เจ้าพ่อโพล”ฟันธง”ผู้ว่าฯคะแนนเฉียดล้าน..ชนะ1-2แสน
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:46 น.
“เอแบคโพล ฟันธง พงศพัศนำขาด2แสนคะแนน”
ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ของคนกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบ
ตั้งแต่โค้งที่ 1 ถึงโค้งที่ 4 พบว่า คนส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใครและหากพิจารณาเป็นจุดของค่าคะแนน (Estimated Points) ที่ค้นพบจะเห็นได้ว่า
ความตั้งใจของประชาชนที่ถูกศึกษาระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 43.9 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 46.6 ในโค้งที่ 4 ในขณะที่ แนวโน้มความตั้งใจของประชาชนที่ระบุ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ลดลงจากร้อยละ 37.6 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.9 ในโค้งที่ 4 และแนวโน้มความตั้งใจของประชาชนที่ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ร้อยละ 10.4 ในโค้งที่ 3 และยังคงอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
“จะเห็นได้ว่า ผลสำรวจครั้งนี้
พล.ต.อ.พงศพัศ มีคะแนนสนับสนุนจากประชาชนคนกรุงเทพมหานคร
ทิ้งห่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ออกไปอีกแบบก้าวกระโดดจาก 6 จุด เป็น 16.7 จุด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาวิจัยในวิชารัฐศาสตร์และระเบียบวิธีวิจัยต่อไปว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อความนิยม พล.ต.อ.พงศพัศ ทิ้งห่าง
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ว่า การขึ้นเวทีปราศรัยด้วยถ้อยคำที่ประชาชนคาดไม่ถึงว่าจะใช้ถ้อยคำที่ขัดต่อบุคลิกภาพเรื่องความสุภาพและขัดต่อความคาดหวังของประชาชนที่เคยสนับสนุนในอดีต นอกจากนี้
ยิ่งมีข่าวออกมาว่า พรรคประชาธิปัตย์จะออกยุทธศาสตร์รื้อฟื้นความทรงจำของประชาชนเรื่อง “เผาบ้านเผาเมือง” ที่เป็นภาพความขัดแย้งรุนแรงแตกแยกของคนในชาติออกมาหวังตีคะแนนนิยมก น่าจะส่งผลเสียต่อผู้สมัคร เพราะประชาชนส่วนใหญ่เบื่อความขัดแย้งรุนแรงแต่อยากเห็นบ้านเมืองสงบร่มเย็นมากกว่า
ผลสำรวจครั้งนี้ค้นพบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. น่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2552 แต่ขึ้นอยู่กับประชาชนว่าจะเล็งเห็นประโยชน์ของการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของประชาชนหรือไม่ รวมถึงการรณรงค์ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าจะมีพลังขับเคลื่อนให้คนไปใช้สิทธิมากน้อยเพียงไร นอกจากนี้ผลสำรวจยังค้นพบด้วยว่า กลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใครเพราะได้เจอนโยบายต่างๆ ที่ตนเองชอบและเห็นว่าเหมาะสมแล้ว และถ้ามีประชาชนออกไปใช้สิทธิจำนวนมากตามผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะประมาณการได้ว่า ผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. จะได้คะแนนเกินกว่า 1 ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สมัครทุกท่านต้อง “รู้จักเก็บอาการ ไม่ประมาท มีความอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาพ เคารพทุกความรู้สึกและการตัดสินใจของประชาชนเพราะทุกอย่างจะชี้ขาดในวันที่ 3 มีนาคมนี้” เหตุก็เพราะคนกรุงเทพมหานครอยู่ใกล้กับศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารระดับชาติจึงค่อนข้างเปลี่ยนใจได้รวดเร็ว เวลาที่เหลือก็อาจเปลี่ยนแปลงได้.
