เหตุการณ์พม่าหยุดส่งก๊าซชั่วคราวเพื่อทำการซ่อมระบบท่อก๊าซ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพียงแต่ภาครัฐไม่ได้แจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ทุกฝ่าย (ทั้งกฟผ. ปตท. และกระทรวงพลังงาน) ได้ร่วมหารือกันและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ผ่านพ้นไปด้วยดีโดยไม่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในประเทศไทย เพียงแต่พวกเราต้องร่วมรับบาปด้วยการจ่ายค่าไฟแพงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีทางเลือกจำกัด พึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า เมื่อไม่มีก๊าซธรรมชาติ ก็ต้องใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ประชาชนอย่างเราๆจึงต้องเป็นแพะรับบาปไปโดยปริยาย
หากถามว่าเมษายนนี้ไฟฟ้าบ้านเราจะดับหรือไม่? ก็ขึ้นกับความร่วมมือร่วมใจของพวกเรานั่นเอง หากทุกคนช่วยกันประหยัดหรือพยายามไม่ใช้มากเกินปกติในช่วงที่พม่าหยุดส่งก๊าซ ปริมาณสำรองไฟฟ้าที่กฟผ.เตรียมไว้ ก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าทุกคนยังคงใช้ไฟฟ้าตามอำเภอใจ ปริมาณสำรองไฟฟ้าที่กฟผ.วางแผนไว้ก็อาจไม่เพียงพอ อาจเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วเมืองได้ นอกจากนี้หากทุกคนช่วยกันประหยัด กฟผ.ก็ไม่ต้องใช้น้ำมันเตามาผลิตไฟฟ้าเสริม ค่า Ft ก็จะไม่เพิ่ม พวกเราก็ไม่ต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น
อย่างไรก็ตามเราคงต้องให้เครดิตและเชื่อมั่นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ทั้งกฟผ. ปตท. และกระทรวงพลังงาน) ว่าพวกเค้าจะต้องหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ ประกอบกับการแผนซ่อมระบบท่อก๊าซดังกล่าวมีการแจ้งล่วงหน้านานพอควร ทุกหน่วยงานมีเวลาเตรียมตัวเพียงพอ ไม่ใช่เหตุการณ์ฉุกเฉิน จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วไทยเดือนเมษายนนี้คงไม่เกิดแน่นอน
ในการนี้ต้องขอชื่นชมท่าน รมว.กระทรวงพลังงาน ที่กล้าพูดให้ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริง เพื่อทุกคนจะได้ตระหนัก (แต่ไม่ต้องตระหนก) ถึงความจำเป็นที่ต้องกระจายแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้ มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ หรือต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจมากขึ้นๆอย่างเช่นทุกวันนี้
หากถามว่าทำไมเราไม่เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น สายลม แสงแดด เพื่อทดแทนสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ คำตอบก็คือ พลังงานหมุนเวียน ไม่ได้มีตลอดเวลา จึงไม่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องและแน่นอนเหมือนเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน) ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงเปรียบเสมือนอาหารเสริม ไม่ใช่อาหารจานหลัก ยังไงก็ยังต้องพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่จะยังคงพึ่งก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียวต่อไปหรือไม่ ประชาชนคนไทยคงเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุด
รศ. ดร. ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช (รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
วิกฤติไฟฟ้าเมษานี้... วาระซ่อนเร้นหรือไม่?
เหตุการณ์พม่าหยุดส่งก๊าซชั่วคราวเพื่อทำการซ่อมระบบท่อก๊าซ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพียงแต่ภาครัฐไม่ได้แจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า ทุกฝ่าย (ทั้งกฟผ. ปตท. และกระทรวงพลังงาน) ได้ร่วมหารือกันและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ผ่านพ้นไปด้วยดีโดยไม่เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับในประเทศไทย เพียงแต่พวกเราต้องร่วมรับบาปด้วยการจ่ายค่าไฟแพงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีทางเลือกจำกัด พึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า เมื่อไม่มีก๊าซธรรมชาติ ก็ต้องใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ประชาชนอย่างเราๆจึงต้องเป็นแพะรับบาปไปโดยปริยาย
หากถามว่าเมษายนนี้ไฟฟ้าบ้านเราจะดับหรือไม่? ก็ขึ้นกับความร่วมมือร่วมใจของพวกเรานั่นเอง หากทุกคนช่วยกันประหยัดหรือพยายามไม่ใช้มากเกินปกติในช่วงที่พม่าหยุดส่งก๊าซ ปริมาณสำรองไฟฟ้าที่กฟผ.เตรียมไว้ ก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าทุกคนยังคงใช้ไฟฟ้าตามอำเภอใจ ปริมาณสำรองไฟฟ้าที่กฟผ.วางแผนไว้ก็อาจไม่เพียงพอ อาจเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วเมืองได้ นอกจากนี้หากทุกคนช่วยกันประหยัด กฟผ.ก็ไม่ต้องใช้น้ำมันเตามาผลิตไฟฟ้าเสริม ค่า Ft ก็จะไม่เพิ่ม พวกเราก็ไม่ต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น
อย่างไรก็ตามเราคงต้องให้เครดิตและเชื่อมั่นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ทั้งกฟผ. ปตท. และกระทรวงพลังงาน) ว่าพวกเค้าจะต้องหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ ประกอบกับการแผนซ่อมระบบท่อก๊าซดังกล่าวมีการแจ้งล่วงหน้านานพอควร ทุกหน่วยงานมีเวลาเตรียมตัวเพียงพอ ไม่ใช่เหตุการณ์ฉุกเฉิน จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วไทยเดือนเมษายนนี้คงไม่เกิดแน่นอน
ในการนี้ต้องขอชื่นชมท่าน รมว.กระทรวงพลังงาน ที่กล้าพูดให้ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริง เพื่อทุกคนจะได้ตระหนัก (แต่ไม่ต้องตระหนก) ถึงความจำเป็นที่ต้องกระจายแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าให้ มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้นเรื่อยๆ หรือต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจมากขึ้นๆอย่างเช่นทุกวันนี้
หากถามว่าทำไมเราไม่เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น สายลม แสงแดด เพื่อทดแทนสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ คำตอบก็คือ พลังงานหมุนเวียน ไม่ได้มีตลอดเวลา จึงไม่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องและแน่นอนเหมือนเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน) ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงเปรียบเสมือนอาหารเสริม ไม่ใช่อาหารจานหลัก ยังไงก็ยังต้องพึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่จะยังคงพึ่งก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียวต่อไปหรือไม่ ประชาชนคนไทยคงเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุด
รศ. ดร. ดาวัลย์ วิวรรธนะเดช (รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)