เคยอ่านเจอ 2-3 กระทู้ที่เกี่ยวกับศาสนาและจิตวิทยา..
บ้างก็สงสัยว่า ในอนาคต..จิตเวชจะเข้ามาแทนที่ศาสนามั๊ย?" (ท่านจขกท.คงหมายถึงจิตเวชศาสตร์และจิตวิทยา) บ้างก็ว่าโรคจิตเภทคือพวกขาดสติ ต้องรักษาด้วยการเจริญสติภาวนา บ้างก็ว่าศาสนาพุทธ "เหนือชั้น" กว่าจิตวิทยาที่ค้นพบโดยตะวันตก ฯลฯ
ดิฉันมีความคิดเห็นอย่างนี้ค่ะ
บอกตรงๆไม่ชอบคำว่า "ห่างชั้น" เลยค่ะ ฟังดูเหมือนคนพูดเป็นพวกคลั่งศาสนาพุทธ ซึ่งมักแสดงอาการดูถูกศาสตร์อื่นๆ โดยไม่รู้ตัว
ศาสตร์ด้านจิตวิทยา (ในที่นี้รวมถึงจิตเวชศาสตร์ด้วย) แม้จะเกิดตามหลังศาสนาพุทธหลายร้อยหลายพันปี แต่ไม่ได้หมายความว่ามัน "ด้อยกว่า" เพราะมันคนละสาขา เอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นสาขาเดียวกัน ก็ไม่ควรเทียบในเชิงด้อยกว่า-เหนือกว่า เพราะแต่ละสาขาล้วนมีจุดเด่น-จุดด้อยแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ศาสตร์ด้านจิตวิทยาเองก็มีแนวคิดหลาย schools ซึ่งไม่ได้แปลว่า แนวคิดใดเหนือชั้นที่สุด เพราะต่างมีจุดเด่นจุดด้อยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้
ถึงแม้จิตวิทยาจะเป็นคนละสาขากับศาสนา (ย้ำว่า "คนละสาขา") แต่จิตวิทยาก็ประยุกต์หลักการหลายอย่างมาจากศาสนาและปรัชญา ซึ่งส่วนใหญ่ "ไม่ได้มาจากศาสนาพุทธ" เพราะนักคิดด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตก แปลว่า..ที่ไม่ได้เป็นชาวตะวันตกก็มี ซึ่งนักคิดของกลุ่มนี้เองที่อาจได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธบ้าง
การที่จิตวิทยานำแนวคิดหลายอย่างมาจากศาสนาและปรัชญา ก็ไม่ได้หมายความว่า จิตวิทยาไปลอกแบบมาแล้วนำไปใช้ผิดๅถูกๆ แต่จิตวิทยานำมาศึกษาทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ใหม่ให้มีความน่าเชื่อถือ เป็นสากล และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น จิตวิทยาเพียงต้่องการนำความรู้ทีไ่ด้..มาอธิบายความคิดจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างลัทธิใหม่ หรือล้มล้างศาสนาใดๆ
เพราะฉะนั้น....ไม่จำเป็นต้องแสดงอาการ "ของขึ้น" เพียงแค่มีคนเขียนคำว่า "จิตวิทยา" ไว้ใกล้ๆคำว่า "ศาสนา"
จริงๆ พวกเราควรขอบคุณทั้งศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา และจิตวิทยาที่ทำให้คนเรามีความเข้าใจตนเองและคนอื่นดีขึ้น ทำไมเราต้องเลือกเชื่อเฉพาะศาสนา ทั้งๆที่ทุกศาสตร์ล้วน "เอื้อ" ซึ่งกันและกัน (ที่เห็นค้านกันก็อาจมีบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของมุมมอง) การตั้งแง่ว่าศาสตร์อื่นๆเป็นรอง อาจทำให้คุณไม่สนใจติดตามจนพลาดโอกาสเรียนรู้"ข้อความรู้ใหม่ๆ" เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าศาสนาพุทธมีหลักการที่ค่อนข้างตายตัวมานานนับพันปี แม้พุทธศาสนิกชนนักปฏิบัติในยุคต่อๆมาจะทยอยค้นพบสัจจธรรมใหม่ๆ แต่ก็ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเข้าไปมากนัก เนื่องจากกระแสอนุรักษ์นิยมของพุทธศาสนิกชนเอง (มองว่าแนวคิดของพระพุทธเจ้านั้นเป็นจริงชั่วนิรันดร์)