“สวนดุสิตโพลคาดหากไม่มีปัจจัยแทรกซ้อน “พงศพัศ”มาแน่”
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานโครงการสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากการทำสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัคร “ผู้ว่าฯกทม.” มาอย่างต่อเนื่องทั้ง 4 ครั้ง ซึ่ง
คะแนนนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ มาโดยตลอด ซึ่งแน่นอนว่าผู้ว่าฯกทม.คนต่อไป คงไม่พลาดไปจาก 2 คนนี้แน่นอน ซึ่งในการทำโพลของสวนดุสิต จะเห็นได้ว่ามีเปอร์เซ็นต์ของผู้ไม่ตัดสินใจน้อยมากซึ่งในครั้งที่ 4 ที่ทำการสำรวจนี้มีผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจเพียง 12.69 % ซึ่งคาดว่า การเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะมีคนมาใช้สิทธิใกล้เคียงกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ซึ่งหากจะวิเคราะห์จากผลโพล เลือก พล.ต.อ.พงศพัศ ถึง 51 – 52 เปอร์เซ็นต์ จากคนมาใช้สิทธิ 2 ล้านกว่า ก็
น่าจะได้คะแนนใกล้เคียง 1 ล้านคะแนน และ
จะมีคะแนนนำห่างจากอันดับสองที่ประมาณ 200,000 คะแนน
รศ.ดร.สุขุม กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งจะเป็นไปตามโพลหรือไม่ ก็ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีก 2 – 3 ประเด็นที่อาจจะทำให้ผลการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามโพล คือ 1.ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ หรืออาจจะตัดสินใจแล้วแต่ไม่บอก 2.ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่นในวันเลือกตั้งเกิดมีฝนตกหนัก น้ำท่วมหรือมีตัวแปรที่จะทำให้ผู้ที่ออกไปใช้สิทธิไม่เป็นไปตามที่คาดก็จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน 3.การเปลี่ยนใจของประชาชน ซึ่งขณะนี้ยังมีระยะเวลาอีก 8 วัน ที่หากมีเหตุการณ์ อะไรที่หวือหวาหรือที่กระทบใจของประชาชนให้เกิดความชอบ หรือไม่ชอบผู้สมัคร ตรงนี้ก็จะยังมีผลให้ผลคะแนนของผู้สมัครตามโพลมีโอกาสเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ซึ่งคงต้องมองสถานการณ์ในช่วงที่ใกล้จะถึงเวลาเลือกตั้ง เพราะจะมีผลให้เกิดกระแสตีกลับหรือพลิกกลับได้เช่นกัน นอกจากนี้จะต้องดูด้วยว่าคนที่ไปใช้สิทธินั้นเป็นคนกลุ่มไหน เพราะหากจากคิดแค่ฐานทางการเมือง ก็ไม่ใช่ฐานที่ถาวร เพราะคนที่เลือกก็มีส่วนที่พิจารณาจากตัวผู้สมัครด้วย ความสามารถ จุดเด่นของแต่ละคน ซึ่งครั้งนี้หลายคนอาจจะบอกว่ามองยาก เพราะจะออกแนวรักพี่เสียดายน้องมากกว่า คือ ใจหนึ่งก็ชอบคนหน้าใหม่ไฟแรง ส่วนอีกคนก็เห็นความตั้งใจเห็นผลงาน แต่พอถามจริง ๆ ในใจลึก ๆ ก็จะได้คำตอบว่าขณะนี้คนกรุงเทพฯก็มีคนที่เลือกไว้อยู่ในใจแล้ว
“นิด้าโพล ชี้ยังมีโอกาสทั้งคู่ไม่มีใครนอนมา”
