ซีพีเอฟเร่งสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเน้นความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค หวังให้ประชาชนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สามารถเข้าถึงอาหารประเภทเนื้อสัตว์คุณภาพในราคาที่เหมาะสม พร้อมกับปั้นแบรนด์ซีพีให้ติดตลาดมากขึ้นและวางเวียดนามเป็นตลาดรองจากไทย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) เปิดเผยว่า บริษัทฯวางยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประการ ในการขยายตลาดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คือ 1.การสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตให้กับการกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำคือโรงงานอาหารสัตว์, กลางน้ำคือฟาร์มและปลายน้ำคือการผลิตอาหารสำเร็จรูป และ 2.การผลิตเนื้อสัตว์และอาหารด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคสามารถบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ในราคาเหมาะสมและคุณภาพดี ยุทธศาสตร์นี้ยังจะช่วยสนับสนุนให้ซีพีเอฟสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าทั้งในประเทศและสินค้าส่งออกด้วย โดยตั้งเป้าว่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ซีพีเอฟต้องก้าวสู่การเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้และเป็นผู้นำของโลกในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร
“เราให้ความสำคัญในเรื่องของการผลิตอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าคุณภาพในราคาที่สมเหตุผล และอีก 5 ปีข้างหน้า ผมตั้งเป้าว่าซีพีเอฟจะสามารถสร้างการเติบโตไม่ต่ำกว่า 100% ด้วยรายได้กว่า 700,000 ล้านบาท ภายใต้ผลกำไรที่เหมาะสม รวมทั้งผลักดันให้ซีพีเอฟก้าวเข้าไปอยู่ในดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ในฐานะที่ซีพีเอฟเป็นผู้นำธุรกิจระดับโลก” นายอดิเรกกล่าว
รายได้ของซีพีเอฟจากกิจการในต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 55% ของรายได้รวม และในปี 2556 นี้ เตรียมเงินลงทุนในต่างประเทศไว้ประมาณ 12,000 ล้านบาท ปัจจุบันเออีซีเป็นตลาดในภูมิภาคที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญในอันดับต้นและเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกมากกว่า 10 ปีแล้ว โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจปศุสัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น โรงงานอาหารสัตว์, ฟาร์มไก่, ไข่ไก่, กุ้ง, หมูและปลา รวมไปถึงโรงงานแปรรูปและโรงงานอาหารสำเร็จรูป เพื่อกระจายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายรูปแบบใหม่ๆที่ซีพีเอฟกำลังพัฒนาในตลาดดังกล่าว เช่น ไก่ย่างห้าดาวและร้านซีพี เฟรชมาร์ท การลงทุนของซีพีเอฟในประเทศสมาชิกเออีซี ประกอบด้วย ประเทศเขมรถือหุ้นผ่านบริษัท ซีพี กัมพูชา จำกัด ในสัดส่วน 25% ซีพีเอฟถือหุ้น 100% ของธุรกิจในลาวและฟิลิปปินส์, และลงทุน 100% ในธุรกิจสัตว์น้ำในมาเลเซีย
สำหรับธุรกิจในเวียดนามหลังจากการซื้อหุ้นของบริษัท ซีพี โภคภัณฑ์ (CP Pokphand) ซึ่งเป็นบริษัทฯจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ซีพีเอฟถือหุ้นในบริษัทซีพี เวียดนาม การลงทุนของซีพีเอฟในเวียดนามมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 จากประเทศไทย โดยธุรกิจอาหารสัตว์บกและอาหารกุ้ง รวมถึงธุรกิจฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มหมูของซีพีเอฟมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเวียดนาม
ทั้งนี้ ซีพีเอฟไม่มีการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียและบรูไน ส่วนในสิงคโปร์ดำเนินธุรกิจการค้าและกระจายสินค้าผ่านสำนักงานแต่ไม่มีการลงทุน สำหรับตลาดในภูมิภาคนี้ในช่วงต่อไป ซีพีเอฟจะให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อสร้างความรับรู้และรู้จักสินค้าตรา “ซีพี” มากขึ้น