ยกตัวอย่างเช่น โรคจิตเภท ..ตอนนี้โลกเราได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจากการวิจัยต่างๆว่า ที่แท้ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในระดับชีวโมเลกุลของสมอง ที่ "ทุกคน" มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ แม้พ่อแม่จะเลี้ยงดูคุณมาอย่างดีหรือคุณปฏิบัตธรรมอย่างสม่ำเสมอ เจริญสติภาวนามาตลอดชีวิต ฯลฯ แต่สถิติที่ว่า 0.3-1 คนนั้นอาจจะเป็น "คุณ" ก็ได้ ใครจะรู้
ด้วยข้อความรู้ใหม่ๆที่ได้มา ทำให้จิตแพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุดขึ้น ยาหรือการรักษาอื่นๆก็ทำงานได้เฉพาะเจาะจงขึ้น ไม่ใช่รักษาแบบหว่านแหเหมือนสมัยก่อนโน้น ถ้าจิตวิทยา/จิตเวชศาสตร์ไม่แตกแขนงออกมาจากศาสนาจนก้าวหน้าไปไกลถึงเพียงนี้ ถามว่าแพทย์จะให้ยาคนไข้ถูกโรคมั๊ย? แพทย์เอาความรู้เรื่องยามาจากหนังสือศาสนาหรือ? จนป่านนี้พวกคลั่งศาสนายังเชื่ออยู่เลยว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทเป็นคนขาดสติ และเชื่อว่าการเจริญสติภาวนาคือการรักษาที่ดีที่สุด
ความคิดนี้ไม่ได้ผิดซะทีเดียว เพราะจิตแพทย์เองก็ประยุกต์ใช้เทคนิคทางศาสนามาใช้เหมือนกัน แต่ไม่ได้นำมาใช้กับผู้ป่วยทุกประเภท เพราะมันต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ป่วยด้วย อย่างเช่นผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน กำลังคลุ้มคลั่งอาละวาด..ใครจะไปจับเขามานั่งเจริญสติภาวนากันล่ัะ?
โอเค..หลังจากผู้ป่วยเข้าสู่ระยะอาการสงบแล้ว การบำบัดรักษาด้านจิตสังคม (psycho-social treatments) ก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งทีมผู้รักษาจะเริ่มประยุกต์แนวคิดทางศาสนาเข้ามาใช้ เนื่องจากการทำความเข้าใจผ่านมุมมองด้านศาสนาซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมานาน จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้น เช่น การฝึก deep breathing หลักการก็คล้ายๆกับการปฏิบัติอาณาปนสติ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้...การรักษาด้วยยา ก็ยังเป็นการรักษาหลักอยู่เหมือนเดิม โดยมีการรักษาอื่นๆเป็นตัวเสริม เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสกำเริบซ้ำได้ และอยากจะบอกว่า "การเข้าวัดปฏิบัติธรรม" เป็นตัวกระตุ้นอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย กำเริบกลับเข้ามารพ.อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร เพราะเขาปฏิบัติธรรมไม่ถูกวิธี หรือเพราะการปฏิบัติธรรม "บางอย่าง" (เช่น นั่งสมาธิ) ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ก็อาจเป็นได้...อยากรู้ก็ต้องไปทำวิจัยดู อย่างน้อยก็ไม่ควรสรุปเอาเอง