ผศ.ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า จากการสำรวจของนิด้าโพลจนมาถึง โค้งที่ 5 ในขณะนี้ ผลคะแนนของผู้สมัคร 2 พรรคใหญ่ จากที่คะแนนนิยมของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์ ตามหลังห่างๆ และตีตื้นขึ้น และแนวโน้มที่ผ่านมา การนำของพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ หมายเลข 9 พรรคเพื่อไทย ก็ไม่ได้นำแบบทิ้งห่าง จนถึงการสำรวจครั้งล่าสุด (โค้งที่5 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.) ที่ปรากฏว่าห่างกันเพียง 1 จุด ซึ่งใกล้กันมาก หากวิเคราะห์จากโพลเทียบกับจำนวนผู้ใช้สิทธิในจำนวนใกล้เคียงกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ก็จะห่างกันอยู่ที่ราว 70,000 – 100,000 คะแนน ซึ่งใกล้กันมาก และก็ยังบอกได้ยากว่าใครจะชนะ คิดว่าสูสีและยังมีโอกาสทั้งคู่ ซึ่งผลโพลของนิด้าอาจจะแตกต่างจากโพลสำนักอื่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีการสำรวจที่ใช้แตกต่างกัน โดยของนิด้าจะสุ่มตามกลุ่มโซน 6 กลุ่มโซนของกทม. และใช้การโทรศัพท์ซึ่งเป็นผลดีคือผู้ตอบไม่เห็นหน้าก็จะกล้าให้คำตอบ การเลือกตั้งครั้งนี้ต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อน ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มีคะแนนนำห่างจาก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี มาตั้งแต่ต้นและนำห่างตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ไม่ยากที่คนจะฟันธงว่าใครจะชนะ แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ผลการสำรวจแต่ละครั้งที่ผ่านมาคะแนนของ 2 พรรค มีนำแบบไม่ทิ้ง เหมือนวิ่ง ๆ รอ ๆ ที่คู่แข่งก็มีโอกาสจะวิ่งมาทันได้
ผศ.ดร. สุวิชา กล่าวต่อว่า ขณะนี้รู้สึกว่าประชาชนจะเครียดกับโพลกันมาก อยากให้ดูแบบสนุกมากกว่า ซึ่งโพลคือการวัดความน่าจะเป็น แต่โพลไม่ได้วัดความจริง แต่สามารถใช้ประโยชน์จากโพลได้โดยเฉพาะผู้สมัครฯจะได้นำไปปรับปรุง นำไปแก้ไขปรับยุทธศาสตร์ทำอย่างไรให้ได้คะแนนมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังเหลือเวลาอีก 8 วันที่จะต้องเร่งกลยุทธ์ให้ได้ใจคนกรุงเทพฯ คนที่นำอยู่จะทำอย่างไรให้คะแนนห่างจากคู่แข่งมากขึ้น ส่วนคนที่คะแนนตามทำอย่างไรให้สามารถแซงหน้าเอาชนะคู่แข่งได้.
ที่มา...เดลินิวส์ออนไลน์ 22 ก.พ.56
http://www.dailynews.co.th/bkkelection/186245
???????????????????????????????????
".......
ตั้งแต่โค้งที่ 1 ถึงโค้งที่ 4 พบว่า คนส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใครและหากพิจารณาเป็นจุดของค่าคะแนน (Estimated Points) ที่ค้นพบจะเห็นได้ว่า
ความตั้งใจของประชาชนที่ถูกศึกษาระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 43.9 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 46.6 ในโค้งที่ 4 ในขณะที่ แนวโน้มความตั้งใจของประชาชนที่ระบุ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ลดลงจากร้อยละ 37.6 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.9 ในโค้งที่ 4 ......"
ไม่ไหวแล้วคร้าาาบบบบ
ลุ้นอย่างไรก็ไม่ขึ้นไม่ว่าด้วยมุขใด.....
ไม่ตอกย้ำอะไรแระ
ไปดีกั่ว....ลงรู เต้ป ก่อน....555
เดลินิวส์ตีข่าว เจ้าพ่อโพล”ฟันธง”ผู้ว่าฯคะแนนเฉียดล้าน..พงศพัศนำขาด2แสนคะแนน...อ้าว หมดกันไม่ต้องลุ้นกันพอดีสาบเอ๋ย
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08:46 น.