ปัจจุบันธุรกิจในเวียดนามมีรายได้กว่า 90% มาจากธุรกิจอาหารสัตว์, ฟาร์มและธุรกิจสัตว์น้ำ ที่เหลือมาจากธุรกิจแปรรูปอาหารและธุรกิจค้าปลีกเวียดนามมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีประชากรกว่า 90 ล้านคน โดยคาดว่าจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคน ในปี 2563 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของชนชั้นกลางเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยและเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อธุรกิจหลักและช่องทางการตลาดที่สำคัญในเวียดนามของบริษัทฯประกอบด้วย ร้านซีพี เฟรชมาร์ท, ร้านซีพี (CP Shop) และไก่ย่างห้าดาว ขณะนี้ซีพีเอฟเปิดบริการร้านซีพี เฟรชมาร์ท แล้ว 55 ร้าน และจะเพิ่มจำนวนร้านเฉลี่ยปีละ 20%, ร้านซีพี 530 ร้าน และจุดบริการไก่ย่างห้าดาว 110 จุด
ซีพีเอฟมีโรงงานแปรรูปอาหาร 2 แห่งในเวียดนามทางตอนเหนือและตอนใต้ที่ละ 1 แห่ง และในปีนี้ยังมีแผนจะสร้างโรงงานใหม่อีก 1 โรงทางตอนใต้ และอีก 1 โรงในภาคกลาง
นายอดิเรกกล่าวว่า การเข้าไปลงทุนทำธุรกิจของซีพีเอฟในต่างประเทศ จะยึดหลักปรัชญา 3 ประโยชน์เป็นสำคัญ คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชนและบริษัทฯ พร้อมกับการสร้างภาพลักษณ์และความภักดีในตราสินค้า ภายใต้แบรนด์ “ซีพี” ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศที่เข้าไปลงทุน
นอกจากการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ซีพีเอฟ ยังมีการลงทุนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง เช่น อินเดีย, จีนและรัสเซีย โดยในประเทศเหล่านี้จะเริ่มจากธุรกิจโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ ทั้งนี้ บริษัทฯยังมีโรงงานแปรรูปไก่ในตุรกีด้วย, ศูนย์จัดจำหน่ายและโรงงานแช่แข็ง ในประเทศอังกฤษและโรงงานอาหารสัตว์บก, ฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารในไต้หวัน
การลงทุนของซีพีเอฟในปัจจุบันเป็นการดำเนินการเพื่อผลิตอาหารป้อนประชาชน 3,000 ล้านคนในตลาดเป้าหมายดังกล่าว.
ที่มา :
http://www.thairath.co.th/content/eco/322170
ยอดขาย 7 แสนล้านบาท "ซีพีเอฟ" ตั้งเป้า 5 ปีผงาดผู้นำอาหารโลก $$$$$
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) เปิดเผยว่า บริษัทฯวางยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ประการ ในการขยายตลาดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) คือ 1.การสร้างห่วงโซ่มูลค่าการผลิตให้กับการกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำคือโรงงานอาหารสัตว์, กลางน้ำคือฟาร์มและปลายน้ำคือการผลิตอาหารสำเร็จรูป และ 2.การผลิตเนื้อสัตว์และอาหารด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคสามารถบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ในราคาเหมาะสมและคุณภาพดี ยุทธศาสตร์นี้ยังจะช่วยสนับสนุนให้ซีพีเอฟสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าทั้งในประเทศและสินค้าส่งออกด้วย โดยตั้งเป้าว่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ซีพีเอฟต้องก้าวสู่การเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้และเป็นผู้นำของโลกในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร
“เราให้ความสำคัญในเรื่องของการผลิตอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร เพื่อผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าคุณภาพในราคาที่สมเหตุผล และอีก 5 ปีข้างหน้า ผมตั้งเป้าว่าซีพีเอฟจะสามารถสร้างการเติบโตไม่ต่ำกว่า 100% ด้วยรายได้กว่า 700,000 ล้านบาท ภายใต้ผลกำไรที่เหมาะสม รวมทั้งผลักดันให้ซีพีเอฟก้าวเข้าไปอยู่ในดัชนีความยั่งยืนของดาวโจนส์ในฐานะที่ซีพีเอฟเป็นผู้นำธุรกิจระดับโลก” นายอดิเรกกล่าว
