เมื่อวันที่ 1 มี.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงการตรวจสอบกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ
ร้องเรียนให้ตรวจสอบทุจริตสอบคัดเลือกตำแหน่งครูผู้ช่วย 2,000 อัตราทั่วประเทศว่า หลังได้รับการร้องขอให้ตรวจสอบจากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แล้วตนได้มอบหมายให้นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามทุจริต ดีเอสไอ เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยล่าสุดได้มีการสอบปากคำพยานหลายปาก ทำให้สามารถประมวลข้อมูลได้ส่วนหนึ่ง และมีความเป็นไปได้ที่ดีเอสไอจะเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการสอบในครั้งนี้
ด้านนายธานินทร์ กล่าวว่า จากการสอบปากสอบคำพยานและการตรวจสอบเอกสารในเบื้องต้นพบพิรุธในการจัดสอบหลายประเด็น
และมีหลักฐานที่น่าเชื่อว่ามีความไม่ถูกต้องในการเก็บรักษาและจัดส่งข้อสอบ ซึ่งเอื้อให้เกิดการทุจริตใน 3 ลักษณะคือ มีการเฉลยข้อสอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านเครื่องมืออิเลคทรอนิคส์ซึ่งทำกันในห้องสอบ และการเฉลยคำตอบของข้อสอบก่อนเข้าสอบจริง ความไม่ชอบมาพากลในจัดส่งและเก็บรักษาข้อสอบ รวมทั้งการจ้างบุคคลอื่นเข้าสอบแทน โดยสัปดาห์หน้าพนักงานสอบสวนจะลงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อสอบปากคำพยานบุคคล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พบว่ามีการทุจริตสูงมาก
แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ในการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในกรมราชทัณฑ์
ดีเอสไอและสำนักงานป้องกันและปรามปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.)ได้ออกระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตสอบเนื่องจากในฐานข้อมูลความผิดเกี่ยวกับการทุจริตสอบเข้ารับราชการในหน่วยงานราชการหลายแห่งพบว่า ได้ขึ้นบัญชีดำผู้ที่มีประวัติสมัครสอบบรรจุรับราชการหลายสนามสอบ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการศึกษาดี จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ แต่มีประวัติตระเวนรับจ้างสอบแทนบุคคลที่สมัครสอบจริง และมีพฤติการณ์เป็นมือเฉลยข้อสอบให้กับติวเตอร์ดังย่านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย
“ตามปกติในการสอบแต่ละครั้ง และในทุกสนามสอบจึงมีการกำหนดห้ามไม่ให้มีการนำอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ทุกประเภท โดยมีเครื่องมือตรวจสอบโลหะและให้ถอดรองเท้าไว้ที่หน้าห้องสอบ และระหว่างการสอบจะนำรถตัดสัญญาณการสื่อสาร จนกว่าการสอบจะแล้วเสร็จ และมีการล็อคกลุ่มบุคคลที่มีประวัติเป็นมือเฉลยข้อสอย แต่ปรากฏว่าการสอบครั้งนี้กลับไม่มีการใช้เครื่องมือตัดสัญญาณการสื่อสารแต่อย่างใด และยังพบว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมการสอบมีความหละหลวมในการเก็บรักษาข้อสอบ” แหล่งข่าวระบุ
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.youtube.com/embed/3U72hzeBLOw
อะไรจะโกงกันนักหนา แล้วเยาวชนจะเป็นยังงัยอ่ะเนี่ยย ปวดตับจุงเบยยยยย
เมื่อวันที่ 1 มี.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงการตรวจสอบกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ
ร้องเรียนให้ตรวจสอบทุจริตสอบคัดเลือกตำแหน่งครูผู้ช่วย 2,000 อัตราทั่วประเทศว่า หลังได้รับการร้องขอให้ตรวจสอบจากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แล้วตนได้มอบหมายให้นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามทุจริต ดีเอสไอ เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น โดยล่าสุดได้มีการสอบปากคำพยานหลายปาก ทำให้สามารถประมวลข้อมูลได้ส่วนหนึ่ง และมีความเป็นไปได้ที่ดีเอสไอจะเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการสอบในครั้งนี้
ด้านนายธานินทร์ กล่าวว่า จากการสอบปากสอบคำพยานและการตรวจสอบเอกสารในเบื้องต้นพบพิรุธในการจัดสอบหลายประเด็น
และมีหลักฐานที่น่าเชื่อว่ามีความไม่ถูกต้องในการเก็บรักษาและจัดส่งข้อสอบ ซึ่งเอื้อให้เกิดการทุจริตใน 3 ลักษณะคือ มีการเฉลยข้อสอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านเครื่องมืออิเลคทรอนิคส์ซึ่งทำกันในห้องสอบ และการเฉลยคำตอบของข้อสอบก่อนเข้าสอบจริง ความไม่ชอบมาพากลในจัดส่งและเก็บรักษาข้อสอบ รวมทั้งการจ้างบุคคลอื่นเข้าสอบแทน โดยสัปดาห์หน้าพนักงานสอบสวนจะลงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อสอบปากคำพยานบุคคล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พบว่ามีการทุจริตสูงมาก
แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ในการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในกรมราชทัณฑ์
ดีเอสไอและสำนักงานป้องกันและปรามปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.)ได้ออกระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตสอบเนื่องจากในฐานข้อมูลความผิดเกี่ยวกับการทุจริตสอบเข้ารับราชการในหน่วยงานราชการหลายแห่งพบว่า ได้ขึ้นบัญชีดำผู้ที่มีประวัติสมัครสอบบรรจุรับราชการหลายสนามสอบ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการศึกษาดี จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ แต่มีประวัติตระเวนรับจ้างสอบแทนบุคคลที่สมัครสอบจริง และมีพฤติการณ์เป็นมือเฉลยข้อสอบให้กับติวเตอร์ดังย่านหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย
“ตามปกติในการสอบแต่ละครั้ง และในทุกสนามสอบจึงมีการกำหนดห้ามไม่ให้มีการนำอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ทุกประเภท โดยมีเครื่องมือตรวจสอบโลหะและให้ถอดรองเท้าไว้ที่หน้าห้องสอบ และระหว่างการสอบจะนำรถตัดสัญญาณการสื่อสาร จนกว่าการสอบจะแล้วเสร็จ และมีการล็อคกลุ่มบุคคลที่มีประวัติเป็นมือเฉลยข้อสอย แต่ปรากฏว่าการสอบครั้งนี้กลับไม่มีการใช้เครื่องมือตัดสัญญาณการสื่อสารแต่อย่างใด และยังพบว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมการสอบมีความหละหลวมในการเก็บรักษาข้อสอบ” แหล่งข่าวระบุ
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้