ไม่ทราบว่าคนอื่นคิดยังไง ลองมาแชร์กันนะคะ
ศาสนากับจิตวิทยา
บ้างก็สงสัยว่า ในอนาคต..จิตเวชจะเข้ามาแทนที่ศาสนามั๊ย?" (ท่านจขกท.คงหมายถึงจิตเวชศาสตร์และจิตวิทยา) บ้างก็ว่าโรคจิตเภทคือพวกขาดสติ ต้องรักษาด้วยการเจริญสติภาวนา บ้างก็ว่าศาสนาพุทธ "เหนือชั้น" กว่าจิตวิทยาที่ค้นพบโดยตะวันตก ฯลฯ
ดิฉันมีความคิดเห็นอย่างนี้ค่ะ
บอกตรงๆไม่ชอบคำว่า "ห่างชั้น" เลยค่ะ ฟังดูเหมือนคนพูดเป็นพวกคลั่งศาสนาพุทธ ซึ่งมักแสดงอาการดูถูกศาสตร์อื่นๆ โดยไม่รู้ตัว
ศาสตร์ด้านจิตวิทยา (ในที่นี้รวมถึงจิตเวชศาสตร์ด้วย) แม้จะเกิดตามหลังศาสนาพุทธหลายร้อยหลายพันปี แต่ไม่ได้หมายความว่ามัน "ด้อยกว่า" เพราะมันคนละสาขา เอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นสาขาเดียวกัน ก็ไม่ควรเทียบในเชิงด้อยกว่า-เหนือกว่า เพราะแต่ละสาขาล้วนมีจุดเด่น-จุดด้อยแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น ศาสตร์ด้านจิตวิทยาเองก็มีแนวคิดหลาย schools ซึ่งไม่ได้แปลว่า แนวคิดใดเหนือชั้นที่สุด เพราะต่างมีจุดเด่นจุดด้อยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้
ถึงแม้จิตวิทยาจะเป็นคนละสาขากับศาสนา (ย้ำว่า "คนละสาขา") แต่จิตวิทยาก็ประยุกต์หลักการหลายอย่างมาจากศาสนาและปรัชญา ซึ่งส่วนใหญ่ "ไม่ได้มาจากศาสนาพุทธ" เพราะนักคิดด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตก แปลว่า..ที่ไม่ได้เป็นชาวตะวันตกก็มี ซึ่งนักคิดของกลุ่มนี้เองที่อาจได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธบ้าง
การที่จิตวิทยานำแนวคิดหลายอย่างมาจากศาสนาและปรัชญา ก็ไม่ได้หมายความว่า จิตวิทยาไปลอกแบบมาแล้วนำไปใช้ผิดๅถูกๆ แต่จิตวิทยานำมาศึกษาทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ใหม่ให้มีความน่าเชื่อถือ เป็นสากล และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น จิตวิทยาเพียงต้่องการนำความรู้ทีไ่ด้..มาอธิบายความคิดจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างลัทธิใหม่ หรือล้มล้างศาสนาใดๆ
เพราะฉะนั้น....ไม่จำเป็นต้องแสดงอาการ "ของขึ้น" เพียงแค่มีคนเขียนคำว่า "จิตวิทยา" ไว้ใกล้ๆคำว่า "ศาสนา"
จริงๆ พวกเราควรขอบคุณทั้งศาสนา ปรัชญา สังคมวิทยา และจิตวิทยาที่ทำให้คนเรามีความเข้าใจตนเองและคนอื่นดีขึ้น ทำไมเราต้องเลือกเชื่อเฉพาะศาสนา ทั้งๆที่ทุกศาสตร์ล้วน "เอื้อ" ซึ่งกันและกัน (ที่เห็นค้านกันก็อาจมีบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดาของมุมมอง) การตั้งแง่ว่าศาสตร์อื่นๆเป็นรอง อาจทำให้คุณไม่สนใจติดตามจนพลาดโอกาสเรียนรู้"ข้อความรู้ใหม่ๆ" เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าศาสนาพุทธมีหลักการที่ค่อนข้างตายตัวมานานนับพันปี แม้พุทธศาสนิกชนนักปฏิบัติในยุคต่อๆมาจะทยอยค้นพบสัจจธรรมใหม่ๆ แต่ก็ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเข้าไปมากนัก เนื่องจากกระแสอนุรักษ์นิยมของพุทธศาสนิกชนเอง (มองว่าแนวคิดของพระพุทธเจ้านั้นเป็นจริงชั่วนิรันดร์)
