู่ขนานคลองรังสิต 14, 15 คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และออกสู่ทะเลอ่าวไทย ช่วงด้านล่างแนวเส้นทางจะอยู่ถัดจากถนนวงแหวนรอบที่ 3 ของกรมทางหลวง (ทล.) ประมาณ 20-30 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 78,263 ล้านบาท
ฝั่งตะวันตกขุดแนวใหม่คลอง-ถนน
ส่วนฝั่งตะวันตก กบอ.กำหนดให้เป็นแนวตัดใหม่ตลอดเส้นทาง มีระยะทางรวมประมาณ 300 กิโลเมตร ปัจจุบันกรมชลประทานกำลังสรุปพื้นที่ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะรับน้ำจากด้านเหนือและช่วงปลายที่ระบายน้ำว่าจะใช้พื้นที่ไหนจึงจะเหมาะสมที่สุดแต่ช่วงพื้นที่กลางน้ำแนวชัดเจนแล้ว โดยจะพาดผ่าน 4 จังหวัด คือ จ.ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และ จ.สมุทรสาคร
แหล่งข่าวกล่าวว่า โดยช่วงต้นน้ำมี 2 ทางเลือก คือ 1.รับน้ำจากพื้นที่เหนือ จ.นครสวรรค์ขึ้นไป เช่น อ.เก้าเลี้ยว อ.ขาณุวรลักษบุรี อ.บรรพตพิสัย หรือ 2.รับน้ำจากบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลงมา
ขณะที่พื้นที่ปลายน้ำมี 2 ทางเลือกเช่นเดียวกัน โดย 1.จะระบายลงอ่าวไทย โดยฉีกแนวมาทาง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ผ่านไปยังลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี หรือ 2.ระบายมาทางแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสาคร แนวจะตัดตรงผ่าน จ.นครปฐม ไล่ลงมาถึงแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน
ฝั่งตะวันตกจะมีทั้งคลองขุดใหม่ระบายน้ำหลากขนาดความกว้างประมาณ 300 เมตร และมีถนนขนาด 4 ช่องจราจร ขนาบอยู่ด้านข้างเป็นคันกั้นน้ำ ส่วนการระบายน้ำกำลังดูว่าจะเป็น 500 ลูกบาศก์เมตร 1,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที คาดว่าเงินลงทุนก่อสร้างจะสูงกว่าฝั่งตะวันออก เพราะมีทั้งถนนและคลองระบายน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นแนวใหม่ทั้งหมด โดยแนวเดิมที่กรมชลฯศึกษาไว้เบื้องต้น เฉพาะการก่อสร้างคลองระบายน้ำ วงเงินลงทุนอยู่ที่ 40,250 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามเพื่อให้การลงทุนก่อสร้างแนวฟลัดเวย์อยู่ภายใต้กรอบวงเงิน 120,000 ล้านบาท ทาง กบอ.อยู่ระหว่างพิจารณาจะปรับลดการลงทุนสร้างฟลัดเวย์ฝั่งตะวันออกลง แต่ยังคงแนวเดิมที่กรมชลฯศึกษาไว้ ด้วยการลดขนาดการรับน้ำลงจากเดิม 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เหลือประมาณ 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และอาจจะมีการก่อสร้างถนนขนาบทั้ง 2 ข้างของคลองระบายน้ำด้วย
ปรับเงินลงทุนซุกตะวันออก
สาเหตุที่ปรับขนาดฟลัดเวย์ทางฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็เพื่อจะนำวงเงินมาเน้นก่อสร้างโครงการในฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาแทน เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ฝั่งตะวันออกมีโครงการระบายน้ำ
ที่สมบูรณ์แบบมากกว่าฝั่งตะวันตก จึงต้องเลือกสร้างคลองระบายน้ำในฝั่งตะวันตกให้ระบายได้ 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
"กบอ.มีแนวคิดจะลดการลงทุนฝั่งตะวันออก เพราะหากสร้างเต็มทั้งโครงการอาจจะต้องเวนคืนที่ดินมาก จากผลการศึกษาของกรมชลฯเดิมคาดว่าจะเวนคืนที่ดินร่วม 3-4 หมื่นไร่ อีกทั้งที่ดินยังมีสภาพเป็นดินอ่อน และมีบางช่วงเป็นพื้นที่ลักษณะตกท้องช้าง ทำให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยทำได้ไม่ค่อยดี ที่สำคัญงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท จะทำทั้ง 2 ฝั่งอาจจะไม่พอ"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เม็ดเงินลงทุนจะมากหรือน้อยอยู่กับรูปแบบการก่อสร้างว่า กบอ.จะเลือกแบบแนวฟลัดเวย์ หรือคลองผันน้ำ ถ้าเป็นคลองผันน้ำต้นทุนจะสูงกว่าเพราะต้องขุดคลองใหม่พร้อมถนน 2 ข้างเป็นคันกั้นน้ำ แต่แบบฟลัดเวย์จะสร้างเป็นแค่สร้างกั้นถนนขนาบข้างพื้นที่ที่จะรับน้ำหลาก
เวนคืนที่ดิน 3 หมื่น-1.4 แสนไร่
ขณะเดียวกันเป็นไปได้ที่ กบอ.จะให้ผสมผสานทั้งฟลัดเวย์และคลองผันน้ำ อย่างฝั่งตะวันตกช่วงด้านบนจะเป็นแบบคลองผันน้ำ และด้านล่างเป็นแบบฟลัดเวย์
ส่วนการใช้พื้นที่เวนคืนเพื่อมาก่อสร้างอยู่ที่ขนาดคลองระบายน้ำ หากกว้าง 1 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางกว่า 200-300 กิโลเมตร ใน 1 เส้นทางต้องใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า 1.4 แสนไร่ หากกว้าง 200-500 เมตร ใน 1 เส้นทางต้องไม่น้อยกว่า 3-6 หมื่นไร่
ครม.อนุมัตพิมพ์เขียว กบอ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ กบอ.เสนอรายละเอียดการออกแบบ Floodway และ Flood Diversion Channel เพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง โดยระบุว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือผันน้ำ หรือเบี่ยงเส้นทางน้ำโดยจะดำเนินการใน 2 พื้นที่ คือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เวลาราว 2 ปีและฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี โดยในการออกแบบจะให้สามารถใช้ประโยชน์ทางคมนาคมได้ด้วย