“เอแบคโพล ฟันธง พงศพัศนำขาด2แสนคะแนน”
ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ของคนกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบตั้งแต่โค้งที่ 1 ถึงโค้งที่ 4 พบว่า คนส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใครและหากพิจารณาเป็นจุดของค่าคะแนน (Estimated Points) ที่ค้นพบจะเห็นได้ว่า ความตั้งใจของประชาชนที่ถูกศึกษาระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 43.9 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 46.6 ในโค้งที่ 4 ในขณะที่ แนวโน้มความตั้งใจของประชาชนที่ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ลดลงจากร้อยละ 37.6 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.9 ในโค้งที่ 4 และแนวโน้มความตั้งใจของประชาชนที่ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ร้อยละ 10.4 ในโค้งที่ 3 และยังคงอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
“จะเห็นได้ว่า ผลสำรวจครั้งนี้ พล.ต.อ.พงศพัศ มีคะแนนสนับสนุนจากประชาชนคนกรุงเทพมหานครทิ้งห่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ออกไปอีกแบบก้าวกระโดดจาก 6 จุด เป็น 16.7 จุด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาวิจัยในวิชารัฐศาสตร์และระเบียบวิธีวิจัยต่อไปว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อความนิยม พล.ต.อ.พงศพัศ ทิ้งห่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ว่า การขึ้นเวทีปราศรัยด้วยถ้อยคำที่ประชาชนคาดไม่ถึงว่าจะใช้ถ้อยคำที่ขัดต่อบุคลิกภาพเรื่องความสุภาพและขัดต่อความคาดหวังของประชาชนที่เคยสนับสนุนในอดีต นอกจากนี้ ยิ่งมีข่าวออกมาว่า พรรคประชาธิปัตย์จะออกยุทธศาสตร์รื้อฟื้นความทรงจำของประชาชนเรื่อง “เผาบ้านเผาเมือง” ที่เป็นภาพความขัดแย้งรุนแรงแตกแยกของคนในชาติออกมาหวังตีคะแนนนิยมก น่าจะส่งผลเสียต่อผู้สมัคร เพราะประชาชนส่วนใหญ่เบื่อความขัดแย้งรุนแรงแต่อยากเห็นบ้านเมืองสงบร่มเย็นมากกว่า
ผลสำรวจครั้งนี้ค้นพบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. น่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2552 แต่ขึ้นอยู่กับประชาชนว่าจะเล็งเห็นประโยชน์ของการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของประชาชนหรือไม่ รวมถึงการรณรงค์ของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าจะมีพลังขับเคลื่อนให้คนไปใช้สิทธิมากน้อยเพียงไร นอกจากนี้ผลสำรวจยังค้นพบด้วยว่า กลุ่มประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใครเพราะได้เจอนโยบายต่างๆ ที่ตนเองชอบและเห็นว่าเหมาะสมแล้ว และถ้ามีประชาชนออกไปใช้สิทธิจำนวนมากตามผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะประมาณการได้ว่า ผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. จะได้คะแนนเกินกว่า 1 ล้านคะแนน อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สมัครทุกท่านต้อง “รู้จักเก็บอาการ ไม่ประมาท มีความอ่อนน้อมถ่อมตน สุภาพ เคารพทุกความรู้สึกและการตัดสินใจของประชาชนเพราะทุกอย่างจะชี้ขาดในวันที่ 3 มีนาคมนี้” เหตุก็เพราะคนกรุงเทพมหานครอยู่ใกล้กับศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารระดับชาติจึงค่อนข้างเปลี่ยนใจได้รวดเร็ว เวลาที่เหลือก็อาจเปลี่ยนแปลงได้.