รายได้ของซีพีเอฟจากกิจการในต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 55% ของรายได้รวม และในปี 2556 นี้ เตรียมเงินลงทุนในต่างประเทศไว้ประมาณ 12,000 ล้านบาท ปัจจุบันเออีซีเป็นตลาดในภูมิภาคที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญในอันดับต้นและเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกมากกว่า 10 ปีแล้ว โดยเป็นการลงทุนในธุรกิจปศุสัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น โรงงานอาหารสัตว์, ฟาร์มไก่, ไข่ไก่, กุ้ง, หมูและปลา รวมไปถึงโรงงานแปรรูปและโรงงานอาหารสำเร็จรูป เพื่อกระจายผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายรูปแบบใหม่ๆที่ซีพีเอฟกำลังพัฒนาในตลาดดังกล่าว เช่น ไก่ย่างห้าดาวและร้านซีพี เฟรชมาร์ท การลงทุนของซีพีเอฟในประเทศสมาชิกเออีซี ประกอบด้วย ประเทศเขมรถือหุ้นผ่านบริษัท ซีพี กัมพูชา จำกัด ในสัดส่วน 25% ซีพีเอฟถือหุ้น 100% ของธุรกิจในลาวและฟิลิปปินส์, และลงทุน 100% ในธุรกิจสัตว์น้ำในมาเลเซีย
สำหรับธุรกิจในเวียดนามหลังจากการซื้อหุ้นของบริษัท ซีพี โภคภัณฑ์ (CP Pokphand) ซึ่งเป็นบริษัทฯจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้ซีพีเอฟถือหุ้นในบริษัทซีพี เวียดนาม การลงทุนของซีพีเอฟในเวียดนามมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 จากประเทศไทย โดยธุรกิจอาหารสัตว์บกและอาหารกุ้ง รวมถึงธุรกิจฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มหมูของซีพีเอฟมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเวียดนาม
ทั้งนี้ ซีพีเอฟไม่มีการลงทุนในประเทศอินโดนีเซียและบรูไน ส่วนในสิงคโปร์ดำเนินธุรกิจการค้าและกระจายสินค้าผ่านสำนักงานแต่ไม่มีการลงทุน สำหรับตลาดในภูมิภาคนี้ในช่วงต่อไป ซีพีเอฟจะให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อสร้างความรับรู้และรู้จักสินค้าตรา “ซีพี” มากขึ้น
ปัจจุบันธุรกิจในเวียดนามมีรายได้กว่า 90% มาจากธุรกิจอาหารสัตว์, ฟาร์มและธุรกิจสัตว์น้ำ ที่เหลือมาจากธุรกิจแปรรูปอาหารและธุรกิจค้าปลีกเวียดนามมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีประชากรกว่า 90 ล้านคน โดยคาดว่าจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านคน ในปี 2563 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของชนชั้นกลางเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยและเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อธุรกิจหลักและช่องทางการตลาดที่สำคัญในเวียดนามของบริษัทฯประกอบด้วย ร้านซีพี เฟรชมาร์ท, ร้านซีพี (CP Shop) และไก่ย่างห้าดาว ขณะนี้ซีพีเอฟเปิดบริการร้านซีพี เฟรชมาร์ท แล้ว 55 ร้าน และจะเพิ่มจำนวนร้านเฉลี่ยปีละ 20%, ร้านซีพี 530 ร้าน และจุดบริการไก่ย่างห้าดาว 110 จุด
ซีพีเอฟมีโรงงานแปรรูปอาหาร 2 แห่งในเวียดนามทางตอนเหนือและตอนใต้ที่ละ 1 แห่ง และในปีนี้ยังมีแผนจะสร้างโรงงานใหม่อีก 1 โรงทางตอนใต้ และอีก 1 โรงในภาคกลาง
นายอดิเรกกล่าวว่า การเข้าไปลงทุนทำธุรกิจของซีพีเอฟในต่างประเทศ จะยึดหลักปรัชญา 3 ประโยชน์เป็นสำคัญ คือ ประโยชน์ต่อประเทศ ประชาชนและบริษัทฯ พร้อมกับการสร้างภาพลักษณ์และความภักดีในตราสินค้า ภายใต้แบรนด์ “ซีพี” ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศที่เข้าไปลงทุน
นอกจากการลงทุนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ซีพีเอฟ ยังมีการลงทุนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูง เช่น อินเดีย, จีนและรัสเซีย โดยในประเทศเหล่านี้จะเริ่มจากธุรกิจโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มปศุสัตว์ ทั้งนี้ บริษัทฯยังมีโรงงานแปรรูปไก่ในตุรกีด้วย, ศูนย์จัดจำหน่ายและโรงงานแช่แข็ง ในประเทศอังกฤษและโรงงานอาหารสัตว์บก, ฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารในไต้หวัน
การลงทุนของซีพีเอฟในปัจจุบันเป็นการดำเนินการเพื่อผลิตอาหารป้อนประชาชน 3,000 ล้านคนในตลาดเป้าหมายดังกล่าว.
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/eco/322170