ยกตัวอย่างเช่น โรคจิตเภท ..ตอนนี้โลกเราได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจากการวิจัยต่างๆว่า ที่แท้ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในระดับชีวโมเลกุลของสมอง ที่ "ทุกคน" มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ แม้พ่อแม่จะเลี้ยงดูคุณมาอย่างดีหรือคุณปฏิบัตธรรมอย่างสม่ำเสมอ เจริญสติภาวนามาตลอดชีวิต ฯลฯ แต่สถิติที่ว่า 0.3-1 คนนั้นอาจจะเป็น "คุณ" ก็ได้ ใครจะรู้
ด้วยข้อความรู้ใหม่ๆที่ได้มา ทำให้จิตแพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยได้ตรงจุดขึ้น ยาหรือการรักษาอื่นๆก็ทำงานได้เฉพาะเจาะจงขึ้น ไม่ใช่รักษาแบบหว่านแหเหมือนสมัยก่อนโน้น ถ้าจิตวิทยา/จิตเวชศาสตร์ไม่แตกแขนงออกมาจากศาสนาจนก้าวหน้าไปไกลถึงเพียงนี้ ถามว่าแพทย์จะให้ยาคนไข้ถูกโรคมั๊ย? แพทย์เอาความรู้เรื่องยามาจากหนังสือศาสนาหรือ? จนป่านนี้พวกคลั่งศาสนายังเชื่ออยู่เลยว่าผู้ป่วยโรคจิตเภทเป็นคนขาดสติ และเชื่อว่าการเจริญสติภาวนาคือการรักษาที่ดีที่สุด
ความคิดนี้ไม่ได้ผิดซะทีเดียว เพราะจิตแพทย์เองก็ประยุกต์ใช้เทคนิคทางศาสนามาใช้เหมือนกัน แต่ไม่ได้นำมาใช้กับผู้ป่วยทุกประเภท เพราะมันต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ป่วยด้วย อย่างเช่นผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน กำลังคลุ้มคลั่งอาละวาด..ใครจะไปจับเขามานั่งเจริญสติภาวนากันล่ัะ?
โอเค..หลังจากผู้ป่วยเข้าสู่ระยะอาการสงบแล้ว การบำบัดรักษาด้านจิตสังคม (psycho-social treatments) ก็จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งทีมผู้รักษาจะเริ่มประยุกต์แนวคิดทางศาสนาเข้ามาใช้ เนื่องจากการทำความเข้าใจผ่านมุมมองด้านศาสนาซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมานาน จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจอะไรได้ง่ายขึ้น เช่น การฝึก deep breathing หลักการก็คล้ายๆกับการปฏิบัติอาณาปนสติ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้...การรักษาด้วยยา ก็ยังเป็นการรักษาหลักอยู่เหมือนเดิม โดยมีการรักษาอื่นๆเป็นตัวเสริม เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสกำเริบซ้ำได้ และอยากจะบอกว่า "การเข้าวัดปฏิบัติธรรม" เป็นตัวกระตุ้นอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย กำเริบกลับเข้ามารพ.อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร เพราะเขาปฏิบัติธรรมไม่ถูกวิธี หรือเพราะการปฏิบัติธรรม "บางอย่าง" (เช่น นั่งสมาธิ) ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ก็อาจเป็นได้...อยากรู้ก็ต้องไปทำวิจัยดู อย่างน้อยก็ไม่ควรสรุปเอาเอง
ไม่ทราบว่าคนอื่นคิดยังไง ลองมาแชร์กันนะคะ