“สวนดุสิตโพลคาดหากไม่มีปัจจัยแทรกซ้อน “พงศพัศ”มาแน่”
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานโครงการสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากการทำสำรวจคะแนนนิยมของผู้สมัคร “ผู้ว่าฯกทม.” มาอย่างต่อเนื่องทั้ง 4 ครั้ง ซึ่งคะแนนนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ มาโดยตลอด ซึ่งแน่นอนว่าผู้ว่าฯกทม.คนต่อไป คงไม่พลาดไปจาก 2 คนนี้แน่นอน ซึ่งในการทำโพลของสวนดุสิต จะเห็นได้ว่ามีเปอร์เซ็นต์ของผู้ไม่ตัดสินใจน้อยมากซึ่งในครั้งที่ 4 ที่ทำการสำรวจนี้มีผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจเพียง 12.69 % ซึ่งคาดว่า การเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะมีคนมาใช้สิทธิใกล้เคียงกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ซึ่งหากจะวิเคราะห์จากผลโพล เลือก พล.ต.อ.พงศพัศ ถึง 51 – 52 เปอร์เซ็นต์ จากคนมาใช้สิทธิ 2 ล้านกว่า ก็น่าจะได้คะแนนใกล้เคียง 1 ล้านคะแนน และจะมีคะแนนนำห่างจากอันดับสองที่ประมาณ 200,000 คะแนน
รศ.ดร.สุขุม กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งจะเป็นไปตามโพลหรือไม่ ก็ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีก 2 – 3 ประเด็นที่อาจจะทำให้ผลการเลือกตั้งไม่เป็นไปตามโพล คือ 1.ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ หรืออาจจะตัดสินใจแล้วแต่ไม่บอก 2.ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่นในวันเลือกตั้งเกิดมีฝนตกหนัก น้ำท่วมหรือมีตัวแปรที่จะทำให้ผู้ที่ออกไปใช้สิทธิไม่เป็นไปตามที่คาดก็จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน 3.การเปลี่ยนใจของประชาชน ซึ่งขณะนี้ยังมีระยะเวลาอีก 8 วัน ที่หากมีเหตุการณ์ อะไรที่หวือหวาหรือที่กระทบใจของประชาชนให้เกิดความชอบ หรือไม่ชอบผู้สมัคร ตรงนี้ก็จะยังมีผลให้ผลคะแนนของผู้สมัครตามโพลมีโอกาสเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ซึ่งคงต้องมองสถานการณ์ในช่วงที่ใกล้จะถึงเวลาเลือกตั้ง เพราะจะมีผลให้เกิดกระแสตีกลับหรือพลิกกลับได้เช่นกัน นอกจากนี้จะต้องดูด้วยว่าคนที่ไปใช้สิทธินั้นเป็นคนกลุ่มไหน เพราะหากจากคิดแค่ฐานทางการเมือง ก็ไม่ใช่ฐานที่ถาวร เพราะคนที่เลือกก็มีส่วนที่พิจารณาจากตัวผู้สมัครด้วย ความสามารถ จุดเด่นของแต่ละคน ซึ่งครั้งนี้หลายคนอาจจะบอกว่ามองยาก เพราะจะออกแนวรักพี่เสียดายน้องมากกว่า คือ ใจหนึ่งก็ชอบคนหน้าใหม่ไฟแรง ส่วนอีกคนก็เห็นความตั้งใจเห็นผลงาน แต่พอถามจริง ๆ ในใจลึก ๆ ก็จะได้คำตอบว่าขณะนี้คนกรุงเทพฯก็มีคนที่เลือกไว้อยู่ในใจแล้ว
“นิด้าโพล ชี้ยังมีโอกาสทั้งคู่ไม่มีใครนอนมา”
ผศ.ดร.สุวิชา เป้าอารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า จากการสำรวจของนิด้าโพลจนมาถึง โค้งที่ 5 ในขณะนี้ ผลคะแนนของผู้สมัคร 2 พรรคใหญ่ จากที่คะแนนนิยมของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หมายเลข 16 พรรคประชาธิปัตย์ ตามหลังห่างๆ และตีตื้นขึ้น และแนวโน้มที่ผ่านมา การนำของพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ หมายเลข 9 พรรคเพื่อไทย ก็ไม่ได้นำแบบทิ้งห่าง จนถึงการสำรวจครั้งล่าสุด (โค้งที่5 เมื่อวันที่ 20 ก.พ.) ที่ปรากฏว่าห่างกันเพียง 1 จุด ซึ่งใกล้กันมาก หากวิเคราะห์จากโพลเทียบกับจำนวนผู้ใช้สิทธิในจำนวนใกล้เคียงกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ก็จะห่างกันอยู่ที่ราว 70,000 – 100,000 คะแนน ซึ่งใกล้กันมาก และก็ยังบอกได้ยากว่าใครจะชนะ คิดว่าสูสีและยังมีโอกาสทั้งคู่ ซึ่งผลโพลของนิด้าอาจจะแตกต่างจากโพลสำนักอื่น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีการสำรวจที่ใช้แตกต่างกัน โดยของนิด้าจะสุ่มตามกลุ่มโซน 6 กลุ่มโซนของกทม. และใช้การโทรศัพท์ซึ่งเป็นผลดีคือผู้ตอบไม่เห็นหน้าก็จะกล้าให้คำตอบ การเลือกตั้งครั้งนี้ต่างจากการเลือกตั้งครั้งก่อน ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มีคะแนนนำห่างจาก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี มาตั้งแต่ต้นและนำห่างตั้งแต่ต้นจนจบ ก็ไม่ยากที่คนจะฟันธงว่าใครจะชนะ แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ผลการสำรวจแต่ละครั้งที่ผ่านมาคะแนนของ 2 พรรค มีนำแบบไม่ทิ้ง เหมือนวิ่ง ๆ รอ ๆ ที่คู่แข่งก็มีโอกาสจะวิ่งมาทันได้
ผศ.ดร. สุวิชา กล่าวต่อว่า ขณะนี้รู้สึกว่าประชาชนจะเครียดกับโพลกันมาก อยากให้ดูแบบสนุกมากกว่า ซึ่งโพลคือการวัดความน่าจะเป็น แต่โพลไม่ได้วัดความจริง แต่สามารถใช้ประโยชน์จากโพลได้โดยเฉพาะผู้สมัครฯจะได้นำไปปรับปรุง นำไปแก้ไขปรับยุทธศาสตร์ทำอย่างไรให้ได้คะแนนมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังเหลือเวลาอีก 8 วันที่จะต้องเร่งกลยุทธ์ให้ได้ใจคนกรุงเทพฯ คนที่นำอยู่จะทำอย่างไรให้คะแนนห่างจากคู่แข่งมากขึ้น ส่วนคนที่คะแนนตามทำอย่างไรให้สามารถแซงหน้าเอาชนะคู่แข่งได้.
ที่มา...เดลินิวส์ออนไลน์ 22 ก.พ.56
http://www.dailynews.co.th/bkkelection/186245
???????????????????????????????????
".......ตั้งแต่โค้งที่ 1 ถึงโค้งที่ 4 พบว่า คนส่วนใหญ่ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกใครและหากพิจารณาเป็นจุดของค่าคะแนน (Estimated Points) ที่ค้นพบจะเห็นได้ว่า ความตั้งใจของประชาชนที่ถูกศึกษาระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 43.9 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 46.6 ในโค้งที่ 4 ในขณะที่ แนวโน้มความตั้งใจของประชาชนที่ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ลดลงจากร้อยละ 37.6 ในโค้งที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 29.9 ในโค้งที่ 4 ......"
ไม่ไหวแล้วคร้าาาบบบบ
ลุ้นอย่างไรก็ไม่ขึ้นไม่ว่าด้วยมุขใด.....
ไม่ตอกย้ำอะไรแระ
ไปดีกั่ว....ลงรู เต้ป ก่อน....555